มีกลุ่มเจ้าของกิจการที่ไม่เปิดเผยตัวจำนวนมาก เช่นกลุ่มลูกค้าของดิฉันเอง ที่มีหลายกิจการ 3-5 กิจการเป็นทั้งหุ้น 100% และมีคนร่วมทุนด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐเดียวกันคนละมุมเมือง หรือห่างกันไม่เกิน 15-20 miles คือขับรถวนไปดูกิจการตัวเองได้ว่างั้น. การมีหลายธุรกิจ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียละคะ ทั้งโครงสร้างด้านภาษีอากร ด้านพนักงาน ด้านประกันต่าง ล้วนแล้วควรพิจารณา. เราจะมีแสดงความเห็น เรื่องภาษีอากรส่วนใหญ่นะคะ และโครงสร้างธุรกิจ
Should I use the same entity or separate entity? ควรจะเปิดใช้แค่บริษัทเดียวหรือมีหลายบริษัท
Tax structure โครงสร้างด้านภาษีอากร
ถ้าเปิดหลายกิจการต้องทำบัญชีแยก ยื่นภาษีแยกของแต่ละกิจการ มีค่า บริหารเพิ่มเติม แต่ถ้ามีหลายกิจการแล้วบริษัท ค่าบริการด้านการบัญชีก็จะเพิ่ม ยกเว้นทำเองหมด ส่วนนิติบุคคล อาจจะไม่เยอะในการยื่นแบบภาษี แค่ค่าทำบัญชีจะเพิ่มขึ้นเพราะการตีราคาค่าทำบัญชีดูจากจำนวนรายการเป็นหลัก ยกเว้นทำเองอีกเช่นกัน 😊
Best tax benefits? แบบแยกหรือว่าแบบรวมดีที่สุด
เราทุกคนล้วนแล้วเห็นข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ ในมุมมองของนักภาษีและบัญชี แยกจะดีกว่าค่ะ แยกกิจการแต่ละที่ออกจากกันจะง่ายกว่า บางกิจการอาจจะตั้งเป็น C Corp ถ้ามีกำไรเยอะๆ แล้วไปอยู่ในรัฐที่ไม่มีภาษีจะประหยัดกว่า S Corp and LLC
แต่ถ้ามีหุ้นส่วนหลายคน S Corp น่าจะดีกว่าได้ผลประโยชน์ให้กับหุ้นส่วนแต่ละคนมากกว่าก็เป็นได้
หรือภาพรวมมองแล้ว หุ้นส่วนทุกรายก็มีหุ้นด้วยเกือบทุกกิจการ แล้วฐานภาษีอยุ่ที่ 37% Federal and State, แล้วควรพิจารณาว่า C Corp กว่าหรือไม่อันนี้ก็ต้องมาพิจารณาตัวเลขกันอีกทีค่ะ.
Liability and responsibility ค่าประกันและความรับผิดชอบ
ประกันของกิจการนั้น ดูจากจำนวนพนักงานด้วย และดูจากมูลค่ากิจการ ถ้าเป็นกิจการเดียวใหญ่ๆๆ ค่าประกันจะสูงมากขึ้นกว่ากิจการเล็กๆๆ
ถ้ามีการตรวจสอบจากกระทรวงแรงงาน หรือมีปัญหา 1 ที่ ก็จะมีการถูกตรวจหมด เพราะเป็นธุรกิจเดียวกัน
ถ้ามีการตรวจสอบด้านภาษีอากร ก็จะมีการตรวจสอบทั้งหมด เพราะยื่นเป็นกิจการเดียว
ถ้ามีพนักงานมากขึ้น ระเบียบที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเสตทจะมีมากขึ้น เช่น การบังคับให้มีประกันสุขภาพถ้ามีพนักงาน 50 คนขึ้นไป การบังคับให้มีการทำรีไมเม้นถ้ามีพนักงานมากกว่า 5 คนหรือมากกว่า 20 คน แต่ละรัฐจะไม่เหมือนกัน ตอนนี้ระเบียบใหม่ๆ ออกมาเยอะ ส่วนตัวมองว่า การมีรีไทเมม้นให้พนักงาน เป็นการดี การมีประกันสุขภาพให้พนักงานเป็นการดีมาก แต่เจ้าของกิจการแบกรับภาระไหวไม๊ เพราะต้นทุนต่อคนต่อครอบครัวหลัก หมื่นเหรียญต่อปี ต่อครอบครัว สองหมื่น $10000-$25000/family เลย แล้วธุรกิจเล็กๆๆ จะแบกรับภาระไหวไม๊ ยกตัวอย่างเราเองก็ไม่ไหวค่ะ เพราะ กำไรไม่ได้มากมาย.
Management การบริหาร
ถ้าเป็นกิจการเดียวกัน ใน จำนวน5 ธุรกิจ แล้วต่อมาอยากมีหุ้นส่วนธุรกิจเพราะบริหารคนเดียวไม่ไหวจะทำยังไง
ก็ต้องแบ่งออกมาเป็นนิติบุคคลใหม่ และผู้ร่วมทุนก็มีส่วนเฉพาะกิจการที่ร่วมทุน การขายกิจการออก ถ้าเป็นนิติบุคคลแยก ก็ขายกิจการออกได้ง่ายกว่าการรวมกิจการ
Sources: ที่มา : Experiences
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
วันที่ : วันศุกร์ ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖, Friday, June 9th 2023
Apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง
- S Corp & LLC due date March 15th
- Corporation due date April 18th
- Individual due date _April 18
- Individual living outside the U.S. due date is June 15
*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***
*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law. การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*
**I am not an attorney; this article is only for information and comments about investment and taxes. **
ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**
***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.
ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***
(We provide accounting, and taxes related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.
เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.***