Personal financial planning

Personal financial planning

 เราควรรู้อะไรบ้างในการวางแผนทางการเงิน

 

 

งานนี้เหมาะกับคนที่มีระเบียบ หรือไม่เคยมีระเบียบเลย แล้ว อยาก ตั้งตัวได้บ้าง ตอนชราจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก หรือ มีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่ายังไม่ชรา. หลายคนประสบปัญหาแบบว่า มีเท่าไร จ่ายไปหมด และก็จำเป็นมาก ๆ แทบไม่ได้ฟุ้งเฟ้อเลย แต่เงินไม่เหลือ  หลายคน ทำตัวเอง  แทนที่จะมีเงินใช้จ่าย สบาย ๆ มากกว่านี้ กลับไม่เหลือ เพราะ ฟุ่มเฟือย ในสิ่งที่ไม่จำเป็น.  ถ้าเราไม่เก็บออมตอนนี้ ตอนที่เรามีกำลังทำงาน เราจะทำได้ตอนไหนละเนอะ  บางคนอาจจะทำงานไปจนแก่แบบมีความสุข อันนี้ก็ทางเลือก ส่วนตัวคะ. ข้อเขียนนี้เหมาะกับคนกำลังสร้างตัวและเก็บออมนะคะ.

 

โดยทั่วไป กลุ่มที่มีการวางแผนทางการเงินดีอยู่แล้ว เขาจะรู้ว่า ทำงบประมาณกันไง  เก็บออมเท่าไร  สำหรับใช้เมื่อตอนเกษียณ หรือ การเก็บออมเพราะอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง.  ถ้ามีใครบอกเราได้หมด ทำไง ถึง รวย ทำไง ถึงจะเกษียณแบบสบาย ทำไง มีเงินใช้จ่ายท่องเที่ยวแบบสบาย ๆ มันคงจะดีนะค่ะ.  เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ความชอบส่วนบุคคล และความถนัดของแต่ละคนด้วยคะ.

 

*เงินที่ฉันได้มาแต่ละเดือน แต่ละ ปี ฉันควรจะใช้เท่าไร*

 

 

คราวก่อน เคยแนะนำให้แต่ละครอบครัว ทำงบประมาณ คร่าว ๆ เพราะจะช่วยให้เราได้รู้ถึง รายได้ของเราแต่ละเดือน และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประจำ แบบเลี่ยงไม่ได้ เราจะได้รู้ว่า อนาคต แสนใกล้เป็นเช่นไร    มีหลายคน ติดต่อมาขอ ตาราง ง่าย ๆ เพื่อทำ ก็ให้ไปคะ.   มีกฏที่แนะนำ จากเวบไซด์ทีอ่านมา ลองใช้ดูนะคะ . 50/15/5 rule of thumb.

 

  • 50% สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง คนรับเงินเดือน หรือ เป็นเจ้าของกิจการ สมมุตว่ารายได้คุณหลังหักภาษีแล้ว หลังหัก ค่าอาหารแล้ว ค่าเดินทาง เรามีพอที่จะเหลือ ครึ่งหนึ่งมะ  ลองคำนวนดูนะคะ  ถ้าทำได้แบบนี้ สวรรค์เลย  เช่นนะคะ เงินเดือน 5000 หัก ภาษี ค่าโน่น นี่นั่น สารพัด เหลือ 2500 ปะ หลังค่าอาหร ค่าเดินทางนะ คงยากเนอะ แต่ไม่ลองไม่รู้คะ

 

  • ฝากเข้ารีไทม์เม้น ให้ได้ 15 เปอรเซ็นของรายได้ ทำได้ปะคะ คนทำงานประจำ จะมีนายจ้าง สมทบพวกกองทุนต่าง ๆอยู่ที่ 4-10 เปอรเซ็น ส่วนใหญ๋จะอยู่ที่ 6 เปอรเซ็น เราฝากเข้าสัก 11 เปอรเซ็น ได้ปะคะ

 

  • เก็บส่วนตัวแยกไว้สัก 5 เปอรเซ็น เปิดบัญชีแยกต่างหากไว้เลยก็ได้คะ ถ้าเป็นไปได้ เยอะเหมือนกันเนอะ กลุ่มหนี้เยอะอย่าเพิ่งคะ ใช้หนี้ก่อน อันนี้เหมากับกลุ่มไม่มีหนี้.

