Payroll Withholding Taxes – Employers – ว่าด้วยภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับ นายจ้าง

ว่าด้วยภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับ นายจ้าง Payroll Withholding Taxes – Employers

    Publication 15  ระบุเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนายจ้างเมื่อมีการจ่ายค่าแรง หรือ เงินเดือนให้กับลูกจ้างทั่วไปตามหน้าที่ (แต่ละเสตทจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายของแต่ละเสตทแตกต่างกันออกไป)

Social security and Medicare tax for 2016 at 7.65%

–          เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม นายจ้างมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายที่ 6.2% สำหรับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งจ่ายสมทบส่วนของนายจ้างในอัตราเท่ากัน มีลิมิทที่ อัตราเงินเดือน $118,500 ถ้ามากกว่านี้จะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้  ถ้าถูกหัก ไว้เกิน เช่น ทำงานประจำ หลายๆ ที่รวมกันมากว่าจำเงินที่กล่าวไว้ สามารถขอคืนได้ สองวิธีคือยื่นแบบเข้าไป หรือ ขอคืนพร้อมกับ เมื่อมีการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี  ส่วนใหญ่ ซอฟแวร์ในการทำภาษี จะมีตัวเลือกและคำนวณ ให้อัตโนมัติ.
–          เงินสาทบเข้าเมดิแคร์ นายจ้างมีหน้าที่ หัก ณ ที่จ่ายที่ 1.45% สำหรับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งจ่ายสมทบส่วนของนายจ้างในอัตราเท่ากัน ไม่มีลิมิท แต่เริ่มหักที่ รายได้ $1,700 ตีความว่ามีเงินเดือนเป็นล้านก็ต้องจ่ายเมดิแคร์แท็ก ซึ่งจะแตกต่างกับภาษีของประกันสังคม

กำหนดการรายงานแบบของนายจ้าง ปีภาษี 2016

–          สำหรับแบบฟอร์ม W-2, W-3, and 1099-MISC ต้องยื่นแบบไปยังสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ January 31, 2017. ส่วน Form 1099-MISC ต้องนำส่ง the IRS by January 31, 2017.
Work opportunity tax credit for qualified tax-exempt organizations hiring qualified veterans extended
–          ทหารผ่านศึกที่ทำงานให้กับหน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่ทาง ไออาเอส ได้รับอนุมัติ สามารถขอเคลมเครดิตได้ (แปะไว้ เดี๊ยนก็เพิ่งรู้เช่นกัน  พัก หลัง ๆ มีเมียทหารเยอะ ที่บางรายสามีกลับไปทำงาน)

New Pub. 5146 ว่าด้วยการสุ่มตรวจการจ้างงานและการจ่ายเงินเดือน

–          ไออาเอสระบุว่าจะมีการสุ่มตรวจ กิจการที่มีการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ว่าได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายไว้ด้วย  เช่นการตีวความระหว่างผู้รับจ้างอิสระ และลูกจ้าง  ซึ่งส่วนใหญ่ บางกิจการมีการจ่ายลูกจ้าง แบบ 1099-MISC  ถึงแม้ว่าจะต้องทำตามคำสั่ง ที่นายจ้าง กลุ่มนี้คือเลี่ยงการจ่าย ประกันสังคม และ เมดิแคร์ และไม่อยากนำส่งภาษี  ปล. ทราบมาเหมือนกัน แต่ยัไม่เคยมีกลุ่มลูกค้าถูกตรวจ หวังว่าจะไม่เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะ จะทำดีทำแม่นแค่ไหน ก็มีการผิดพลาดได้ กลุ่มนี้ ไออาเอส สามารถวิเคราะห์ออกมาได้ไม่ไม่ได้มีเจตนาหลบเลี่ยง  บางกลุ่มที่เจตนา กรุณา ระวังด้วยนะค่ะ  จากประสบการณ์ที่ทำงานให้กับองค์กรใหญ่ ทาง ไออาเอส มีการตรวจสอบที่เข้มข้นมาก ทำให้ต้องมีแผนก ภาษีอากรเพื่อทำด้านนี้โดยตรง

Reminders คำเตือนจาก ไออาเอส (ผู้หวังดีและไม่มีจุดประสงค์ไม่ร้าย)

