Visa for an American to apply to stay with Family in Thailand


Visa for an American to apply to stay with Family in Thailand

อเมริกันจะสมัครขอวีซ่าเพื่อไปอาศัยกับครอบครัวไทยได้อย่างไร

มีแต่คนวางแผนจะเกษียณกัน รวมถึงครอบครัวผู้เขียนด้วยค่ะ.  โครงการคือไม่อยู่ประเทศไหนถาวร ไปๆ กลับๆ  ระหว่าง อเมริกาและไทย พร้อมกับเที่ยวไปทั่วอเมริกาหรือ หลาย ๆ ประเทศฝั่งเอเชีย และยุโรป (มันคือเป้าหมายและความฝันอันไม่ไกลค่ะ).
 เนื่องจากมีหลาย ๆ คู่ที่มีสามีหรือภรรยาถือสัญชาติอเมริกัน ในบรรดาเมียฝรั่งเช่นกับเราก็อยากไปเยี่ยมเยียนบ้านเกิดบ้าง ส่วนสามีก็อยากเที่ยวไปอยู่ไทยบ้าง อยู่ทั้งปีคงจะไม่ไหว บ้านเราหน้าร้อนนี่ไม่แพ้ใคร  แต่อากาศสบายๆ มากหน้าหนาวซึ่งไม่ร้อนเท่าไร  มีหล่องท่องเที่ยวเยอะ.  สำหรับคู่ที่ต้องการทำวีซ่าถาวรให้สามีจะมีวีซ่าหลายประเภทให้เลือกนะคะ.  วันนี้เราหาข้อมูลให้ครอบครัวตัวเองแต่อยากแชร์ เผื่อคู่อื่นๆ ที่มีแนวคิดเดียวกันจะได้เอาไปประยุกต์ใช้ค่ะ.

ข้อมูลนี้แปลมาจากเวบไซด์ ของสถานกงศุลที่แอลเอ Thaiconsulatela.org

NON-IMMIGRATION VISA CATEGORY “O” วีซ่าชั่วคราวประเภท “โอ”

Purpose of Visit: Applicants who wish to stay with family in Thailand (Thai Family) Applicants who wish for volunteering work with the state enterprises or social welfare organizations in
Thailand  (Volunteering)    วีซ่านี้ใช้ได้กับสองกลุ่มค่ะ กลุ่มเรียกมากับครอบครัว อีกลุ่มคือทำงาน วารันเทีย หรือ จิตอาสาตามที่เรา ๆ เข้าใจกันค่ะ.

Documents Required for Non-Immigrant Visa Category “O” (Thai Family): เอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่า ประเภท โอ สำหรับคนที่ต้องการไปอยู่กับครอบครัยวที่ไทยเป็นการชัวคราว 3 เดือน ถึง 1 ปี.

  1. Your actual Passport or Travel Document and one copy of your Passport. (Passport or Travel Document must not expire within 6 months and contain at least ONE completely empty visa page). พาสปอร์ต  ห้ามหมดอายุภายใน หกเดือนค่ะ และต้องมีหน้าว่างให้ไว้ด้วย. แนะนำให้พาสปอร์ตมีอายุมากกว่า 1 ปีดีกว่าค่ะ กว่าเรื่องจะเสร็จสิ้น
  • One visa application form completely filled out (black and blue ink only)(Download)  กรอกฟอร์มตามที่ดาวน์โหลดได้เลยค่ะ  เมียไทยกรอกไม่เป็นให้ฝรั่งกรอกเองค่ะ หรือไปจ้างคนทำได้ค่ะ


Two passport-size photographs (2″x2″) (photocopy or photo taken from Photostat will not be accepted).  รูปถ่ายนะคะต้องมี สองรูป สองนิ้วนะคะ


Photographs must have a light color background with a full- face view of the person without wearing a hat or dark glasses and covering up shoulders. Photos must be taken within 6 months.รูปถ่ายสีฉากขาว หรือแบบใส ๆ ไม่ใช่แดงแป๊ดไรงี้นะคะ.   ใครใส่แว่นให้ถอดแว่นด้วยนะคะ ห้ามใส่หมวกด้วยค่ะ