 

แล้วเงินที่เหลือ นะ ก็จัดไปเที่ยวได้เลยคะ หาความสุขใส่ตัว ถ้ายังมีหนี้เยอะอยู่ก็เที่ยวได้คะ ฝากลดลงหน่อย แต่อย่าเพิ่มหนี้ให้มากขึ้นเท่านั้นเอง

 

Read Viewpoints on Fidelity.com: 50/15/5: a saving and spending rule of thumb

 

*ฉันจะฝากเงินออมเท่าไร ให้พอเมื่อเลิกทำงาน*

 

 

อย่ารอแต่เงินจาก social security นะคะ มันไม่ได้เยอะไรมากมายให้เรารอคอย ถ้าได้ถือว่ากำไรชีวิตดีกว่าคะ  แม้ว่า คนแก่ ปัจจุบันหลายคน มีแต่เงินก้อนนี้เท่านั้น บางท่านก็พอใช้  บางท่าน ลูก ๆ หลาน ๆ ต้องสนับสนุน อย่างเป็นทางการ เราอย่าเป็นเช่นนั้นเลยคะ พอชรามา อย่าหวังพึ่งใครมากมาย ถ้าได้ถือว่าเป็นกำไรดีกว่า  คนไทย กตัญญูนะคะ ดูแลพ่อแม่  อันนี้ดีนะคะ แต่ไม่ค่อยมั่นใจกลุ่มลูกครึ่งคะ  (รอดูลูกตัวเองอยู่เช่นกัน)..

 

ลองดูตารางคร่าว ๆ อายุเรานะคะ ว่าเราอยู่จุดไหน เช่น นะคะ อายุ 30 เราก็ฝากเข้าอย่างน้อย 10 เปอรเซ็นขึ้นคะถึงจะพอ

 

10x retirement rule1

 

By age Save
30 1x your salary at age 30
35 2x salary at 35
40 3x salary at 40
45 4x salary at 45
50 6x salary at 50
55 7x salary at 55
60 8x salary at 60
67 10x salary at 60
See footnote number 1 at the end of the article for more details.

 

 

Read Viewpoints on Fidelity.com: How much do I need to save for retirement?

*ปีหนึ่งเราจะฝากเงินออมเท่าไรดี

 

โห ถ้าใครรู้ว่าจะฝากเงินเท่าไร ก็คงจะงดงามนะคะ เพราะ รายได้ ค่าใช้จ่ายมันผันผวน ตามรายได้ที่เข้ามา และภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว  บางคนรายได้เยอะ ภาระเยอะ ลูกเยอะ เมียเยอะ ไรเงี๊ยะ  แถม หนี้เยอะอีก แทบไม่เหลือเลย.  โดยเฉพาะกลุ่มที่เคย หย่า ส่วนใหญ่มีหนี้ มีค่าเลี้ยงดู สารพัดคะ

 

ถ้าแต่ละคนสามารถฝากเงินเข้ากองทุน เกษียณได้ที่ 15%  ของรายได้แต่ละเดือนนี่คือ หรูแล้วนะคะ  ถ้ามากกว่านี้ก็งดงามตามท้องเรื่องคะ..

 

Read Viewpoints on Fidelity.com: How much should I save each year?

*เรามีเงินเก็บพอจะส่งลูก ๆ เราเรียนมะ

 

ส่วนใหญ่ หลาย ๆ คน ก็มีครอบครัวกัน มีลูก ๆ มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ความคิดและความเชื่อ  ส่วนเราก็มีลูก ๆ ที่ต้องคอยสั่งสอน และ ให้ความรู้เรื่องการศึกษา และรับปากลูกไว้ว่า มะม๊าจะส่งเรียนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้ จะได้เปิดโอกาส เปิดหูเปิดตา มองโลกกว้าง ๆ และไม่เป็นภาระของสังคม.  พร่ำสอนว่า แม่นั้นเกิดมาแบบชาวนา ยากจน การศึกษาเท่าน้นที่ทำให้แม่อยู่ในกลุ่มคนชนชั้นกลาง ทั้งไทย และ อเมริกา ถ้าไม่มีจุดนี้ก็คงจะยาก.

 

ที่อเมริกา มีกองทุน เพื่อการศึกษาของเด็ก ๆ เยอะแยะ นิยมกันมากคือ 529 college saving plan ที่เอาไว้จ่ายค่าเทอม ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เงินที่ฝากงอกมาเท่าไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี หรูหรามาก  เพื่อนฝรั่งที่ทำงาน ก็ทำกันเยอะ.

