Is it Medicare or Medicaid?
เมดิแคร์ หรือว่า เมดิเคด ของอเมริกา
ข่าวบ้านการเมืองในอเมริการ้อนแรงมากในขณะนี้ เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ ที่อาจจะมีผลต่อใบเขียวหรือการสมัครเป็นอเมริกันของชาวต่างด้าวเช่นเรา ๆ ท่าน ๆ.
วันนี้มาทำความรู้จักความหมายเกี่ยวกับสวัสดิการด้านสุขภาพของอเมริกา ระหว่าง Medicare and Medicaid แล้วอะไรจะมีผลกระทบต่อใบเขียวหรืออเมริกันบ้าง (อาจจะใส่ความเห็นให้นิดหนึ่ง เพราะไม่ใช่ทนายด้าน อิม แต่อ่านมาจากหลายๆ แหล่งนะคะ).
คนที่อยู่อเมริกามานานอาจจะคุ้นเคยกับคำนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม สว. หรือกลุ่มพิการ หรือกลุ่มรายได้ต่ำ (ทั้งต่ำจริงและต่ำปลอม) ก็จะทราบดีเรื่อง เมดิเคด (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นของรัฐที่อยู่อาศัย). บทความนี้สรุปมาจากคุณ จิม บอรแลนด์ Jim Borland, Acting Deputy Commissioner for Communications ที่เขียนขึ้นมาเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ล้าสมัย ขอขอบคุณคุณจิมแทนชมรมนักอ่านทุกท่านด้วยคะ.
หลาย คนสับสน ระหว่าง สองคำนี้ เพราะมันคือสวัสดิการด้านประกันสุขภาพด้านยารักษาโรค ด้านไปหาหมอ. ใครดูแลหน่วยงานสองหน่วยนี้ เขาทำหน้าที่กันอย่างไรบ้าง.
Medicare
เป็นโปรแกรมที่จัดหาไว้ให้สำหรับคนที่เคยทำงานในอเมริกา หรือเคยนำส่งค่าแรงค่าจ้างเงินเดือนเข้าหน่วยงานนี้ คือต้องมีเครดิตครบ 40 ทำงานมานานสิบปี ตามที่ตั้งไว้. ใช่ว่าคน สว อายุ 65 ทุกคนจะได้รับสวัสดิการจุดนี้ ไม่ใช่นะคะ หลาย ๆคนเข้าใจผิด ว่ารับได้ซึ่งไม่ใช่เลยค่ะ.
1.)Medicare A (Hospital) and 2.) Medicare B (Medical) สำนักงานประกันสังคม Social Security รับลงทะเบียนกลุ่มนี้ค่ะ. สามารถสมัครออนไลน์ได้ค่ะ website: www.socialsecurity.gov/medicare/ ถ้าคนรับสวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคมอยู่แล้ว ทาง สำนักงาน จะสมัครจุดนี้ให้อัตโนมัติ คือแบบว่ารับเงินมาแล้ว 25 เดือนก็สองปีกว่า ๆ มีชื่อในระบบ สำนักงานก็จัดทำให้เลยค่ะ.
3.)Medicare Part C (Medicare Advantage) and 4.) Part D (Prescription Drug) plans are available for purchase in the insurance marketplace ข้อ 3 4 ต้องซื้อจากประกันทั่วไปที่ขายค่ะ. สำนักงานไม่ได้จัดหามาให้นะคะ.
Medicaid
แต่ละรัฐจะมีโปรแกรมที่ช่วยเหลือประชาชนในรัฐเอง โปรแกรมก็กำหนดโดยรัฐบาลของรัฐที่คุณอยู่อาศัย ระเบียบอาจจะแตกต่างกันออกไป โปรแกรมนี้เรียกว่า “เมดิเครด”. ซึ่งคนละส่วนกับ เมดิแคร์ที่ทางสำนักงานประกันสังคม (รัฐบาลกลาง federal government) จัดหามาให้.
คนที่รับเมดิเครด ไม่จำเป็นว่าต้องเคยทำงาน สิบปี มีครบ สี่สิบ เครดิต ใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับสวัสดิการจากรัฐนั้น ๆ เช่นรายได้ไม่สูง เด็ก ผู้หญิงที่ช่วยตัวเองไม่ได้ คนพิการ คน สว ของแต่ละรัฐนั้น ๆ . ทีสำคัญคือชื่อโปรแกรมในแต่ละรัฐอาจจะเรียกไม่เหมือนกันนะคะ. ใครอยากอ่านเพิ่มเติมก็อ่านได้ตามลิงค์นะคะ www.medicaid.gov/medicaid/by-state/by-state.html. You can find each state’s Medicaid contact information at www.medicaid.gov/about-us/contact-us/contact-state-page.html.
