How to report Business’s Income/Loss for E2 Investor?
นักลงทุนมาด้วยวีซ่า E2 รายงานผลประกอบการในธุรกิจอย่างไร
มีถามมากันเยอะมาก ในกลุ่มนักลงทุนที่มาด้วยวีซ่าลงทุนประเภท E2 เจ้าของเองและพนักงาน ว่า เสียภาษีแตกต่างกับคนที่นี่หรือไม่อย่างไร. ต้องขอบคุณกลุ่มที่ถามในฟอรัม ทางกลุ่ม กฏหมาย หรือร้านอาหาร เพราะคนอื่นจะได้รู้ด้วย และแชร์ประสบการณ์.
ก่อนอื่น เราต้องทราบหลักการสำคัญว่า บริษัทที่จดทะเบียนที่อเมริกา ไม่ว่าชาติไหน ๆ เป็นเจ้าของ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายงาน และชำระภาษีตามกฏหมายของที่นี่ค่ะ สิทธิทุกอย่างเท่าที่ยมกับคนที่นี่ที่เป็นเจ้าของ แค่มีข้อจำกัดบางประเภทที่ต่างชาติทำไม่ได้
บุคคลธรรมดาก็เหมือนกันค่ะ ถ้าคุณทำงานที่นี่ตามกฏหมาย หรืออยู่ที่เป็นเรสสิเด้น ในทางภาษีอากรก็ได้สิทธิเท่าเทียมกัน แต่ มีบางจุดที่ได้สิทธิประโยชน์คือกลุ่มที่มีบุตรจะเคลมเครดิต บุตรต้องมี SSN น้องๆ ที่ติดตามพ่อแม่มาด้วยวีซ่าลงทุนจะไม่มี SSN ค่ะ ขอได้เฉพาะ Tax ID.
การเสียภาษีของนักลงทุนนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจค่ะ นักลงทุนส่วนใหญ่ จดทะเบียนบริษัทแบบ limited liability company (LLC) หรือบางกลุ่มล่าสุดจดแบบ Corporation (C-Corp) เพราะกฏหมายใหม่ เสียภาษีอัตราเดียวแค่ 21% จะมากน้อยก็เสียอัตรานี้ และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเจ้าของเพราะ กิจการแยกส่วนตัวกับเจ้าของค่ะ. เจ้าของก็จ่ายเงินเดือนไปถ้าอยากถอนเงินออกจากกิจการ. ในทางตรงข้าม LLC ไม่มีการเสียภาษีในรูปกิจการ กำไรขาดทุนผ่านมายังเจ้าของ เจ้าของเอาไปรวมเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดานะคะ.
LLC หรือ คล้าย ๆ กับการเสียภาษีแบบห้างหุ้นส่วน
เจ้าของมีหน้าที่ยื่นแบบภายในวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี ถ้ายื่นไม่ทันสามารถเลื่อนการยื่นแบบไปถึง 6 เดือน ก็กันยายน ภายในปีเดียวกันค่ะ.
กำไรขาดทุน แสดงรายงานในแบบ 1065 (ถ้ามีเจ้าของมากกว่า 1 คน) ถ้ามีเจ้าของคนเดียวยื่นแบบรวมกับบุคคลธรรมดาฟอร์ม 1040 ภายในวันที่ 15 เมษายน และถ้าไม่ทันก็ขอยื่นเลื่อนไปได้อีก 6 เดือนเช่นกันค่ะ
C-Corp หรือ บริษัททั่วไป
บริษัทมีหน้าที่ยื่นแบบภายใน 15 เมษายน ถ้าไม่ทันก็เลื่อนไปได้อีก 6 เดือน ถึงเดือนตุลาคมนะคะ. บริษัทไม่เกี่ยวกับส่วนตัวค่ะ เจ้าของ ยื่นภาษีไปเองก่อนได้เลย ไม่ต้องรอเอกสารใด ๆ จากบริษัท จบในตัวเลยค่ะ ต่อเดียว.
กำไรขาดทุน อยู่ในตัวค่ะ ถ้าขาดทุน ก็ยกไปหักจากกำไรปีต่อ ๆ ไปได้ไม่มีวันหยุดราชการ ไม่มีกำหนดคะตามกฏหมายใหม่ ก่อนหน้านี้หักได้แค่ 20 ปีค่ะ. ถ้ามีกำไร ก็เสียภาษีที่ 21 เปอรเซ็นไปเลย ณ บัดนั้น ไม่ต้องมารีรอ ผ่อนได้ค่ะ มีดอกเบี้ยตามธรรมเนียม.