 

จะฝากเองก็ได้คะ แยกเงินไว้ต่างหาก ให้สำหรับการศึกษา เช่น มีซื้อกองทุน หุ้นดี ๆ ไว้ให้เขา (ห้ามบอก) แค่บอกเกริ่น ๆ พอ ว่ามีกองทุน พอกอ  ไม่ใช่กองทุน กอพอของราชการไทย.

 

Read Viewpoints on Fidelity.com: Are your college savings on track?

*ฉันอยากจะซื้อบ้าน ฉันจะซื้อบ้านได้ที่ราคาเท่าไร

 

บ้านหลังแรกที่เราจะซื้อเนี่ย ควรอยู่ในระดับราคาเท่าไรดี  ที่เราไม่ต้องเดือดร้อน แบบอยู่ เที่ยวได้สบาย ๆ .  มาดูกันสิว่า รายได้ปัจจุบันเราอยู่ที่เท่าไร ใช่ปะคะ.  .

 

ขั้นตอนแรก เก็บเงินดาวน์บ้านก่อนคะ  จะได้หายห่วง ซื้อบ้านแบบไม่มีดาวน์ส่วนใหญ่ทหารเท่านั้นคะ ทำได้  เราดาวน์บ้านไปเท่าไร ทำให้เรามี ทุน หรือ equity in your home มากเท่านั้นนะคะ.

 

สำหรับกลุ่มไม่มีหนี้มากนะคะ ถ้าเราซื้อบ้านมูลค่า ราคาบ้าน ไม่เกิน สี่เท่าของเงินเดือนต่อปี หรือรายได้ ต่อปี นี่นักวิแคราะห์บอกว่า หรูหราแล้วคะ  เช่น เรารายได้ปีละ $100,000 นะคะ เราหาบ้านเราคา $400,000 นี่คือแบบว่าสบาย ๆ เลย .  แนะนำเพิ่มอีกว่า เก็บเงินสักปีสองปีหรือสามปี ให้ได้ สัก ก้อน พอดาวน์ที่ 20% of $400,000 = $80,000 นี่ ถ้าทำได้ก็สุดยอดค่ะ

 

กรณีกลุ่มมีหนี้นะคะ  หนี้มาก ๆๆ ไม่ควรมองหาบ้านที่เราคาแพงกว่า สามเท่าของเงินเดือนท่านคะ  เช่นตัวอย่างข้างต้น ราคาบ้าน ควรจะไม่เกิน $300,000 ประมาณนั้นเลย

 

ถ้าเราแบบไม่มีหนี้เลย ไม่มีจิรง ๆ มองหาบ้าน ที่ราคา มากกว่า ห้าเท่า (5) times of your annual income ได้สบายเลย ว่าตามเขานะคะ เราเห็นด้วยนะคะ เลยต้องเชียร์    และก็วางดาวน์ไปเลยค่ะ 20% of your home price “

 

Read Viewpoints on Fidelity.com: How much house can I afford?

 

นี้เลยเรื่องเงิน ๆ ทอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างไม่ซับซ้อน ทุกคนเข้าใจได้ดีมาก คนถึงร่ำรวยมีฐานะมั่นคงกันไปหมด แบบไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใคร. จริงๆ แล้ว ความเข้าใจทางการเงินของแต่ละคน ก็จะแตกต่างกันออกไปตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์.  หัวข้อนี้สำหรับกลุ่มที่มองหาคำแนะนำและทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนมากขึ้นนะคะ. หลายๆ เรื่อง เราไม่ต้องไปนั่งจ้างที่ปรึกษา คอยบอกให้เราทำโน่น นี่ นั่น ตลอดเวลา  การมีความรู้ขั้นพื้นฐาน และความตั้งใจที่จะทำ เราสามารถทำได้คะ.

 

คนที่ใช้มืออาชีพเป็นที่ปรึกษา คือ กลุ่ม รวย รวยมาก รวยมาก ถึงมากที่สุด นะคะ  คนรวยน้อย น้อยมาก และถึงมากที่สุด อาจจะไม่มีกำลังเงินที่จะจ่ายให้ใคร ๆ  เราก็อาศัย ข้อมูลสารธารณะฟรี ๆ กันนี่แหละค่ะ แบ่งปันกันไปตามความรู้ที่มี  เพื่อเราจะได้ยกระดับ สังคมไทยใน อเมริกา ให้สูง ๆ ขึ้นนะคะ.

 

.เรียบเรียงโดย     : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา                                         : Fidelity Investment , personal experiences

วันที่                                        : วันศุกรที่ 10 พฤศจิกายน 2560, Friday, November 10 2017