Planning on retirement in Thailand วางแผนเกษียณที่ไทย

ช่วงนี้เวลานี้หลายๆๆ คนทั้งไทยและอเมริกา ทำบุญข้าพรรษาตามกันไปค่ะ ปีนี้ ไม่ได้เข้าวัดค่ะ ปกติจะไปทุกปีถวายอาหารปัจจัยต่างๆ ตามความเชื่อส่วนตัวค่ะ เอาที่พวกเราสบายใจค่ะ  การทำทานมีหลายอย่างค่ะ เรื่องการแบ่งปันด้านความรุ้ หรือประสบการณ์ให้กับกลุ่มที่มองหาหนทางก็เป็นทางเลือกที่ดีนะคะ  ดังนั้นวันนี้ ดิฉันในฐานที่มีสามีวัยเกษียณ และก็ได้วางแผนการเกษ๊ยณมาหลายปีแล้วนั้นจะมาแชร์ประสบการณ์ของตัวดิฉันเองกับครอบครัวนะคะ. ปล. พื้นฐานและปัจจัยทางการเงินพวกเราต่างกัน ดังนั้นจะแชร์ส่วนที่เห็นว่าคนกลุ่มใหญ่ได้นำไปประยุกต์ค่ะ.

Social Security Benefit การขอรับสวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคม

การขอรับสวัสดิการจากสำนักงานประกสังคมที่อเมริกามีหลายกรณีทั้งที่ในนามคนที่ทำงานเอง คู่สมรส ภรรยาหม้ายของสามีที่เสียชีวิตแล้ว ภรรยาที่เคยหย่ากับอเมริกันและแต่งงานเกินสิบปีและไม่ได้แต่งงานใหม่นะคะ.

การขอรับเงินนั้นทำได้สองแบบค่ะ

ขอรับที่อเมริกา receive in US Banks

ทำเรื่องจากสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านค่ะ  และพร้อมแจ้งว่าจะไปอยู่ไทย ทางสำนักงานจะมีเอกสารส่งให้กรอก แสดงยืนยันตัวตนทุกปีว่ายังไม่ได้จากโลกนี้ไปค่ะ. เอกสารตัวนี้SSA-7161 and SSA-7162 ต้องแสดงตัวตนทางเอกสารส่งเอกสารกลับไปค่ะ.

เอ๊ะ แล้วเราไปอยู่ไทยจะทำเช่นไร ต้องมีค่าธรรมเนียมธนาคารไม๊ มีค่าถอนเงินไม๊  มีข้อดีอย่างไร

การเปิดบัญชีธนาคารก็ทำได้ที่รุ้กันก็มี Schwab, capital one และหลายๆๆ แบงค์ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมถ้ามีการเดินเงินประจำ.  แนะนำแจ้งธนาคารไว้ว่าจะมีการเบิกถอนที่ไทยประจำด้วยค่ะ แบงค์สามารถที่จะโน๊ตให้ได้  ส่วนตัวเอง ของสามีใช้ Chase เพราะมีการเดินรายการประจำ  ให้ติดต่อกับธนาคารก่อนนะคะ 

Receive to in Thailand รับเงินที่ไทยผ่านธนาคารไทย

กรณีนี้ต้องทำเรื่องที่สำนักงาน ฟิลิปินส์ค่ะ ติ่ดต่อทางอีเมลล์และทางโทรศัพท์ อาจจะช้าหน่อยแต่ก็ติดต่อไปเรื่อยๆๆค่ะ  และมีการนำส่งเอกสารไปยังสำนักงานฟิลิปินส์ ทางสำนักงานจะแจ้งต้องจัดส่งเอกสารเช่นไร

เปิดบัญชี Bangkok Bank สำหรับรับเงินจากสำนักงานประกันสังคมค่ะ

กรณีป่วยติดเตียงหรือก่อนป่วย ต้องมีหนังสือมอบอำนาจผุ้ดูแลนะคะ  เพราะไม่งั้นจะไม่ได้รับเงินค่ะ การรับเงินต้องมารับกับธนาคาร มีหลายๆๆ กรณีที่ป่วยแบบกระทันหัน ญาติมารับเงินแทนไม่ได้

