Part II, To live in USA, what you should not do!

Part II, to live in USA – what you should not do

อะไรที่ไม่ควรทำที่อเมริกา ตอน 2

 

คราวก่อนได้พูดถึง เรื่อง การยืมเงิน การค้ำประกัน การให้คนมาอาศัยอยู่ด้วยแล้ว ปรากฏว่าไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาแบบลึก ๆ เท่าที่ควร เนื่องจาก มันทำให้เรากลายเป็นคนคิดในแง่ลบ ซึ่งไม่น่าจะใช่ ใช้คำว่า “ระมัดระวังดีกว่า”. ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีข้อยกเว้น  เช่น เราให้เพื่อนยืมเงิน เพราะ เรารักเพื่อนเรา มันคืนมาก็ดี ไม่คืนก็ปล่อยมัน เพราะเราก็ไม่ได้เดือดร้อน. บางเรื่อง เราก็ปล่อยๆ ได้ แต่หลาย ๆ เรื่อง จะไม่ปล่อยคะเพราะเข็ด นอกจากจะประสาทรับประทาน นอนไม่หลับ แล้วยังต้องมาแก้ปัญหาแทนคนเหล่านั้นอีก.

 

มาเพิ่มเติมถึงสิ่งที่เราไม่ควรทำในอเมริกา ดินแดน แห่งการฟ้องร้อง กฏหมายเคร่งครัด เอะอะไรก็ฟ้องกัน แถม ศาล ที่นี่จะศักดิ์สิทธิ์มากๆๆ   ขนาดสั่งให้นายจ้างเราหักเงินเดือน ค่าโน่น นี่ที่ค้าง และมีอำนาจ สั่งหน่วยงานที่จ่ายรายได้อื่น ๆ หัก เงิน หรือดึงเงินออกอีกต่างหาก.

 

4. Contract/Agreement หรือสัญญาต่าง ๆ

ห้ามเซ็นเอกสารใด ๆ จนกว่าคุณจะเข้าใจ

 

 

4.1 Business agreement สัญญาทางธุรกิจ

 

สัญญาประเภทนี้ค่อนข้างจะสำคัญมาก เพราะประกอบด้วยหลายประเภท แทบจะนับไม่ถ้วน  ตั้งแต่ที่การเริ่มซื้อธุรกิจ การเซ็นสัญญาซื้อขาย  การเซ็นสัญญาเช่า การเซ็นสัญญาจ้างงาน การเซ็นสัญญษให้ผู้รับเหมามาตกแต่งแก้ไขกิจการ

 

สัญญามาตราฐานที่เราสามารถหาได้ตามท้องตลาด จะเป็นสัญญาที่ค่อนข้างชัดเจน ไม่เอาเปรียบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด  ปกป้องสิทธิประโยชน์ท้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน.

 

แต่มีประเด็น ที่มีนักกฏหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วอีกฝ่ายไม่มี ทำให้ สัญญานั้น เกิดการลำเอียงแบบ สิ้นเชิง . จากประสบการณ์ที่อ่านสัญญาซื้อขาย และ ทำสัญญาเอง ให้กับกลุ่มที่ซื้อขายธุรกิจ ถ้าเราทำเอง เราดึงสัญญามาตราฐานมาเลยคะ เพราะไม่ลำเอียง และ โปร่งใสมาก  มีบางครั้งที่เราต้องแก้ไข  แต่เราต้องชี้แจง ทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรารู้จักทั้งคู่ และเรามีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ให้เขาเหล่านั้น.

 

กรณีที่เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีแต่ช่วยอ่าน สัญญา เราจะช่วยแย้งกลับไป และให้แก้ไข  ถ้าไม่ทำ เราก็จะแจ้งลูกค้า หรือคนที่เอาสัญญามาให้อ่านว่า คุณรับได้แค่ไหน กรณีแบบนี้. ซึ่งถ้าเขารับได้ก็เซ็นกันไปคะ.

