Business owner should know

Business owner should know Part II!

สิ่งที่เจ้าของกิจการควรรู้

(ต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมาแบบอ้อม )

คราวก่อนได้เขียนถึงสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารไทยควรทราบและทำใจก่อนเข้ามาทำธุรกิจประเภทร้านอาหารในอเมริกา. คราวนี้ขอพูดถึงภาพรวมของเจ้าของกิจการที่ควรรู้หลักการโดยทั่วไป (ไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียด) แบบพอเข้าใจว่ามันคืออะไรที่คนอื่นพูดถึง.  เป็นเจ้าของกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ถ้าคุณ ๆ ใส่ใจแบบไม่เอะอะ อะไรก็ไปหาทนาย ให้เสียเงินเปล่า ๆ ควรจะอ่านคะ.  เหมาะสำหรับคนที่อยากประหยัดและต้องการเรียนรู้คะ. บางท่านอาจจะทราบแบบละเอียดแบบไม่ต้องจ้างมืออาชีพมีเยอะแยะคะ รู้ดีกว่านักบัญชีก็มีโดยเฉพาะกลุ่มที่เรียนมาและมีประสบการณ์(แต่น้อยมากค่ะ). ส่วนใหญ่ จากที่ได้พูดคุย กลุ่มที่เหมือนจะรู้นี่เยอะมากแบบล้นพ้น ประมาณว่ามีกิจการหลายแบบหลายประเภท แถมสามีฉลาดมาก ๆ บอกสอนทุกวัน (อุ๊ป! สามีจบ MBA ก็เยอะคะ). เลิกแขวะเข้าเรื่องดีกว่า อิอิ (บางทีก็เอือม)

ภาระด้านภาษีอากรประเภทต่าง (Taxes’ responsibilities)

ภาษีที่เกี่ยวข้องใจการประกอบธุรกิจมีอะไรบ้างขอแบบคร่าว ๆ

1.) Employment Taxes ว่าด้วยภาษีต่าง ที่เกี่ยวกับพนักงาน.

ทันทีที่เรามีพนักงานคนแรก อาจจะเป็นตัวเราเองภาระภาษีเริ่มมีมาถามแล้วค่ะ. แบบที่ว่ากิจการต้องรับผิดชอบนะคะ ไม่เกี่ยงว่าจดทะเบียนแบบไหน ถ้าเป็นบุคคลธรรมดามีแค่ทะเบียนการค้าแต่มีการจ้างคนมาทำงาน นอกจากเจ้าของเอง ก็มีเลยคะ. พูดถึงเฉพาะส่วนที่นายจ้างต้องรับผิดชอบนะคะ ภาษีที่หัก จากพนักงานไม่เกี่ยวค่ะ หักไว้ตามหน้าที่ ไม่ใช่เงินเรา หักแล้วมีหน้าที่นำส่งรัฐบาลคะ.
1.1) 7.65% Social Security & Medicare (6.2% + 1.45%) หรือที่เรารู้ๆ กันคือเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบค่ะ. กิจการหักจากพนักงานที่อัตรา 7.65%  นายจ้างสมทบอีกครึ่งหนึ่งค่ะ รวมได้นายจ้างนำส่งทั้งหมด ก็ 15.3%. จัดว่าเยอะนะคะ ถ้ากิจการต้องจ่ายรวมทั้งหมดนี่ เดือนหนึ่งไม่ใช่น้อย ๆ เลย.

♠นี่แหละคะ ที่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่เลี่ยงไม่อยากจ่ายค่าแรงให้กับพนักงาน. (ไม่แนะนำ นักลงทุนจากเมืองไทยนะคะ เพราะคุณต้องใช้เอกสารพวกการจ่ายค่าแรงเงินเดือน เพื่อขอวีซ่า หรือ เพื่อขอต่อวีซ่าคุณคะ). บางกลุ่มก็จำเป็นนะคะ นำพนักงานเข้าระบบค่าแรงเงินเดือนไม่ได้เพราะไม่สามารถทำงานได้ตามกฏหมาย.

