How do these US governments; IRS, State and USCIS, related?

How do these US governments; IRS, State and USCIS, related?

หน่วยงานรัฐบาลของอเมริกา หลัก ๆ กรมสรรพากร หน่วยงานภาษีของรัฐ และ อิมมิเกรชั่นเกี่ยวข้องกันเช่นไร

วันนี้จะมาเขียนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ของอเมริกา ที่เรารู้จักกันคือ กรมสรรพากรของอเมริกา The Internal Revenue Services (IRS) และหน่วยงานกรมสรรพากรท้องถิ่นของแต่ละรัฐ ซึ่งอาจจะเรียกกันแตกต่างออกไป แต่จะคล้าย ๆ กัน เช่น State Department of Taxation, Franchise Tax Board (CA)., จำได้ไม่หมดค่ะ เรียกคล้ายๆ กันแต่ละรัฐ.  เอ๊ะ แล้วทำมา พี่ อิมมิเกรชั่นมาเกี่ยวกับด้านรายได้ด้วย.  หลาย ๆ คนรู้มันเกี่ยสิค่ะ จะทำเรื่องอะไรสารพัดด้านการได้มาซึ่ง วีซ่าประเภทต่างๆ  ทางหน่วยงานนี้จะขอดูเอกสารรายได้ค่ะ ไม่น่าจะมีข้อยกเว้นอะไร มาดูกันว่าเขาทำงานกันอย่างไรค่ะ.

*

***นี่คือมุมมองตามความเห็นของนักภาษีและบัญชีนะคะ จะไม่ชัดเจนด้านอิมมิเกรชั่นเหมือนกลุ่มทนาย ฉะนั้น ด้านนั้นต้องติดต่อทนาย อิมมิเกรชั่นนะคะ.  ที่สำคัญไม่มีนโยบายให้ใครมาทำผิดกฏหมายของแต่ละหน่วยงานค่ะ ว่ากันตามเนื้อผ้าและเอกสารและทำตามารยาทของวิชาชีพที่เรามีล้วน ๆ ***

*

IRS หรือกรมสรรพากรอเมริกา

*

หน่วยงานนี้ มีหน้าที่จัดเก็บรายได้ทุกแหล่งทุกคนทุกหน่วยงานค่ะ เหมือนทุกประเภทค่ะ กรมสรรพากรคือหน่วยงานหลักที่ทำรายได้ให้กับรัฐบาลทุกประเทศ แม้ว่ารายได้จะมาจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสารพัดกรม แต่กรมหลัก ๆ นี่คือ พี่ ไออาเอสละคะ.

*

ผู้เสียภาษีคือผู้ที่มีรายได้จากนายจ้างอเมริกันอยุ่ในประเทศอเมริกา. สถานะไหนก็ตามเมื่อมีรายได้มีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อแสดงรายได้ค่ะ.  ไม่ว่าจะรายได้จากการทำงานรับเงินสด รายได้จากการรับจ้างทั่วไป รายได้จากอาชีพทุก ๆ อาชีพ มีหน้าที่ยื่นแบบค่ะ.

*

ทำไม บางคนไม่เคยยื่นแบบรับแต่เงินสด แล้วไม่เคยมีปัญหาสักที  ไม่จริงค่ะ ถ้ารับแต่เงินสด แล้ววันหนึ่งต้องไปซื้อบ้าน มีเงินสด ตูม ดาวน์ ต้องมีที่มาที่ไปค่ะ  ไม่งั้นก็เก็บเงินสดไว้งั้นแหละคะ ทำไรไม่ได้มาก ทำได้เฉพาะบางที่เขารับเงินสด  เอาเงินสดเข้าแบงค์บ่อย ๆ ถ้าไม่ได้มีใบทะเบียนการค้า ธนาคาร อายัดไว้อีก ต้องไปจดทะเบียนการค้า ที่สำคัญทางธนาคารมีหน้าที่แจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องการเคลื่อนไวทางการเงิน. 