แต่มีกรณี คุณป้าที่เป็นลูกค้า ได้ทำหนังสือแต่งตั้งผู้ดูแล โดยศาลที่ไทย และแปละเอกสารส่งไปยังสำนักงานประกันสังคม และได้เปิดบัญชีร่วมกับผุ้ดูแล และไม่มีปัญหาในการรับเงินใดๆๆ ค่ะ

เช่นกันต้องมีการส่งเอกสารยืนยันตัวตนว่ายังมีชีวิตอยู่ เช่นกับกรณีรับเงินผ่านธนาคารที่อเมริกาเช่นกันคะ

ที่อยู่ติดต่อสำนักงานฟิลิปินส์

Thailand
Federal Benefits Unit
United States Embassy
1201 Roxas Boulevard
Ermita, Manila 0930
Philippines
Phone: 632-5301-2000
Fax: 632-8708-9714 or 632-8708-9723
Email: https://ph.usembassy.gov/services/fbu-inquiry-form

American spouse คู่สมรสต่างชาติ

Add your spouse in house particular เอาชื่อคู่สมรสเข้าทะเบียนบ้าน

เพื่อไม่ให้เป็นการยุ่งยาก ให้เอาทะเบียนสมรสเรา ไปให้ที่ State authenticate เสร็จแล้วไปที่ กระทรวงต่างประเทศอเมริกา ให้รับรองนะคะ สองขั้นตอน

หลังจากนั้นให้แปลรับรองเป็นภาษาไทย แล้วก็ส่งให้กระทรวงต่างประเทศบ้านเรารับรอง ถึงนำสามีภรรยาต่างชาติเข้าทะเบียนบ้านได้ค่ะ

ถ้าเขาไม่ต้องการขับรถ มีใบขับขี่เปิดบัญชีธนาคารก็ไม่ต้องทำไม่ต้องนำเขาเข้าทะเบียนบ้านได้เชนกันค่ะ

Spouse visa to Thailand  คู่สมรสเราจะมาเกษียณพร้อมเราทำเช่นไร

หลายๆๆ คนรวมถึงดิฉันเองต้องทำวีซ่าให้สามีค่ะ มันมีวีซ่าหลายแบบเราจะทำจากอเมริกาเลยก็ได้หรือทำจากไทยก็ได้ค่ะ  ดิฉันเองทำจากไทยค่ะ วีซ่าคู่สมรส non-o สมัครกับสถานทูตที่ใกล้เราที่สุดนะคะ  มีข้อมูลเวบไซด์ของสถานทูต 

หรือจะมา ไทยก่อน อเมริกันได้ exempt 30 days คือเข้ามาได้เลยไม่ตองขอวีซ่าค่ะ แล้วมาหาวิธีทำเอาเอเจนซี่ก็เยอะ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว อันนี้มีเงินจ่ายนะคะ ชิวๆๆ ถ้าอยากประหยัดก็ทำเองค่ะไม่ได้ยุ่งยากอะไร แหวนก็ทำเองค่ะ หลายคนอ่านภาษาอังกฤษออก จัดไปเลยค่ะ

บางคนอาจจะอยากทำงาน คู่สมรสอายุน้อย เช่นสอนหนังสือ หรือเปิดบริษัทจะได้มีเงินเดือนแบบนี้ก็ได้ค่ะ ข้อมูลที่ไทยเรื่องการเปิดบริษัทจะมีแบบจ้างคนไทย 4 คนต่อต่างชาติ 1 คนหรือมากกว่า คนที่รับทำจุดนี้ก็มีค่ะ เยอะด้วยที่เมืองไทย  ค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้แพงไรมากมาย

สมติขอวีซ่า non-o เข้ามาแล้วอยากทำงานก็ต้องเปลี่ยนวีซ่าใหม่ค่ะ เป็นวีซ่าแบบเกษียณเลยก็ได้ค่ะ

วีซ่าแบบเกษียณ ก็สามารถขอมาได้จากสถานกงศุลที่อเมริกา (คือสถานกงศุลออกวีซ่าให้ค่ะ) แต่การทำเรื่องคือที่กระทรวงต่างประเทศค่ะ  ทำทุกอย่างออนไลน์ มีวีซ่าให้เลือกหลายประเทศเลยค่ะ  800,000 Baht เงินฝาก หรือมีรายได้ต่อเดือน 65,000 baht ก็อยู่ในเกณฑ์แล้วค่ะ แต่ต้องต่อประจำทุกปีนะคะ.

