Retiring in Bangkok Thailand

Retiring in Bangkok Thailand

ใช้ชีวิตการเกษียณที่กรุงเทพมหานคร

หลายคนคนลังเลว่าจะเกษียณที่ไหนดี จะที่ไทย หรืออเมริกา แต่ก็มีหลายกลุ่มโดยเฉพาะพวกเราชาวไทยที่มีคู่สมรสอเมริกัน หรือโสดแต่เป็นอเมริกัน คิดว่าไม่กลับไทยแระ จะอยู่อเมริกามันนี่แหละ กินง่ายอยู่ง่าย บ้านเมืองสะอาด.  กลุ่มนี้ที่จะอาศัยอยู่อเมริกาได้แบบไม่ต้องเดือดร้อน คือ มีเพนชั่น มีเงินเกษียณพอ รายได้อาจจะไม่ใช่แค่มาจากสำนักงานประกันสังคมของอเมริกา  เพราะสูงสุดได้ไม่ถึง สามพันต่อเดือน.  แต่แหม ฝรั่งเกษียณในอเมริการับแค่เงินสวัสดิการจากสำนักงานสังคมก็เยอะแยะไปค่ะ

ใช่ว่าอเมริกาจะเป็นทางเลือกของทุกคนค่ะ นี่คือขอยกตัวอย่างฝรั่งเลยค่ะ อเมริกันแท้ ๆ ที่นี่เลยไปใช้ชีวิตที่เมืองไทยก็มานานสิบปี.  ได้มีโอกาสคุยกันตอนนั่งสองแถวกลับมาจาก ซีคอนแสวร์ (สองแถวราคาย่อมเยาค่ะ แต่ไม่ได้บวกมิเตอร์เวลารถติดแถมสะดวกด้วยเวลาไม่มีรถแท็กซี่).  เราก็คุยกับสามีเนาะ มีฝรั่งคนเดียวในสองแถว สูงด้วยโหนสองแถวแบบเด่นชัด  เราก็ไม่แน่ใจรถคันแดง ที่บอกไปเสรีเซ็นเตอร์นี่มันจะเลี้ยวเปล่า คุยกันภาษาอังกฤษเนาะ  สักพัก มีเสี่ยงโผล่มา เลี้ยวสิ ผ่านบ้านฉัน ฉันขึ้นสองแถวทุกวัน  อ้าวบางอ้อ ชีสวมผ้าปิดจมูก ฝรั่งค่ะ  ชีเป็นครูสอนภาษาอังกฤษแถวซีคอนมาหลายปี  ถามไปคุยกันยาวเนาะรถติด  มาอยู่ได้สิบปีแล้วค่ะ ชอบมาก คนไทย มีน้ำใจ นิสัยดี กับข้าวปลาอาหารถูกมาก เอาง่ายๆ ถ้ารุ้จักหากิน  ศูนย์อาหรตรง พาราได หรือเสรีเซ็นเตอร์เก่านะคะ ราคา งาม 40-60 บาท เองค่ะ นั่งในห้องอาหารแอร์ด้วย คนไปติวภาษาอังกฤษกัน เยอะแยะ ยิ่งซีคอนราคาก็ไม่ได้แบบแพงสุดพอคุยได้  อยากร้อนหน่อยมากินข้างนอกก็ 40-50 บาทค่ะ.  แต่อย่าเผลอไปเข้า mk suki ละ 2000-3000 นี่หมดกระเป๋าได้ง่าย.  ฝรั่งเช่าบ้าน ทาวเฮ้าอยู่ กันสองคนผัวเมีย พร้อม หมา สองตัว (ใจดีเลี้ยงหมาด้วย) .  ชีก็เล่านะคะ ชีมาจาก มิชิแกน เงินเกษียณจากสำนักงานประกันสังคมแทบไม่พออาศัยที่นั่นค่ะ  ก็ไม่ได้ถามเยอะเนาะ ว่าเขาทำอาชีพอะไรกันมาก่อน แต่ดูก็ธรรมดาติดดินชอบเมืองไทย คงไม่ได้ติดหรูรวยอะไร  อาจจะเพราะอยู่เมืองไทย ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ไม่ต้องเจออากาศหนาวเน็บ ก็ได้มั๊งค่ะ.

ข้อแตกต่างระหว่างเราคนไทย กับฝรั่งแท้ ๆที่ไปเกษียณไทยคือ เขาไม่มีญาติพี่น้องที่ไทยค่ะ.  เขาไม่ต้องเสียภาษีสังคม ไม่ต้องให้พี่น้อง ไม่ต้องเลี้ยงต้องแจกใครๆ แถมคงไม่มีใครมากล้ายืมเงินฝรั่งอีกเนาะ (แต่ใครจะไปรู้ฝรั่งใจดีเผลอให้คนไทยยืมเงินกันเปล่า).

ถ้าบอกว่าอากาศไม่ดีก็ใช้หน้ากากปิดจมูกตอนขึ้นรถสองแถว และก็ไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ๆ ที่ทำงานกับที่บ้านก็ใกล้ๆ เคียง ลูกเต้าไม่มี ชีวิตนี้ลอยนวลกันไปเลยนะคะ.  แต่ตามทีคุยกัน ทั้งคู่ก็กลับมาเยี่ยมอเมริกาบ้างค่ะ เหมือนเรากลับมาไทยเยี่ยมครอบครัวนะแหละ.

