Family Saving
การออมสำหรับครอบครัว
ที่เขียนเรื่องนี้ก็น่าจะประยุกต์ได้หมดนะคะ ไม่ย่าจะอยู่ที่ไทยหรืออเมริกา ว่าด้วยเรื่องการออม. ใช่ว่า คู่สามีภรรยาจะเห็นต้องพ้องกันตลอดเรื่องการออม หรือการประหยัดค่าใช้จ่าย หารายได้เพิ่ม. อาจจะมีหลายสาเหตุ เช่น ความเชื่อทาง ศาสนา ความเชื่อส่วนบุคคล ความไม่เชื่ออะไรเลย ความไม่ได้นึกถึงอนาคต แบบใช้ชีวิตอยู่แบบไปวัน ๆ และทำวันนี้ให้ดีที่สุด.
จากการสังเกตุนะคะ หลายๆ คู่ที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว รู้จักออนไลน์ รู้จักจากการอ่านประวัติของคนเหล่านั้น.
คู่ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างตัว เรียงลำดับมาจากมากถึงน้อยมากตามนี้ค่ะ
- ทั้งคู่สามีและภรรยา ล้วนแต่มีนิสัยรักการออม การใช้จ่ายแบบประหยัด การหารายได้เพิ่ม ถ้ารายได้น้อย ทำยังไงให้รายได้เพิ่ม ไปลงทุนเรื่องอะไรก่อน ไปเรียนหรือศึกษาอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น. ถ้าทั้งคู่รักการออม และทำงานหาเงินด้วยกันทั้งคู่ จะไปได้รวดเร็ว พุ่งกระฉูดเลยค่ะ ไม่น่าเกิน 5-10 ปีคงเกษียณได้ ยิ่งไม่มีลูกต้องกังวลนี่ก็วิ่งกันไปเลย
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีนิสัยการออม แต่อีกฝ่ายไม่มี ทำมาหากินไปวัน ๆ แต่ฝ่ายที่ทำงานหาเงินประหยัด คือฝ่ายชาย ทำงานรายได้ดี มีหลักการควบคุมค่าใช้จ่ายของคุ๋สมรสได้อย่างดี โดยการจำกัดการให้เงินเดือนใช้ และมีการออม พร้อมการลงทุน ฝ่ายชาย เงินเดือนหรือรายได้เยอะ แทบไม่ต้องกังวลเลย ภรรยาไม่ต้องทำงานก็ได้ แบบนี้ก็ไปได้เร็ว พุ่งกระฉูด ถ้าไม่มีลูก็ยิ่งรวดเร็วทันใจ ถ้ามีลูกก็อาจจะช้าหน่อยแต่ไม่ได้มากมายังมั่นคง ปล. แต่แอเห็น หย่ากันหลายคู่แล้วอีกฝ่ายที่ไม่ได้ทำงาน ไม่มีอะไรติดตัวก็มี เศร้านะคะแบบนี้ ใครเป็นฝ่ายไม่ได้ทำงาน ให้เริ่มเก็บตังค์ได้แล้วค้า.
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประหยัดขยัน แต่ฝ่ายประหยัด ขยันไม่ได้ ทำงาน คนทำงานคือคนที่ปรหยัด แต่ไม่ได้วางแผนถึงอนาคต ถึงชีวิตเกษียณ ถึงทุนการศึกษาของลูก ๆ เหมือนอเมริกันทั่วไปที่เด็ก จบ ม.6 ก็หางานหาการทำสงเสียตัวเองเรียนได้ปกติ. แบบนี้คือถ้ามีบ้านอยู่ก็จะมีแคบ้านที่อยู่อาศัย ถ้าสามีทำงานรายได้ไม่เยอะ และภรรยาที่ขยันประหยัด แตไม่ได้ทำงาน ก็คงพออยู่ได้ แต่คงใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยไม่ได้ยามชรา และหรือ อยู่แบบพอเพียงกันต่อไป.
