US Cost of living & Saving

US Cost of living & Saving ค่าครองชีวิตในอเมริกา และการออม

 

คราวก่อน พูดถึง การทำงานในอเมริกา และ ภาษี เพราะหลายคน อยากมาทำงาน ในอเมริกามาก เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำที่สูงส่ง. ในฐานะที่เราอยู่อเมริกา มาสิบกว่าปีนิด ๆ จึงต้องชี้แจงแถลงไข ถึง ภาษี (สารพัด) ที่ตามมาจากการรับค่าจ้างเงินเดือน (บนโต๊ะ หรือตามกฏหมาย) ที่ต้องเสียตามฐานของรายได้อัตราก้าวหน้า. รายได้เยอะภาษีเยอะ รายได้น้อยภาษีก็น้อย ภาษี จะอยู่ที่ 10% – 39.6% .

 

อเมริกาก็เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีค่าครองชีพสูงระดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆๆ. เราจะไปอยู่ไหน ให้ดูรายได้ของเราด้วยคะ  ไม่ใช่ทำงานรับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ต้องการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ ๆ เช่น นิวยอร์ค ซิตี้ หรือ ซานฟรานซิสโก ค่าครองชีพแพงระเนระนาด (พูดให้สะท้อนใจ).

 

ใครอยากรู้ว่าอยู่เมืองไหน ค่าครองชีพไง เข้าไปที่ลิงค์ลองคำนวณได้เลยคะ ดูว่ารายได้เราปัจจุบันพอมะ ถ้าเราอยู่ในเมืองนั้น ตัวเลขอาจจะไม่เป๊ะ ๆ  แต่เราจะได้ แนวคิดคะ https://www.nerdwallet.com/cost-of-living-calculator/

 

แบบกรณีที่เราต้องการย้าย ถิ่นไปในเมืองที่ค่าครองชีพต่ำหน่อย หรือรวย อยากอยู่แพง หาได้จาก เวบนี้ได้เลยคะ http://www.bankrate.com/calculators/savings/moving-cost-of-living-calculator.aspx

 

 

วันนี้เราจะมาพูดถึง ค่าครองชีพ ในอเมริกา หรือ Cost of living กันคะ.

 

  • ค่าครองชีพ คือ ค่าใช้จ่ายทั่วไป ที่เรารู้กันหลัก ๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน (กรณีไม่มีบ้าน) ค่าผ่อนบ้าน ก็กรณี คนไม่ได้ซื้อบ้านเงินสด. สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ขึ้น อยู่กับหลายปัจจัยคะ เช่น เราอยู่รัฐไหนของอเมริกา และที่สำคัญจุดไหนของรัฐด้วยคะ กรณีนี้คือ ค่าช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน. ยกตัวอย่างนะคะ คนที่ Los Angeles, California บ้านเขาแพงมั๊ก ๆ คะ ค่าเช่าก็แพง บ้านเราคาอย่างต่ำ $600,000 – $3,000,000. ลองไปแถว ฝั่ง Texas นะคะ บ้าน เขาอย่างสวยงาม $300,000 บางหลังเล็กๆ น่ารัก ๆๆ แค่ ไม่เกิน $150,000. บ้านที่ Florida ก็ยังพอ ใช้ได้ มีตั้งแต่ $200,000 – $1,000,000 ระดับกลาง ๆ ราคา $300,000 ก็สบายๆ เลยคะ. ค่าเช่าบ้านเป็นหลังก็ประมาณ ที่ $1,000 ขึ้นไป ถ้าไปที่ Los Angeles, California เช่าบ้านที่ ผ่อนบ้านได้เลยคะ $3,000 ขึ้นไป .  บ้านเขาแพง รายได้ค่าแรงขั้นต่ำ เขาก็สูงกว่าใครคะ มันเป็นไปตามภูมิศาสตร์.

 

  • ค่าอาหาร ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าอยู่แหล่ง ที่มีขนส่งสะดวก เช่น แคลิฟอเนีย อาจจะถูกหน่อย (กรณีนำเข้าจากไทย) ส่วนผัก ผลไม้สดก็คล้าย ๆ กัน. ค่าของใช้ต่าง ๆ ในบ้าน ก็ไม่ได้แพงมากนัก เมื่อเทียบกับที่ไทย บางอย่างถูกกว่าด้วย ถ้าเราใช้ คูปอง. ใครอยากประหยัด หาเข้าห้องคูปอง ในเฟคบุคได้เลยคะท่าน ๆ ทั้งหลาย.