สรุปว่า เมดิแคร์ กับ เมดิเครด เป็นโปรแกรมประกันสุขภาพที่จัดหามาให้ประชาชน แค่คุณสมบัติที่จะได้รับแตกต่างกันเท่านั้นเอง. สองโปรแกรมนี้ก็แตกต่างกันในหลายๆ จุด เช่นด้านรายได้ ด้านความยืดหยุ่นด้วยค่ะ.
Comments from author:
อ่านสองสามคอมเม้นจากบลอคที่คุณจิมเขียน มีคนบอกว่า คนทำงานรับเงินประกันสังคม รับ เมดิแคร์ ต้องจ่าย co-pay insurance 20% ขณะที่คนรับสวัสดิการของรัฐเมดิเครด ฟรีหมดไม่ต้องจ่ายอะไรเลย. อืมม ไม่รู้จริงทั้งหมดเปล่านะคะ. แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน เพราะโปรแกรมเมดิเครด คือช่วยคนรายได้ต่ำจริง ๆ คนที่เดือดร้อนมีลูก ๆ คนพิการ ต่าง ๆ . แต่ก็มีกลุ่มที่ไม่สมควรจะได้รับสวัสดิการ คือไม่ทำงาน ทำงานแต่รับเงินสด แสดงรายได้ต่ำ เพื่อจะได้สวัสดิการ เหตุผลก็แตกต่างกันออกไป เช่น ค่าประกันสุขภาพสูงมาก จ่ายไม่ไหว จ่ายไม่ได้ แม่เลี้ยงลูกเดี่ยว รายได้ไม่พอ ต้องให้รัฐช่วย.
รัฐบาลออกข่าวมาว่า ใครขอรับสวัสดิการต่างๆ อาจจะต่อใบเขียวไม่ได้ สอบสัญชาติอเมริกันไม่ได้ หรือต่อไป สำหรับคนที่จะมาอเมริกา เช่นนักลงทุน ต้องมีเงินสำรองอย่างน้อย $20,000 เหรียญถึงจะมาลงทุนด้วยวีซ่าลงทุนได้ (ฟังข่าวมาค่ะ แต่ไม่รู้จะประกาศอย่างเป็นทางการวันไหน แต่คาดว่า ภายในรัฐบาลคงจะให้สถานกงศุลต่างๆ พิจารณาแล้ว). ค่าสวัสดิการต่างๆ เหล่านี้ ถือว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงที่รัฐบาลต้องมาแบกรัฐ ไม่วาจะท้องถิ่นหรือรัฐบาลกลาง ลองมองในมุมของการเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อบ้านมีค่าใช้จ่ายสูง เจ้าของบ้านก็ต้องหารายได้มาเพื่อใช้สอย ถ้าไม่พอก็ต้องไปยืม หรือทำงานสอง สาม งานเพื่อให้พอในการจับจ่าย. อย่าไปว่าเจ้าของบ้านเขาเลยค่ะ เพราะเจ้าของบ้านที่จะรับใครเข้ามา ถ้าไม่รวยเหลือเฟือ ก็ต้องป้องกันบ้านของตัวเองให้พอกิจพอใช้. ถ้าเจ้าบ้านไม่พร้อม ก็ไม่ควรจะรับสมาชิกในบ้านใหม่เพิ่ม เว้นแต่คุณพร้อมจริง ๆ ค่ะ. ไม่รู้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุหรือเปล่า สาเหตุที่รู้กันทั่วไปคือค่ารักษาพยาบาลที่อเมริกาแพงมาก ผิดกับประเทศฝั่งยุโรปหรือเอเชีย แพงแล้วก็ใช่ว่าจะดีกว่าทุกอย่าง ค่าห้องนอนคลอดลูกคืนก็ 2000-3000 เหรียญ ไม่รวมค่าหมอค่าพยาบาลค่ายา.
ขอเตือนกลุ่มนักลงทุนหน่อยหนึ่งเรื่องขอรับสวัสดิการของรัฐ ตอนนี้ระเบียบไม่ออก คนที่อยู่ที่นี่แล้ว ก็ไม่ควรจะไปขอรับสวัสดิการใด ๆ เพิ่มขึ้นนะคะ. ไม่มีใครรู้ถึงนโยบายในการพิจารณาการให้ต่ออายุวีซ่า การขอวีซ่า ระวังไว้ก็ดีค่ะ เพราะหลายคนต้องยื่นวีซ่าหลายรอบกว่าจะได้มา.
*Welcome to America, land of opportunities*
ที่มา : blog.ssa.gov
– Is it medicare or Medicaid
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)
วันที่ : วันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคมพ.ศ. ๒๕๖๒, (ยังมีเวลายื่นภาษีออนไลน์ ถึง 15 ตุลาคม นะคะ สำหรับบุคคลธรรมดา)
Friday, October 11th, 2019
Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน
Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law. การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย
**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**
**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**
**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.
** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