การทำธุรกิจร้านอาหารในอเมริกา (ภาค4) – สำเร็จหรือไม่

Starting restaurant business Part IV (SUCCESS or NOT)

ร้านอาหารไทยในอเมริกาเยอะมากๆๆ ถ้ารวมร้านเอเชียหรือร้านประเภทอื่นๆ ก็ยิ่งเยอะเข้าไปอีก. จากการคุยกับกลุ่มเพื่อนๆที่ทำบัญชีกลุ่มของคนพูดภาษาอื่น และเอเชียด้วยกันทราบว่าการบริหารคล้ายกัน ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านไทยเท่านั้น ที่มีการบริการแบบความเป็นเฉพาะตัว. ดังนั้นแต่ละร้านล้วนแล้วเจอปัญหาเดียวกันทั้งด้าน แรงงงาน วัตถุดิบ และการจัดการ ข้อยกเว้นคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีกว่ามีระบบการบริหารด้านวัตถุดิบดีกว่า ส่วนการเข้าออกคนทำงานก็คล้ายๆ กัน. ข้อแตกต่างระหว่าง chain ใหญ่ๆ เช่นกลุ่มดังๆ เขาจะไม่มีการจ่ายเงินสด การขอรับเงินสดครึ่ง การขอไม่รับเงินเข้าระบบค่าแรงเลย และการจ้างงานที่ไม่ผ่านระบบ i9 e verify.

How to measure success? วัดได้อย่างไรว่าร้านประสบความสำเร็จ
การตีความว่าร้านประสบความสำเร็จหรือไม่อาจจะขึ้นอยู่กับเจ้าของเอง เพราะบางกลุ่มแค่ว่าเลี้ยงครอบครัวได้ไม่ขาดทุนก็ดีแล้ว บางกลุ่มต้องมีการแบ่งผลกำไร เท่านั้น

Profit/loss ผลกำไรขาดทุน
ถ้ากิจการได้มีการแยกการใช้จ่ายส่วนตัวกับธุรกิจออกมาอย่างสิ้นเชิงนั้น สามารถวัดได้เช่นกัน ถ้าทำแบบนี้คือ เจ้าของรับเงินเดือนในระบบค่าแรง จ่ายพนักงานจริงปกติ จ่ายค่าวัตถุดิบค่าเช่าไมค้างภาษี สิ้นเดือนมามีผลกำไร แสดงว่าร้านไปได้สวยแล้วค่ะ. นอกจากนี้ ถ้าจะขายกิจการก็จะได้ราคาดี เพราะคนส่วนใหญ่ยังมองดูกำไรของธุรกิจก่อนตัดสินใจซื้อ. ที่สำคัญถ้ามีการขยายธุรกิจใหม่ๆ ธุรกิจปัจจุบันต้องมีผลกำไรถึงจะกู้เงินเพื่อมาเพิ่มทุนด้วย อันนี้ยกเว้นกรณี covid ที่รัฐเข้ามาช่วยนะคะ ขาดทุนก็ยังกู้ได้

Partnership มีหุ้นส่วนที่มีความสามารถแตกต่างกัน
กิจการที่มีผลกำไรทุกร้าน และมีมากกว่า สามร้านนั้น ส่วนใหญ่ เจ้าของจะมีหุ้นส่วน ไว้ใจหรือไม่ไม่ทราบค่ะ แต่คิดว่า ทางด้านการเงินค่อนข้างจะโปร่งใส อาจจะมีหลุดบ้างแต่เจ้าของหลักไม่ได้ใส่ใจ มองข้ามสิ่งจุ๋มจิ๋มออกมา และมองภาพกว้าง. ยกตัวอย่างจากกลุ่มลูกค้าที่มี 5 กิจการ มีผลกำไร 4 กิจการขาดทุน 1 กิจการ และทุกกิจการเจ้าของหลัก บริหารไม่ได้ไปทำในร้าน หรือทำน้อยมาก หรือวิ่งไปซื้อของแต่ละร้าน และการซื้อของก็สั่งจากที่เดียว นอกจากจะได้เครดิต และยังลดต้นทุนได้ด้วย.

