What you (not) GET from marrying US citizen?

What you (not) GET from marrying US citizen?

 คุณ (ไม่)ได้ อะไรบ้างจากการแต่งงานกับคนอเมริกัน?

 

 

ไม่ใช่มีแค่คนเดียวที่สงสัยว่า ถ้าฉันแต่งงานกับฝรั่ง อเมริกัน (รวมทั้งที่ไม่ใช่ฝรั่ง) แต่ได้สัญชาติอเมริกา  จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง  กฏหมายครุ้มครอง ด้านใดบ้าง. ที่สำคัญ บางกลุ่มอยากรู้ว่า ฉันจะได้สมบัติ ไรของเขามะ.

 

ตั้งใจที่จะให้ทุกคนได้รู้สิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการต่าง ๆ เช่น social security benefit & medicare บ้านเราก็มีเรียกว่าเงิน “สวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคม”  ถ้าเราเคยทำงาน ที่ไทย คนส่วนใหญ่ จะถูกบังคับตามกฏหมายให้หักเงินสวัสดิการออกจากเงินเดือน และพอเราชรา อายุ มากกว่า ห้าสิบห้า (๕๕) เราถึงจะได้สิทธินี้.

 

 

สวัสดิการและผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้อัตโนมัติจากการแต่งงาน มากกว่า สิบปี นั่นมีอยู่แล้วคะ.  กลุ่มที่แต่งงานกับทหาร ยิ่งได้ผลประโยชน์เยอะ ถ้าทหาร ออกมาทำงานเอกชนด้วย.

 

สมบัติที่ภรรยาหรือสามี มีมาก่อนแต่งงาน assets acquired before marrying (You)

 

กฏหมายว่าด้วย “มรดก” ของ ประเทศอเมริกา จากการที่อ่านมาเยอะแยะ และศึกษาค่อนข้างลึก ๆ มีว่า  ต้องทำตามรัฐที่บุคคลนั้นอยู่อาศัย.  ซึ่ง แต่ละรัฐกฏหมายเรื่องสมบัติจะไม่เหมือนกัน  และส่วนแบ่งจากการจากไปไม่เหมือนกัน.  บางรัฐ ถ้ามีลูกติด ก่อนแต่งงาน ลูกก็มีสิทธิ์ได้สมบัติ พ่อแม่ก็ได้ พี่น้องก็ได้  ภรรยา ใหม่ก็ได้ แต่จะไม่ทั้งหมด.

 

 

ถ้าเจ้าของสมบัติ  ได้มีการทำ “พินัยกรรม หรือ Will” ไว้ จะว่ากันไปตามที่ระบุไว้ในเอกสาร  มีบางกรณีเมียเก่าก็ได้สมบัติ  เพราะ สามีลืมเปลี่ยนพินัยกรรม เมียใหม่แทบไมได้อะเลยก็มี  ที่สำคัญ พี่น้องได้หมด เมียก็ไม่ได้ เพราะสามี ไม่อยากให้ (ว่างั้น).เนื่องจากเป็นสมบัติที่เขาสร้างมา เขามีสิทธิ์ที่จะให้ใครก็ได้.

 

การตั้งทรัส หรือ Trust ซึ่ง ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมเรียกว่า “Probate” ถ้ามีสมบัติมากกว่า ล้านเหรียญ อาจจะเสียอยู่ที่ อย่างน้อย สามเปอรเซ็นของมูลค่าสมบัติที่มี.  คนตั้งทรัส ก็ประหยัดในจุดนี้ไปเลย  แถม จะเอาสมบัติมาใช้ก็รวดเร็ว เหมือนติดจรวด  ซึ่งตรงกันข้ามกับสมบัติที่มีพินัยกรรม กว่าจะได้ใช้ก็เป็นปี.

 

ไม่มีทรัส และไม่มี วิลล์ หรือพินัยกรรม  กรณีนี้คือหัวข้อแรกที่บอก ต้องทำตามกฏหมายของรัฐนั้น ๆ ซึ่งเราสามารถ ถามอากู๋ได้แบบมั่นใจ  เพราะน้อยมากที่อาแกจะโกหกเรา ๆ ท่าน ๆ สรุปคือ อากู๋ หรือ Google ก็น่าไว้ใจในฐานข้อมูล ถ้าเรารู้จักเลือกที่จะอ่าน.