♠มีอีกลุ่มคะ มีพนักงานที่ถูกกฏหมาย พร้อมจ่ายภาษียอมให้นายจ้างหัก ภาษี ณ ที่จ่ายแบบเต็มใจรักภักดี แต่นายจ้างไม่ชอบค้า  จ่ายเงินสดไปเลย เพราะไม่อยากรับภาระภาษีที่ 7.65%   แถมยังต้องวุ่นวายนำส่งภาษี จ้างคนทำบัญชีกันอีก

1.2) Federal, State and Local unemployment taxes คนสมทบกองทุนคนว่างงาน

นอกจากนายจ้างมีหน้าที่หักเงินส่งสำนักงานประกันสังคม นายจ้างยังมีภาระจ่ายเงินเข้ากองทุน คนว่างของรัฐที่อยู่ด้วยนะคะ  ไม่มีข้อยกเว้นแม้กระทั่งรัฐที่ไม่มีภาษีเช่น Florida, Texas, Tennessee, Wyoming and others . ยกตัวอย่างมาไม่หมดค่ะ จำไม่ได้ คนที่ทำธุรกิจในรัฐนั้นควรจะทราบจุดนี้.

อัตราภาษีนั้นไม่ได้สูงอะไรมากมายคะ นิดๆ หน่อย เว้นแต่รัฐแคลิเฟอรเนียแบบว่าสูงพอสมควร. นายจ้างกลัวภาระภาษีจุดนี้มาก กลัวลูกจ้างเคลมกับเสตท เดี๋ยวเสตทจะมาเรียกเก็บจากนายจ้างอีกรอบ อัตราเพิ่มขึ้นด้วยคะ ถ้ามีการเคลมการว่างงานบ่อย ๆๆ เป็นทุกรัฐคะ ไม่ใช่แค่แคลิเฟอรเนีย.

 2.) Sales Tax ภาษีขายเรียกเก็บจากการขายสินค้า

ถ้าท่านทั้งหลายเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร กิจการขายของชำ กิจการขายของออนไลน์ กิจการขายของตามงานแฟร์  ท่านมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีขายนะคะ หลังจากเราเรียกเก็บไว้แล้วเรามีหน้าที่นำส่งให้กับทางรัฐบาลท้องถิ่นที่เราทำธุรกิจคะ. โปรดทราบว่า ส่วนใหญ่ค่าบริการไม่มีการเรียกเก็บภาษีขายนะคะ ยกเว้นพวกกิจการโรงแรม ที่บางรัฐจะมีกฏหมายระบุไว้ว่าต้องเรียกเก็บเช่น Nevada, เพราะกิจการเหล่านี้เน้นบริการจริง ๆ คะ.

บางรัฐไม่มีการเรียกเก็บภาษีขาย เช่น Oregon น่าจะมีหลายรัฐนะคะ แต่แหวนไม่ทราบคะ ถ้าไม่มีการเรียกเก็บก็ไม่มีการนำส่งคำ ผลดีทำให้ค่าสินค้าหรือบริการต่ำคะ. กิจการที่ขายของออนไลน์ต่างรัฐก็ไม่มีหน้าที่เรียกเก็บนะคะ ต้องตรวจสอบกับรัฐที่เราทำธุรกกรรมอยู่. เช่น เราอยู่ รัฐหนึ่งขายของให้คนทุกรัฐ ถ้ารัฐไหนที่เรามีโกดัง  เรามีหน้าที่เรียกเก็บภาษีขายเช่นกันค่ะ กฏหมาย NEXUS มีเขียนไว้คะ.  ขายของจากอเมริกาส่งไปไทยไม่มีเรียกเก็บภาษีขายคะ.

♠ เรียกเก็ฐภาษีขายแล้วกรุณานำส่งด้วยนะคะ.  บางรัฐให้นำส่งได้ทุกเดือน หรือนำส่งรายไตรมาสคะ แล้วแต่ท่าจะสะดวก.  ลูกค้าแหวนทุกราย นิยมนำส่งรายเดือนคะ เพราะจะมีผลดีต่อกระแสเงินสด ถ้าส่งไตรมาสครั้งเดียวเงินจะหดหาย ไปจากบัญชีแบบตกใจคะ. อาจจะทำให้เงินขาดมือและเสียค่าธรรมเนียม Over draft อีกด้วยค่ะ

♠เงินภาษีขายที่เรียกเก็บคือการบวกเพิ่มจากค่าสินค้าหรือจากการขายอาหารนะค่ะ บางกิจการบวกว่าสินค้ารวมภาษีแล้ว ระบุให้ชัดเจนนะคะ เพราะคุณมีหน้าที่นำส่ง. ลืมบวกก็ขาดทุนรับภาระคะ บวกแล้วไม่นำส่งก็ถือว่าเป็นหน้ารัฐบาลคะ.