  • Two passport-size photographs (2″x2″) (photocopy or photo taken from Photostat will not be accepted). Photographs must have a light color background with a full- face view of the person without wearing a hat or dark glasses and covering up shoulders. Photos must be taken within 6 months. ไปหาร้านถ่ายรูปถ่ายให้ก็ได้ค่ะ สะดวกดี จะได้ไม่ผิดขนาด เว้นแต่คุณมีกล้องแบบพิเศษที่ถ่ายติดวีซ่าได้  แล้วรูปนี่ห้ามมีอายุเกิน 6 เดือนนะคะ  (ยกเว้นคนหน้าเด็กตลอดกาลอาจจะลักไก่ได้ อิอิ)
  • A copy of flight confirmation/reservation , showing going from US to Thailand  (The name of the applicant must indicated clearly)  ถ้ามีการจองตั่ว ก็แนบไปด้วยค่ะ จริงๆ แล้ว ถ้าใครจองตั๋วมากกว่า 1 เดือน ถ้าไม่มีพาสปอร์ตจะติดปัญหาทันทีนะคะ  ถ้าเป็นเราจะยกเว้นตัวนี้ค่ะ เขาจะถามหาวีซ่าเลยคะ ตามเวบไซด์ของสายการบิน
  • A copy of recent bank statement  ($700 per person and $1,500 per family) (The name of the applicant must indicated clearly) , In case of submitting family bank statement a proof of relationship (i.e. birth certificate, marriage certificate) must be provided.  มีรายการเดินบัญชีธนาคารด้วยนะคะ  มีการเดินบัญชี ที่ 700 เหรียญต่อคน และ 1500 ต่อครอบครัว  และก็แนบ เอกสารที่ระบุว่ามาอยู่กับครอบครัว มีความสัมพันธ์กับครอบครัว เช่น ใบเกิดลูกๆ ใบทะเบียนสมรสนะคะ.
  • 6.For non-US citizen, a copy of permanent resident alien card or a copy of valid US visa with a letter proof of employment ( **we don’t accept pay stubs**)  สำหรับคนที่ไม่ใช่อเมริกัน ถือสัญชาติอื่น แต่มีใบเขียวอเมริกา  ก็ทำสำเนาใบเชียวแนบไปค่ะ  และต้องมีหนังสือรับรองการทำงานนะคะ เขาไม่รับ สลิปเงินเดือนค่ะ.
  • If you are a former Thai citizen, proof of Thai citizen such as Thai passport or Thai identification card ถ้าคนที่สละสัญชาติไทยแล้ว ณ ปัจจุบันเป็นอเมริกัน มีการขอสำเนาบัตรประชาชนด้วยนะคะ.
  • If you want to visit as a spouse or family member (spouse, son or daughter), proof of relationship such as a photocopy of marriage license or birth certificate with a proof that your spouse or family member is a Thai citizen such as as a photocopy of Thai passport or Thai identification card  ถ้าคุณต้องการมาเยี่ยม ภรรยา หรือลูกๆ ก็ต้องมีหลักฐานการแต่งงาน มีใบเกิดลูก หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า เมียคุณหรือลูกคุณเป็นคนไทย.
  • The letter from your spouse indicated that you both are still married and he/she acknowledges of your visit. มีจดหมายจากภรรยาไทยหรือสามีไทย นะคะ ว่าแต่งงานกันอยู่ไม่ได้หย่ากัน 
  1. For minor under 20 years old, please provide following documents
    1. สำหรับคนอเมริกันที่อายุต่ำกว่า 20 ปีถ้าอยากมาเยี่ยมครอบรัวที่ไทย ก็มีเอกสารตามนี้ค่ะ
      1. Notarized copy of a birth certificate  ใบเกิดต้องมีการทำโนตารี่ด้วย
      1. Notarized copy of marriage certificate , In case of sole custody notarized copy of court order must be
        provided. เอกสารพวก ทะเบียนสมรสของพ่อแม่ไป โนตารี่ด้วย กรณี ที่พ่อหรือแม่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้สิทธิเลี้ยงดู  ก็มีนะคะ เด็กเกิดที่นี่แล้วพ่อแมไม่ได้ทำสัญชาติไทยให้ อยากกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่ไทย ก็ทำได้ค่ะ
  • Notarized copy or original passports or ID of mother and father/ legal guardian  เอกสารของพ่อหรือแม่ต้อง มีการเอาไปโนตารี่ด้วยค่ะ
  • Original letter of notarized consent for the minor to travel abroad from mother and father/ legal guardian ต้นฉบับเอกสารที่อนุญาตให้เด็กเดินทางต่างประเทศได้จากผู้ที่มีอำนาจเลี้ยงดูหรือดูแลบุตรค่ะ