 

มีกรณ๊ที่เซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว อีกฝ่ายแอบเปลี่ยน โดยที่อีกฝ่ายไม่ทราบ มารู้อีกครั้ง เมื่อมีปัญหา ทำให้เกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องกัน กรณีแบบนี้เรียกว่า Fraud หรือ ฉ้อโกง พิสูจน์ได้ ค่ะ คู่สัญญา ควรจะเก็บสัญญาให้ดีเพื่อเป็นการอ้างอิง

 

กรณีที่เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ควรจะหานักแปลมืออาชีพแปลให้คะ เว้นแต่ว่าภาษาคุณดีอยู่แล้ว ให้อ่านให้รอบคอบคะ.

 

4.2 General agreement สัญญาทั่วไป

 

สัญญาทั่วไป อาจจะเป็น พวกสัญญาก่อนแต่งงาน หรือเรียกว่า Prenuptial agreement หลายคนทราบดี และหลายคนความรู้ทางภาษาอังกฤษค่อนข้างจำกัด  ให้คุณหานักแปลมืออาชีพ และอ่านให้เข้าใจก่อนเซ็นคะ  การเซ็นไปแล้ว มันแก้ไม่ได้คะ เว้นแต่ว่าคนที่เขียนขึ้นมาเขาจะยกเลิกเอง

 

มีกรณีภรรยาไทย แต่งงานกับสามีฝรั่ง ที่ภาษาไม่ได้เลย สามีจับให้เซ็นเอกสารตอนไหนก็ไม่รู้เรื่อง รู้แต่ว่า เกี่ยวกับการแต่งงาน การได้กรีนการ์ด สารพัด โกหก คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยความรัก และความไว้ใจ จัดไปคะ. อีก 10 ปีต่อมา สามีเริ่มเบื่อ เพราะ ไม่สวยเหมือนเดิม พบหญิงใหม่ขอหย่า และที่แย่ไปกว่านั้น อยู่ในรัฐที่หย่าวันไหนก็ได้ เช่น เนวาด้า ฟอริด้า แคลิฟอเนีย  ไม่ได้ไรเลยคะคุณ  ดูแลปรนิบัตร สามีทุกอย่าง ภาษาก็ไม่ได้เรียนพอที่จะมีอาชีพที่ดีได้ ภาษาพูดได้นะดีคะ  แต่ถ้าคุณอ่านเขียนไม่ได้ หางานการทำดี ๆ ยากมากๆ.   ความรักมันรับประทานไม่ได้คะ และไม่ยั่งยืน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา  เวลาทำอะไรให้รอบคอบคะ  ไม่ได้บอกว่า แต่งงานแล้วหวังจะเลิกกัน ไม่ใช่นะคะ อย่าเข้าใจผิด คนปกติสามัญทั่วไป มีครอบครัวเราก็อยากอยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่านะคะ (ไม่พูดถึงอีกกลุ่มนะคะ).

 

4.3 สัญญาที่เขียนขึ้นมาเอง

 

โดยทั่วไปเราสามารถเขียนสัญญาขึ้นมาเองได้คะ มีผลทางกฏหมาย ถ้ามีพยานเซ็นรับรอง หรือไปทำโนตารี่นะคะ (แทนพยายน).  เวลาเขียนสัญญาขั้นมาให้ชัดเจนคะ อย่าเว้นช่องว่าง ถ้ามีการแก้ไข  ให้ทั้งคู่เซ็นคะ.  อ้อ แล้วควรจะทำเป็นสัญญาภาษาอังกฤษนะคะ เพราะถ้าจะฟ้องกันจะได้ไม่ต้องแปลอีกรอบ ประหยัดเวลา คะ  และทำฉบับภาษาไทย กำกับไว้ก็ดี สำหรับคนมีความรู้จำกัดเรื่องภาษาอังกฤษ.

 