 

กรณีไม่มีเอกสารใด ๆ แล้วสามี เสียขณะที่แต่งงานกัน  กฏหมายไม่ได้ระบุว่า ต้องแต่งงานกี่ปีถึงได้สมบัติ  จากที่อ่าน ๆ มา  แต่สวัสดิการบางอย่าง อาจจะมีระบุไว้

 

ค่าเลี้ยงดู ถ้ามีการหย่าร้าง Alimony or divorce settlement

 

คู่ที่แต่งงานมานาน อีกฝ่ายไม่ได้ทำงาน ดูแลครอบครัวอย่างเดียวเป็น แม่บ้านหรือ พ่อบ้าน อาจจะมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้ มากน้อยก็ขึ้นอยู่ว่าแต่งงานมานานเท่าไรบางรัฐใจกว้างมาก ให้ค่าเลี้ยงดูเป็นรายเดือนมากกว่าสิบปี  บางรายทำให้อีกฝ่ายเจ๊งไปเลย ก็มี.  ปล.  ต้องมีทนายเก่งมากๆๆ เรื่องพวกนี้

 

โดยทั่วไปถ้าแต่งงานกันไม่นาน ศาลจะสั่งให้อีกค่าเลี้ยงชีพอีกฝ่ายเพื่อ สามารถยืนด้วยตัวเองได้  เช่น ให้ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเรียน แต่เงินไม่เกิน สอง ถึง ห้าปี. 

 

 

ตัวอย่างเช่น เพื่อน ฝรั่ง แต่งงานมานาน สิบกว่าปี  สามีฟ้องหย่า เพราะมีเมียไทยที่สวยกว่า  นางได้เงินไปเรียนจนจบมหาวิทยาลัย สี่ปี  ได้ค่าเลี้ยงดูบุตร นอกนั้นคือจบ  คือประมาณว่า ไม่ทำให้อีกฝ่ายร่ำรวยไรเลย  ศาลตัดสินให้แค่นี้คงทำไรไม่ได้มากมาย (นี่ขนาดฝรั่งนะคะ)

 

 

ถ้าแต่งงานช่วงสั้นๆ ต่ำกว่า ห้าปี นี่อย่าไปหวังไรมากมายกับสามี หรือ ภรรยาที่มีเงินคะ ศาลจะไม่ได้ให้อะไรคุณมากมายเลย  เว้นแต่คุณมีทนายเก่งสุดขั้ว หาวิธีให้คุณได้เงินมาก  ๆ เนื่องจากอีกฝ่าย ร่ำรวย.

 

ตอนนี้ถ้าใครกำลังเบื่อคู่สมรส หรือ แอบรู้ตัวว่าถูกเบื่อ กะจะฟันเงินเขาเต็มที่ ควรจะหาทางหนีทีไล่ เพราะ น้อยมากที่ศาลจะให้เงินกับอีกฝ่ายเพื่อตั้งตัวได้แบบซื้อบ้านเป็นหลัง  ศาลจะดูความเหมาะสม  จะมีการระบุสมบัติ หลัง ก่อนแต่งงาน เพื่อคำนวณมุลค่าเพิ่ม และหารสอง  สมบัติที่มีการขับเคลื่อนโยกย้ายภายในสองปี อาจจะถูกเอามารวม ถ้ามีทนายเก่งๆ เข้าช่วย  มีบางกรณี แอบถ่ายโอนก่อน แต่ศาลก็ตามหาจนเจอ เพราะอีกฝ่ายมิได้ ฉลาดน้อยเลย.

 

ให้ขอสิ่งที่มีเหตุมีผล  เช่น ขอเงินเรียนต่อ ขอค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าเรียนวิชาชีพ ขอแบบนี้มีสิทธิ์ได้เพราะศาลจะเห็นใจ (ตามที่เห็น ๆ มา).