ญาติเยอะที่ไทยแต่อยากไปเกษียณที่ไทย เราทำยังไงกันดี ปัญหานี้ช่างตอบได้หลายวิธี เพราะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับญาติด้วยนะคะ.  บางคนมีญาติสนิทเพื่อนสนิทที่แทบกลายเป็นอดีต เพราะแต่ละคนก็ขอแต่เงิน ขอทียังกะหลังบ้านปลูกเงินได้ก็มี.  คนที่มีสามีรวยกันก็สบายไป  แล้วคนที่หาเช้ากินค่ำนี่ยากนะคะ ยิ่งคนไม่ได้ทำงานสามีเลี้ยงต้องรอเงินเดือนสามี นี่ลำบากใจนะคะ ใช่ว่าแต่ละคนจะได้สามีรวยกันเสมอไป.  ต้องใช้หลัการอธิบายให้พึงเข้าใจกันหนักพอสมควร.  เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นทุกกลุ่มรายได้ค่ะ แม้กระทั่งกลุ่มครอบครัวฐานะปานกลางไม่ใช่ชาวไร่ชาวนาแบบผุ้เขียนก็มีค่ะ.

สำหรับผู้เขียนเอง แสดงตัวกับญาติพี่น้องแต่แรกแบบชัดเจนค่ะ ว่ายินดีช่วยถ้าเจ็บไข้ได้ป่วย ค่ารักษาพยาบาล  เงินกลับบ้านก็ให้บ้าง แต่ไม่ได้แจกกระจาย เขาก็คงพอจะเข้าใจเนาะ แต่เราดูแลครอบครัวค่ะ แบบที่ทำได้ ไมได้ให้เงินเดือนใช้แล้วเอาไปเล่นหวยเล่นไพ่ มีข้อจำกัดค่ะ เรื่องพวกนี้เราไปห้ามเขาไม่ได้ค่ะ ตัวใครตัวมัน ทุกอย่างอยู่ที่เรา  และที่สำคัญ เราต้องมีบริวาร ไม่ได้ซื้อด้วยเงินก็ต้องด้วยใจค่ะ.  เพื่อนฝูง ลูกน้องเก่าๆ ก็ช่วยเหลือบ้างตามความเหมาะสม แต่ไม่เจ็บตัวเอง แล้วก็สามารถอาศัยไหว้วานกันได้เมื่อจำเป็นค่ะ.  เอาง่ายๆ เรามีเพื่อนรักสนิทกันมาก ช่วยกันมาตลอดแต่เรา 18 เห็นกันรวยจน มาตลอด อยากได้ปลาสลิดก็ให้เขาจัดหามาให้เห็นไม๊ค่ะ คนเราต้องพึ่งพาอาศํยซึ่งกันและกัน เพื่อนอีกคนก็หายาย้อมผมดำให้ ดีงามอร่ามช้อย ผิดตรงมันซื้อมุ้งให้ผิดขนาดนี่อยากด่านัก แต่ด่าไปมันก็ไม่โกรธ พวกนี้.  เราเป็นคนรักเพื่อนค่ะ และคงไม่ทิ้งเขาแต่ไม่ให้ยืมเงินแบบไร้สาระ.

จะเกษียณไทยต้องวางแผนแต่เนิ่น ๆ ค่ะ เช่นอีก สิบปีจะกลับไทย จะไปอยู่ที่ไหน ของประเทศไทย มีบ้านไม๊มีที่มีทางหรือไม่  อยุ่ใกล้โรงพยาบาลไม๊ เผื่อเจ็บไข้ได้ป่วย บางคนมีสามีทหารเก่า ก็ต้องรักษาตัว บางโรงพยาบาลในเมืองใหญ๋ ๆ รับประกันสุขภาพของ VA ด้วยค่ะ ดีงามกันไปเลย.  สำหรับเรา คงต้องเอกชนนะหละค่ะ หาซื้อประกันสุขภาพปกติ แบบพี่ที่นับถือแนะนำว่าซื้อแบบป้องกัน หนัก ๆ ก็บินมาอเมริการักษาตัว แต่บ้านเราการแพทย์ก็ดีงามค่ะ ขอใหมีเงินจัดการได้หมดค่ะ  ดูและรักษาสุขภาพตัวเองก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วนะคะ..

Comments from author:

ผู้เขียนเองก็ได้ฟังได้อ่านจากทั้งฝรั่งและไทยที่เกษียณที่ไทยและอเมริกา  การตัดสินใจคืออยู่ทั้งที่ไทยและอเมริกาค่ะ และก็ต้องดูว่าลูก ๆ เป็นยังไง เรียนหนังสือกันที่ไหน เขาเอาตัวรอดได้ขนาดไหน  คนไม่มีลูกอาจจะตัดสินใจได้ง่ายและเร็วกว่าคนมีลูกค่ะ.   แต่จริงๆ เด็ก ๆ เขาเข้ามหาวิทยาลัยก็เอาตัวรอดได้แล้วค่ะ ฝรั่งที่นี่เขาสอนกันมางี้ เราพ่อแม่ก็คอยดูกันห่าง ๆ ให้เขาเรียนรู้ที่จะอยุ่รอดในสังคม  ดิฉันเองก็ห่างแม่มาแต่เด็ก ต้องเข้ากรุงมาทำงานหาเงินเรียนหนังสือเองทำไรเอง ตัดสินใจเอง ไม่มีใครมาสอน ใด ๆ ทุกอย่างล้วน แต่การลองผิดลองถูก และเลียนแบบคนที่ประสบความสำเร็จ และเลี่ยงตามแบบคนที่เรามองว่าล้มเหลวหรือไม่ได้เรื่อง หรือเลือกเฉพาะสิ่งดีๆ ที่บุคคลเหล่านั้นมีแล้วเอามาประยุกต์ใช้กัน

“Enjoy every single minute of living

ที่มา                    :   ประสบการตรงและจากากรบอกเล่า

 

เรียบเรียงโดย          : นักวิชาเกินที่ชอบท่องเที่ยวและมองหาโอกาส

 

วันที่                    :  วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, Friday, December 6th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