*

โรบิ้น มาโดด มาทำงาน รับแต่เงินสด จะยื่นแบบภาษีได้เช่นไร  กรมสรรพากรเขาก็มีการออก Tax Payer Identification Number (ITIN) ให้นะคะ เอาไว้ยื่นแบบค่ะ ไม่ใช่ “เอาไว้สมัครงาน”  อย่าเข้าใจผิด  เอกสารนี้ ใครก็ขอได้ถ้ามีรายได้ค่ะ ขอพร้อมกับการยืนแบบ 1040 Individual Income Tax Return เข้าไปค่ะ จู่ ๆ กรอกฟอร์ม W7 ขอทางกรมสรรพากรไม่ออกเอกสารให้หรอกค่ะ  ขนาดแนบเอกสารไป ยังหาว่าไม่ได้รับต้องยื่นไปอีกสองสามรอบโน่น.

*

Local State หน่วยงานรัฐที่เรียกเก็บภาษี

*

ใครอยุ่อเมริกามานาน จะรุ้ว่า นอกจากรัฐบาลกลางจะเรียกเก็บภาษีแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นก็เรียกเก็บเงินเช่นกัน มี อยุ่ เจ็ด (7) States ที่ไม่เรียกเก็บภาษีค่ะ Alaska, Florida, Nevada, South Dakota, Texas, Washington, and Wyoming

รัฐอื่น ๆ มีเรียกเก็บภาษีหมดค่ะ ถ้ายื่นแบบของรัฐบาลกลาง ก็ต้องยื่นแบบของเสตทด้วยค่ะ เช่นกันและเช่นเคย ไม่มีข้อยกเว้น สถานะไหนก็เสียภาษีหมดค่ะ ถ้ามีรายได้.

*

แล้วถ้ายื่นแต่รัฐบาลกลางไม่ยืนเสตทละ  มีปัญหาสิค่ะ ไม่เกินหนึ่งปี เสตทจะมีจดหมายรักพร้อมการประเมินมาละคะคุณว่าทำไมไม่ยื่นภาษีพร้อมคำนวณค่าปรับ ดอกเบี้ย เงินเพิ่มให้เสร็จสรรพละคะ.  ว่าไออาเอสไม่แชร์ข้อมูลให้เสตท คงจะไม่ใช่ ไม่งั้นเสตทจะรู้ได้ยังไงใช่เปล่าค่ะ  ไม่ได้มโนนะคะ เจอปัญหาของผุ้เสียภาษีมาหลายรายพอสมควรที่ไม่ยื่นแบบเสตท แล้วต้องตามมาแก้ปัญหากันภายหลัง.  บางเสตทนะคะ หลักการเป็นผู้อยู่อาศัย คือมีบ้าน มีเรือ เช่น รัฐ นิวยอรค รัฐ แม่รี่แลนด์ คุณเอ๊ย แม้ว่าไม่ได้อยุ่แต่ดันมีบ้านให้เช่า ก็ต้องยื่นแบบนะคะ.

*

ถ้าอยู่หลายๆ  เสตท ก็ต้องยื่นแบบค่ะ นับตามวันเลยค่ะ ว่าอยู่รัฐไหนกี่วัน รายได้จากรัฐไหนบ้าง มาหารกันออกมาค่ะ.

*

ตัวอย่างนะคะ  ทำงานที่นิวยอรค บ้านอยู่นิวเจอซี่ ต้องยื่นแบบทั้งสองเสตทค่ะ  นิวยอรคหักภาษีไว้เยอะ ถ้าไม่ยืนแบบก็ไม่ได้ภาษีคืน  เสตทไม่ตามค่ะ เพราะ รุ้ว่าคำนวณแล้วคนเหล่านั้นจะได้คืน จะตามก็ต่อเมื่อคำนวณออกมาว่าภาษีต้องเสีย  เหมือนกับกรมสรรพากรอเมริกาไงค่ะ คนทำงานประจำ มีหักภาษีไว้ สิ้นปีส่วนใหญ่จะได้คืนกัน  แต่ไม่ยื่นแบบเข้าไป ก็ไม่ได้คืนแล้วรัฐจะไม่ตามหาแน่นอนค่ะ  มาคือกรณีต้องมีภาษีที่จะจ่ายค่ะ เช่นกลุ่ม 1099mis self employed individual กลุ่มนี้จะเจอมากมายเลย.

