Help wanted in a Thai restaurant
การจ้างงานในกิจการร้านอาหาร
(ต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมาแบบไม่อ้อมค้อม)
มาต่อเนื่องกันแบบไม่อ้อมค้อมจากบทความเมื่อวานนะคะ. ว่าด้วยการจ้างงานนี่อาจจะโดนใจคนหลายกลุ่ม ไม่รู้ว่าจะโดนแบบถูกใจหรือเปล่า มิอยากรู้คะ เพราะเป็นเรื่องส่วนกิจการของเจ้าของธุรกิจ (เว้นแต่ลูกค้าเราเอง อิอิ). การจ้างงานตามกฏหมายจะต้องเป็นไปตามกฏหมายของรัฐที่เราทำธุรกิจ และไม่ขัดแย้งกับกฏหมายของรัฐบาลกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ขัดแข้ง ถ้าขัดแข้งจะถือกฏหมายจากรัฐบาลกลางเป็นหลัก. เคยเรียนกฏหมายหัวข้อสั้น ๆ ที่ครอบคลุมกฏหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน การฟ้องร้องมาบ้างค่ะ. และเคยทำงานบริษัทเล็กแรก ๆ ที่มาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกส่งไปอบรมเยอะแยะทุกเดือนคะเป็นเวลาเกือบสาม (3) ปี เลยทีเดียว. ไม่ได้รู้ทุกเรื่องนะคะจะรู้กรณีที่เคยอบรม เคยหาข้อมูลช่วยลูกค้าและอ่านจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ค่ะ.
กฏหมายด้านแรงงานครุ้มครองพนักงานและค่อนเข้างให้สิทธิ์พนักงานทุกเพศ ทุก วัย. ครุ้มครองเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และการกีดกัน. ป้องกันการถูกเอาเปรียบจากการจ้างงาน. คนอยู่อเมริกามานาน จะทราบว่า เขียนไว้เถอะกฏหมาย ยังไงก็กีดกันอยู่ดี. เช่น กฏหมายระบุไว้ว่า ห้ามถามเรื่อง อายุเท่าไร เพราะจะถือว่า discrimination against age โทษทีคะ ฝ่ายบุคคลนี่ เห็นคนอายุมากหน่อยบางคนไม่รับคะ ไม่ได้พูดนะคะ พวกนี้จะรู้กฏหมายดี เขาจะให้เหตุผลในการปฏิเสธ การจ้างงานเราว่า “We find the better candidate that better fits in the position” นี่คือตัวอย่างนะคะ.
♣อะไรที่นายจ้างควรทราบบ้างเกี่ยวกับกฏหมายแรงงาน♣
มีอะไรหลายๆ อย่างที่เจ้าของกิจการควรทราบเกี่ยวกับการจ้างงานตามกฏหมายแรงงานของประเทศอเมริกา ตามกฏหมายของรัฐที่เป็นแหล่งที่ตั้งของกิจการ. กฏหมายของรัฐส่วนใหญ่จะคล้าย ๆ กันค่ะบางรัฐจะเข้มงวดมาก เช่น แคลิเฟอรเนียมีชื่อมากในการเป็นรัฐที่ให้ผลประโยชน์แก่ลูกจ้างมากกว่านายจ้าง. รัฐอื่นๆ ก็ทั่วๆ ไป ค่ะ พนักงานมิสิทธิ์ตามกฏหมาย นายจ้างก็มีสิทธิ์ไล่คนออกได้ตามกฏหมายเช่นกัน.
1.) Minimum wages ว่าด้วยค่าแรงขั้นต่ำ
ทุก ๆ รัฐจะมีอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำจะมีการประกาศโดยกรมแรงงานในรัฐนั้น ๆ พวกประกาศต่าง ๆ นี่สั่งซื้อหรือขอฟรีได้จากเสตทคะ ซื้อก็ไม่กี่เหรียญ. ต้องติดประกาศด้วยนะคะ ตามที่เห็นได้ชัด ถ้าคนทำงานโรงงานจะทราบดี เพราะต้องติดไว้ในพื้นที่ที่พนักงานสามารถเห็นได้ชัดเจน.
♥อยากรู้ว่ารัฐที่คุณอยู่อัตราค่าแรงขั้นต่ำเท่าไร ถาม Google ค่ะ search “minimum wage in …(state)….” อากู๋ตอบได้รวดเร็วทันใจแม่นยำ เชื่อถือได้เลยค่ะ.
- กฏหมายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ต้องจ่ายให้พนักงานไว้ ก็เสมือนหนึ่งว่า ถ้าคุณจ่ายค่าแรงพนักงานต่ำกว่านี้ ผิดกฏหมายแรงงานคะ. เช่นใกล้ ๆ ตัวนะ คะ พนักงานเสริฟในร้านอาหาร ที่รัฐแบบกลาง ๆ ไม่เข้มขวดมาก จะระบุไว้เลยว่า ถ้าพนักงานทำงาน 40 hours ใน 1 สัปดาห์จะได้รับที่ $400 (40x$10/hour). ถ้าพนักงานเสริฟคนนั้นทำงานในร้านอาหาร 40 ชม. รวมทิปแล้วได้ต่ำกว่า $400 นี่นายจ้างต้องจ่ายส่วนขาดนะคะ. กรณีภายใน 1 week ลูกจ้างทำงานวันละ 12 hours/day x 6 days = 72 hours. งานนี้ตามกฏหมายต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลาแล้วค่ะ. อัตราค่าล่วงเวลา ก็ใช้อัตราค่าจ้างคูณ 1.5 เท่าของค่าแรงคะ ก็ชม.ละ $15 เหรียญ x 32 hours = $480 เฉพาะค่าล่วงเวลานะเนี่ย. ถ้าพนักงานทำงาน 72 hours ใน 1 weeks ก็ได้รับเงินรวมที่ $880 เลยค่ะ. ถึงว่าเจ้าของกิจการร้านอาหารถึงให้พนักงานแค่ 40 hours/week. ประหยัดการจ่ายค่าล่วงเวลา และให้พนักงานทำงานเป็น กะ หรือ shift แทน.
♥ปล. California นี่ยิ่งหนักคะ คิดค่าล่วงเวลาเป็นวันกันไปเลย คนทำงาน 10 hours ใน 1 days. นี่ตามกฏหมายนายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา 2 hours เลยนะคะ ขอเตือนไว้ก่อน. คนอยู่แคลิจะทราบดีกว่าแหวนเยอะ.
2.) Legal workers คนที่มีใบอนุญาตทำงานแบบถูกต้อง
คนที่มีสามารถทำงานได้ตามกฏหมาย สามารถตรวจสอบโดยใช้ e-verify ตรวจสอบได้กับลุงอิ่ม USCIS ได้ค่ะ. คนมีกรีนการ์ด ซิติเซ่น คนมีใบอนุญาตทำงาน หรือ work permit ทำงานได้แบบถูกต้องตามกฏหมายคะ. นักเรียนที่ได้ OPT สามารถทำงานได้คะ ตามระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาต. วีซ่าประเภทอื่น ๆ เช่น E1, E2 สามารถทำงานในกิจการที่ระบุไว้ที่หน้าวีซ่าคะ.
♠ในฐานะในนายจ้าง เราสามารถให้ลูกจ้างกรอกเอกสารการสมัครงาน ขอเอกสารพวก บัตรประกันสังคม ใบขับขี่ และให้กรอกเอกสารทางภาษีอากร W4 และนำเข้าระบบการจ่ายค่าแรงได้ค่ะ.
♠ส่วนตัวแล้วยังไม่เคยใช้คนที่มี เลข ITIN มาคำนวณในระบบค่าแรงคะ เลยไม่ทราบว่าเข้าระบบได้เปล่า แต่ทราบว่ากลุ่มนี้คงไม่สามารถทำงานได้แบบถูกกฏหมายแน่นอนคะ. ไม่แนะนำให้นายจ้างให้คนมี ITIN เข้าระบบค่าแรงเงินเดือนนะคะ.
3.) Other workers พนักงานกลุ่มที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.)
กลุ่มนี้ไม่มีใบอนุญาตทำงานแบบถูกกฏหมายคะ. อาจจะมาด้วยวีซ่าประเภทอื่นๆ อาจจะเคยมีใบอนุญาตทำงาน อาจจะเดินเข้ามา แบบไม่มีวีซ่าอะไรเลย.
คนไทยไม่น่าจะมีนะคะ เดินเข้ามาแบบไม่มีวีซ่าอะไรเลย ปกติคนไทยเข้าเมืองแบบถูกฏหมายด้วยวีซ่าประเภทต่าง ๆ แค่สถานะขาด unlawful presence และ Over stayed แค่นั้นเอง. กลุ่มนี้ถ้าแต่งงานกับคนอเมริกัน ก็ปรับสภาพได้ละมุนละไม.
