Starting a Business อยากทำธุรกิจของตัวเอง

อยากทำธุรกิจของตัวเอง Starting a Business 6042

การทำธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ๆ ไม่มีลูกจ้าง หรือ ขนาดใหญ่ ๆ ที่มีลูกจ้างมากกว่า 50 คน จะมีกระบวนการคล้าย ๆ กันในการจัดตั้งรูปแบบของธุรกิจ. หน่วยงานรัฐบาลเช่น Small Business Administration (SBA) และ The Internal Revenue Services (IRS) ได้มีคำแนะนำต่าง ๆ ไว้ทางเว็บไซด์ เพื่อแนะนำผู้ประกอบกิจการ ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง.

ส่วนตัวเองแล้วก็มีธุรกิจขนาดเล็กๆ ด้านบริการเช่นกันคะ ก่อนจะมีกิจการของตัวเอง ก็ใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ให้ปวดหัวน้อยที่สุด. เนื่องจากตัวเองเรียนด้านบริหารธุรกิจมา และทำงานด้านนี้มาตลอดจึงค่อนข้างจะได้เปรียบในการจัดตั้งรูปแบบธุรกิจ. แต่ก็ไมได้ว่ารู้ทุกเรื่องนะคะ คนที่ประสบความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องเรียนมาด้านธุรกิจ แต่มีความสามารถในสาขาของธุรกิจที่ถนัดและก่อตั้งธุรกิจก็ประสบความสำเร็จมามากมายคะ.

1.) โครงสร้างของประเภทธุรกิจที่เราจะจัดตั้ง มีหลายแบบ ที่นิยมกันมากคือ แบบ บริษัทจำกัด Limited Liability Company (LLC) และ Small Corporation (S-Corp). การจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัด ในแต่ละรัฐ จะต้องทำตามขั้นตอนของรัฐที่เราอยู่ ส่วนใหญ่สามารถจดทะเบียนออนไลน์ได้เลย. ต้องศึกษาดูว่าจดทะเบียนแบบไหนง่ายสุด ประหยัดค่าธรรมเนียมที่สุด ค่าธรรมเนียมรายปีน้อยที่สุด ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันมากคะ.

2.) ภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น

2.1) self-employment tax ถ้าจดทะเบียนแบบ LLC ซึ่งในตัวบริษัทจะไม่มีภาษีใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ผลกำไรสุทธิของกิจการที่ผ่านมายังสมาชิก (member) จะต้องมีการคำนวนภาษีประเภทนี้.

2.2) Employment taxes กิจการที่มีพนักงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่หักประกันสังคม เมดิแคร์ เพื่อนำส่งพร้อมทั้งเงินสมทบ และมีหน้าที่หัก ภาษีเพื่อนำส่งรัฐที่อาศัยอยู่ บางรัฐไม่มีภาษีระดับ รัฐ เช่น Texas, Florida, Washington, TN, มีรัฐอื่น ๆ ด้วยคะ ต้องตรวจสอบที่รัฐที่เราอยู่

3.) การขอเลขประจำตัวนายจ้าง Employer Identification Number (EIN). ไม่ว่ากิจการจะมีลูกจ้างหรือไม่ ทันทีที่จดทะเบียนเรียบร้อยควรจะขอเลขประจำตัวนายจ้าง ขอสมัครออนไลน์ได้คะ apply for it online.

3.1) ถ้ากิจการที่จะต้องมีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง ควรจะขอเลขประจำตัวนายจ้างประจำรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เหมือนเลขที่ได้รับจาก IRS

3.2) การขอเลขประจำตัวเพื่อนำส่งภาษีขาย ของแต่ละรัฐ รวมทั้งการขอ reseller permit เพื่อว่าผู้ขายจะไม่ต้องเรียกเก็บภาษีจากเรา (กรณี ร้านอาหาร กิจการขายของต่าง ๆ )

3.3) การขอลายเซ่นต่าง ๆ ตามกฏหมายของเมือง รัฐที่เราอยู่ แนะนำให้ไปนั่งคุยกับ ซิตี้ค่ะ จะได้รับข้อมูลที่แม่นยำและถูกต้อง ทุกเมืองจะมีหน่วยงานช่วยเหลือ ธุรกิจขนาดเล็ก