ของสามีแหวนเอง มีวีซ่าสองประเภทค่ะ non-o and long term retirement (LTR) ไม่ใช่ elite ค่ะ อันนี้หรูหราสุดเดช แบบใช้เงินเยอะมาก ของสามีแหวนแกมีเพนชั่นค่ะของเสตทยอดแกเยอะพอดีกับการทำวีซ่า หรือ สมมุตพี่ๆๆ เพื่อนๆ มีเพนชัน จาก เสตท $4000 มีเงินประกันสังคมอีก $2000 อันนี้ก็ขอ LTR ได้เช่นกันค่ะ มันสะดวกมาก ได้เข้าช่องพิเศษ ได้วีซ่า 10 ปีเลย ต่ออายุทุก 5 ปี ศึกษาได้จากเวบไซด์ของกระทรวงต่างประเทศได้ค่ะ ตอนทำปีที่แล้ว 2022 จ่ายค่าธรรมเนียม 50,000 baht ค่ะ

ใครต้องการศึกษา LTR Visa ไปที่นี่ค่ะ วีซ่า 10 ปี https://www.thaievisa.go.th/ltr-visa

การขอวีซ่าที่กระทรวงต่างประเทศออนไลน์ค่ะ https://thaievisa.go.th/

ขอวีซ่าเสร็จแล้วกงศุล ประจำเขตจะอนุมัติให้ถ้าเราทำตามเงื่อนไข ต่างๆ ที่ระบุไว้นะคะ  เสียค่าธรรมเนียมได้ evisa เดินทางสะดวกมากๆๆ ค่ะ.

แหวนแนะนำให้ขอมาตอนเราอยู่อเมริกาเลยค่ะ จะได้ไม่ต้องเหนื่อยวิ่งเรื่อง เว้นแต่ว่าชอบไรพวกนี้ก็จัดไปค่ะ ขอที่อเมริกา ทำทุกอย่างออนไลน์สะดวกสุดๆๆ เหมาะกับคนที่ถนัดภาษาอังกฤษหรือมีคนช่วยนะคะ

(ในอนาคต อาจจะมีบริการจุดนี้ค่ะ ตอนนี้ยังไม่มีทีมพร้อมค่ะ)

Retirement 401(k), 403b, pension จะรับกันอย่างไร

หลายๆๆ คนมีเงินเกษียณ มากกว่าหนึ่งแหล่ง เช่นจากเค้าตี้ ซิตี้ เสตทก็มีค่ะ แต่ละหน่วยงานจ่ายเงินให้ทางธนาคารที่ไทยได้เช่นกันต้องไปคุยกับต้นสังกัดนะคะ.  บางที่อาจจะไม่ได้ แต่ส่งเชคให้ได้ หรือก็นำเข้าบัญชีธนาคารที่อเมริกาได้ค่ะ  ฉะนั้นถ้ามีเพนชั้นของหน่วยงานที่ไม่โอนเงินเข้าไทยให้หรือส่งเงินเชคให้ต้องไม่ปิดบัญชีที่อเมริกานะคะ.

มีกลุ่มลุกค้าที่รับเงินเกษียณผ่านหน่วยงานราชการที่นี่ รับเป็นเดือนๆ และได้ส่งเงินเข้าบัญชีไทยให้เช่นกันค่ะ (ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนะคะ ไม่ได้ทุกที่ค่ะ)

Lump sum retirement ถอนเงินออกไปเลยก้อนเดียวไม่กลับมาแล้วที่อเมริกา

ทำแบบนี้ก็ได้เช่นกันค่ะ ยอมเสียภาษีแบบหนักๆๆ ส่วนตัวแล้วไม่แนะนำเลยค่ะ เพราะถอนเป็นก้อนเอาไปที่ไทย เราจะใช้กันหมดเหรอ แล้วถ้าเกิดเราอายุยืนล่ะ เงินจะพอใช้ไม๊  ถอนแล้วเอาไปฝากกองทุนต่างๆ ที่ไทยได้ไม๊ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน  ก็ต้องปรึกษากับกลุ่มที่วางแผนด้านการเงินอีกรอบกรณีมีเงินเยอะๆๆ

ถ้าเงินมีไม่มาก (มากน้อยแล้วแต่จะพิจารณากันนะคะ)  ให้ทยอยถอน ให้ลงทะเบียนออนไลน์แบงค์กิ๊ง และเก็บเบอร์มือถือของอเมริกาไว้ หาเลือกแบบค่าบริการไม่แพง หรือพ่วงกับครอบครัวค่ะ  

จำเป็นไม๊ต้องถอนเงินหมด?