  • มีกรณีศึกษาอยากจะเล่าคะ เป็นเรื่องไม่ไกลตัวมากจากประสบการณ์ของลูกค้าบางท่าน ที่ก่อนจะมาปรึกษาแหวน เนื่องจากมีหนังสือทวงหนี้จากทางรัฐ (เสตท) มีการอายัดเงินในบัญชีส่วนตัวของกรรมการในกิจการร้านอาหาร. นี่ขนาดจดทะเบียนแบบ Limited Liability Company (LLC) แล้วนะคะ ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทยอยขอผ่อน ไม่งั้นก็ทำมาหารับประทานอะไรไม่ได้เลย. เรื่องมีอยู่ว่าในบริษัท มีหุ้นกัน สามคน คะ เปิดกิจการร้านอาหารเล็ก ๆ ทำกันเองคะ ขายได้เท่าไรก็เก็บเงินเข้ากระเป๋าของหุ้นส่วนแบบกิจจะลักษณะเลยคะ. ไม่มีการทำบัญชี ไม่มีการยื่นภาษี ลืมไปว่าใช้ระบบเครดิตการ์ดรูดเงินซึ่งบริษัท บัตรเครดิตนำส่งข้อมูลให้กับทาง Internal Revenue Services (IRS) แถม IRS สงข้อมูลต่อให้กับทางเสตท ยาวกันเป็นทอด ๆ ทำกิจการไม่น่าเกิน 2 ปีคะ มีหนังสือมาจากทาง หน่วยงานที่รักและเคารพทั้งสองหน่วยงาน.
  • อ้าวทำไงดี ไม่มีเงินจ่าย ก็แบ่งเงินกันทุกวันทุกเดือน๊อ จะไปเหลือไว้ใช้ในกิจการเหรอคะ. ทราบมาว่าเจ้าของกิจการมีความรู้มีการศึกษาดีมากนะคะ ขั้นต่ำปริญญาตรี . เงินในบัญชีถูกอายัดคะ และมาโวยวายว่าทำไมถูกอายัดซะงั้น.  จู่ ๆ ใครจะมาอายัดเงินเราละคะ เขามีหนังสือแจ้งเตือนคะ เป็นขั้นตอนตามกฏหมาย อายัดกันตามกฎหมายด้วยนะ.ถึง

Analysis วิเคราะห์

Let’s make it short! ขอสั้นๆ แค่นี้ก่อนคะรอบนี้ค่อยว่ากันคราวต่อไปถึงภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมายแรงงาน ประกันประเภทต่าง ๆ ที่นายจ้างต้องมีพร้อมกรณีศึกษาคะ

♣  มีเจ้าของกิจการมือใหม่ ซึ่งอาจจะเคยเป็นลูกจ้าง เป็นหุ้นส่วนกับอีกร้าน พอมีความรู้บ้าง แต่ก็ยังมีคำถามตลอดเวลาเพราะไม่เข้าใจถึงว่าทำไมเราต้องรับภาษีจุดนี้ ทั้งภาษีจากการจ่ายค่าแรง ภาษีจากการเก็บเงินค่าสินค้า. ให้ดูความเหมาะสมค่ะ ว่าทำกิจการขนาดนี้ควรมีพนักงานกี่คน มีการจ่ายค่าแรงเหมาะสมเปล่า ป้องกันปัญหาไว้ดีกว่าแก้ตอนที่ปัญหาเกิดขึ้นคะ เพราะแก้ยาก  การวางแผนอาจจะยากช่วงแรก ๆ แต่พอทุกอย่างเข้าที่เข้าทางจะเรียบร้อยเองคะ. นายจ้างจะชินกับหน้าที่การจ่ายภาษี (แบบเต็มใจน้อย). มีนายจ้างบางรายที่อยากประหยัดภาษี 7.65%  ไม่จ้างใครเลยทำเอง. ต่อมาสังขารไม่เที่ยงค่ะ เดินไม่ได้ เจ็บโน่นเจ็บนี่ มีเงินเท่าไรก็ซื้อความเจ็บปวดทุกข์ทรมานไม่ได้ มีตัวอย่างให้เห็นเลยคะ.