กลุ่มที่เดินเข้าหรือมาทางเรือแบบไม่มีเอกสารอะไรนี่ ปรับสภาพไม่ได้นะคะถึงแม้จะแต่งงานกับอเมริกัน. อุ๊ป ขออภัยคะนอกเรื่องนิด ๆๆ.
♣กลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานแบบถูกกฏหมายได้ แต่สามารถเสียภาษีถูกต้องตามกฏหมายได้โดยใช้กฏ Substantial Presence Test ได้คะ กฏนี้ระบุว่า ถ้าอยู่อเมริกามากกว่า 183 days ตามกฏถือว่าเป็นคนที่นี่คะ (ตามกฏหมายภาษีอากรเท่านั้นนะคะ)
♠ นายจ้างไม่ควรที่จะนำกลุ่มนี้เข้าระบบค่าแรงงานเงินเดือนออก W2 ให้เขานะคะ คุณทำได้แค่ออกเอกสาร 1099 ให้เขา แต่ก็ใช่ว่าจะถูกต้อง. การออก เอกสาร 1099 คือการรับงานอิสระ ผู้ที่รับงานอิสระคือมีอำนาจตัดสินใจและคุณไม่สามารถสั่งการเขาได้ เขาทำงานให้กับคนอื่น ๆ ได้. ถ้าเขาทำตามระเบียบต่าง ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ถือว่าลูกจ้างค่ะ. นายจ้างเสียเปรียบอย่างแรงคะงานนี้.
- นายจ้างจ่ายค่าแรงให้พนักงาน ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำส่ง เจอเบี้ยปรับเงินเพิ่มด้วยนะคะ นี่คืออีกประเด็นที่ควรจะพึงตระหนักไว้ ในฐานะนายจ้าง. อ้าวทำไงดี ไม่มีเงินจ่าย ก็แบ่งเงินกันทุกวันทุกเดือน๊อ จะไปเหลือไว้ใช้ในกิจการเหรอคะ. ทราบมาว่าเจ้าของกิจการมีความรู้มีการศึกษาดีมากนะ♣ กรรม งั้นนายจ้างคนอื่นเขาทำกันไง ไม่เคยจ่ายค่าแรง จ่ายเงินสดตลอด เปิดธุรกิจมาเป็น 10 ปี ไม่เห็นมีปัญหาเลย. เขาไม่เคยโดนตรวจมังคะ เขาเป็นคนดีเปล่า ไม่เอาเปรียบลูกจ้าง เลยไม่มีใครแก้ง. หรือเคยถูกประเมิน แต่คุณไม่ทราบเท่านั้นเอง. ใครจะบอกเรื่องน่าละอายเหล่านี้ให้คุณทราบละคะ คนในครอบครัวยังไม่อยากบอกเลยคะคุณ.
♣นายจ้างบางคนฉลาด เขามีวิธีที่สามารถนำเงินที่จ่ายให้คนที่ไม่มีใบมาตัดเป็นค่าใช้จ่ายได้คะ. คนในวงการอาจจะทราบ. ไม่เปิดเผยนะคะ กลุ่มลูกค้าเท่านั้นที่รู้ วิธีนี้แบบ Win Win ทั้งนายจ้างและทั้งคนที่รับ W2 สรุปค่าแรงเงินเดือนของบุคคลธรรมดาทั้งปี.
Analysis วิเคราะห์
♣ ค่าแรงเงินเดือนรวมถึงสวัสดิการ ถือว่าเป็นต้นทุนของการประกอบกิจการหลัก ๆ เลยคะ บางครั้งจุดนี้สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่ากิจการมีกำไรแท้จริงแค่ไหน นอกจากต้นทุนการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร. ถ้ากิจการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานแล้วไม่ได้ลงบัญชีค่าแรงตามกฏหมาย ทำให้เงินสดขาดไป แล้วไม่มีรายการอะไรมาทดแทน เหมือนกับการที่เจ้าของถอนเงินมาใช้เองคะ. ถ้าเป็นกิจการประเภท S-Corp ถอนเงินออกมาเยอะ ๆไม่อยู่ในระบบเงินเดือน ระวังถูกประเมินด้วยคะ พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม มีกรณีตัวอย่างมาแล้วคะ♣
♣ กฏหมายแรงงานครุ้มครองคนทำงานทุกคน(ไม่ได้จำกัดสถานะทางกฏหมาย) ฉะนั้นการจ้างงานคนที่ไม่มีเอกสารถูกต้อง ควรจะระวังคะ คุณยังมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฏหมายแรงงานของรัฐบางท้องถิ่น ของรัฐบาลกลางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. มีกรณีฟ้องร้องเกิดขึ้นมากมายคะหลาย คนจะทราบ ว่ามีเกือบทุกรัฐที่ลูกจ้าง ที่ไม่มีสถานะทางกฏหมายฟ้องนายจ้าง. บางรายประนีประนอมยอมจ่าย บางรายไม่ยอม ถึงกับต้องล้มเลิกกิจการคะ.