 

  • ค่าประกันสุขภาพ หรือ Health Insurance เป็นที่เรื่องชื่อ มากสำหรับค่าใช้จ่ายจุดนี้. จากการที่อ่านมาเยอะ ๆ อเมริกา เป็นประเทศที่มีค่าประกันสุขภาพแพงมากว่าใครในโลกหล้า และก็ใช่ว่า ระบบทางการแพทย์ จะดีเลิศ กว่าหลาย ๆ ประเทศ แม้ว่าอเมริกา จะขึ้นชื่อเรื่อง ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี. แย่ไปกว่านั้น เราก็ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ค่าประกันสุขภาพจะถูกลง โดยเฉพาะ ชนชั้นกลาง. สำหรับคน รายได้ต่ำ (ทางเอกสาร) ก็คงจะได้รับสวัสดิการของรัฐต่อไป เพราะทุกรัฐ มีสวัสดิการด้านประกันสุขภาพ ให้กับ คนรายได้ต่ำ หญิง เด็ก ๆ นะคะ.

 

  • ค่าสารธารูปโภค ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ ไม่ได้แตกต่างกันมากแต่ละรัฐ

 

  • ค่าเดินทาง ถ้าเราไม่ได้อยู่เมืองใหญ่ ๆ จะไม่มี รถไฟฟ้า ใต้ดิน และ บนดินคอยให้บริการเราคะ. เราต้องผ่อนรถ หรือ ซื้อรถ หรือเช่ารถ ซึ่งก็เป็นส่วนจำเป็นมากในการเดินทางไปทำมาหารับประทาน (ยกเว้นคนที่ทำงานที่บ้าน).

 

  • อันนี้อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับค่าครองชีพ แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์ อีเลคโทรนิค มือถือ กลุ่มนี้ ถูกกว่าที่ไทย พอสมควร หรือ ราคาอาจจะเท่ากัน. แต่ที่แน่ ๆ โทรทัศน์ พัดลม หม้อหุงข้าว น่าจะถูกกว่าบ้านเรา โดยเฉพาะ ช่วงที่ซื้อ ตอน ลดราคากระหน่ำ มีทุกวันหยุด.

 

ที่พูดมาอาจจะไม่ครบนะคะ ยิ่งกลุ่มชอบกินข้าวนอกบ้าน นี่ ก็ต้องมีงบประมาณมากขึ้นหน่อย.

สรุปคือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะมากกว่า 50% ของรายได้ที่เราได้รับก่อนหักภาษี. ฉะนั้น ใครอยากมาทำงานที่อเมริกา ควรจะคิดให้มาก ๆ และ รอบคอบ.

 

 

Thrifty & Saving ประหยัดและเก็บออม

 

หลาย ๆ คน อาจจะไม่ค่อยเชื่อว่า คนที่ เขามีเงินเยอะ ๆ (ในนิยามของบางคน) อาจจะเพราะ มีหน้าที่การงานดี เงินเดือนสูง สามีรวยมาก มีสมบัติจากครอบครัว หรือสร้างด้วยตัวเอง.  กลุ่มที่ว่านี้ เราไม่สามารถสรุปได้ว่า เขาจะมีชีวิตสุขสบาย ในบั้นปลาย หรือในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือเปล่า. เห็นตัวอย่าง เยอะมาก กลุ่มนี้ถ้าไม่รู้จักประหยัด เก็บออมช่วงที่หามาได้ (ช่วงสามีให้เงินใช้) อาจจะไม่เหลืออะไรเลย บางทีอาจจะต้องกลับไปหางานทำตอนชรา หรือ เปลี่ยนสถานะจาก ร่ำรวยมาขอสวัสดิการของรัฐบาลได้.

 

ในทางกลับกัน กลุ่มที่สถานะ “รวยน้อย” อีก สิบปีข้างหน้า อาจจะอยุ่ในสถานะ “รวยมาก” ตามคำนิยามของคนเหล่านั้น. แต่มีเงื่อนไขว่า กลุ่ม “รวยน้อย” ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิด และการใช้ชีวิต เพราะ ถ้ากลุ่มรวยน้อย ยังใช้วิธีการดำเนินชีวิตแบบเดิม ๆ อาจจะทำให้ “รวยน้อย มากขึ้น มากๆๆ ถึง มากที่สุด”

การใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและรอบคอบมีหลายวิธี แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป ฉะนั้น จะไม่มีคำตอบว่าถูก หรือ ผิด ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคน.