 

สวัสดิการต่างๆ จาก รัฐบาลกลางและท้องถิ่น Federal & State benefits 

 

 

ข้อดีของการแต่งงานกับอเมริกันนั้น คือหลัก ๆ ด้านสวัสดิการพวก เงินรีไทม์เม้นที่รัฐบาลมีให้ สำหรับ คู่สมรสที่ไม่ทำงานเลย เรา ๆ รู้กันคือ Social security benefit นี่คือสวัสดิการ ที่ไม่เกี่ยวกับสมบัติ หรือพินัยกรรม หรือ ทรัสใด ๆ เลย  เราจะได้อัตโนมัติ  ถ้าเราอายุถึงเกณฑ์ที่ 62 ½ ปี และแต่งงานอยู่ไม่ได้หย่าร้าง  แต่งงานตอนอายุ 61 ½ ต่อมาอายุ 62 ½  ขอรับสวัสดิการได้ปกติคะ  ถ้าคุณเลือกรับเร็ว คุณจะได้ไม่เต็มครึ่งของคู่สมรสเรา.  ตัวอย่างนะคะ สามี อายุ 67 รับสวัสดิการที่เดือนละ สองพันเหรียญ($2,000)  ถ้าเรารอรับอายุ 67 เท่ากับสามี เราจะได้รับที่ หนึ่งพันเหรียญ ($1,000) นะคะ  แต่ถ้าท่านพี่ ทั้งหลายรับที่อายุ 62 ½ ท่านพี่ก็จะได้รับที่ ประมาณ ไม่เกิน 70% of $1,000 นะคะ.  มีพี่บางท่าน เลือกรับเร็วเพราะไม่คิดว่าจะอยู่นานๆ  ว่างั้น.

 

กรณีหย่ากัน  คุณต้องแต่งงานมากกว่า สิบปี ถึงจะขอรับสวัสิการตัวนี้ได้ค่ะ  ถ้าหย่าก่อนสิบปี ตามกฏหมายก็อดตามระเบียบ  ถึงแนะนำให้หางานทำของตัวเองคะจะได้มีสวัสดิการจุดนี้

 

กรณีคู่สมรสเสียชีวิต และไม่ได้แต่งงานใหม่ก่อนอายุ หกสิบปี (60) อันนี้ก็จะได้สิทธิ์เต็ม ๆ เลย เสมือนหนึ่งว่า สามีหรือภรรยารับเงินเองนะคะ  ตัวอย่างด้านบนนะคะ สามีรับเงิน ที่สองพัน ($2,000)  ถ้าเสียชีวิต ภรรยาก็จะได้รับ สองพันนั้นเมื่ออายุครบ หกสิบเจ็ด (67) นะคะ.

 

ทุกอย่างมีสูตรการคำนวณ มีกฏหมายรองรับนะคะ  ว่ากันด้วยกฏหมายปัจจุบันนะคะ.

 

ตัวเองคิดบวกคะ คาดว่าจะมีอยู่เรื่อยๆ สำหรับ Social Security Benefits เพราะ มากกว่าครึ่งของคนชรา อเมริกัน รับเงินสวัสดิการตัวนี้ตัวเดียวจริง ๆค่ะ.

 

 

เงินเพนชั่น หรือ รีไทม์เม้นของเอกชน และหรือรัฐบาลที่ไม่ใช่จากรัฐบาลกลาง

 

หลาย ๆ คนจะคุ้นเคยกับ รีไทมเม้นที่เรียกว่า 401(k) , IRAs สารพัดแผนทีเคยเขียนให้อ่าน

จะได้รับเงินตัวนี้ก็ต่อเมื่อ คู่สมรสไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้รับ ภรรยาจะได้อัตโนมัติคะ  แต่เรื่องจะยาว เพราะต้องพิสูจน์ไรเยอะแยะ         มีบางกรณี มีระบุชื่อภรรยาเก่าค่ะ ภรรยาปัจจุบันอดเลย สามีจากไป ลืมเปลี่ยน

 

 

เขาจะระบุให้ใครก็ได้คะ ไม่จำเป็นต้องภรรยา หรือลูก ๆ  อาจจะเป็น กิ๊กก็ได้นะคะ ใครจะไปรู้  ฉะนั้น  หาเวลาเผือกนิดหน่อย นะคะ จะได้ไม่เสียสิทธิ์  กรณีพึ่งแต่งงานกับเขาเนี่ย แล้วไปถามเรื่องพวกนี้เลย น่าเกลียดนะคะคุณ ระวังด้วยคะ.