S-Corp หรือการเสียภาษีแบบบริษัทเล็ก ๆ ทั่วไป
นักลงทุนต้องยื่นภาษีกิจการอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะเปลี่ยนเป็นรูปแบบนี้ได้ค่ะ จู่ ๆ ทำเลยไม่ได้ค่ะ รูปนี้ให้เฉพาะ คนที่เป็นเรสสิเด้นเท่านั้นค่ะ ถ้านักลงทุนเสียภาษีมากกว่า สองปี ทางภาษีอากร ถือว่าเป็นเรสสิเด้นค่ะ แม้ว่าคุณจะไม่มีกรีนการ์ดใด ๆ นะคะ.
รูปแบบนี้ภาษีในรูปบริษัทไม่มีค่ะ กำไรขาดทุนผ่านมายังเจ้าของค่ะ เจ้าของจะได้รับเอกสารเรียกว่า Schedule K-1 เหมือนกับรูปแบบ LLC ค่ะ
First 3 years of doing business, what should I report (profit or loss).? การทำธุรกิจ สามปีแรก ควรจะรายงานกำไร หรือขาดทุนดี
จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะทำธุรกิจปี ไหน ปีที่ 1 หรือปีที่ 10 คุณ ต้องรายงานตามข้อเท็จจริงค่ะ จะกำไรขาดทุนก็รายงานตามนั้นค่ะ ถ้าคุณขาดทุนรายงานขาดทุน ตามเอกสาร หลักฐานที่คณมี
Is that acceptable/okay to have business loss the first 3 years? เป็นเรื่องปกติไม๊ ที่ สามปีแรก ขาดทุนได้?
ถามกันมามากมาย ถามแบบแปลก ๆ เหมือนจงใจเลี่ยงภาษีกันเปล่าค่ะ. ตามสถิติที่เราทำบัญชีร้านอาหารมา มันไม่ได้ตายตัวค่ะ บางที่ซื้อร้านต่อมา ไม่ได้ทำร้านใหม่ ปีแรกก็มีกำไรแล้วค่ะ แต่น่าจะไม่เกิน 30% of total restaurant business ส่วนใหญ่จะขาดทุนใน สามปีแรกค่ะ เร็วสุดคือ ปีที่สองค่ะ เพราะ ค่าใช้จ่ายเยอะในการก่อตั้ง ค่าลายเซ่น ค่าทำโฆษณา ค่าก่อสร้างร้านใหม่สารพัดค่ะ.
ในฐานะนักบัญชีเรามองอย่างไรว่าร้านขาดทุนจริง เรามองจากกระแสเงินสดค่ะ ร้านที่ขาดทุนช่วงแรก ๆ ยอดขายจะน้อย ค่าใช้จ่ายจะสูงมากเช่นค่าเช่า ที่ไม่เปลี่ยนแปลง. เงินลงทุนจะสุง ต้องพอหมุนในร้านได้ หรือต้องกู้มาเพิ่ม. มีค่ะ รายงานรายได้ต่ำ แล้วเรางานค่าใช้จ่ายจริง ๆ. น่ากลัวไม๊ค่ะ แบบนี้ ตามความเห็น ถ้าคุณขายสด ไม่รับบัตรเครดิตเลย ไม่มีใครเห็นค่ะ กรมสรรพากรอเมริกาไม่เห็น แต่ยังไม่เคยเห็นค่ะ มีร้านจีน แต่ไม่กล้าทำบัญชีค่ะ ไม่คุ้มกับ Liability of my profession. อเมริกามีกฏหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินที่เข้มงวดมาก โดยเฉพาะ ธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เนื่องด้วยเงินสด จะถูกรายงานไปยัง ธนาคารกลางของอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจ และก็กระจายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับทั้ง The Internal Revenue Services (IRS) กรมสรรพากรของอเมริกา.
ถ้าขาดทุนตลอด เรามองว่า ร้านอยู่ได้อย่างไร ร้านกู้มาเต็มที่แล้ว เขาอยู่กันไม่ได้ค่ะ ขายร้านกันคะไม่ไหว.