4.) การเลือกวิธีการลงบัญชี (Accounting Method) การเลือกรูปแบบในการลงบัญชีสามารถเลือกได้หลายแบบตามคำแนะนำจาก IRS แต่ตามหลักการบัญชีทั่วไป นิยมคือเกณฑ์

4.1) หลักคงค้าง Accrual basis คือบันทึกเมื่อมีรายการเกิดขึ้น

4.2) เกณฑ์เงินสด Cash basis คือบันทึกรายการเมื่อมีการรับจ่ายเงินสด

แหวนเคยเขียนความแตกต่างคร่าว ๆ สำหรับสองวิธีนี้ไว้แล้วค่ะ จากประสบการณ์ที่เห็นคือ กิจการเล็ก ๆ ไม่มีการบันทึกบัญชีใด ๆ สิ้นปีก็มีการรวบรวมส่งเอกสารเพื่อส่งให้กับ ผู้ทำภาษีเพื่อกรอกข้อมูล  ไม่มีกฏหมายใด ๆ บังคับให้ต้องทำบัญชีหรอกคะ แต่ทางหน่วยงานราชการแนะนำอย่างรุนแรงว่าควรมีการบันทึกบัญชี

5.) ประกันสุขภาพสำหรับพนักงาน กิจการจะได้รับเครดิตถ้ามีการจ่ายประกันสุขภาพให้กับพนักงาน จาก The Small Business Health Care Tax Credit อาจจะเพิ่มต้นทุนให้กับกิจการอย่างใหญ่หลวง  ควรจะคุยกับพนักงานถึงข้อดี และตกลงกันเรื่องค่าใช้จ่าย กิจการที่เสนอ ประกันสุขภาพให้พนักงาน เป็นกิจการทีดีคะ  ยิ่งเป็นเจ้าของคนเดียวพนักงานคนเดียว ก็หรูไปเลย เพราะยังไงเราต้องจ่ายอยู่แล้ว ผลักภาระเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทนะคะ  ควรติดต่อกับ เอเจ้นนะค่ะ ดูว่า ทางเลือกไหนที่ดีที่สุดต่อกิจการเรา  ถ้าจะเลือกเองก็ไปขอไปเสนอราคาจากบริษัทประกันหลาย ๆแหล่งคะ  ควรจะเริ่มต้นแต่เนิ่น ๆ นะค่ะ. เครดิตสูงสุดที่กิจการได้รับถึง 50% of premium เลยนะคะ น่าสนใจมาก ยิ่งเรากิจการเล็ก ๆ มีพนักงานไม่เกิน 25 คน หรือ 50 คน รวม พาร์ทไทม์ด้วย. อ่านที่ลิงค์เพิ่มเติมได้คะ Affordable Care Act for Employers

ข้อคิดจากประสบการณ์ตรงคะ

ทำไมหน่วยงานราชการถึงแนะนำให้มีการบันทึกบัญชี

เพราะว่าสามารถชี้แจงได้เมื่อมีการตรวจสอบ เวลาผ่านไปนานแค่ไหน เราก็มีข้อมูลไม่ลืมและมีบทเรียนสอนใจ ถ้าเราไม่บันทึกบัญชี เราจะรู้ได้ไง กิจการมีผลกำไรขาดทุนเท่าไร เอาเงินไปใช้ส่วนตัวเท่าไร ซึ่งกิจการขนาดเล็ก เงินของกิจการกับเงินส่วนตัวคือก้อนเดียวกัน.