COBRA premium assistance credit  คือพรีเมี่ยมของประกันสุขภาพที่นายจ้างจ่ายให้กับลุกจ้างที่ออกจากที่ทำงานเดิม ที่อยู่ระหว่างการรอให้ประกันสุขภาพของนายจ้างปัจจุบันมีผล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องรอสามเดือน  เงินตัวนี้นายจ้างสามารถขอเคลมเครดิตได้จากการจ่ายเพโรลโดยการยื่นแบบ Form 941-X (or Form 944-X)
Same-sex marriage. ได้รับสิทธิ์เหมือนบุคคลทั่วไป ได้รับการยอมรับจากทั้งทาง ไออาเอส และทางสำนักงานประกันสังคม
Additional Medicare Tax withholding.
–          สำหรับพนักงานที่มีรายได้มากกว่าปีละ $200,000  นายจ้างต้องมีการหัก Medicare Tax ที่ 0.9% เพิ่มเติมจาก 1.45%  ส่วนนี้นายจ้างไม่ต้องแชร์ด้วยนะค่ะ **ถ้าเดี๊ยนมีเงินเดือนมากกว่า สองแสนนี่ก็ไม่เสียดายเหมือนกัน ถือว่าสมทบเข้ากองทุนช่วยคนแก่ ๆ ที่ต้องใช้สวัสดิการตัวนี้ เงินเดือนขนาดนี้แล้วควรแบ่งให้ชาวบ้านบ้างก็ดีนะ ไม่เสียหายอะไรใช่เปล่า ถ้าบ่นว่าเงินฉัน จะใช้ยังไงก็เรื่องของฉัน กรุณาอย่าทำงานกินเงินเดือนมากกว่า สองแสน ปล. อยากเงินเดือน สองแสน อิอิ
Severance payments are subject to social security and Medicare taxes, income tax withholding, and FUTA tax  ใครที่ถูก เลออฟ หรือให้ออกจากงานและมีการจ่ายเงินก้อน ก็มีภาษีนะค่ะ ทั้งประกันสังคม และ เมดิแคร์
You must receive written notice from the IRS to file Form 944
–          เมื่อเรามีการรายงานเงินเดือนและค่าจ้างตาแบบ Forms 941 สำหรับแต่ละไตรมาส อย่าลืมมองหาแบบ Form 944  ด้วยนะค่ะ ใบนื้คือใบยืนยันว่าทาง ไออาเอส ได้รับเอกสาร ยิ่งกลุ่มที่ใช้บริการคนรับทำค่าจ้างเงินเดือน ต้องทวงตัวนี้ค่ะ. ประสบการณ์เมื่อปีแรกที่ทำงานให้กับบริษัท ซอฟแวร์ เพโรลล์ มีกลุ่มนี้หักคนจากบริษัทต่าง ๆ ออกเอกสารให้แต่ไม่มีการนำส่งค่าจ้างไปยัไออาเอส  ฟ้องกันนัวเนียมาก ไออาเอส ตามล้างบริษัท (เป็นแบงค์ใหญ่นะที่ยูท่าร์)  งานเข้าอย่างรุนแรง ทางแบงค์ก็ชี้แจงว่าจ่ายนะ ดูแบบสิ สรุปแล้ว แบงค์ต้องจ่ายภาษีให้กับทางไออาเอส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ส่วนแบงค์ก็ตามฟ้องบริษัทเพโรลล์อีก ไม่รู้ว่าเรื่องราวถึงไหน เพราะนานมาแล้ว ข่าวนี้ดังมาก ฉะนั้นเจ้าของกิจการควรจะระวังนะค่ะ ห้ามไว้ใจใครทั้งนั้นเลย เงินทองไม่เข้าใครออกใคร นี่บริษัทใหญ่นะค่ะ พนักงานเป็น พัน ยังเจอเลย. เราสามารถขอเอกสารตัวนี้จากทาง ไออาเอสได้เองด้วยค่ะ
Federal tax deposits must be made by electronic funds transfer (EFT)
–          ไออาเอสระบุไว้ชัดเจนว่าภาษีต่างๆ ที่หักไว้จากลูกจ้าง และเงินสมทบส่วนนายจ้างต้องฝากเข้าแบงค์  ไม่มีการนำส่งเชคหรือเงินสดเป็นอันขาด ซึ่งเจ้าของกิจการเล็กหรือใหญ่ควรจะทราบดี หรือทราบไว้  ถ้าจ้างคนทำเพโรลล์เขาจะทราบเรื่องนี้ดีมาก

เรียบเรียงโดย แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
วันที่ 8 เมษายน 2559 (2016)

ที่มา Publication 15

cropped-11.jpg