ถ้าขาดทุนแบบ(หลอกลวง) ต้องระวังค่ะ. เพราะคุณ ๆ มาด้วยวีซ่าลงทุน ทำอะไรให้ถูกต้องดีที่สุดค่ะ เสี่ยงต่อการต่อวีซ่านักลงทุนด้วยค่ะ ว่าเอ ทำไมขาดทุนตลอดหว่า เจ้าหน้าที่มองไงเนี่ย จะพิจารณายังไงเอ่ย คนงานก็ไม่จ้างที่นี่ ไม่มีคนในระบบค่าจ้าง ถ้าคุณขาดทุน แต่มี ค่าจ้าง สูงที่รายงาน อันนนี้คุยได้ค่ะ หาข้อแก้ตัวได้เพราะจ้างคนแพง แล้วตัวเองก็รับเงินเดือน ถึงอยู่ได้ Make sense ค่ะ
Cost of purchase previous business, how to deduct as expenses? ต้นทุนในการซื้อธุรกิจมาจากเจ้าของเดิม หักเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นไร.
ราคาที่เราซื้อเจ้าของเดิมจะต้องระบุว่ามีอะไรให้เราบ้าง เช่น มี เครื่องครัว 50000 มี เฟอรนิเจอร์ 10000 ที่เหลือ เป็นเงินกินเปล่า หรือเรียกว่า Goodwill หรือเป็นค่าตกแต่ง ก่อสร้าง Restaurant built out.
อุปกรณ์ และ เฟอรนิเจอร์ตัดไปเป็นค่าใช้จ่าย ที่ 7 ปี หรือ จะมากกว่านั้นในปีแรก ๆ ได้ค่ะ.
ส่วน Goodwill or Restaurant built out ตัดไป 15 ปีค่ะ.
Selling my business and go back to Thailand ขายธุรกิจกลับไทยหลังจากรวย
หัวข้อนี้ถามกันมาเยอะอีกละคะ ว่าขายจะมีภาษีไรมะ มีภาษีหลัก ๆ สองประเภทค่ะ.
Sales taxes – No ไม่มีภาษีขายค่ะ เพราะเป็น One time event (non recurring transactions) เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งเดียวไม่ได้ขายร้านทุกวันค่ะ.
Capital gain กำไรจากการขายร้าน มีค่ะ ถ้าขายมีกำไร
สมมตว่า คุณซื้อร้านมาได้ 5-7 ปีแล้วขายต่อ แสดงว่า คุณตัดค่าอุปกรณ์เป็นค่าใช้จ่ายหมดแระ ไม่เหลือไรและ เหลือแต่เงินกินเปล่า แล้วคุณขายร้านไปที่ 200000 หักโน่นนี่นันค่านายหน้าสารพัดเหลือ 180000. สงสัยแล้วใช่ปะคะ เสียภาษีจากการขายอย่างไร. เราก็ใช้ราคาซื้อมาทีแรกเลยค่ะ 100000 หักด้วยอุปกรณ์ที่เราถือเป็นค่าใช้จ่ายไปแระ 60000 (50000+10000) เหลือต้นทุน Book value at $21,333. Profit from selling business อยู่ที่ $158,666 ($180,000 – $21,333). กำไรตัวนี้ จะเสีย capital gain taxes at 15% ค่ะ ก็จะอยู่ที่ $23,800.
นี่คือตัวอย่างอธิบายให้ดูคร่าว ๆ ลึกกว่านี้ไปถาม CPA ส่วนตัวค่ะ บอกให้แค่หลักการกว้าง ๆ.
มีนักลงทุน ไม่สามารถต่อวีซ่าลงทุนได้นะคะ ไม่ใช่แค่ลูกจ้างเท่านั้น ควรจะศึกษาหาความรู้ให้มาก ๆ ค่ะ.
ส่วนตัวยังไม่เห็น ร้านที่นักลงทุนทำเจ๊งจนหมดตัว ส่วนใหญ่เขาไม่ไหว สองปี ก็ขายกันไปหาซื้อร้านใหม่ ทำเลใหม่กันก็มีค่ะ.
อ้อแล้วมาด้วยวีซ่าลงทุน เลี่ยงการแสดงรายงานภาษีแบบคนรายได้ต่ำ แล้วไปขอสวัสดิการของรัฐนี่ไม่สมควรอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะสวัสดิการมีไว้ช่วยคนทีนี่ ไม่ได้พูดแทนคนทีนี่นะคะ เรามองถึงความเหมาะสมค่ะ มาอยู่บ้านเมืองเขา นอกจากไม่จ่ายภาษีแล้วยังไป ทำตัวเป็นภาระรัฐบาลนี่มันไม่ดีเลยค่ะ.