ส่วนตัวแล้วมองว่าไม่จำเป็นเลยค่ะ ยุคนี้ทุกอย่างออนไลน์ ปลอดภัยหรือไม่เราก็ต้องระวังกันค่ะ ดิฉันมองว่าสะดวกและก็ปลอดภัยค่ะ ถ้าไม่ไปคลิกลิงค์อะไรที่ไม่รุ้จัก ใช้เฉพาะที่จำเป็นค่ะ.

เบอร์ที่อเมริกาสำคัญนะคะ กรณี กลุ่มที่มีรายได้หลายๆๆ แหล่งจาก เพนชันที่ต้องรับเป็นรายเดือน ต้องมีการยื่นแบบภาษี ตอนนี้ทางกรมสรรพากรอเมริกา ให้มีการยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์ค่ะ

The IRS – Id.me ลงทะเบียนกับกรมสรรพากรอเมริกา

กลุ่มที่จะกลับไปไทยถาวร ถ้าใช้อินเตอร์เน็ทไม่เป็นควรจะหาคนช่วยลงทะเบียนออนไลน์กับ กรมสรรพากรอเมริกาค่ะ  จะได้รุ้เห็นทุกอย่างเกี่ยวกับบัญชีเรา  ถ้าป่วยติดเตียงแล้วจะทำลำบากมากค่ะ  ทางดิฉันเองมีให้ทีมงานช่วย กลุ่ม สว ลงทะเบียนลำบากเช่นกันค่ะ แต่ก็ทำได้ค่ะ  โดยใช้เบอร์โทรของคนทีนี่  แนะนำให้ทำก่อนค่ะ ก่อนที่จะกลับไทย และเข้าไปดูการยื่นภาษีต่างๆในอดีตนะคะ

Housing in Thailand บ้านที่พักอาศัยที่ไทย

ก่อนจะเกษียณไปเลือกไว้เลยคะจะไปอยู่ภาคไหนของไทย เมืองไหน และต้องเช่าบ้านหรือซื้อบ้าน มีงบประมานเท่าไร วิธีการใช้ชีวิตเป็นเช่นไร  เราต้องรู้ตัวเราเองใช่เปล่าค่ะ หลักๆ ๆคือ ญาติพี่น้องเยอะไม๊ ต้องช่วยเขาไม๊ด้วยเปล่าเอ่ย

มีเงินเท่าไรถึงพอ $1000 เหรียญ นี่ก็สบายแล้วค่ะ ถ้าบ้านไม่ต้องเช่า หรือจะเช่าอพารทเม้นไม่แพงมากก็อยู่ได้เช่นกันค่ะ อยู่ที่ตัวที่คุณๆๆ ท่านๆๆ จริงๆ

ครอบครัวแหวนเองอยู่ต่างจังหวัด จึงมีบ้านต่างจังหวัดใกล้ครอบครัว จะได้มีคนมาดูบ้านให้ และต่างจังหวัดค่าใช้จ่ายไม่แพง   แต่เนื่องจากสามีฝรั่งไม่ชอบอยู่ซ้ำซากจำเจ ชอบทะเล  จึงมองหาบ้านใกล้ทะเลแบบเดินไปได้  เพราะติดทะเลจริงๆ จะแพงมากค่ะ  เสียดายเงินเอาไปทำอย่างอื่นดีกว่าเพราะงบประมานมีจำกัดเช่นกัน  ไม่ใช่เอาเงินเกษียณเราไปลงกับบ้านติดทะเลหมด จะปล่อยเช่าจะคุ้มหรือไม้ด้วย  ถ้าคิดจะลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ Airbnb or home rental ที่อเมริกาตลาดน่าจะดีกว่าได้เงินดีกว่าค่ะ แต่ต้องจ้าง property management ที่ดีๆค่ะมีเยอะแยะไปที่เขาทำเป็นอาชีพ  นะคะ.