ถ้าทำใจไม่ได้กับภาระภาษีในจุดนี้ ไม่ควรเป็นเจ้าของกิจการคะ กิจการแบบมีลูกจ้างนะคะ มันจะทำให้คุณรู้สึกแย่ว่าทำไมต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาลฉันทำงานของฉันมาเองอย่างหนักหนาสาหัส เงินของฉัน. ลืมไปเปล่าคะ เงินนั้นคือเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า (ภาษีขาย) เงินสมทบจากนายจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม ก็เข้าไปช่วยคนแก่ที่เกษียณขอรับเงินสวัสดิการในจุดนี้. นึกถึงคนอื่นบ้างคะ ไม่ใช่นึกถึงแค่ตัวเอง.

♣ ให้นายจ้างทำพยายามตระหนักให้มากๆ ถึงภาระหน้าที่ต่าง ๆ คะ ยอดขายนะคาดการณ์ได้คะ ทำได้หรือเปล่า ก็อีกเรื่องค่ะ. วางแผนเรื่องต้นทุนทั้งค่าจ้างต่าง ๆ ให้ดีคะ มีหลายรายที่เห็นมีกำไร แต่กระแสเงินสดไม่ดีเลยคะ บางรายถึงกับบอกขายร้านไปเลย เพราะแบกภาระต้นทุนไม่ได้. ถ้าทำไปสักระยะแล้วไม่เป็นไปตามแผน ควรจะมีแผนสำรองคะ ทุนไม่หนาจริง นี่ตั้งตัวไม่ได้เลยคะ.

ส่วนใหญ่เจ้าของร้านที่มีความรู้จะได้เปรียบคะ เพราะกระบวนการคิดจะเป็นระบบไม่แบบ บ้าน ๆ ที่หามาได้เก็บเข้าประเป๋า จ่ายภาษีบ้าง ยอดขาย ปีละ $500,000 กำไรสุทธิ $5,000  ขับรถอย่างหรู ขอสวัสดิการจากรัฐบาล โหแบบนี้เห็นหลายรายนะคะ แบบว่าทำได้นะ ล่าสุดที่เห็นคือสุขภาพเดี้ยง ครอบครัวแตกแยก  กรรมนี่ตามมาในชาตินี้จริง ๆ ทำอะไรมากก็ไม่ได้ซื้อรถซื้อบ้านก็ยาก รายได้แสดงต่ำ แต่มีเงินสดแบบไม่มีที่มา ความซวยบังเกิด ถูกตรวจสอบประเมินจ้างทนายเก่งแค่ไหนก็แก้ต่างยากเพราะแย้งไม่ได้. ไม่ได้ขู่นะคะ แบบว่าเห็นคะ ได้อ่านเอกสารการถูกประเมิน ได้เห็นการยื่นภาษีเงินได้  คือยอมรับจริงๆ ว่าช่างกล้าทำ. มาอยู่อเมริกานานแสนนานด้วยนะคะกลุ่มนี้ ไม่ยั่งยืนหรอกคะรวยแบบนี้ เดี๋ยวก็หมดไปทางอื่น**

**ปล. ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้ทุกเรื่องนะคะ  ที่เล่าๆ  มาคือเห็นจากตาคะ จากที่อ่านเอกสารเวลาถูกประเมิน จากคำถามที่ถามมาแทบทุกวัน จากปัญหาที่รับฟังมาจากนายจ้างกลุ่มต่าง ๆ บางทีก็สนใจฟังคะ ฟังมากก็ปวดหัวแทน**

 

เรียบเรียง: แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา: ประสบการณ์ตรงและจากคนรอบข้าง

วันที่ 5 ธันวาคม .. 2559 (2016) วันพ่อแห่งชาติ