เคยอ่านสัญญาที่เป็นภาษาไทย ที่เขียนโดยฝ่ายเดียว แล้วอีกฝ่ายแค่เซ็นเพราะเป็นเพื่อนกัน. รู้ปะคะ ทะเลาะกันบ้านแตกเลยคะ  เพราะทำธุรกิจร่วมกัน แบบไว้ใจ ฉันมีฝีมือ เธอมีเงิน คนมีเงินก็รอเอาเงิน คนทำงานไม่ได้เงินเดือน แต่ดันต้องแบ่งครึ่ง เพราะไม่ลงเงิน  ไม่ใช่นะคะ คนทำงานต้องได้เงินเดือนคะ จะแบ่งให้เท่าไร ให้ระบุให้ชัดเจน  ไม่ใช่คนทำงาน 12 ชม. ต่อวัน พอมีผลขาดทุนไม่ได้ไรเลย กำไรก็ดีไปคะ คุ้มกับค่าแรงเปล่า  หรือ ไม่รับเงินเดือน แต่ได้ปันผลมากกว่า เอาอะไรที่เราพอใจคะ อย่าโลภ อย่ารีบ ในการเซ็นสัญญาใด ๆ เพราะมันแก้ไขยากคะ.  ที่สำคัญ ทนายเอาเงินส่วนแบ่งไปหมด (ได้กลับมาซึ่งความสะใจ )

 

5.) Don’t judge a book by its cover อย่าตัดสินคนโดยที่เราไม่รู้จักเขาเป็นการส่วนตัว

 

มีหลาย ๆ ครั้งมาก มากแบบมากที่สุด ที่เจอมาด้วยตัวเอง ฟังมาแบบไตร่ตรอง (แม้จะฟังความข้างเดียว)  ว่าคนเรานั้น ดูแค่ภายนอก หรือ ตัดสินเขาจากที่เราฟังมาไม่ได้คะ. ให้มองทั้งสองด้านนะคะ  บางคน บางกลุ่ม บางองค์กร  มีชื่อด้าน ดีและไม่ดี

 

การทำธุรกิจร่วมกับคนที่เราคิดว่าเขาเป็นคนดี โดยที่เราฟังมา และไม่ได้สัมผัสด้วยตัวเอง  ให้ชั่งใจด้วยคะ อย่าไปทุ่มเทเต็มที่ ความเสียหายต่าง ๆ ก็เพราะการไว้ใจคนที่มีชื่อเสียงว่าเขาจะดีแบบนั้น แบบนี้  ซึ่งต่อมาคุณได้สัมผัส ได้คลุกคลี คุณถึงจะรู้ และรู้เมื่อสาย  ซึ่งไม่ใช่แค่เสียเงินทอง อาจจะรวมถึง ศรัทธาที่คุณมีต่อบุคคลเหล่านั้นไปโดยปริยาย ส่วนตัวเองมีประสบการณ์ตรง เยอะพอสมควร แม้ว่าบางเคสจะไม่เห็นเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่รู้สึกสะท้อนใจมาก ว่าทำไม คนแบบนี้ การศึกษาแบบนี้ ครอบครัวแบบนี้ มืออาชีพแบบนี้ ทำไม ถึง ทำร้ายคนไทยด้วยกัน  เงินที่เขาต้องสูญเสีย บางคน เก็บออมมาทั้งชีวิต  ถ้ารวยหน่อยก็ผ่านไป เพราะเขาเป็นคนดี หาใหม่ได้ตลอดเวลาและไม่ขัดสน  ฉะนั้นอย่าเชื่อใจใครจนกว่าเราจะได้เรียนรู้

 

กรณีที่เราไม่สามารถรู้ได้ ถ้าเราจะทำธุรกิจร่วมกัน เราต้องมีสัญญาให้ชัดเจนรับกุมและรอบคอบคะ.  เขียนกันตอนที่เชื่อใจกันนี่แหละคะ มันง่ายดี ถ้าคนนั้น เปิดเผย เขายินดีจะจัดให้คุณคะ.

 

บางคนมองภายนอก อาจจะดูไม่ดีเท่าไร เพราะ พูดจา สุนัข ไม่รับประทาน หรือ เฟอะฟะ มีหลายครั้ง ที่คนเหล่านี้ มีสิ่งดี ๆ ในตัวเขาเยอะแยะมากมาย ที่ทำให้เราถึงกับทึ่งในความเป็นคนจริง คนตรง และไม่เอาเปรียบใคร (ปล. นาน ๆ เจอที).