มีแค่กิจการเดียวแต่มีผลกำไร ร้านนี้คือเจ้าของบริหารเอง ทำกันเองแค่ในครอบครัว มีการรับเงินเดือนปกติ หลังจากรับเงินเดือนก็มีผลกำไร ต้นทุนไม่เกิน 25 เปอรเซ็น ร้านมีลูกค้าประจำ เป็นร้านที่ก่อตั้งมานานกว่า 4 ปี.

Recipe ร้านมีสูตร
ร้านที่มีสูตรการทำอาหาร การตวงที่ชัดเจน พนักงานคนหนึ่งหยุด อีกคนมาทำแทนได้ รสชาติไม่เปลี่ยนแปลงมาก พนักงานชาติอื่นมาทำงานได้ แม้ว่าชาติอื่นจะทำงานเฉพาะอย่าง ไม่เป๊ะเรื่องรสชาติแต่ก็ใกล้เคียง ชาติอื่นอยู่ในระบบค่าแรง ไม่ต้องจ่ายใต้โต๊ะ ร้านแบบนี้ พออยู่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ่อครัวแม่ครัวหลักคนเดียว กำไรไม่เริด ไมขาดทุน เจ้าของรับเงินเดือน มีเงินลงทุน ซื้อหุ้น ซื้ออาหารต่อได้ค่ะ.

Business hours เวลาทำการที่แน่นอน
ร้านมีการสื่อสาร กับกลุ่มลุกค้าที่ดี ปิดเปิด สม่ำเสมอ ไม่ใช่อยากเปิดก็เปิด อยากปิดก็ปิด ร้านส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะเปิดทุกวัน อย่างน้อย เวลาเย็น หรือเช้า แต่ก็ไม่สม่ำเสมอค่ะ ร้านที่ตั้งเวลาปิด จันทร์ อังคาร หรือพุธ นั้นก็มีประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

Non Thai restaurant (American breakfast)
ร้านที่ไม่ใช่อาหารไทย ขายเฉพาะอาหารเช้า เปิดถึงแค่ บ่าย 2 เท่านั้น พนักงานส่วนใหญ่เป็นอเมริกัน เมนูไม่ได้ซับซ้อน จุดขายคือคนไทยเจ้าของจัดระบบดี ร้านสะอาด อาหารอร่อย มีสำรองเรื่องคนและแหล่งวัตถุดิบ การแบ่งงานเป็นกะ หรือ shift มีสวัสดิการให้พนักงาน มีโบนัส มีพักร้อน มีเงินพิเศษ. ทิปจะเป็นของพนักงานเจ้าของจะไม่แตะ. ร้านมีหุ้นส่วนและหุ้นส่วนไม่ทะเลาะกัน แบ่งงานกันบริหาร สร้างร้านเองบริหารเอง เลือก prime location คือทำเลเลย ยอมสร้างร้านแพง. ร้านแบบนี้มีหลายร้านเจ้าของกลุ่มเดียว บริหารต้นทุนได้ดีมาก สรุปแล้วร้านมีกำไรดี หลังจากที่จ่ายเงินเดือนให้พนักงานรวมเจ้าของแล้ว. มีผลกำไรแบ่งกัน ทุกไตรมาส หรือถ้าขยายต่อไม่แบ่งเอาไปลงทุนกันต่อ.

