(Independent Contractor (1099) vs. Employee (W2))

Independent Contractor  (1099) vs. Employee (W2)
ผู้รับจ้างทำงานอิสระ และ ลูกจ้าง

มีคนถามกันมาเยอะมากและพูดถึงกันเยอะมากมาย ว่า อย่างนี้อยู่ในข่ายเป็นผู้รับเหมา ออก 1099 ให้แทน W2 แบบพนักงานได้ไม๊ บางกลุ่มทำถูก บางกลุ่ม มั่นใจว่าทำถูก (แต่ทำไม่ถูก) บางกลุ่ม ทำไม่ถูก แต่อยากทำให้ถูกต้อง

ทาง The IRS – Top 762 ได้ระบุแนวทางในการพิจารณาว่าใครคือ หรือควรเป็นผู้รับจ้างอิสระได้

การพิจารณาว่า บุคคลนั้นเป็น ผู้รับจ้างอิสระ หรือ พนักงาน สามารถ ตรวจสอบได้ 3 จุดใหญ่

1.) เราสามารถควบคุมการปฏิบัติงาน สั่งงาน ได้หรือไม่
  • เช่น เรามอบหมายงานให้บุคคลนั้น ทำตามที่เราต้องการทุกกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จ เช่น ตัวอย่างใกล้ ตัว เราจ้างพ่อครัวแม่ครัวเพื่ออาหารในร้าน เขามีหน้าที่อาหารตามที่ทางร้านได้ระบุไว้ในเมนูที่ลูกค้าต้องการ  ถึงแม้ว่า พ่อครัวแม่ครัวจะมีอิสระในการตัดสินใจ แต่ ก็อยู่ในภาวะการควบคุมของเจ้าของกิจการ     แล้วถามว่า ร้านนวดต่าง ๆ นี่ทำถูกไม๊  ขึ้นอยู่กับว่า เขาต้องทำตามคำสั่งเจ้าของกิจการหรือเปล่า หรือเขามีอิสระ ในการทำงาน จะเข้ามาทำงานเวลาไหนก็ได้ กลับเวลาไหนก็ได้  แค่ใช้สถานที่ของร้าน และจ่ายเงินให้กับเจ้าของร้านเป็นอัตราเปอรเซ็นจากการทำงาน.
2.) เราสามารถควบคุมทางการเงินได้ไม๊ ดูจาก
  • พนักงานคนนั้น สามารถเบิกค่าใช้จ่ายที่เขาได้จ่ายออกไปล่วงหน้ากับทางกิจการได้ไม๊ เช่น ค่ารถ ค่าซื้อต่าง ๆ
  • พนักงานคนนั้น ได้จัดหาอุปกรณ์ในการทำงานเองหรือเปล่า โดยที่ไม่ต้องใช้ของกิจการ สรุปคือ พนักงาน มีหน้าที่ซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแต่ละอย่าง
  • งานที่พนักงานคนนั้นทำให้กับธุรกิจเรา เขาทำให้กับที่อื่นด้วยหรือเปล่า เช่น เขา รับนวดแผนโบราณ มีลายเซ่น เขาสารถรับงานทีไหนก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจงกับกิจการเรา
  • แล้วเราจ่ายให้พนักงานคนนั้นอย่างไร อันนี้ชัดเจนมาก ถ้าเขารับเป็นเงินเดือน หรือรับตามจำนวนงานที่เขาทำ
  • มีอีกจุดหนึ่งที่เราควรคำนึงถึง ซึ่งหลายคนไม่รู้ แล้ว พนักงานคนนั้น เขา มีผลกำไรจากการทำงาน หรือขาดทุนไม๊ เช่น เขาลงทุนทำเล็บ เขาซื้ออุปกรณ์เอง เขามีกำไร หลังจาก รายได้หักค่าอุปกรณ์
3.) ความสัมพันธ์ ระหว่าง พนักงานกับกิจการ
  • มีสัญญาการจ้างงานหรือเปล่า ซึ่งโดยปกติทั่วไป ถ้าทำงานบริษัท เราจะเซ็นสัญญาจ้างงานกับนายจ้าง และมีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น การลาพักร้อน ลากิจลาป่วย ผลตอบแทนต่าง ๆ
  • กิจการได้จัดหา ซึ่ง ผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ประกันสุขภาพ พักร้อน เพนชั่นหรือ รีไทม์เม้น 401(k) ลาป่วยต่าง ๆ ซึ่งเราจะเห็นในส่วนของพนักงานทั่วไป ไม่ใช่ผู้รับงานอิสระ
  • ความสัมพันธ์ที่ว่าด้วยพนักงานคนนั้น เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจหลัก ๆ เช่นพนักงาน บัญชี พนักงาน เสริพอาหาร พนักงานนวดแผนโบราณ