 

 

ทหาร ตำรวจ กลุ่มทำงานราชการ จะมีเพนชั่นจากหน่วยงานเขาคะ เขาก็ระบุได้เช่นกันว่าจะให้ใครรับนะคะ  ถ้าเราแต่งงานกับเขาหลังเขาเกษียณแล้ว  เขาคงจะเปลี่ยนไม่ได้แล้วคะ  เพราะ การจะเลือก ว่าให้ใครบ้าง จะต้องเลือกก่อน ที่จะรับเงินเกษียณนะคะ.

 

 

บางหน่วยงานอาจจะเปลี่ยนได้ แต่ผลประโยชน์จะลดลง เพราะต้องเผื่อให้เมียใหม่นะคะ.

ถ้าเขารับเองก็จะได้แบบเต็ม ๆ เลย

 

 

Married outside America แต่งงานกันนอกอเมริกา

 

 

 

ถ้าจุดประสงค์  มีคู่สมรส หลายท่านถามาเยอะมาก ว่าแต่งงานกับอเมริกัน แต่ไม่เคยเข้าอเมริกา และไม่เคยมีใบเขียว  ไม่เคยอยู่อเมริกา ห้าปี  ถามว่าจะได้สิทธิอะไรบ้าง

 

สมบัติ  ได้แน่นอนคะ ต่างชาติสามารถรับสมบัติได้ตามปกติคะ  ให้ระบุชื่อให้ตรงในพินัยกรรม ควรจะมีค่ะ  ถ้าไม่มี คุณคงจะได้สมบัติเขายากคะ  เพราะ คุณไม่มีตัวตนในอเมริกา และการแต่งงานของคุณเกิดขึ้นนอกอเมริกา  ยังไม่มีการปรับสภาพเข้ามาอเมริกา ฐานข้อมูลคุณก็ไม่มี คุณจะมาฟ้องร้องไรคงสู้ญาติฝั่งนี้ไม่ได้คะ ถึงให้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เรียบร้อย หรือ ทำทรัสไว้เลยคะ.

 

เงินสวัสดิการทหารเกษียณ ข้อนี้จะแตกต่างคะ ต้องให้สามีระบุชื่อด้วยคะ พวก เพนชั่นต่าง ๆ เงินสวัสดิการกรณีเสียชีวิต ไม่ต้องระบุชื่อได้คะ ต้องทำเรื่องเข้าไปยังหน่วยงาน แต่คุณควรรู้ว่าหน่วยงานไหนบ้าง ถามสามีคะ ให้ศึกษาข้อมูลไว้เลย 

 

เงินสวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคม Social security benefits  เงินจุดนี้ ถ้าสามียังไม่เสียชีวิต คุณไม่สามารถได้เงินครึ่งหนึ่ง ถ้าคุณไม่มีกรีนการ์ดค่ะ  คุณต้องเคยมาอาศัยอยู่อเมริกาคะ ถึงจะได้สิทธิ์ ต้องใช้ Social security number (SSN) เพื่อติดต่อขอรับ แถม อยุ่นอกประเทศนานกว่า หกเดือนก็ไม่จ่ายค่ะ ถ้าคุณมีกรีนการ์ด  ฉะนั้น คุณไม่เคยเข้ามาอยู่อเมริกาเลย ก็หมดหวังคะ

 

กรณีเสียชีวิต คุณจะได้ค่าทำศพแน่นอนคะ  ถ้าสามีคุณเป็นทหาร และเสียชีวิตภายในหน้าที่ ในฐานะภรรยาแม้ว่าคุณไม่เคยเข้าอเมริกา  คุณและบุตรสามารถขอรับเงินได้คะ  อันนี้คือข้อยกเว้นคะ   เรียนรู้และทราบระเบียบไว้คะ  ไม่ได้แช่งคู่สมรสคะ แต่ให้เตรียมตัวให้พร้อม

 

อย่าหวังน้ำบ่อหน้า

 

 

ถ้าจุดประสงค์ของการแต่งงานกับอเมริกัน เพื่อชีวิตจะดีขึ้นนั้น ยังพอฟังได้คะ  เพราะ การได้มาอยู่ที่นี่ทำให้เรามีโอกาสที่จะสร้างตัวมากขึ้น ทำงานได้เงินมากกว่า มีชีวิตที่ดีกว่า. 