Bank owed property ลองประมูลที่แบงค์ทรัพย์สินธนาคารต่างๆๆ

ทรัพย์สินที่ธนาคารถือครอง อาจจะอยุ่ในสภาพทีต้องซ่อม (เหมาะกับงบประมานไม่เยอะไม่อยากเช่า) หรือมีที่ดินต่างๆจังหวัด ได้ราคาดีๆๆ ให้ญาติๆๆ ประมุล หรือจ้างคนประมูลค่ะ   ธนาคารจะมีช่วงโปรโมชั่นทุกปีเลยค่ะ ฟรีค่าโอน ลดราคานะคะ  หาเอเจ้นไว้เลยค่ะ นายหน้าที่ไทยจะเก่ง มีทรัพย์ขายที่ธนาคารถือครองในมือก็เยอะค่ะ.  ปล. วันก่อนบอกเพื่อนที่เป็นนักภาษีด้วยกันมีที่ขายสระบุรีไม่ถึงล้าน แค่ สี่แสนบาทเอง เอาไว้ปลูกบ้านได้เลย  พวกนี้เราต้องคอยดูเรื่อยๆ นะคะ.

หรือไม่ซื้อล่ะ จะเช่าและย้ายไปเรื่อยๆๆ  แบบนี้ให้นึกถึงตัวเองตอนสังขารไม่พร้อมด้วยค่ะ 😊 ถ้าเกษียณเมื่อเยาวัยก็ยังได้อยุ่ค่ะ  สำหรับคู่ดิฉันเองสามีก็ สว ตัวเองก็ สก ค่ะ เลยซื้อบ้านเลยดีกว่า และญาติเยอะ ๆๆ ให้ลูกๆ หลานๆๆ ได้ใช้พักผ่อน กรณีเราไม่อยู่อาศัย.

Author’s comment

ดิฉันจะเกษียณที่ไทยค่ะตั้งใจไว้แล้ว เสียดายเงินค่า retirement home หรือถ้าต้องอยู่บ้านคนเดียวไม่น่าจะสนุก  และมองว่าตัวเองน่าจะทำประโยชน์ให้สังคมได้มากกว่าที่ไทย เมื่อวัยเกษียณค่ะ  เกษียณไมใช่ไม่ทำอะไรเลยค่ะ จะทำไปอยู่แบบไม่เร่งรีบ สบายๆๆ ค่ะ  ยังชวนกลุ่มเพื่อนๆ มาพักอยู่ใกล้ๆๆ กันจะได้ช่วยเหลือกัน ตั้งกลุ่มสอนภาษาอังกฤษ หรือให้คำแนะนำน้องๆ เมียฝรั่งรุ่นหลังๆๆ มาสร้างตัวที่อเมริกากันอย่างไรก่อนกลับ  ลงทุนออมยังไงแบบไหนดี  มาชวนกันปลูกป่า เพิ่มสีเขียว ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ทะเล ป่าเขา ล่องกันไปค่ะ

เกษียณ ไม่น่าจะใช้เงินมากมายค่ะ ถ้าเรายังคนไทยประกันสุขภาพบ้านเราก็มี ถ้าอยากดุแลดีๆๆ หน่อยก็เตรียมไว้อีกค่ะ  ยังไงค่ารักษาพยาบาลก็ยังถูกกว่าที่อมริกา 

ปล. เมดิแคร์ไม่ได้ครอบคลุมที่ไทยนะคะ ถ้าใครยังไม่ทราบ แต่ตอนนี้ถ้ายังสุขภาพดีให้ซื้อประกันที่ไทยไว้ด้วยก็ดีค่ะ.

รบกวนอ่านให้หมด แล้วมาตั้งคำถามเพิ่มเติมนะคะ เพราะเขียนไว้แบบคร่าวๆ สรุปหัวข้อหลักๆๆ


Sources: ที่มา : Experiences from customers

วันที่ : วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖, Sunday, July 30th 2023

เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์
(US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

  • S Corp & LLC due date March 15th
  • Corporation due date April 18th
  • Individual due date _April 18
  • Individual living outside the U.S. due date is June 15

Apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง

*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***

*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*

**I am not an attorney; this article is only for information and comments about investment and taxes. **

ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***

(We provide accounting, and taxes related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.

เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.***