คนมีใบอนุญาตทำงาถูกต้องก็ฟ้องเละเทะคะ ฟ้องแบบ เหยีดผิว เพศ อายุ วัย บางเคส ไปถึงศาลศูงสุดของอเมริกา. ที่อ่านล่าสุดมีเคสถึงศาลฎีกา Supreme court กลับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐหนึ่งที่บังคับบีบคั้น ให้พนักงาน คู่เกย์ ถึงกับต้องลาออก เรื่องยาวมาก ศาลแรงงานฟ้องนายจ้างชนะ. ต่อมานายจ้างอุทธณ์ แต่ศาลสูงสุดไม่รับฟ้องคะ. เพราะศาลระบุไว้ว่าห้ามเบียดบัง ห้ามดูถูก. เคสแบบนี้สู้กันยาวคะ มีมาเรื่อยๆ แหวนจะรับข่าวสารพวกนี้จากกระทรวงรายงานเลยคะ.
♥ จะเป็นเจ้าของกิจการโดยเฉพาะร้านอาหารไทย ควรวางแผนอย่างดีเรื่องแรงงานคะ เพราะจ้างคนที่นี่ที่ไม่ใช่คนไทย เขาไม่รู้ถึงวัฒนธรรมของเรา รสชาติอาหารของเรา ธุรกิจไปได้ยากคะ ยกเว้น ระบบ แฟรนไชน์ คล้ายกับร้านอาหารจีน แต่ไม่อร่อยเนาะ อาหารไทยทำโดยคนไทยอร่อยสุด เคยไปกินอาหารไทยทีคนแม๊กทำมา รู้เลยคะว่าไม่ใช่ ล่าสุดที่บริษัทจ้าง เคเทอริ่งนะคะ ดันไปสัมภาษณ์ผู้จัดการเขาอีก อิอิ♥
♠ นายจ้างควรรู้กฏหมายแรงงานของรัฐที่เราไปทำให้ดีคะ บางรัฐ เป็นระบบ employment at will คือนายจ้างไล่คนออกเมื่อไหร่ก็ได้ หรือลูกจ้างหนีหายเมื่อไหร่ก็ได้ บางรัฐเป็นระบบ right to work state มีไม่หลายรัฐคะ Utah, Texas, SD SC OK NV NE MS MI LO KA IO WY WV VR คลิกไปที่ลิงค์คะบอกหมด รัฐเหล่านี้นายจ้างชอบคะ ครุ้มครองนายจ้างดี เลิกจ้างเมือ่ไหร่ก็ได้ กฏหมายแรงงานค่อนข้างซับซ้อนนะคะ ถ้ามีกรณีพิพาท ควรติดต่อทนายคะ เราในฐานะนายจ้างแค่ศึกษาหาลู่ทาง เผื่อเจอทนายฉลาดน้อย รู้น้อยกว่าเรารู้อย่าจ้างคะ หามืออาชีพจริง ๆ มีเยอะคะ ทนายเก่ง ๆ แต่แพง. แพงแต่คุ้มจัดไปคะ ไม่ใช่พวกซี้ซั๊วถือว่ามีลายเซ่นทนายแล้วคอยแต่จะเอาเปรียบ อ่านทีลิงค์นี่น่าสนใจแต่ละรัฐว่าใช้กฏหมายแรงงานแบบใด
♣เลิกจ้างใครแบบเร่งด่วนจ่ายค่าแรงให้เขาด่วนนะคะ ที่ Utah ต้องจ่ายภายใน 3 days, บางรัฐ ภายใน 24 hours คะให้ระวังกันหน่อย.
เรียบเรียง: แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
ที่มา: DHS, IRS linked , ประสบการณ์ตรงและจากคนรอบข้าง
วันที่ 6 ธันวาคม 2559 (2016)