*

USCIS หรือน้าอิมมิเกรชั่นที่เรารู้จักกันคะ

*

ส่วนใหญ่เรากลุ่มคนไทยที่ย้ายมาอยู่อเมริกาตามครอบครัว ไม่ว่าจะทำงาน จะแต่งงานกันมา มาเรียนหนังสือ มาทำธุรกิจ ล้วนแล้วแต่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะจ้างทนายความทำเรื่องวีซ่าเรื่องหลายๆ เรื่องหรือพวกเราทำกันเอง ดิฉันเดินเรื่องวีซ่าคู่หมั้นเองค่ะตั้งแต่ปี 2006 ทำเองมาค่ะศึกษาจากกลุ่มคนไทยออนไลน์ยุคนั้นก็ usvisa4thai.com ละคะ ไม่มี social media หลากหลายเหมือน ณ ปัจจุบันที่มี กูรู มาช่วยตอบคำถาม แถมรุ้จริงด้วยค่ะ ต้องชมนะ เพราะทำให้หลายๆ คนประหยัดเงินได้หลายบาท ยิ่งคนกลุ่มรวยน้อย นี่เงิน สองพันเหรียญช่วยได้มากจริงๆ. 

*

คนส่วนใหญ่มักจะแยกไม่ออกและงง กันระหว่าง “อิม” กับ “IRS” เขาคนละหน่วยงานกันนะคะ  ยกตัวอย่างนะคะ คนที่จะทำงานได้แบบถูกกฏหมายต้องมีใบอนุญาตทำงาน หรือ working permit ที่ได้มาจากการเข้ามาด้วยวีซ่าทำงานประเภทต่างๆ วีซ่าลี้ภัย วีซ่าผู้ติดตามนักลงทุน วีซ่าแต่งงานที่ยังไม่ได้ใบเขียวแต่ขอใบอนุญาตทำงานตามไปก่อนแล้วมักจะได้ก่อนใบเขียว เดี๋ยวนี้ใบเขียวรอนานที่สุด และก็สุด นาน ค่ะ.

*

แล้วเขาเชื่อมโยงกันทำไมระหว่าง กรมสรรพากรกับคนตรวจคนเข้าเมือง  คือเอกสารด้านรายได้เนี่ย ถ้าเราทำเรื่องแต่ละเรื่อง เราก็ต้องใช้เอกสารแบบภาษีเพื่อยืนยันว่าเราทำงานมีรายได้ในการต่อวีซ่าประเภทต่างๆ  เราก็ใช้สำเนาในการยืนแบบ  บางหน่วยงานก็ต้องแบกให้ขอ tax transcript จากกรมสรรพากรอมริกา เพราะ แบบฟอร์มภาษี 1040 หายไป หรือ ไม่ต้องยืนแบบภาษี เพราะมีรายได้จาก เพนชั่นทหารผ่านศึก (เพนชั่นทหารผ่านศึกไม่ถือว่าเป็นรายได้ในทางภาษีอากร)  สำหรับสวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคมหรือ ที่เรารู้กันคือ social security benefit นั้นถ้าไม่มีรายไดอื่นๆ ก็ไม่มีภาษีค่ะ ยืนแบบไปก็ไม่ต้องเสีย  แต่นะนำให้ยื่นแบบดีกว่าค่ะ จะได้เอาไว้ใช้หลายๆ อย่าง เช่น กุ้เงินซื้อบ้าน สปอนเซ้อคู่สมรส. 

*

สำหรับคู่สมรส เมื่อเข้ามาอเมริกา ช่วงต่อใบเขียว บางราย ไม่ได้ขอใบอนุญาตทำงานไม่ได้ทำงานไม่ยืนภาษีร่วมกับสามี ไม่มี SSN ไม่ได้ใบเขียวค้า ไม่รู้เกิดไรขึ้น อยู่มาสองปี งานการไม่ทำ ภาษาอังกฤษพูดไม่ได้ ลูกก็ไม่มี คือไม่มีอะไรยืนยันการเป็นตัวคุณ การไม่มาเป็นภาระให้รับบาลอเมริกา  ฟังมาดังนี้ ฉะนั้น เมื่อมาอเมริกา ก็ควรขอใบอนุญาตทำงาน ไปหางานทำ ภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็ไปเรียนเสียนะคะ.  ช่วงนี้อะไรมันก็เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันไปหมดละคะ ไม่ว่าจะการยื่นแบบเสียภาษี การต่อสถานะวีซ่าต่างๆ การขอใบเขียว แม้กระทั่งการสอบสัญชาติอเมริกันยังต้องมีแบบแสดงภาษีย้อนหลังเลยคะคุณ.