- ทั้งคู่ขยันน้อยมากและไม่ได้วางแผนถึงอนาคต หามาใช้ไปหมด เงินเดือนรายได้เท่าไร หาเงินเก่ง ก็ไม่ได้เก็บออม แถม ใช้เงินเกินตัวเป็นหนี้บัตรเครดิต เนื่องจากเอาเงินในอนาคตมาใช้ พอตกงานไม่มีงานทำ ก็เดือดร้อนกันทั้งบ้าน บางรายอาจจะสูญเสียบ้านที่อยู่เพราะไม่มีเงินที่จะผ่อน ต้องยื่นเป็นบุคคลล้มละลายไปก็ดี บางรายต้องถอนเงินออมไว้จากรีไทมเม้นมาใช้ เสียค่าปรับ 10 เปอรเซ็น และเสียภาษีกันอีก. เนื่องจากเคยใช้เงินมือเติบ ติดหรู จะกลับมาติดดินก็ยากลำบากลำเค็ญกันไป. คู่แบบนี้ถ้าไม่ปรับตัวก็ยิ่งจะลำบากเมื่อชรา คงต้องให้รัฐบาลเลี้ยง (ถ้ารัฐบังมีเงินนะ เพราะรัฐก็ใช่ว่าจะเลี้งคนได้หมด ไม่งันจะมีคนไร้บ้านรึใช่เปล่า).
คุณหล่ะ เป็นคนกลุ่มไหน แล้ววาแผนชีวิตไว้ยังไง เมื่อยามเกษียณ จะอยู่ยังไง จะอยู่กับใคร ค่าบ้านเท่าไร ค่าอาหารเท่าไร ค่ายารักษาโรคเท่าไร ค่าสังคมละมีใครมีเพื่อนฝูง ญาติมิตรที่จะเลี้ยงดูเราไม๊ (ก่อนที่จะหวังไปพึ่งคนอื่น ดูด้วยคะ ว่าเคยช่วยเหลืออะไรใครไว้บ้าง ขนาดเคยช่วยเหลือกันไว้ ยังไม่มาดูดำดูดี เพราะเขาเหล่านั้นก็ต้องเอาตัวเขาให้รอดก่อนค้า). ถ้าหวังพึ่งลูก ลูกกตัญญูก็เยอะค่ะ ถ้าโชคดี ชาติก่อนทำบุญมาเยอะ เด็ก ๆ จะมาดูแลพ่อแม่ เหมือนเราคนไทย ผู้เขียนเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าต้องให้พ่อแม่สบาย ไม่ได้มีใครสั่งสอนมาด้วย แต่ทราบมาว่า แม่ของตัวเองและแม่สามี เลี้ยงดูตายายจนเขาเสียชีวิต บุญของแม่ ถึงมีลูกมาเลี้ยงดูต่อ ใครเชื่อเรื่องนี้บ้าง ยกมือขึ้น.
บางคนอยากมีบ้าน อยากได้บ้านเดียว ไม่ติดกับคนอื่นทำเลดี ๆ รอเก็บเงินก่อน อันนี้เรือ่งจริง น้อยมากที่เจอคนที่มีเงินสดซื้อบ้าน ยกเว้นได้สมบัติมาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย . แนะนำให้ใช้ชีวิตแบบ นกน้อยสร้างรังแต่พอตัวค่ะ เรามีรายได้น้อย ก็ซื้อบ้านหลังน้อย นอกเมืองไปหน่อย ก็ขับรถมาทำงานได้ พอมีเงินมากขึ้น หรือมูลค่าบานมากขึ้นก็ขยัยบขยายมาซื้อบ้านใหญ่ขึ้น เงินที่คุณผ่อนบ้านก็เพิ่มเป็นมูลค่าบ้าน หรือที่เราเรียกว่า Equity ไงค่ะ บ้านคือการลงทุนอย่างหนึ่ง และเราได้อยู่อาศัยด้วย . ดีมกา ๆ คือกำไรจากการขายบ้านได้ยกเว้นภาษีตั้ง 250,000/person ทุกสองปีเลยค่ะ ดีงามอร่ามช้อย ให้นึกถึงจุดนี้นะคะ.
เรื่องการลงทุน การฝากเงิน การมีเงินสำรองก็เช่นกัน ใช่ว่ามีเงินสดเท่าไร เอาไปลงหุ้นหมดนะคะ เอาไว้สำรองด้วย ถ้าเอาลงไว้หุ้น ก็อย่าให้หุ้นตกค่ะ หนี้บัตรเครดิตนะมีได้ค่ะ แต่อย่าให้ค้างให้ชำระให้หมด หนี้เยอะมากก็ทำการประนอมหนี้นะคะ .
ท้ายสุด และสุดท้าย การเลือกคู่ที่ดีก็เป็นศรีแก่ตัวค้า แต่ถ้าได้เลือกไปแล้ว ไม่ได้ดั่งใจ (ไม่ได้บอกให้หาใหม่) ก็จับเข่าคุยกันค้าหรือคุณก็ไปทำงานนอกบ้นเหมือนผู้เขียนไง
Merry X Mas to you all
ที่มา นักวิชาเกินที่รักการออม (บางครั้งอาจจะดูมากไป จนกลายว่าตะหนี่)