Sole Proprietors’ Business expenses
อะไรคือค่าใช้จ่ายทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเจ้าของคนเดียว
งานนี้พูดถึงกลุ่มที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ที่ไม่ได้จดทะเบียนรูปแบบใด ๆ เช่นพวก LLC, Corporation, Partnership นะคะ (รวมถึง S-Corp) ด้วยคะ.
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามหลักการของภาษีอากร จะคล้าย ๆกันเกือบทุกรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ แต่แบบบุคคลธรรมดาเจ้าของคนเดียว อาจจะไม่ได้กว้างเหมือนพวกจดทะเบียนในรูปแบบบริษัททั่วไปนะคะ.
หลัก ๆ ที่จะใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ คือ เกี่ยวข้องกับธุรกิจ “Ordinary” จริง ๆ ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเพราะมีธุรกิจนั้น ๆ . อีกกฏหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายนั้น ต้องเกิดขึ้นเป็นประจำ และจำเป็น “Necessary” ในการประกอบธุรกิจด้วย. ดูความเหมาะสมนะคะ หลักภาษีอากร ใช้หลัก โดยทั่ว ๆ ไป ว่าด้วยความเหมาะสม “reasonableness”.
ตัวอย่าง: เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคนหนึ่งนะคะ ทำงาน 70-hour weeks. เหนื่อยมาก เลยไปนวดคะเพราะเมื่อย ไปประจำด้วยนะคะ เหตุผลคือ ลดความเครียด. ลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายกิจการด้วยคะ. แต่ แบบนี้ IRS ไม่ให้นะคะ. ในฐานะเราเป็นคนทำภาษี เราจะบอกเลยว่าไม่ได้คะ.
ค่าอาหารที่ถือว่าเกี่ยวกับ การประชุม การพาลูกค้าไปกินข้าว เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับธุรกิจ เราสามารถหักได้แค่ 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดนะคะ ไม่ได้เต็มที่เลย.. The IRS ปฏิเสธที่จะให้กิจการหักค่าใช้จ่ายสำหรับยอดที่มากกว่า $75 กรณีที่ไม่มีเอกสารรองรับ มากกว่าใบเสร็จรับเงิน เช่น ไปกับใคร เพื่ออะไร ที่ไหน แล้วทำไมไป หวังผลไรจากการไปกินข้าวกัน. สำหรับพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับการขนส่ง หรือเจ้าของเอง ขับรถบรรทุกเอง กรมสรรพากรแอบใจดีให้ได้ถึง 80%. สงสัยสงสารเพราะ อยู่บนถนนนาน ๆ
หลักการคร่าว ๆ จะหัก พวก ค่า อาหาร และ Entertainment มี สองกฏ คะ (1) เพื่อการธุรกิจโดยตรง การประชุม การเจรจาต่อรอง (2) คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์ในอนาคต เช่น ว่าที่ลูกค้าคนใหม่ ไปพบลูกค้า พาลูกค้าไปเลี้ยง พาพนักงานไปอบรมประชุม อันนี้ เข้าข่ายนะคะ. พยายามให้มันเกี่ยวกับธุรกิจคะ ถึงจะใช้ได้.
ตัวอย่าง: คุณงามงอน เป็น เอเจ้นขายบ้าน พยายามที่จะชวนลูกค้าที่จะซ้อบ้านมาที่เมืองที่นางอยู่ และก็ซื้อบ้านแถวนั้น. นาง พาว่าที่ลูกค้า สำรวจรอบเมือง พาไปกินข้าว สารพัด ที่จะพยายามให้ลูกค้าสนใจ (สำหรับหรือไม่อีกเรื่อง). กรณีแบบนี้ถือว่าเป็นค่าใชจ่าย หักได้ 50% ของค่าอาหาร ค่าตั๋วไปชมดนตรี สวนสัตว์ และอื่นๆ ว่าด้วย การทำให้ลูกค้าพึงพอใจนะคะ.
สิ่งที่เจ้าของธุรกิจลืมใช้มากในการทำภาษีให้มีดังนี้คะ
1. ค่าใช้บ้านเป็นสำนักงาน (เคยเขียนบทความไว้แบบละเอียดคะ)
-
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสำนักงาน อันนี้เป็นที่ทราบกัน
3. ค่าประกันสุขภาพในฐานะที่เราเป็น self-employed หรือคนทำงานอิสร
4. ค่าลายเซ่นต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ
5. ค่าวารสาร นิตยาสาร ค่าหนังสือพิมพ์ ที่เกี่ยวกับอาชีพ หรือมีไว้ที่ร้าน ให้ลูกค้าอ่าน
6.จ้างพนักงานประจำ เราออกค่าใช้จ่ายภาษีให้ส่วนของนายจ้าง social security & medicare 7.65% อันนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการคะ
เจ้าของกิจการคนเดียว สามารถ จัดตั้งเงิน รีไทม์เม้นได้ด้วยคะ แม้ว่าจะไม่ได้จดทะเบียนในรูปบริษัท
Simple IRA,
Simplified Employee Plans (SEP)
Solo 401(k)
ตัวอย่างนะคะ. คุณงามงอน นางไม่ได้จดทะเบียนรูปแบบกิจการใด ๆ ใช้ชื่อนางนี่แหละ ในการทำธุรกิจ แค่ไปจดทะเบียนการค้าเท่านั้น. นางเปิดรีไทม์เม้นเรียกว่า Solo 401(k) ปีภาษีนั้นนางมีรายได้ $100,000 หลังหักค่าใช้จ่ายนะคะ นางใช้ Schedule C in form 1040 ในการกรอกแบบคะ. ในฐานะที่เป็นเจ้าของและลูกจ้าง ส่วนของนายจ้างที่นาง นำเข้า กองทุนรีไทมเม้น $15,000 นอกจากจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายกิจการ สำหรับส่วนที่สมทบให้กับพนักงาน (ตัวเอง) แถม นาง ก็นำเข้าส่วนของลูกจ้า (ตัวเอง) อีก $18,000 รวมแล้วนางมีรีไทมเม้นทั้งปี ปาเข้าไป $33,000 เข้าไปแล้ว แทนที่นางจะเสียภาษีจากยอด $100,000 นางเสียภาษีจากยอด $67,000 ($100,000 – $33,000) ประหยัดภาษีไปสุด ๆ กรณีนี้สมมตุว่านาง นำฝากเข้าก่อนภาษีนะคะ เพราะนางคาดว่าในอนาคต รายได้นางจะไม่เท่ากับปัจจุบัน คุณงามงอน สวย และฉลาดคะ (บอกเบื้องหลัง นิด ๆ ).