 

 

แต่ถ้าเราแต่งงานกับเขาแล้วหวังให้เขา ส่งเสียครอบครัวเรา มีเงินเดือนให้เราใช้ประจำ ให้พึง สำรวจ คนที่เราแต่งงานด้วยว่า รวยจริงปะคะ.  คนรวย เขาก็ฉลาดในการเลือกคู่สมรสคะ  พอเห็นบ้างคะ รวย พ่อแม่ตาย สมบัติเยอะ ฉลาดน้อย ทุ่มให้หญิงหมดก็มีคะ  แต่น้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  คุณต้องทำบุญมาเยอะจริงๆ ถึงจะเจอสามีเช่นนี้นะคะ 

 

 

แต่งงานกับเขา หวังจะเรียกค่าสินสอดแพง ๆ ตามธรรมเนียมคนไทย ก็พึงระวังด้วยคะ ที่นี่อเมริกา เขาไม่มีการจ่ายสินสอดคะ  การแต่งงาน ฝ่ายหญิง จ่ายค่างานเลี้ยง  ฝ่ายชาย จ่ายค่าแหวนหมั้นคะ   แต่มีบางกรณี ฝรั่งทุ่มเต็มที่ค่าสินสอด หลัก ล้าน จัดงานใหญ่โตก็มีค่ะ ได้แบบนี้ก็โชคดีไปคะ  มีเจอบ้างเหมือนกันคะ ตามเฟคบุคโพสส์รูปแต่งงานสวยงาม  แต่ไม่รู้ ว่าอยู่ด้วยกันนานแค่ไหน  ถ้าอเมริกัน รวยไม่จริง ก็อย่าหวังเลยคะ  ว่าจะได้จุดนั้น. 

 

 

ควรจะมองโลกในแง่ของความเป็นจริงค่ะ  คนที่นี่เขาทำงานสร้างตัวเอง  ส่วนใหญ่พ่อแม่ไม่มีสมบัติอะไรให้มาเขาทำงานหนัก เก็บออม เพื่อจะได้เกษียณ  แล้วคนส่วนใหญ่ก็เป็นชนชั้นกลางคะ ไม่ได้ร่ำรวยกันหมด.  ฉะนั้น ถ้าจะคาดหวังว่าแต่งงานกับอเมริกัน แล้วจะได้อยู่บ้านเป็นคุณนาย ซึ่งก็มีเห็นๆ  ค่ะ ก็จงหาต่อไป เพราะมีอเมริกันหลายคนทำหน้าที่สามี ทำงาน สองสามที่ เพื่อดูแลครอบครัวก็มีคะ. ในฐานะคู่สมรส เราจะทนให้เขาทำงานหนักขนาดนั้น เพื่อส่งเสียครอบครัวด้วยเหรอคะ  คนรักกัน ต้องช่วยเหลือกันคะ. แต่ก็มีอยู่คะ ที่สามี ทำงานดีระดับผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ทำงานครั้งเดียว เงินเหลือเฟือ (น้อยมากๆๆ ).

 

 

โชคดีนะคะทุกท่านและก็คิดให้หนัก ๆ และเยอะ ๆ ก่อนตัดสินใจแต่งงานนะคะ.

 

 

 

เรียบเรียงโดย                         : คนที่แต่งงานกับอเมริกัน เพราะหลายเหตุผลที่คล้าย ๆ กับคนอื่นๆ

ที่มา                                         : ประสบการณ์ รับฟัง ค้นคว้า วิเคราะห์

วันที่                                        : วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560, Monday 13th , November 10 2017