What would happen when PPP is abused?
อะไรจะเกิดขึ้นบ้างถ้ามีการโกงโปรแกรม PPP
ตอนนี้ข้อมูลเรื่องการโกงโปรแกรม PPP เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว อย่างว่าเพราะโครงการนี้ใหม่มากเจ้าหน้าที่รัฐก็ใช่ว่าจะเยอะแยะมากมาย. อ่านมาเยอะมากจากหลายๆ แหล่งค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่จับกันเข้าคุกอยู่ในขั้นศาล พวกนี้จะร้ายแรงหน่อยเพราะไม่มีกิจการก็อุบอิบกันขึ้นมา ไม่มีพนักงานสักคนก็มั่วว่ามีเป็นร้อยคนก็มี บางคนมีแจ้งหลายกิจการแต่มีกิจการเดียว ถ้าคณ google จะเริ่มโผล่มาเยอะมากค่ะ.
*
วันนีไปอ่านที่ https://www.forbes.com by Mr. Bruce Brumberg, JD สัมภาษณ์อดีตผู้ที่ดำเนินคดีของรัฐบาลกลาง.
*
ถ้าใครยังไม่รู้ PPP เป็นโปรแกรมของ SBA และควบคุมโดยรัฐบาลกลางนะคะ แต่ SBA เขามีทกรัฐแล้วให้อำนาจธนาคารที่ปล่อยกู้ในการพิจารณาเทานั้นเอง ยังถือว่า Government financial assistance program อยู่ค่ะ. บอกไว้สำหรับคนไทยอย่างเราหลายคนที่อาจจะเพิ่งมาอยู่อเมริกา และยังไม่ค่อยเข้าใจระเบียบต่างๆ (ส่วนตัวก็เพิ่งรู้พวกนี้ไม่นานก็จากการอ่านนะแหละคะ ใช่คนอยู่นานจะรู้หมดค่ะ).
*
คุณบลุ๊คเป็นทนายของเวบไซด์นี้ฮีก็เขียนบอลคไรเยอะแยะเลย ทำไมต้องเลือกบทความฮีมาแปลและเอามาไม่หมด ดึงงานเขามาแปลเพราะคิดคล้ายเขาค่ะ ก็อ่านมาเยอะเหมือนกันเรืองพวกนี้ คุณบลุ๊คคิดใกล้เคียงกับเราสุด เดี๋ยวจะหาลิงค์ต้นฉบัยให้ไปอ่านกันตรง sources นะคะ.
*
ดึงมาเฉพาะข้อ ๙ ค่ะ มันเยอะมาก แปลมากก็เพื้ยนอีก คนก็ไม่อยากอ่าน เอาฉพาะ บทลงโทษละกันที่มาแหล่งกฏหมายอ้างอิง
What are the criminal and civil laws that could be used to prosecute and/or fine companies because of abuse or fraud with their PPP loan? มีบทลงโทษอะไรบ้างทั้งทางแพ่งและทางอาญาถ้ามีการโกง รัฐจะใช้มาตราการอะไร กฏหมายตัวไหน เป็นบทลงโทษ สำหรับโปรแกรม PPP
*
Multiple federal statutes prohibit the making of false statements in connection with loan applications involving federal money, including 18 U.S.C. § 1014, which prohibits “knowingly mak[ing] any false statement” in a loan application, and 18 U.S.C. § 1001, which prohibits making false statements to the government. Liability under either statute carries significant monetary penalties and potential jail time. มีกฏหมายหลายฉบับที่ห้ามให้ความเท็จการสร้างข้อมูลเท็จในการขอกู้เงิน ลิงค์กฏหมายก็ตามนั้นเลยค่ะ. 18 U.S.C. § 1014 ข้อนี้ห้ามตั้งใจการให้ข้อมูลเท็จ รู้ว่าไม่ถูกต้องแต่ก้กรอกข้อมูล เช่นนะคะ ไม่มีกิจการแต่โกหกว่ามี มีพนักงาน สิบคน บอกมี ร้อยคน มีรายได้แค่ แสนบอกว่ามีล้าน มีค่าแรงพนักงานแค่ หมื่น บอกว่าแสน จะลักษณะนี้ค่ะนี่ก็ทำผิดกฏหมายแล้ว. อันนี้จะอาญานะคะ
*
*Loan forgiveness guideline* ระเบียบและเอกสารของการยกเลิกหนี้ยังไม่ออกมาคอยดูจากธนาคารที่ปล่อยกุ้ค่ะ คงออกมาเร็ว ๆ นี้.