*

IRS จะแจ้งไปยังอิมไม๊ทำงานไม่ถูกต้อง

*

ดิฉันเป็นนักภาษีและบัญชี ก็ทำภาษีให้กับคนทุกสถานะค่ะ ทำมาให้ก็หลายปีนะคะ  เขาก็ทำงานเสียภาษีกันไป อยุ่แบบสงบเสงี่ยมเจียมตัวนะคะ.  นี่ก็ หลายปีแล้ว ยังไม่ได้กลับไทยกัน น่าจะกลับกันปีหน้าว่างั้น กลุ่มนี้เสียภาษีเยอะนะคะ  เป็นเจ้าของกิจการกันด้วยก็มีกันหลายคน  

การติดต่อกับ ไออาเอสแต่ละครั้ง ขนาดเราคนทำภาษีต้องมีผู้เสียภาษีอยู่ด้วยค่ะ ไออาเอสไม่บอกข้อมูลอะไรเลย นี่คือการทำงานเขานะคะ  เขาไม่คุยเรื่องพวกนี้ค่ะ  เรานักบัญชีภาษี ก็เปิดเผยหรือพูดคุยกับคนอื่นไม่ได้ค่ะ ข้อมูลเหล่านี้คือความลับ  ยังว่าอยุ่แล้วเขาจะแจ้งหน่วยงานกันยังไง  กรมสรรพากรอเมริกา อดรายได้กันไปเลยงานนี้.

*

*

Comments from author:

*

ทีนี้ก็ทราบคร่าวๆ กันแล้วนะคะ ว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยงานเขาทำงานกันยังไง เกี่ยวข้องกันยังไง.

*

สรุปนะคะ ว่าคนที่มีรายได้มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีอากรไปยัง IRS ไม่ว่าจะสถานะไหน ๆ นะคะ. คนทำงานที่จะทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมายได้คือต้องมีใบอนุญาตทำงาน  ถ้ามีใบเขียวหรือเป็นอเมริกัน ก็ทำงานได้เลย ไปขอเลข SSN ทำงานได้เลย ไม่ต้องไปขอ work permit ค่ะ.

*

คนที่ทำงานยื่นแบบภาษี ใช่ว่าจะมีสถานะถูกกฏมหายทุกคนนะคะ อย่าไปเหมาค่ะ  คนเราต้องทำมาหากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  โอกาสแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ คนที่มีโอกาสดีกว่ามากกว่า ไม่ควรจะไปรังเกียจค่ะ เราไม่ได้รู้เบื้องลึกเบื้องหลังอะไรของแต่ละคน.  คนทำงานเสียภาษี โดด ยังดีกว่า กลุ่มมีสถานะถูกต้อง รับแต่เงินสด นะคะ คือชาตินี้ ฉันจะไม่เสียภาษีเลยว่างั้น  หรือคนมาด้วยวีซ่าทำงานถูกต้อง จะมารับเงินสดกันอีก  ดูตาม้าตาเรือด้วยนะคะ ระวังต่อวีซ่าไม่ได้นา ยิ่งตอนนี้อะไรก็ยากอยุ่  ทำกันอย่างนี้ ทาง อิม ถึงเปลี่ยนกฏให้ยากขึ้นตลอด คนทำมาหากินตรงไปตรงมา หรือคนอยากมาลงทุนก็ยากขึ้นไปอีก.

*

 “รุ้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม??

*

ที่มา                     :   ประสบการณ์จากการเป็นแอดมินกลุ่มภาษีตั้งแต่ 2012
เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)s

วันที่                     :  วันอังคารที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ Tuesday, June 30th, 2020

*

****apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง****

*

**** S Corp & LLC due date March 15th**** extended to July 15

*** Corporation due date April 15th *** extended to July 15

** Individual due date April 15th *** extended to July 15

** Payroll taxes *** extended to December 31 (for deposit)

*

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

*

*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*

*

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

*

***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***