Law protects pregnancy workers

Law protects pregnancy workers

กฏหมายครุ้มครองผู้หญิงท้องในการทำงาน

 

 

ขอเกริ่นคร่าวๆๆ สำหรับ กลุ่มที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกฏหมายแรงงาน นิ๊ดหนึ่งนะคะ. เพราะ ถ้าคนทำงานประจำ ทำงาน โรงงาน หรือมีสามีภรรยาทำงานประจำ จะได้ยินได้ฟัง ปัญหาด้านแรงงานต่าง ๆ พร้อมทั้ง รู้อยู่เต็มอกว่า กฏหมาย แรงงาน ครุ้มครอง ทุก เพศ วัย เชื่อชาติ สัญชาติ ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และห้ามกีดกัน (ว่ากันตามหลักการของกฏหมาย แบบชาวบ้านที่ไม่ใช่ทนายนะคะ).

 

ความเห็นส่วนตัวแล้ว คิดว่า “การกีดกัน” ยังมีอยู่คะ แต่แบบไม่เปิดเผย แบบชัดเจน เพราะ เข้าข่ายการพิจารณาของแต่ละคน. ตัวอย่างเช่น คนเอเชียเก่งมาก เรียนเก่ง เกรด เฉลี่ยสูงสุด มีประสบการณ์ดี แต่ไม่ได้งานตำแหน่งเดียวกัน กับ คนขาว (กละ ๆ ) เพราะ ทางฝ่ายบุคคลให้เหตุว่า “We find an applicant that is better fit” เห็นเปล่าคะ เหตุผล นี่คือใช้ได้ตามกฏหมายเลยคะ. อีกอย่างการเลือก คนเข้าทำงานนั้น มันขึ้น อยู่ กับ ว่าเขาถูกชะตาเราแค่ไหนด้วยคะ  เรื่องเก่ง และความสามารถ เอาไว้พิสูจน์กันรอบหลัง.

 

มาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าคะ . กรณีนี้คือ คนท้องถูกให้ออกจากงาน เพราะนายจ้างรู้ว่าท้อง เหตุเกิดขึ้นที่ SAN DIEGO — Tarr, Inc. and Zenith, LLC, a San Diego-based company บริษัทนี้ขายพวก ไวตามินต่าง ๆ นะคะ ตามที่อ่าน.  บริษัทนี้ถูกฟ้อง โดย กรมแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของ สาวที่ท้องนะคะ.  กรมแรงงานตั้งข้อกล่าวหาว่า ให้หญิงท้องออก เมื่อทราบว่าเขาท้อง ถือว่าทำผิดกฏหมายแรงงาน.
    
                                     
บริษัทเดียวกันนี้เคยมีกรณี ถูกฟ้อง ว่า ไม่ให้หญิงที่คลอดลูกกลับไปทำงานที่เดิมด้วยคะ จากที่ทางกรมแรงงานได้ระบุไว้  (งานเข้าเลยนะเนี่ย เสียหายเลย)
กรมแรงงานระบุว่า ข้อที่นายจ้างผิดคือ Title VII of the Civil Rights Act of 1964. มีการเจรจาต่อรองจากนายจ้างด้วยนะคะ แต่กรมแรงงาน ต้องการให้จ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานด้วย  พร้อมทั้งกับ พนักงานคนอื่นๆ ที่เคยถูกให้ออกก่อนหน้านี้ด้วย (งานเข้ายาวเลยงานนี้ ฟ้องคน ส่งผลให้หลาย ๆ คนได้รับผลประโยชน์)

 

นอกจากนี้ กรมแรงงาน ยังสั่งให้ แก้ไข นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับ การจ้างคนท้องด้วยนะคะ .

 

Christopher Green, director of the EEOC’s San Diego local office, added, “Women should not have to choose between their job or having children. Employers need to be aware that the EEOC takes pregnancy discrimination seriously and the agency will continue to protect the rights of pregnant employees.”   กรรมการ ของ กรมแรงงานที่ ซานดิเอโก้ พูดไว้นะคะว่า “ผู้หญิงไม่ควรที่ต้องเลือกระหว่าง การมีบุตร กับการทำงาน. นายจ้าง ควรจะรู้ถึงหน้าที่ของตัวเอง และ พึงตระหนักว่า กฏหมายแรงงานเคร่งครัดมากเกี่ยวกับการครุ้มครองผู้หญิงที่ท้อง และจะป้องกันสิทธิของคนท้องแบบเต็มที่”  เอวัง ด้วยประการละ ฉะนี้

 

**มีเคส ของ รัฐ วิสคอนซินด้วยนะคะ ใครอยากอ่านเพิ่มเติม ดูได้ตามลิงค์คะ
คนท้องทำงานเบา ๆ ได้ หางานที่เขาทำได้ ไม่ใช่ไล่เขาออกนะคะ เคสนี้จะเป็นลักษณะนี้คะ
มีตัวอย่างไปถึงศาลสูงสุดของอเมริกา  Young v. UPS  เกี่ยวกับการไล่คนท้องออกมาแล้ว เคสต่อ ๆ มา ที่กรมแรงงานฟ้อง ถึง ชนะ ตลอด.

 

ที่มาแปลก พูดถึงกฏหมายแรงงาน ก็คืออยากให้เจ้าของกิจการเล็ก กลาง ใหญ่ พึงระวัง เรื่องการจ้างคนงานและให้คนออกจากงาน แม้ว่าทุกๆ รัฐ จะเป็น at will employment จะเลิกจ้างวันไหนเมื่อไหร่ ก็ได้  ระวังให้คนท้องออกด้วยนะคะ. 

 

ส่วนฝั่งของคนทำงาน (ทุกสถานะ รวมถึง โรบินฮู๊ด)  พึง รู้สิทธิพื้นฐานของตัวเองนะคะ ว่ากฏหมายครุ้มครอง ว่า นอก จากจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฏหมายของรัฐบาลกลางแล้ว ยังมีกฏหมายตัวอื่น ๆ ครุ้มครองคุณคะ

 

เรียบเรียงโดย      : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
ที่มา                  : U.S. Equal Employment Opportunity Commission,
(EEOC v. Tarr, Inc., and Zenith, LLC, Case No. 3:17-cv-01660-W-WVG)
EEOC v. Silverado Menomonee Falls, LLC d/b/a Silverado Oak Village and Silverado Senior Living, Inc., Civil Action No. 2:17-cv-1147
วันที่                  : วันอังคารที่ 22nd   สิงหาคม 2560, Monday, August 22nd   2017