เห็นไม๊คะ Solo 401(k) ยอดเยี่ยมแค่ไหน. ข้อจำกัดคือ ทำได้เฉพาะ สามีภรรยาที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้นคะ ถ้ามีลูกจ้างคนหนึ่ง เราต้องใช้แบบ 401(k) ทั่วไป ซึ่งก็ไม่ได้ ด้อยกว่าไปเลยคะ แต่เราต้องเสนอให้พนักงานด้วยนะคะ.
รีไทม์เม้นพวก 403(b)s, 457s or TSPs ใช้ไม่ได้สำหรับ Sole proprietors นะคะ เขามีกฏอยู่.
Non deductible expenses ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหักได้
ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก นอกจากเราจะรู้ว่าค่าใช้จ่ายตัวไหนหักได้แล้ว ตัวที่ไม่ได้ ก็ตระหนักไว้ด้วยนะคะ เพราะ IRS ตั้งสมมติฐานไว้ว่า ท่าน ๆ ทราบคะ.
-
หนี้สูญ (กรณีเราใช้เกณฑ์เงินสดในการยื่นภาษี) หักไมได้คะ เขาให้เอาไปลด ยอดรับแทนนะคะ. กรณี เราใช้เกณฑ์คงค้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็หักค่าใช้จ่ายได้ปกติ แต่ทางภาษีอากร เขาห้ามคะ.
-
ค่าอาหาร เลี้ยงรับรองลูกค้า เอนเตอรเทรนเม้นต่าง ๆ ใช้ได้แค่ 50% ของค่าใช้จ่ายรวมคะ.
-
เป็นสมาชิกของคลับ เช่นพวก กอลฟคลับ
-
ค่าเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน Commuting costs แต่จากที่ทำงานไปหาลูกค้าได้คะ.
-
ค่าปรับทุกอย่าง Fines or penalties paid for violation of laws
-
ค่า จ่ายพวก ยิม ออกกำลังกาย Health club expenses (even if fitness is required for the business activity)
-
ค่าลอบบี้นักการเมือง Lobbying expenses in regard to politics
-
ค่าบริจาคให้นักการเมือง Political contributions
-
ค่าอาหารที่ไปทำงานต่างเมือง ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ Meal expenses while working in the town of business unless directly related to the trade or business
-
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้ได้มาซึ่ง ลายเซ่นต่าง ๆ เช่น ลาย เซ่น นวด เขาไม่ให้นะคะ แต่เขาให้เราหักได้ หลังจากที่เรามีลายเซ่นนั้นนะคะ Education and fees incurred in the process of becoming a professional
-
ค่าโทรศัพท์ที่บ้าน เครืองแรก ถ้ามี สองเบอร์ เบอร์แรกไม่ให้คะ Telephone expenses for the first land line to a home
-
ค่าเสื้อผ้า ชุดฟอร์ม ที่สามารถใส่ไปที่อื่นๆ ได้ นอกจากที่ทำงาน ใช้หลักการง่าย ๆ เช่น เราทำงานสวนสารธารณะ เราต้องตัดชุดหมีพู มาใส่เงี๊ยะ อันนี้ได้แน่นอน เพราะ ใครจะใส่ชุดหมีพู ไป จ่ายตลาด (มีคะ แต่ไม่ปกติ ที่ชนสติปกติทำกัน)Clothing (including business clothing) that is suitable to be worn outside of work
-
ค่าภาษีที่เราจ่ายให้รัฐบาล Federal income taxes
-
ค่าภาษี ที่เรา (แอบ หรือตั้งใจ) ออกให้พนักงานส่วนของพนักงาน ไม่เกี่ยวส่วนของนายจ้างนะคะ Employee’s portion of payroll taxes
ข้อควรระวัง กรณี คนมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซม ถ้าการซ่อมแซมนั้น ทำให้ สภาพของอายุการทำงานยาวขึ้น เป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้ นะคะ ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินนั้น ๆ คะ ต้องทยอยตัดค่าเสื่อมราคาเป็น ราย ๆ ปีไปนะคะ..