*ยุ่งยากนะ ถ้าเด็กไม่ใช่คนไทย ได้แค่สัญชาตอเมริกัน  โดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่พ่อแม่กลัวกับการได้ถูกการเกณฑ์ทหารที่ไทย ถึงไม่ได้ขอสัญชาติไทยให้ลูก ๆ   แต่ถ้ามีลูกสาว ทำไว้นี่ไม่เสียหายเลยค่ะ  จะได้ไม่ยุ่งยากเมื่อเขาโตขึ้น  เพราะระเบียบการทำเรื่องสัญชาติไทยให้ลุก ๆ เปลี่ยนแปลง หลายรอบแล้ว และก็ยุ่งยากมากขึ้นด้วย.

***All supporting materials that are not in English must be accompanied by certified English translations and certified by an Consulate only *** เอกสารทุกฉบับต้องเป็นภาษาอังกฤษนะคะ ส่วนเอกสารฉบับภาษาไทย ต้องมีการแปล และรับรอง จากกงศุลเท่านั้นด้วยนะคะ.

  1. For Nigerian nationalities and passport holders, Certificate of Clearance from NDLEA and authenticated by The Ministry of Foreign Affair of Nigeria and Royal Thai Consulate in Abuja, Nigeria   ข้อนี้โผล่มาสำหรับคนมาจากประเทศในจีเรีย เขาต้องขอเอกสาร พิเศษหน่อยจากกงศุลไทยใน ประเทศในจีเนียค่ะ.

สรุปคือประเทศไทยที่อยากเข้ามาอยู่กับครอบครัวที่ไทย ก็ทำตามระเบียบข้างบนได้เลยค่ะ 

Processing time:  ระยะเวลาในการขอวีซ่า

  • In person: 1 business days  ถ้าไปยื่นด้วยตัวเองก็ รอรับได้ในวันนั้นเลย  (กรณีใครอยากไปเที่ยว แอลเอ ก็ถือโอกาสไปทำวีซ่าเลยนะคะ)
  • By mail: minimum 15 business days  ถ้ายื่นทางเมลล์ ก็ ภายใน 15 วันค่ะ

***We do not offer expedited service***  ทางสถานกงศุล ไม่มีบริการทำวีซ่าด่วนพิเศษใด ๆ ค่ะ

Processing Fees:  ค่าธรรมเนียม

  • Single entry: 80 USD  เข้ารอบเดียว ออกมาต้องขอใหม่อีกรอบ ก็ 80 เหรียญค่ะ
  • Multiple entries: 200 USD เข้าออกได้หลายรอบก็ราคา 200 เหรียญค่ะ

Payable in money order (only) made payable to “Royal Thai Consulate”.
NO CASH, PERSONAL and BUSINESS CHECKS ACCEPTED  ค่าธรรมเนียสั่งจ่ายที่ กงศุลแอลเอค่ะ ตาม คอมม่าเลย

*** The fee is not refundable in any cases***  ไม่มีการคืนเงินใด ๆ นะคะ

Period of stay: not exceeding 90 days.  ถ้าอยู่ไม่เกิน 90 วัน

*** Warning of overstay *** (please click)  ระวังด้วยนะคะ อย่าเผลออยู่เกินกัน

Validity of a visa:  วีซ่ามีอายุ

  • Single entry: 3 months  เข้ารอบเดียว กลับออกมาเข้าใหม่ วีซ่ามีอายุ 3 เดือน อันนี้ก็ที่เราจ่ายค่าธรรมเนียมราคา 80 เหรียญนะคะ.
  • Multiple entries: 1 year  วีซ่ามีอายุ 1 ปี เข้าออกได้หลายๆ รอบ ก็ที่เราจ่ายกันไป 200 เหรียญนะคะ.

