Business Partners (หุ้นส่วนทางธุรกิจ)
เรื่องนี้คงจะไม่อ้างกฏหมายที่เกี่ยวข้องนะค่ะ เพราะมีประสบการณ์ตรง จากหลาย ๆ แหล่ง พร้อมทั้งได้ทราบจากคนรอบข้าง ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำงบการเงินที่ผ่านมาในอดีต มาดูว่า ธุรกิจควรลงทุนต่อ หยุดการลงุทน มีจุดไหนที่ต้องปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้น พร้อมทั้งประมาณการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว (อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้)
การมีหุ้นส่วนทางธุรกิจอาจจะมาจากหลาย ๆ กรณี เช่น
- หุ้นส่วนที่สำคัญ มีความเชี่ยวชาญใน ธุรกิจนั้น ๆ
- หรือ หุ้น ส่วน มีชื่อเสียงที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้า และนักลงทุน (กรณีต้องการขยายกิจการ)
- หรือ หุ้นส่วนมีทุนมากพอที่จะช่วยพยุงธุรกิจให้พ้นวิกฤติช่วง ใด ช่วงหนึ่งได้ (เกือบเจ๊ง)
- หรือ ขาดความมั่นใจที่จะทำธุรกิจด้วยตัวเอง ด้วยเหตุผลหลาย ๆ กรณี
ทั้งหมดที่กล่าวไปอาจจะไม่ครอบคลุม ถึงการมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ. ธุรกิจสำหรับคนไทยใน อเมริกา ไม่ได้มีแค่ ร้านอาหาร ร้านนวดไทย มีธุรกิจหลาย ๆ ประเภท ที่คนไทยเป็นเจ้าของ แต่มีหุ้นส่วนทั้งชาติเดียวกัน และ ต่างเชื้อชาติ.
การป้องกันการขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือ อาจจะเกิดขึ้นในธุรกิจ
หุ้นส่วนทุกคนที่อยู่ในกิจการ ควรจะมีสัญญาร่วมกัน ที่ทุกๆ ฝ่ายเข้าใจ รวมถึงการแบ่งผลกำไรขาดทุน การมีอำนาจในการใช้จ่ายในกิจการ การมีอำนาจ ในการ เพิ่มทุน ลดทุน การมีอำนาจ ใจการขยายกิจการ และต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การทำสัญญาระหว่างหุ้นส่วน (Operating agreement/Partnership agreement)
ขึ้นอยู่ กับ รูปแบบการจดทะเบียนธุรกิจการค้า เช่น ถ้ากิจการจดรูปแบบ Corporation or Small Corporation (S-Corp) เริ่มต้นจะมีการจดทะเบียนหุ้นที่จะออกจำหน่าย ผลกำไรขาดทุน แบ่งตามอัตราส่วนของหุ้นที่ถือโดยหุ้นส่วนแต่ละคน เช่น จดทะเบียนหุ้น 1,000 หุ้น ขายหุ้น ออกไป 700 หุ้น มีหุ้นส่วน 7 คน ถือ คนละ 100 หุ้น ผลกำไรขาดทุน (เงินปันผล) จากแบ่งออกไปตามอัตรส่วนหุ้นที่ขายออก คือ 700 ไม่ใช่ 1,000 หุ้น. เมื่อมีการจ่ายชำระค่าหุ้นเพื่อนำเงินเข้าบริษัท ต้องมีการออกใบหุ้นให้หุ้นส่วนอย่างถูกต้อง
การกำหนดว่าใครมีอำนาจในการอนุมัติการจ่ายเงิน ต้องระบุไว้ใน รายงานการประชุมของผู้ถือหุ้น ให้ชัดเจน พร้อมทั้งผู้ที่มีอำนาจในการ กระทำต่าง ๆ
ถ้าต้องการแบ่งผลประโยชน์เป็นอัตราส่วนตามเปอร์เซ็น ได้ไม๊
ตอบ ว่าได้ค่ะ แต่คุณต้องจดทะเบียนแบบ Limited Liability Company (LLC) เพราะการจดทะเบียนรูปแบบนี้ไม่มีการออกใบหุ้นใด ๆ ทั้งสิ้น การแบ่งผลกำไรขาดทุน ตามอัตรส่วนทำได้โดยการเขียน Operating Agreement ระบุไว้ทุกกรณี ทั้งผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง กิจการ เช่น การยกเลิก การเพิ่มสมาชิกใหม่ในกิจการ. การจดทะเบียนรูปแบบนี้ผู้ที่ลงทุนในกิจการเรียกว่า “สมาชิก หรือ member “ ของ LLC ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น ผู้มีอำนาจ เรียกว่า “ผู้จัดการ หรือ Manager” ของกิจการ ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินการแบบ บริษัท หรือ Corporation และ S Corporation.