แยกกิจการ(Business) และส่วนตัว (Personnel) ออกจากกัน

ควรจะพยายามทำอะไรตามช่องที่กฏหมายได้ระบุไว้ ถ้าเป็นไปได้ควรแยกบัญชีส่วนตัว ออกมาจากกิจการโดยสิ้นเชิงคะ  มีกรณีศึกษาจากที่เรียนมานะคะ กิจการจดทะเบียน S Corp เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สิน การฟ้องร้องจากหน่วยงานภายนอกรวมถึง IRS . กรณีมีอยู่ว่า เจ้าของกิจการได้นำเงินสดจากบัญชีของบริษัทไปใช้ส่วนตัวแบบมั่วสนิท . ความซวยเกิดขึ้น กิจการถูกส่มตรวจ จาก ผู้เสียภาษี โยงมายังบริษัท . เป็นผลให้ ทาง IRS ได้ประเมินว่า เงินที่ถอนใช้ส่วนตัว แม้ว่าจะมีการจ่ายเงินเดือนบ้างตามความเหมาะสม (ตามดุลพินิจจาก IRS) กลายเป็นว่า ต้องนำมาคำนวนภาษีเป็นรายได้ของเจ้าของกิจการ ที่สำคัญ ถ้ามีการฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ หรือ IRS กิจการจะสูญเสียความเป็น ส่วนตัว Limited Liabilities จะสูญสิ้น กลายเป็น Sole Proprietorship ทันที มีกรณีที่เกิดขึ้นจริงและกล่าวถึงกรณีศึกษาในชั้นเรียนขณะเรียนค่ะ มิได้ขู่นะคะ . ขนาดเจ้าของบริษัทที่เคยทำงานด้วย ฝรั่ง ยังเลิกเลย เพราะไม่ใช่เราพูดคนเดียว CPA ของครอบครัวฮีเองทีใช้บริการมายังรุ่นหลาน ก็พูดคำเดียวกับเรา.

 You get what you pay for! ถูกแต่ดีหายากมั๊กๆๆ  

การที่เราไปจ้างใครทำบัญชีให้ เราควรจะทราบด้วยนะคะ ว่าที่เขาทำให้ถูกหรือเปล่า ดูง่าย ๆ จากยอดขายคะ ซึ่งเราบวกเลขออกมาคร่าว ๆ ได้ ถ้ามันคลาดเคลื่อนมากควรจะถามคะ  ผลกำไรขาดทุนด้วยนะคะ ดูว่าเหมาะสมไม๊ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ใช่ว่า ส่งเอกสารไปให้แล้วจัดการให้เรียบร้อย เจ้าของกิจการมิรู้อิโหน่อิเหน่  ถ้าเกิดมีการตรวจสอบและคุณยื่นยอดขายผิด  CPA หรือคนทำบัญชีให้คุณไม่มีหน้าที่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นนะคะ ฟ้องก็ไม่ชนะคะ เพราะ คนทำบัญชีให้คุณจะบอกว่าเราได้ใช้ดุลพิจนิจแล้ว และทำตามเอกสารที่ทางผู้เสียภาษีได้ส่งมา

บริการถูก บริการดี ถ้าเจอผู้ทำบัญชีแบบนี้ให้เกาะติดไว้อย่างเหนียวแน่นคะ  ถ้าเจอแพงแล้วห่วยแตก ให้เลิกออกมาแบบรวดเร็วเลยคะ อย่าได้ยืดเยื้อ  มีกรณี แพง และ ให้บริการยอดแย่ เยอะคะ โดยเฉพาะฝรั่ง ที่คิดราคาแบบว่าฉันฝรั่ง แต่บริการไม่ดีมากๆๆ เอาเปรียบลูกค้าแบบน่าเกลียด.

 

**ถ้าเราทำบัญชีถูกต้อง ยื่นภาษีถูกต้อง เราอยากขายกิจการ เราก็ทำได้สะดวกคะ เราอยากขยายกิจการ อยากมีหุ้นส่วนก็ทำได้ง่าย อยากหาผู้ร่วมทุนคนไทยด้วยกัน (กรณีร้านอาหาร) และจ้างพ่อครัวแม่ครัวมาด้วย ก็สามาถอำนวยความสะดวกไปอีกขั้นตอนหนึ่งนะคะ**

 

เรียบเรียงโดย แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ประเทศสหรัฐอเมริกา) 

วันที่ 16 สิงหาคม 2559 (2016)

ที่มา:        IRS Summertime Tax Tip 2016-18, August 12, 2016

Small Business Administration