 

Rating หรือ การประเมินของผู้ชมที่มีโดยทั่วไป

 

แม้ว่าการประเมินจากบุคคลภายนอกจะช่วยให้เราตัดสินใจ ในการ ใช้บริการต่างๆ  การ ซ้อสินค้านั้น ๆ การสมัครงานกับกิจการนั้น ให้ หาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งคะ  ข้อมูลเรทติ้ง สามารถตกแต่งได้คะ  มีกลุ่มรับทำก็มี  (ยกเว้นกิจการบริการเล็ก ๆ ของตัวเอง)  อย่าไปเชื่ออะไร เต็มที่เช่นกันคะ ให้ใช้ประสบการณ์ และ วิจารณะญาณ ในการตัดสินใจ. ไม่มี องค์กรใด สมบูรณ์เพียบพร้อมทำให้ทุกคนพอใจได้หรอกคะ ไม่มีจริง ๆ มันขึ้นอยู่กับมุมมอง และทัศนคติที่คุณมีต่อองค์กรนั้นนะคะ. คุณต้องสัมผัสถึงรู้  ยกตัวอย่างนะคะ ส่วนตัวเคยมีปัญหากับ บริษัทที่ปล่อยกู้ออนไลน์ดัง ๆ เรทติ้งดี ๆ ค่ะ แต่คุณจะไม่รู้คะ เพราะเป็นส่วนน้อย ตอนนั้น เราพลาดเองคะ ที่ไปเซ็นสัญญาก่อน อ่านดี ๆ เลยเสียเงินไปตั้ง ห้าร้อย เยอะนะคะ ขอบอก เอาไปทำไรได้เยอะแยะเลย.  เห็นปะคะ ทุกอย่างมีอีกมุมอีกด้าน.

 

บุคคลที่มีหน้าที่การ งาน และการศึกษาดี ร่ำรวย ไฮโซ จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง มีชื่อเสียง  ใช่ว่า คุณจะทำงานหรือ ทำธุรกรรมใด ๆ ร่วมกับเขาได้นะคะ  ไม่ใช่เพราะว่าเขาอาจจะไม่โปร่งใส ใด ๆ หรืออาจจะไม่โปร่งใสเลย.  ไม่ต้องเกรงใจในการตัดสินใจ ทำธุรกิจ ซื้อสินค้า หรือบริการ จากคนเหล่านั้น ถ้าเราไม่ชอบ ไม่พึงพอใจให้เลี่ยงนะคะ  ไม่ต้องกลัวเขาจะไปทำร้ายครอบครัว หรือว่าเราใด ๆ  ถ้าเขาทำอย่างนั้น คุณยิ่งไม่ควรจะคบค้าสมาคมคะ.

 

เราอยู่อเมริกาคะ ทุกคนเท่าเทียมกัน คนทำความสะอาด CEO/President เจ้าของกิจการ ร่ำรวย ก็คนเหมือนกันคะ เขาไม่สามารถไปแซงคิวเราเมื่อเราจ่ายค่าซื้อสินค้าคะ นี่คือมาตรฐานทั่วไป.

 

ส่วนตัวได้รับผลตอบกลับมาหลายด้านคะ ทั้งบวกและลบ หลายๆ ครั้งก็แก้ไข  หลาย ๆ  อีกครั้งนี่ไม่แก้คะ เพราะพึงพอใจในอุดมการณ์ ของการใช้ชีวิตของตัวเอง การทำธุรกิจ  การเผือกเรื่องของชาวบ้าน การเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจา แบบไล่ส่ง ก็เยอะไม่น้อยคะ(ไม่น้อยจริงๆ ).

 

คอยแนะนำคนอื่นเสมอคะ ให้ดึงเฉพาะสิ่งที่ดีเท่านั้นไปใช้  ไม่ว่าจะมนุษย์ ไหน ๆ องค์กรไหน ๆ ก็มีจิตใจ เหมือนเราทั่วไปนี่แหละคะคุณ  องค์กรใหญ่ ๆ ก็บริหารโดยมนุษย์ เดินดินกินข้าว เหมือนเรา ๆ นี่แหละคะ.

 

พึงอย่าตัดสินคนด้วยภาพลักษณ์ภายนอกฉันใด  การทำอะไรด้วยความบริสุทธิ์ใจทำให้เราสุขภาพจิตดี แล J

 

โปรดติดตามตอนต่อไป….ภาค 3

 

เรียบเรียงโดย        : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา                        :

วันที่                        : วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560, Friday, October 13th  2017