ทำอย่างไร จดทะเบียนแบบ Corporation แล้วต้องการแบ่งผลกำไรขาดทุนเป็น เปอรเซ็น
ตามความเห็นและประสบการณ์ที่เคยทำบัญชีของบริษัทขนาดเล็ก ที่มีผู้ร่วมทุนหลายคน ไม่แนะนำให้ทำสัญญานอกเหนือจากที่ได้จดทะเบียนไว้ ควรจะปิดกิจการบริษัทแล้วเปิดเป็นแบบ LLC เพื่อจะได้ให้ตรงวัตถุประสงค์ที่สมาชิกแต่ละคนต้องการ
การทำสัญญานอกระหว่างหุ้นส่วน อาจจะขัดแย้ง กับรูปแบบของกิจการ แต่ก็ทำได้ค่ะไม่มีกฏหมายได้ห้ามไว้. แต่ถ้ามีการฟ้องร้องเกิดขึ้น การพิสูจน์ในชั้นศาลอาจจะยุ่งยาก ต้องมีการสืบสวน และ มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่รู้อีกว่า ศาลจะตัดสินเช่นไร ถ้าเราจดทะเบียนชัดเจน ไม่ต้องไปถึงศาลค่ะ ใบหุ้น หรือ Operating agreement สามารถยื่นต่อศาลเพื่อบังคับตามกฏหมายได้เลย
ถ้าเราจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาล่ะ มีหุ้นส่วนได้ไม๊
ตอบว่าได้ค่ะ ทำได้ แต่เขียนสัญญาระหว่างหุ้นส่วนให้ชัดเจน ถ้ามีหุ้นมากกว่า 2 คนขึ้นใน ตามกฏหมายภาษีอากร เรียกว่า Partnership หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด คล้าย ๆ กับประเทศไทย การทำสัญญาแบ่งผลกำไรขาดทุน ต้องชัดเจน ทุกรูปแบบเพื่อป้องกันการขัดแย้งในอนาคต
ทำไม กิจการเล็ก ๆของคนไทย(บางกลุ่ม) ที่ถือหุ้นด้วยกัน ถึงขัดแย้งบ่อยมาก
ตอบว่า ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าข้อเท็จจริงคือ อะไร แต่รู้ว่า “เงิน” คือปัจจุบันสำคัญที่ทำให้ธุรกิจขัดแย้ง และการทำสัญญาระหว่างหุ้นส่วน ไม่มีเอกสารหลักฐานชัดเจน มีแต่สัญญาปากเปล่า บางครั้งมีเอกสารชัดเจน แต่ก็เป็นภาษาไทย ไม่ได้แปล รับรอง ถูกต้อง ฟ้องร้องก็ยากอีก ส่วนใหญ่ที่เห็นมีปัญหาคือ หมดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างหวังผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่นึกถึงความสัมพันธ์ที่เคยสร้างกันมา
ในฐานะนักบัญชีที่เคยทำกิจการทั้งขนาดเล็ก ที่มียอดขายหลักสิบล้าน ($10 Millions) และ บริษัทมหาชนที่มียอดขาย มากกว่าพัน ๆ ล้าน ($1,000 Millions) ที่มีถือหุ้นเป็นฝรั่งล้วน ความขัดแย้ง น้อยมาก เพราะ ทุกอย่างว่ากันตามเอกสาร มีฝ่ายกฏหมายให้คำแนะนำธุรกรรมตามกฏหมายของรัฐนั้น ๆ (อาจจะมีบริษัทฝรั่งเยอะแยะที่ถึงแม้จะมีสัญญาทางธุรกิจแบบถูกต้อง ก็ยังคงทำงานร่วมกันไม่ได้มากมาย แต่การแยกตัวออกมา สามารถทำได้ง่ายตามขั้นตอนทางกฏหมาย)
ปรัชญาส่วนหนึ่งของนักบัญชี (เฉพาะตัวดิฉันเอง)