Failures ร้านที่ต้องปิดไป
ร้านบริหารโดยอดีตลูกจ้าง แล้วออกมาทำร้านเอง เจ้าของไม่มีระบบระเบียบด้านเอกสาร ไม่มีระบบบัญชีที่ดี ขายอย่างเดียว ราคาไม่แพง เพราะกลัวลูกค้าไม่มากิน ขายได้เยอะมาก แต่ผลติดลบ พอติดลบหลายๆ เดือน เจ้าของไม่มีเงินมาเติม ค้างจ่ายภาษีขาย ไม่รันค่าแรงเพราไม่มีเงินจ่ายภาษี เจ้าของก็ไม่ได้รับค่าแรง ทำงานฟรีๆๆ ปิดตัวหรือขายต่อแบบถูกๆ หรือให้เจ้าของตึกมา take over เพื่อยกเลิกสัญญาเช่าที่ต้องเซ็นไว้หลายปี.
ร้านไม่ได้อยู่ในทำเลที่ดี ร้านสร้างขึ้นมาเองใหม่ ไม่ใช่ร้านซื้อต่อ ลงทุนไปหลักแสน แต่สุดท้ายทำไปหกเดือนก็ขายไมได้พอที่จะมีรายได้ที่จะจ่ายค่าเช่าและค่าวัตถุดิบ

ร้านไปซื้อต่อร้านที่เจ๊ง ได้มาไม่แพง ฐานลูกค้ายังไมแน่นพอ และ เจ้าของยังไม่คุ้นเคยกับท้องถิ่น และไม่ได้สำรวจกลุ่มลุกค้าก่อนตัดสินใจซื้อกิจการมา ลงทุนเข้าไป ค่าแรงไมได้ สุดท้ายก็ต้องถอยกลับมา.

สังเกตุจากร้านเจ๊งส่วนใหญ่คือ1.) เจ้าของ เคยเป็นพนักงานแล้วมาทำเอง แต่บริหารต้นทุนไม่เป็น ไม่จัดทำบัญชีทำเอกสารให้ถูกต้อง. 2.) ไม่เคยทำร้านอาหาร ตัดสินใจกระโดดเข้าสู่ธุรกิจนี้แร็วไป 3.) ซื้อกิจการที่มีกำไร และมาทำต่อไม่ได้ดีพอเท่ากับเจ้าของเดิม. 4.) เจ้าของไม่บริหารต้นทุน ขอให้ฉันขายได้เยอะ ของแพงช่างมัน ท้ายสุดเงินก็หมุนไม่พอ รับงานข้างนอกไม่รับมัดจำเลย บางงานขาดทุนหลายหมื่น เพราะความเกรงใจและรู้จักกัน. 5) เจ้าของไม่ได้บริหารเอง ไว้ใจคนใกล้ชิด มีการทำบัญชีได้อีกเล่ม ยกเลิกใบเสร็จในระบบ pos system เก็บเงินสดเข้ากระเป๋า จ่ายพนักงานใต้โต๊ะ ลงบัญชีไม่ได้ มีกำไรเฉพาะตัวเลข แต่ cash flow ไม่มี ก็ต้องจบไป

Comments from Author:

แค่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากมุมหนึ่งของนักบัญชีที่ทำบัญชีให้ธุรกิจ ประมาน 100 ร้าน ทั้งที่มีเจ้าของคนเดียวเจ้าของหลายคน ทั้งที่รวย และ เจ๊ง. เจ๊งไม่ใช่ว่าขายไม่ได้ไม่มีกำไร เจ๊งเกิดจากกระแสเงินสดที่เอาเงินไปใช้อย่างอื่นนอกจากธุรกิจ. กำไรมีขยายธุรกิจต่อเนื่องๆ เงินต่อเงิน แบบนี้ก็มีอยู่หลายราย รวมถึง แย่2-3 ปีแรกแทบจะไม่มีค่าเช่า แต่6ปีหลัง รวย อู้ฟู้ก็มีค่ะ.


Sources: ที่มา : สถิติจากการทำบัญชีร้านอาหารและฟังต่อๆมา

เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

วันที่ : วันจันทร์ที่ 12  เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ Monday, December 12th, 2022

apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง

  • S Corp & LLC due date March 15th
  • Corporation due date April 18th
  • Individual due date _April 18
  • Individual living outside the U.S. due date is June 15

*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and Taxes.ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.

Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues. ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ

(We provide accounting, and tax related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.

เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.