***A visa becomes effective from the date of issuance. Do not apply for the visa too early. If you apply too early the visa may expire before your trip and you will have to re-apply. The fee is not refundable***  วีซ่าสามารถใช้ได้ตามวันที่ที่ระบุในวีซ่าค่ะ  อย่าขอวีซ่าเร็วเกินไปนะคะ ให้วางแผนการท่องเที่ยวให้ดีค่ะ. เดี๋ยวเสียเงินฟรีอีกรอบค่ะ  (เงินไม่ฟรีค่ะ บำรุงรัฐบาลไทยของเราค่ะ).  แถมนะคะ ค่าธรรมเนียมไม่มีการคืนใด ๆ นะคะ.   ปล. เงิน 200 เหรียญ หรือ 6 พันบาท นี่ใช้เมืองไทย มีค่ามากมายก่ายกองนะคะ.

Retirement Visas  วีซ่าสำหรับกลุ่มเกษียณที่ต้องการอยู่เมืองไทยนาน ๆ

ที่มาคือจากสถานทูตอเมริกาในไทย  แบสรุปค่ะ ๆ แต่ระเบียบในการขอวีซ่านั้น สามารถหาได้จาก ที่เวบกงศุลไทยในอเมริกาค่ะ  ว่างๆ จะเขียนในหัวข้อต่อไป  อันนี้สรุปให้คร่าวๆ นะคะ.

Retirement visas for Thailand are available to foreigners 50 years of age or older. These visas are valid for only one year and employment of any kind is strictly prohibited.  According to Thai immigration, applicants must meet the following qualifications:  วีซ่าสำหรับการเกษียณ มีสำหรับกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปค่ะ. วีซ่ามีอายุ 1 ปี.  การที่จะขอวีซ่าได้นั้น ทางอเมริกันต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้.  เสริมให้นะคะ มีวีซ่าเกษียณแบบ 5 ปีให้ด้วยคะ เดี๋ยวค่อยเล่าค่ะ.

  • Applicant must be able to provide proof of a pension or other regular income from a source outside of Thailand; ต้องมีหลักฐานว่ามีเงินเกษียณค่ะ มีรายได้ประจำจากหน่วยงานของผู้เกษียณค่ะ  เช่นเคยเป็นตำรวจ ก็มีเอกสารจากหน่วยงาน
  • Applicant’s pension or other regular income must be no less than the equivalent of 65,000 Baht per month;  สำหรับเงินเกษียณที่รับนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า 65000 บาทก็ ประมารณที่  2250 คร่าวๆ นะคะ เปลียนแปลงตามอัตราแลกเปลี่ยนค่ะ.
  • Alternatively, the applicant may meet the financial requirement by maintaining a Thai bank account with a minimum amount of 800,000 Baht. (Applicants will need to show that they have 800,000 Baht in savings each year when they renew their visa.)   หรืออีกทางเลือกนะคะ คือ คนเกษียณมีเงินฝากไว้ในธนาคารของไทยเลยค่ะ  เดี๋ยวนี้มีธนาคารกรุงเทพที่ต่างชาติเปิดได้ ใครรู้จักธนาคารอื่นก็มาเสริมได้เลยค่ะ. คือมีเงินในบัญชีมีไว้เลยค่ะ แสดงเงินนั้นที่ 800000 บาทค่ะ ก็น่าจะที่ประมาณ 25000 เหรียญได้นะคะ.
  • Any applicant married to a Thai citizen may be able to receive a visa on that basis rather than retirement. สำหรับกลุ่มแต่งงานมีภรรยาหรือคู่สมรสไทย อาจจะชาย ๆ หญิงๆ นะคะ อาจจะขอวีซ่าแบบ โอได้ค่ะ  ขอมาเลยค่ะ ขอมาจากอเมริกา มาขอไรจากไทย อาจจะงานเยอะกว่าจากอเมริกาค่ะ.