ในฐานะนักบัญชี (ถ้ามีการขอคำปรึกษา) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้โดยการแนะนำให้หุ้นส่วนคุยกันและทำเป็นหนังสือเป็นกิจจลักษณะ. เนื่องจากเป็นบุคคลกลาง รู้สึกเห็นใจฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบ และรู้สึกเศร้ากับฝ่ายที่มองเห็นแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งกลุ่มหลัง คาดว่า ทำมาหารับประทานอะไรคงจะไม่ร่ำรวย เพราะมีแต่เอาเปรียบคนอื่น หากินบนความโง่ เขลา ของคนอื่น เอาเปรียบคนอื่นที่มีความรู้น้อยกว่า หรือ รู้เท่าไม่ถึงการ กลุ่มเหล่านี้ถ้าเราทราบ จะไม่สนใจว่าค่าบริการคุณจะจ่ายมากมายเท่าไร ถือว่าการมีกิจกรรมทางธุรกิจร่วมกับบุคลเหล่านี้ นอกจะทำให้ชื่อเสียงของเราเสื่อมเสีย (ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมากหมาย ในที่นี่หมายถึง ชื่อในฐานะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ ที่มีลายเซ่นถูกต้อง) แล้ว ยังทำให้ เราแก่ง่าย โรคประสาทมาเยี่ยมเยียน เสียสุขภาพจิต สร้างมลภาวะเป็นพิษต่อคนรอบข้างอย่างร้ายแรง.
บุคลิกภาพภายนอก สามารถสร้างใด้ และทำให้คนหลงเชื่อได้ การที่จะรู้จักบุคคล เหล่านั้น ถึงแก่นแท้ ก็เมื่อมีการทำงานร่วมกัน การประสานงานกัน และเราจะทราบว่า บุคคลเหล่านี้ เป็นอย่างไร สมควรที่จะร่วมธุรกิจด้วยไม๊
ปัญหาที่พบเจอมากที่สุดในกลุ่มที่ขัดแย้งกันคือ กลุ่มที่เป็นเพื่อนกัน รู้จักกันมานานแสนนาน และตัดสินใจทำธุกิจร่วมกัน และไม่มีสัญญาทางธุรกิจอย่างชัดเจน แค่ตกลงกันแบบปากเปล่า แม้บางกรณีมีสัญญาเขียนไว้ ชัดเจนก็ยังผิดสัญญาเป็นอันต้องเลิกคบกันไปเนื่องจากการสูญเสียผลประโยชน์ และไม่พอใจในผลประโยชน์ที่จะได้รับ
นักบัญชีส่วนใหญ่อาจจะไม่คิดเหมือนเราเพราะเป็นเรื่องภายในธุรกิจ ฉันไม่สน เอาเอกสารอะไรมาให้ฉันทำตามนั้น ฉันไม่ถาม เพราะยังไงฉันก็ไม่มีความผิดใด ๆ เจ้าของกิจการต่างหากที่ต้องรับผิดชอบ ปล. อันนี้เราทราบดีค้า เพราะเราก็นักบัญชีเช่นกัน (ว่ากันตามจรรยาบรรณของนักบัญชี). แต่สำรับเราแล้ว ลูกค้าคือพี่ เพื่อน น้อง น้า ป้า อา ครอบครัวของเราคนหนึ่ง ที่เรามีความปรารถนาดี ที่จะดูแลกัน ทุก ๆ เรื่องไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจ ถ้ากลุ่มลูกค้าที่คิดว่า ฉันเป็นลูกค้า ฉันคือ เพราะเจ้า บุคคลกลุ่มนี้คือไม่ใช่กลุ่มที่ทำงานร่วมกับเราแน่นอนค่ะ เพราะปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของตัวเองคือ We are partners, we will take care of yours like mine.
ด้วยความปราถนาดี จากนักบัญชีที่ชอบยุ่งเรื่องของลูกค้า และพอมีความรู้ด้านกฏหมาย พร้อมการศึกษาปริญญาโทด้านบัญชีจากประเทศอเมริกา และมีประสบการณ์มากกว่า 18 ปีของการทำบัญชีทั้งไทย และอเมริกา
เขียนและเรียบเรียง จากประสบการณ์ตรง
แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ ของสหรัฐอเมริกา) 27 กรกฎาคม 2559 (2016)