 

ทำไมถึงจำเป็นที่เราต้องทราบว่า คนไหนคือพนักงาน คนไหน ควรเป็นผู้รับจ้างอิสระ (ผู้รับเหมา)
พนักงานรับเงินเดือน
  • นายจ้างมีหน้าที่ หัก ประกันสังคม และ เมดิแคร์ที่ 7.65% + 7.65% (ส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบ) รวมแล้ว นายจ้างต้อนำส่ง 15.3% ค่าใช้จ่ายตัวนี้นายจ้างต้องนำส่ง ทุกเดือน หรือ ทุกไตรมาสขึ้นอยู่กับจำนวนค่าแรงที่ต้องชำระ  ค่าใช้จ่ายตัวหนี้ นายจ้างมีหน้าที่หักไว้ตามกฎหมายไม่สามารถเลี่ยงได้
  • นายจ้าง มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งไปยง เฟรดเดอรัล และ เสตทที่ลูกจ้างได้มีที่อยู่อาศัย ยกเว้นรัฐที่ไม่มีภาษี ไมมีหน้าที่นำส่งแต่ยังคงมีหน้าที่ต้องรายงาน ภาษีที่ต้องนำส่งทั่งทางรัฐ อาจจะอยุ่ที่ 5% – 34% ขึ้นอยู่กับฐานภาษี
  • ณ สิ้นปี กิจการมีหน้าที่ ออกเอกสารสรุปเงินเดือนค่าจ้าง ประกันสังคม เมดิแคร์ ภาษีทีหักไว้ของ เฟรดเด้อรัล และ เสตท และที่หักไว้ต่าง เรียกว่า _W2, นายจ้างมีหน้าทีรายงาน ประกันสังคม และเมดิแคร์ไปยังสำนังกานประกันสังคมเรียกว่า W3
ผู้รับจ้างอิสระ
  • นายจ้าง ไม่มีหน้าที่หัก ประกันสังคม เมดิแคร์ และภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่างๆ
  • ณ สิ้นปี นายจ้างมีหน้าที่ออกเอกสาร สรุปค่าจ้างที่ทางกิจการได้ออกให้ผู้รับงานอิสระเรียกว่า 1099 และนำส่งไปยัง the IRS.
ปัญหาที่พบกันมาก
คือ นายจ้างเลี่ยงที่จะจ้างพนักงานแบบรับเงินเดือน เพราะ มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายทั้งเสตท ที่อยู่อาศัยและ ทาง รัฐบาลกลาง  แต่ลืมนึกถึงข้อที่ต้องพิจาณา ตามที่ทาง the IRS ได้ระบุไว้

ถ้า the IRS  ไม่เห็นด้วยกับนายจ้าง เรามีหน้าที่แย้งไป เป็นข้อ ๆ ตามที่ได้ระบุไว้  แต่เท่าที่ทราบ จะไม่สามารถโต้แย้งกับ เจ้าหน้าที่ได้ ถึงแม้กฎข้อแรกจะถูกต้อง กฎข้อ 2 หรือ 3 อาจจะผิด  ผลที่ตามมาคือนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าปรับและเงินเพิ่ม 50% ของยอดภาษีที่ค้าง ถ้ามากว่า $25,000.

วิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
ก็คือการทำให้ถูกต้อง อย่าเลี่ยง และ ถ้าเคยทำอยู่แต่ไม่เคยมีปัญหา คือ โชคดี แต่ไม่ได้การันตีว่า จะโชคดีเสมอไป  เพราะ เคยเจอเคส ที่ถูกประเมินค่าปรับและเงินเพิ่ม และจำเป็นต้องเลิกกิจการไป  เนื่องจาก รัฐบาลไม่มีพนักงานเพียงพอ จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง

 

เรียบเรียง จากประสบการณ์และ จากข้อมูลทาง the IRS เว็บไซด์
โดย  แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต),   19 มิถุนายน 2559 (2016)
ที่มา https://www.irs.gov/taxtopics/tc762.html