*
มีคนบางกลุ่มที่ไปโพส์ในกลุ่มคนไทยอีกกลุ่มให้ เอาเงินที่กู้มาไปให้พนักงาน 75% โดยที่ไม่ต้องมาทำงาน เพราะตีความไปว่าเงินนั้นกู้มาให้พนักงาน เคยถูกถามเช่นกันค่ะ ในกลุ่มลูกค้าในฐานะที่เรามีลายเซ่น ซีพีเอ เราตอบไม่ได้ค่ะตอนนั้น เราตอบว่าไม่น่าจะใช่ เพราะ เงินนี้คือเงินให้เก็บพนักงานทำงานต่อไม่ให้ไล่เขาออก ถ้าให้เขาออกเพราะกิจการได้ปิดไป ต้องดึงเขากลับมาทำงาน retain and rehire เพื่อใช้เงินนี้จ่าย. ไม่มี double dipping in United State of America บอกไว้เลยค่ะ ตัวอย่างนะคะ พนักงานหยุดงานเพราะโควิด ไปเคลมเงินคนว่างงานได้จากรัฐ แล้วจะมารับเงินเชคจากที่ทานเดิมไม่ได้ค่ะ เพราะการเคลมเงินคนว่างงงานจะมีคำถามว่าคนนั้นได้หางานตลอดไม๊ มีสุขภาพร่างกายพร้อมที่จะทำงานไม๊ ได้เดินทางไหนไหนไม๊ ถ้าเขาตอบไม่ได้ทำงาน นี่หนักเลยนะคะ เอากฏหมายข้างบนไปอ่านประยุกต์ได้เลย มีสิทธิคุกเช่นกัน ถ้าคนเคยมีคดีความมาก่อน. หรือต้องใช้เงินคืน สามเท่าตามย่อหน้าข้างล่างนี้ค่ะ.
*
ถ้ามีการจ่ายเงินให้พนักงานโดยไม่มีการลงระบค่าแรง ก็เป็นการจ่ายเงินสด ถือว่าใต้โต๊ะ จะไปเคลมให้แบงค์ยกหนี้ให้ก็ไม่ได้อีก ไม่มีใครได้สองต่อ. มีคนที่เป็นพนักงานก็แย้งมาว่า ก็ร้านได้รับความช่วยเหลือเช่นกันนี่ ใช่นะก็ส่วนของร้าน คนทำงานถ้าตกงานรัฐก็ช่วย ไม่ใช่อยู่บ้านแล้วจะมารับเงินเดือนของเจ้านายที่ได้กู้มา แล้วก็ไมใช่จะไปทวงเงินจากเขา.
*
ฝั่งเจ้าของร้านเช่นกัน ได้เงินมาเอาไปซื้อรถหรูด้วย อ่านที่คุณบลุ๊คเขียนนะคะ มีกรณีแบบนี้ เงินนี้ที่จะใช้อะไรก็เข้มงวดอยุ่ได้ ค่าไปซื้ออุปกรณ์สร้าร้านเพิ่มยังไม่ได้เลย ได้แต่ค่าแรง ค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส และค่าเช่าเท่านั้น แต่การตีความว่าอะไรคือค่าแรงก็มีคนมาถามเยอะ ค่าแรง = wages, tip, health insurance paid by employer, relocation expenses (to be income for an employee) แต่ห้ามเกิน ปีละแสนเหรียญต่อคน อันนี้จะมีกฏห้ามไว้เลย. คนที่ตามข่าวจะรู้ว่าคืออะไร คนที่ไม่ตามคือมีคนคอยให้ถาม ตอบแล้วก็มาถามอีก จนต้องก๊อปปี้ข้อความเดิมให้อ่านหรือบอกให้เลื่อนโพสส์ขึ้นไปอ่านก็มี แบบนี้ก็มีเยอะมาก.