มีโอกาสมากมายสำหรับนักลงทุน ลูก ๆ ได้เรียนโรงเรียนรัฐบาล ถึงมัธยมปลาย ฟรี ๆ เหมือนกับคนที่นี่ ถ้าคุณให้ลูกคุณเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ไทย ตกปีละ เท่าไรค่ะ มีตั้งแต่ 600000 บาท ถึง มากกว่าบ้านบาทค่ะ มาลงทุน คุ้มมากค่ะ. ถ้าคุณมาทำธุรกิจ ผลกำไร แม้ว่าหลังหักภาษีก็ยังสูง เทียบกับค่าเงินบาทที่บ้านเราค่ะ เช่นกำไรสุทธิปีละ แสนเหรียญหลังหัก ภาษี นี่มัน สามล้านกว่าบาทบ้านเราแล้วนะคะ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วด้วย แถมลูก ๆ ก็ได้เรียนสบาย ๆ ให้มองจุดนีค่ะ และประสบการณ์ในอเมริกา หาซื้อได้ด้วยเงินแบบที่เรายังพอหามาได้ คุ้มนะคะ. อย่าตัดช่องน้อยแต่พอตัวค่ะ มาด้วยวีซ่าลงทุน มีสิทธิทุกอย่างตามกฏหมายภาษีอากรค่ะ มีสิทธิได้เรียนหนังสือ เรียนภาษาต่อ เรียนมหาวิทยาลัย กรณี มีคู่สมรสมาด้วย อาจจะไม่ได้ดีกรีนะคะ เพราะ มาด้วยวีซ่าลงทุน ส่วนใหญ่ วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ไม่ให้ดีกรีนจนกว่าจะเป็นวีซ่านักเรียนค่ะ. แต่คุณสามารถเรียนคอร์ส และไปสอบเอาใบประกาศต่างๆ ได้เช่น พยาบาล นักบัญชี สารพัดอาชีพเลยค่ะ.
ให้ทำอะไรตามความเหมาะสมค่ะ อย่ามาก หรือ เยอะจนเกินไป จนทำให้ ล้น และไม่มีที่ระบาย “เยอะ” อาจจะดีระยะสั้น แต่ระยะยาว อาจจะเสียหายค่ะ.
“เยอะ” นอกจากจะเป็นที่รังเกียจของลูกจ้าง ลูกค้า คนรอบข้าง และยังเป็นที่ดึงดูดความสนใจกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น กรมสรรพากรอเมริกาค่ะ.
ส่วนตัว จะเลี่ยง กลุ่ม “เยอะ” ค่ะ เพราะ ตัวเองก็ “เยอะ” แระ ไม่ต้องการเพิ่มความ “เยอะ” ค่ะ มันไม่มีที่ระบาย.
มาอยู่อเมริกา ควรจะทำอะไร แบบรอบคอบ รัดกุม เพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพ “ใจ” และ “กฏหมาย”.
ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมให้ถามในฟอรัมนะคะ ผู้อ่านอื่นๆ ที่ไม่อยากเปิดเผยนามจะได้รู้ด้วย. หลังไมค์ยินดีตอบสำหรับกลุ่มลูกค้าค่ะ เพราะเนื่องจากหลาย ๆ เหตุผล รวมถึงค่าบริการด้วยค่ะ. ไม่ได้คิดเงินค่าปรึกษารายชั่วโมงอย่างไรค่ะ ไม่มีนโยบายค่ะ. การตอบปัญหาทางฟอรัมเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลสำหรับกลุ่มที่ต้องการหาความรู้ ทำบัญชีของร้านเอง หรือจ้างคนอื่นทำแล้วอยากรู้เพิ่มเติม และหรือต้องการความเห็นจากนักบัญชีอื่น ๆนอกจากนักบัญชีของตัวเอง. ความเห็นของนักบัญชีอาจจะไม่เหมือนกันแตกต่างกันออกไป ตราบใด ที่เป็นไปตามมาตราฐานการบัญชี และตามมาตราฐานภาษีอากร ก็สามารถทำได้ค่ะ.
อ่านเยอะ ๆ ค่ะ จะได้มีความรู้ พอมีความรู้ ก็มีวิธีการทำไรที่ถูกกฏหมายและปลอดภัยค่ะ เพราะว่าคุณรู้กฏ.
ที่มา : ประสบการณ์ส่วนตัวจากการทำงานด้านบัญชีและภาษีอากร
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย ขอย้ำ)
วันที่ : วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑, Tuesday, March 20th 2018
Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law. การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย
**I am not an attorney, this article is only for information and comments about taxes.**
**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรเท่านั้น.**