E Visa to change status in USA หรือขอมาจากไทย

วีซ่า E เป็นที่นิยมและมีมานาน น่าจะทุกรัฐจะมีนักลงทุนมาจากไทยทุกเดือนทุกปี รวมถึงพนักงาน ผู้จัดการด้วย  การขอวีซ่าก็ทำได้สองแบบ ขอจากสถานทูตอเมริกาประจำประเทศที่มีการให้วีซ่า e หรือมาเปลี่ยนสถานะที่อเมริกา

Apply for E Visa จากสถานทูตอเมริกา

วิธีนี้คือถ้าได้วีซ่าเข้ามาด้วยวีซ่านักลงทุนเลย สำหรับไทย หน้าวีซ่าจะมีอายุแค่ หกเดือน ช่วงนี้บินเข้าออกได้ ถ้าหลังจากนี้ต้องขอวีซ่าเข้ามาใหม่  มีการสัมภาษณ์การส่งเอกสารให้ทางสถานทูตพิจารณา เมื่อมีการตรวจเอกสารเสร็จ ทาง สถานทูตจะปล่อยวันสัมภาษณ์ให้เลือกได้ ค่าธรรมเนียมไม่แพงสำหรับจ่ายให้สถานทูต

ข้อดีคือ มาด้วยวีซ่าถูกประเภท ตรงตามหลักอยากมาทำอะไรก็แจ้งไว้ตามนั้น

เอกสารก็ตรงไปตรงมา และอธิบายได้ง่ายกว่าเช่น บางกรณีไปซื้อกิจการ อะป๊ะอาม๊า ทำกันเองในครอบครัว ลูกจ้างไม่มี ภาษีก็ไม่ยื่น ยื่นบ้างไม่ยื่นบ้าง  เราก็อธิบายให้กับสถานทูตทราบ ว่ากิจการนะ เป็นเจ้าของคนเดียวไม่ได้เปิดเผยข้อมูลมาก่อน เราเข้ามาทำ จะทำให้ถูกต้อง มีการส่งผังองค์กร แผนธุรกิจต่างๆ ว่าเราจะทำยังไงให้ดีให้เป็นไปตามกฏหมายของบ้านเมือง

ข้อเสีย มองว่าไม่ใช่ ที่ต้องสัมภาษณ์  เพราะการเตรียมตัวสัมภาษณ์ คือการเรียนรู้ธุรกิจ ถ้าเรารุ้ธุรกิจ เราก็ไม่ชอค เพราะเราทราบอยุ่แล้วปัญหามีอะไรบ้าง สถานทูตจะถามว่าจะแก้ปัญหายังไง พยายามเปิดเผย้ข้อมูลที่เป็นเท็จ  ห้ามโกหก ทุกรณี

Chang of status in USA เปลี่ยนวีซ่าที่อเมริกา

หลายๆคนมาด้วยวีซ่าประเภทต่างๆ เช่น F J B H หรือวีซ่าอื่นๆ ที่อนุญาตให้เปลี่ยสถานะได้ 

วีซ่าต้องไม่ขาด ไม่ใช่หน้าวีซ่าท่องเที่ยวสิบปียังไม่หมด แต่อยุ่เกิน หกเดือน อันนี้ ขาดแล้วค่ะถ้าไม่ได้ต่อ

หรือวีซ่านักเรียนไปได้ไปเรียน i20 ถ้าหมดแล้วยังมีเวลา 60 วันให้ทำได้

มาด้วยวีซ่า e ลุกจ้างจะเปลี่ยนเป็นเจ้าของ ก็ถ้าลาออกแล้วอย่าเกิน 60 วันถึงจะเปลี่ยนได้

คือรักษาสถานะ ถ้าไม่พร้อมก็ต่อวีซ่าประเภทนั้นไปเรื่อยๆ  เห็นบางกรณีมาท่องเที่ยวเปลียนเป็นวีซ๋านักเรียนให้สถานะ ค้าง แล้วก็ทำเรื่องใบเขียวก็มี สำหรับวีซ่าลงทุน ก็ต้องรักษาสถานะเช่นกัน

ข้อดี คือไม่ต้องสัมภาษณ์

ข้อเสีย ไม่น่าจะเสีย แต่มองว่าเอสการ ต้องแน่นกว่า เช่นสัญญาเช่า เจ้าของใหม่ต้องมีชื่อในสัญญาหรือเจ้าของตึกต้องรับรุ้ สำหรับการยื่นที่ไทย ใครก็ได้เซ็น เจ้าของใหม่ยังไม่ต้องมีก็ได้เพราะยังไม่ได้เข้ามา

Author’s comment

การขอวีซ่ามาจากไทย หรือการเปลี่ยนวีซ่าที่นี่ เข้ามาแล้วก็ทำให้ถูกต้องโดยเฉพาะกฏหมายท้องถิ่น กฏหมายภาษีอากร  อันนี้สำคัญมาก เพราะ mindset การทำธุรกิจจากที่บ้านเรา จะตามมา ควรจะเปิดใจ ถอดหัวโขน  เพราะ ท้ายสุด ไม่มีใครช่วยคุณได้นอกจากตัวคุณเอง  ยังไง อเมริกาก็ยังเป็นแหล่งทำมาหากินของคนขยัน อดทน และใจสู้ค่ะ ตราบใดที่คุณมีสิ่งนี้ ไม่รวยก็ไม่รู้จะพูดยังไงล่ะ


Sources: ที่มา :  ประสบการณ์จากการที่ปรึกษานักลงทุน

วันที่ : วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖, Monday, November 27th 2023

เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์
(US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

  • S Corp & LLC due date March 15th
  • Corporation due date April 18th
  • Individual due date _April 18
  • Individual living outside the U.S. due date is June 15

Apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง

*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***

*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*

**I am not an attorney; this article is only for information and comments about investment and taxes. **

ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***

(We provide accounting, and taxes related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.

เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.***