ในอเมริกาการร่วมหุ้นในธุรกิจคือเรื่องปกติของการทำธุรกิจ เพราะคนมีทักษะ อาจจะไม่มีเงิน คนมีเงินอยากลงทุนแต่ไม่มีทักษะ ก็เข้ามาทำงานร่วมกัน.
*ทำธุรกิจร่วมกัน สัญญาต่างๆ ควรทำแต่แรกให้ชัดเจนเพื่อความโปร่งใส*
*เรื่องที่เล่าไม่สามารถใช้เป็นข้อกฏหมายอ้างอิงใดๆๆ เพื่อความบรรเทิงเท่านั้น”
ทำไมหุ้นส่วนที่อเมริกาหรือการลงทุนส่วนใหญ่มีปัญหาน้อยกว่า(ไม่ใช่ไม่มีปัญหาเลย) กับกลุ่มลงทุนเล็กๆๆ ของคนไทยด้วยกัน.
เนื่องจากเคยทำงานกับบริษัทฝรั่งขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนมาก่อน จึงมองเห็นข้อแตกต่างของการทำงานในระหว่างหุ้นส่วน.
ตัวอย่างที่ที่เห็น คือ คุณเอ็ม เป็นโปรแกรมเม้อ มีทักษะในการเขียนโปรแกรม คุณ บี เป็นผู้บริหารมีทักษะในการบริหาร คุณเอ็ม ทำงานที่บ้านเขียนโปรแกรมตลอด คุณบีบริหารในบริษัท ทุกอย่างอยู่ในระบบ มีการจ้างงานทุกแผนก มีระบบการเงินการบริหาร ที่แทบจะไม่มีการเอาเงินธุรกิจไปใช้ส่วนตัวเลย กิจการมีบัญชีธุรกิจแยก มีทีมบัญชีบริหารด้านเอกสาร ด้านการรับจ่าย และทุกอย่างต้องได้รับการอนมัติจากคุณบี ถ้ารายการใหญ่ๆ จะผ่านที่ประชุมงบประมานว่าจะจัดซื้อจัดจ้างอะไร บัญชีธนาคาร ทั้งคุณเอ็มคุณบี มีการควบคุมโดยฝ่ายบัญชี มีผุ้สอบบัญชีเป็นที่ปรึกษา ธุรกิจรันไปอย่างราบรื่น ต่อมา ธุรกิจโต คุณบีขายหุ้นให้ venture capital ทางหุ้นส่วนใหญ่ก็จ้าง CEO ใหม่เข้ามาทางคุณบีก็เป็น senior ระดับริหารเช่นเดิม การบริหารถ้าต้องการโตก็ต้องลงทุนมีมืออาชีพ เนืองจาก venture capital มีหุ้นส่วนใหญ่จึงสามารถมีเสียงทีจะจ้าง CEO ที่เขาเลือกมาเพื่อดูและผลประโยชน์ธุรกิจ
มาดูกลุ่มร้านอาหารไทย
ต้องการประหยัด คุยกันแบบปากเปล่า คนไทยจิตใจดี สงสาร เห็นใจกันและกัน ไว้ใจกัน
สัญญาไม่ได้ทำขึ้น หรือมอบหมายให้อีกฝ่ายทำ ซึ่งไม่ถูกต้อง สัญญาต้องจัดทำขึ้นโดยบุคคลที่สามคือทนายความ หรือ โปรเก้อที่ขายธุรกิจ สัญญาเช่าต้องมีทนายเข้ามาช่วยดู.
เรื่องการบริหาร คนลงทุนที่มีเงินไม่ได้เข้ามาบริการเลย รอแบ่งกำไร (รอแบ่งกำไรจริง ๆ และไม่ยอมรับผลขาดทุน) การทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะยุคนี้ของสินค้าราคาแพง ถ้าธุรกิจยังขายราคาเดิมก็แน่นอน ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย หุ้นส่วนอีกคนที่ทำงานบริหารในร้าน ก็จะไม่ได้ค่าแรง เพราะธุรกิจ มีผลขาดทุน ไม่มีกำไรจะจ่ายค่าแรงให้กับคนบริหาร คนทำงานในร้าน แน่นอนกิจการต้องจ่ายพนักงานไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน.
คนบริหารทำงานในร้านมีหุ้นครึ่งหนึ่ง แต่ไม่ได้ลงเงิน คือลงแรง (ปากเปล่าอีกล่ะ) แรกๆๆ อาจจะไปได้สวย หรือไม่สวยแต่แรกเลย เพราะไม่มีระบบจัดทำบัญชี ไม่ได้บันทึกรายได้ค่าใช้จ่ายประจำ นับแต่เงินในบัญชีเข้ามาเท่าไร ไม่รุ้ด้วยซ้ำ ค่าน้ำไฟ อะไรเท่าไร ทำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ดู จนสิ้นเดือน อ้าวเงินไม่พอจ่ายค่าเช่าทำไงล่ะ.
ทำไป ทำไป เหนือย เงินเข้ากระเป๋าไม่ได้ ต้องรายงานหมด ก็ยกเลิกตั๋ว voided orders เอาเงินเข้ากระเป๋า แต่ลืมนึก ร้านใช้ระบบ pos system ที่เก็บรายการไว้หมดแม้กระทั่ง voided orders ทำไมเหรอ เพราะระบบ pos ต่างๆ ล้วนแล้วต้อง to be in compliance เขาคงจะไม่เอาชื่อเสียงที่มีมาสร้างปัญหากับ IRS or State เพราะมีเคสตัวอย่างมาแล้ว. มือใหม่ก็ไม่รุ้อยากรายงานยอดขายเท่าไร ก็รายงาน นำส่งให้ ทางผู้ทำบัญชีตามใจฉัน อ้าวตายละหว่า งานนี้ ถูกเสตทเรียกตรวจ เพราะ (เหตุผลที่ไม่ทราบ) เสตทเข้ามาตรวจระบบคอมพิวเตอร์ เจอหมดเลยฮะ รายงานไปไม่เกิน 50% ของยอดในระบบคอม เจอทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มสารพัด ย้อนไปเลยสามปี งานเข้าปวดหัวกันไปหมด. อันนี้ก็เกิดมาแล้ว เจ้าตัวใครจะมาเล่า นอกจากนักภาษีบัญชีที่เคยเห็นเอกสารต่างๆ เหล่านี้.
Sources: ที่มา : ข่าวสารทั่วไป
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
วันที่ : วันอาทิตย์ที่ ๓๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ July 31th, 2022
apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง
- S Corp & LLC due date March 15th
- Corporation due date April 18th
- Individual due date _April 18
- Individual living outside the U.S. due date is June 15
*** Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน ***
Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law. การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย
I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and Taxes.ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.
Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues. ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ
(We provide accounting, and tax related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.
เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via Facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.