US Business Acquisition การเทคโอเวอร์หรือการได้มาซึ่งธุรกิจอเมริกา

หัวข้อนี้ การเทคโอเวอร์ การซื้อ การได้มาซึ่งธุรกิจในอเมริกานี้ ลึกๆๆ แล้วอยากสนับสนุนให้ทุกคนเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ มีเงินมากน้อยแค่ไหน ถ้าตั้งใจก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้

Purchase assets การซื้อทรัพย์สิน

                        การซื้อทรัพย์สิน การซื้อชื่อเสียงของธุรกิจ ที่ดำเนินการมาแล้วก็ทำได้ อาจจะโดยการเข้าไปซื้อในนามบุคคลธรรมดา หรือจัดตั้งบริษัทขึ้นมา ในรูป LLC C Corp เพื่อไปซื้อทรัพย์สินนั้นๆๆ

การทำธุรกรรมแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในอเมริกา จดทำเบียนธุรกิจขึ้นมาใหม่โดยไม่ต้องกังวัลถึงหนี้สินเก่าๆๆ สดใส

ข้อด้อย คือธุรกิจใหม่ไม่มีเครดิต เจ้าของเองต้องเป็นคนค้ำประกัน ใช้เครดิตของเจ้าของ ทั้งการกู้ การเซ็นสัญญาเช่า

Equity/stock purchase การซื้อหุ้น

            การซื้อหุ้น คือเข้าไปซื้อหุ้นของเจ้าของเดิม โดยคงทุกอย่างไว้เช่นเดิม ชื่อกิจการเดิม ทรัพย์สินอะไรต่างๆ เหมือนเดิม  การซื้อขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย จะซื้อขายเท่าไร คือไปเทคส่วนของผุ้ถือหุ้นทั้งหมดเลย   สมมติ book value มีแค่ $100,000 เจ้าของใหม่ตกลงซื้อที่ $200,000 แสดงว่าเจ้าของเก่ามี กำไรที่ $100,000 กำไรนี้ จะต้องรายงานในส่วนของเจ้าของภาษีส่วนตัว ไม่เกี่ยกับธุรกิจ ทุนในกิจการก็ยังคง $100,000 ตาม book value ไม่ได้ไปเพิ่มส่วนทุนที่ $200,000 ในกิจการ.  หลายคนเข้าใจผิด ฉันซื้อ สองแสนทำไมทุนฉันไม่สองแสน  ต้องทำความเข้าใจคุณไปซื้อหุ้นไม่ได้ซื้อทรัพย์สินของกิจการ ที่จะลงมูลค่าทุนตามเงินที่ซื้อได้

ข้อดีอ ไปทำต่อได้เลย business license อย่าง liquor license แค่อัพเดทว่าใครคือเจ้าของใหม่ city business license ก็อัพเดทใครเป็นเจ้าของใหม่ แต่ก็ทำต่อได้เลย ไม่หยุดทำเงินได้

ข้อเสียคือ ถ้ากิจการนั้นมีภาระภาษีค้าง คุณก็รับภาระไป แต่หลายๆๆ เสตทถ้าเป็นหนี้สินเก่าจะตามกับกรรมการคนเก่าค่ะ เช่น New York, New Jersey แต่ถ้าตามคนเก่าไม่ได้ก็กรรมการใหม่ละค่ะ ฉะนั้นเจ้าของใหม่ ทำสัญญาให้รัดกุมว่า ถ้าหนี้สินเดิม เจ้าของเก่าต้องรับผิดชอบเด้อค้า

Lease buyout การไปซื้อสิทธิการเช่า จากเจ้าของเก่ารือเจ้าของตึก

เกิดขึ้นกับลูกค้าหลายๆๆ รายที่เจ้าของใหม่ ยอมจ่ายเงินให้และไม่ตอ้งการชื่อเสียง หรือสูตรอาหาร อุปกรณ์

ต่างๆ ก็ไม่เอาเลย ก้มี แบบสร้างใหม่หมด ซื้อเพราะต้องการทำเล

เริดสุดก็ไปติดต่อกับเจ้าของตึก กับร้านเก่าๆ ที่ทิ้งร้าง และขอซ้ออุปกรณ์ได้ในราคาที่ถูก ตัวอย่างนี้เคยทำช่วยกลุ่มลูกค้าที่ ในมอลลต้องการให้มีร้านไทยและมีอุปกรณ์เก่า  เราเองเป็นคนประสานงานกับ เอเจ้นบริษัทใหญ่มาก  และผ่าน linkedin ที่มี connection ด้วยกัน ตอนนั้นยังทำงานประจำที่โค๊กอยู่ค่ะ โปรไฟน์เครมาก เอเจ้นให้เซ็นสัญญาดีมาก และพี่ๆๆ น้องๆ เจ้าของร้านไม่ได้ภาษาอังกฤษเลย เราช่วยทุกกระบวนการ

ราบรื่นค่ะ ตอนนี้ เจ้าของขายร้าน เรียบร้อยโรงเรียนสาวเหนือไปแล้ว

Author’s comment การทำธุรกรรมทุกรูปแบบแนะนำให้ทำงานกับ ทนายความ cpa accountant ที่มีประสบการณ์เพื่อช่วยแนะนำด้านต่างๆ นะคะ การทำธุรกิจคือการลงทุน เตรียมงบประมาน เตรียมเครดิตของคุณเอง เพราะการทำธุรกิจ ดูหลักๆ คือเครดิตสกอร์ ฐานรายได้ของคุณเองนะคะ

Sources: ที่มา :  ประสบการณ์จากการทำบัญชีและภาษี

วันที่ : วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗, Sunday, February 18th 2024

เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์
(US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

  • S Corp & LLC due date March 15th
  • Corporation due date April 18th
  • Individual due date _April 18
  • Individual living outside the U.S. due date is June 15

Apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง

*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***

*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*

**I am not an attorney; this article is only for information and comments about investment and taxes. **

ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***

(We provide accounting, and taxes related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.

เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.***