 

อย่าเพิ่งเสียขวัญนะคะ เพราะ มีคนทำงาน ค่าแรงขั้นต่ำ สองงาน เก็บออม เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารไทยที่ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยมีแล้วนะคะ. เพราะความขยัน มุ่งมั่น จากทำร้าน เล็ก ๆ จนขยายใหญ่โต น่ายกย่องมากเลยคะ.  แถมเรียนมาก็ไม่ได้มากมายไรเลย สร้างบารมีจากคนรอบข้าง น่ายกย่องคะ.

มาแนะนำวิธีประหยัดดีกว่า

 

 

  • แบ่งเงินส่วนหนึ่งฝากเข้า ธนาคาร ฝากแบบไม่ถอนคะถ้าเป็นไปได้ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ หาวิธีซื้อหุ้น ฝากเข้ากองทุน IRA retirement ปีหนึ่งได้ตั้ง $5000-$6000 เหรียญนะคะ.

 

  • ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ของ แบรนเนม

 

  • เป็นสมาชิกกลุ่ม คูปอง เยอะนะคะ เขาสอนให้ประหยัดและมีคูปองมาแจกกันด้วย

 

  • หารายได้เสริม เช่น ขายของออนไลน์ ขายสารพัดชนิด (ขายตรงก็ได้คะ แต่อย่าชวนเพื่อนซี้ซั๊ว อิอิ)

 

  • กลับมาดูหนี้บัตรเครดิตว่า สุงส่งแค่ไหน แล้วพยายามผ่อนจ่าย ขอประนอมหนี้ ทำทุกวิธีให้หนี้ลด พร้อมกับการมีวินัยในการจับจ่าย

 

  • พวกชอบของดีราคาถูก แบบสภาพดี ใช้ของมือสองให้มากที่สุด (มือสองคุณภาพดีกว่า จตุจักรบ้านเราเยอะคะที่อเมริกา) ยิ่ง หน้าร้อน ไปหาพวก garage sales, thrift stores (ตัวเองเป็น แฟนคลับเหล่านี้เลยคะ) ไม่ต้องตามนะคะ เพราะรสนิยมคนเราไม่เหมือนกัน  ตัวเองเป็นคนง่าย ๆ คะ สมถะ ตามประสาลูกชาวนา และตอนเด็ก ๆ ก็รับแต่ของบริจาค(ทุกอย่าง).

 

  • พวกชอบของลดราคา ซื้อของเฉพาะที่ลดราคากระหน่ำ clearance, sales, super buy, black Friday ,and etc., ตัวเองก็เป็นแฟนคลับ ชมรมต่าง ๆ เหล่านี้คะ แบบเหนียวแน่นด้วย.

 

 

Family Budget การทำงบประมาณของครอบครัว

 

งบประมาณ หรือการประมาณการรายรับจ่าย ไม่จำเป็นหรือใช้แค่ในวงการธุรกิจนะคะ . ระดับครอบครัวเราก็ใช้ได้เช่นกัน. ไม่จำเป็นต้องเที่ยงตรง แต่จะใช้เตือนตัวเราในการจับจ่ายใช้สอย และ ดูที่มาของรายได้ ว่าพอสำหรับค่าใช้จ่าย หรือไม่นะคะ. **ใครอยากยืมตัวอย่างบอกมาได้นะคะ หลังไมค์**

 

วิธีการทำงบประมาณที่สั้น และ สวยงามที่สุด Short and Sweet คือ
“Do not spend more than you earned”
“ อย่าใช้จ่ายมากกว่าที่เราหามาได้”

 

ถ้ารู้ตัวว่าหนี้เยอะ ต้อง Find way to earn more to cover your Debt มองหาช่องทางเพิ่มรายได้เพื่อจ่ายหนี้นะค้า

 

 

เรียบเรียงโดย        : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา                   : กลุ่มที่พยายามใช้เงินแบบประหยัด

วันที่                   : วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560, Monday, August 14th 2017