*ขอเสริมให้นิดหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการขอวีซ่าสำหรับเกษียณที่ไม่ได้เกี่ยวกับครอบครัว คือคุณต้องไม่มีประวัติอาชญากรรมใด ๆ และต้องมีหนังสือรับรองจาก เอฟบีไอ ไรด้วยนะคะ ออกมาให้ด้วยนะคะ ขออย่างไร ก็ต้องมาว่ากันต่อไปละคะ.  สบายไปสำหรับกลุ่มมีครอบครัว เพราะมีระบบนี้มาให้  คนเราอยู่ด้วยกัน.  ก็มีเพื่อนที่ไทยค่ะ แยกกันอยู่กับสามีชาว แขกมานานแสนนานมีลูกด้วยกัน นางก็สงสารผู้ชายไม่หย่าให้สักที อยากให้พ่อลูกอยู่ด้วยกันว่างั้น  เลยหาฝรั่งให้นางไม่ได้สักที  แต่ใช่ว่าฝรั่งอเมริกันดี ๆ จะหาได้ง่ายเนอะ คนดี ๆ เขาก็มองหาคนดี ๆ ขึ้นไปอีกเช่นกัน.

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเวบไซด์ต่างๆ ที่นี่ค่ะ For additional requirements and information, please consult the Ministry of Foreign Affairs or the Royal Thai Embassy in Washington, D.C. websites

Comments from author:

การวางแผนสำหรับเกษียณล่วงหน้าไว้เราก็มีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ.  มันก็ไม่ได้ใช้เวลานานหรือมากมายอะไรในการวางแผน แค่ต้องอ่านเยอะ ๆ แล้วสรุปให้ได้ใจความ.  งานต่อไปจะรับทำวีซ่าเกษียณที่ไทยละคะ   มีคนถามมาเยอะมากเช่นกัน (อีกหนึ่งโครงการ 1800 ล้าน ต้องหาทีมงานก่อนที่ไทย).

ส่วนตัวเห็นคู่สามีภรรยาอเมริกันหลายคู่ที่ตัดสินใจไปเกษียณถาวรที่ไทย  มากกวาครึ่งอยู่ได้ หกเดือน เพราะฝ่ายชายคนอากาศไม่ได้ หรือ มีปัจจัยอย่างอื่น หรือว่าหมดช่วงเที่ยวโปรโมชั่น  หนัก ๆ คือ ไปไม่ถึงสองปี เงินหมดเลยค่ะ หมดที่ว่านี่คือแบบมีที่ 100000 เหรียญขึ้นไปนะแหละคะ กลับไปไทยใช้แพลบเดียว.  แต่ก็มีมากกว่าครึ่งที่อยู่ได้สบายใจรักเมืองไทย มาอเมริกาปีละครั้ง.  หลายๆ คู่ก็อยู่สองประเทศนี่แหละคะ ทั้งไทยและอเมริกา กลุ่มนี้ลูกโตแล้ว หรือไม่มีลูกเลย.  มีอีกลุ่ม จะตายที่อเมริกานี่แหละ กลับไทยไปแค่เยี่ยมเยียนพอแล้ว ชินอยู่อเมริกานาน ทั้งอากาศ อาหาร การเงินอะไรต่างๆ ด้วย เพราะอเมริกา ถ้าเลือกไปเกษียณในรัฐที่ค่าใช้จ่ายไม่สูง ไม่มีภาษีของรัฐ คุณเอ๊ย ค่าเงินเกษียณถูกกว่าเมืองไทยที่กรุงเทพละคะ  แต่ไปเทียบกับต่างจังหวัดคงยากละคะ.  ถ้าต่างจังหวัด ใช้ชีวิจแบบพอเพียง คนไทยมีสองสัญชาติกลับไทย รับเงินเกษียณจากสำนักงานประกันสังคมอเมริกา 1000-2000 เหรียญก็อยู่ได้สบายหายห่วงเลยค่ะ.

“Hope you are ready and happy retiring

ที่มา                    :   Thaiconsulatela.org  Th.Usembassy.gov

 เรียบเรียงโดย          : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                    :  วันศุกร์ที่ที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, Friday, December 27th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