*
In addition, the False Claims Act, 31 U.S.C. § 3729 creates civil liability for any person who knowingly presents or causes to be presented a false claim for payment to the government. Given that the FCA is a civil statute, it imposes a lesser burden of proof on the government than criminal statutes. For FCA purposes, “knowingly” can mean having actual knowledge, or acting in deliberate ignorance or reckless disregard of the truth or falsity of the information. FCA fines and penalties can be steep, as the FCA allows the government to recover up to three times the amount of its actual damages—with damages in this context likely viewed by the government as the full amount of the loan—plus penalties for each false claim. ข้อนี้เกี่ยวกับคดีแพ่ง เอาผิดสำหรับคนที่ให้ข้อมูลที่ผิด ทำผิดตัวนี้คือมีค่าปรับแต่ไม่คุก ถ้าทำผิดก็เจอฟ้องทั้งแพ่งและอาญาและทุกท่าน. Knowingly = actual knowledge or ignorance or reckless disregard the truth เอาเป็นว่ารู้ว่าทำเป็นไม่รู้ไม่สนใจว่าจะผิดว่างั้นนะ. อุ๊ยแล้วรัฐนะสามารถเรียกเงินคืนได้ถึงสามเท่า 3 times ของเงินกู้เลยคะ ถ้ากู้แสนก็รัฐเรียกคืนสามแสนเลยงานนี้ คุ้มไม๊เนี่ย รู้ตัวทำผิดก็รีบคืนๆ ไปค่ะ.
*
สรุปนะคะ ว่าการให้ข้อมูลเท็จบิดเบือนโกหก มีความผิดทั้งจำทั้งปรับค่ะ. คิดดูดี ๆ ได้ไม่คุ้มเสียนะคะ เรานี่ยังไม่กล้าแนะนำคนอื่นในแนวทางนั้นเลย คอยแต่บอกตลอดว่าให้ใช้ความจริงในการตอบคำถามตลอด.
Comments from author:
ใครมีเพื่อนในเฟคบุคที่คุณติดตาม ถ้าเขาไปโพสส์อะไร มันจะ ป๊อปปิ๊ปขึ้นมาแล้วคุณจะเห็น บังเอิญมีไปเห็นคนให้ข้อมุลที่ผิดพลาดเรื่องการใช้ PPP ที่ผุ้เขียนเคยเป็นสมาชิกแล้วเคยไปโพสส์บทความแต่ทางแอดมินลบเพราะมีสาระมากเกินไปคาดว่านะ. เลยไม่ได้ไปวุ่นวายกับกลุ่มนั้นอีก แต่หลายๆ ครั้งที่เห็นอะไรไม่ถูกต้องก็จะต้องชี้แจง โดยเฉพาะเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับกฏระเบียบบ้านเมืองทางธุรกิจที่ผุ้มีความรู้ควรจะช่วยชี้แนะอะไรที่ถูกต้อง ผู้เขียนก็ใช่จะรู้เรื่องนี้ทุกมุมก็ต้องอ่านแล้วเอามาเล่าต้องแปล และขยายความให้เข้าใจ.
การพาดพิงคนหรือบางกลุ่มก็เป็นการ
หาความไม่สงบสุขด้านประสาทค่ะ อิอิ.
ตอนนี้พยายามไม่ต่อร้อต่อเถียงค่ะ ให้ข้อมุลอย่างเดียวพอ เอาเฉพาะที่ทนไม่ได้จริงๆ
แล้วก็กลัวคนอื่นหรือกิจการอื่นเอาไปปฏิบัติแบบรู้เท่าไม่ถึงการอีก ยุ่งกันเลย
เอวัง
*
“Good luck and hope you follow reliable sources to make decision for PPP”
ที่มา : Forbes.com and Cornell Law School
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)s
วันที่ : วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ Friday, May 15th, 2020
****apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง****
**** S Corp & LLC due date March 15th**** extended to July 15
*** Corporation due date April 15th *** extended to July 15
** Individual due date April 15th *** extended to July 15
** Payroll taxes *** extended to December 31 (for deposit)
Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน
*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law. การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*
**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**
ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**
***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.
ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***