Saving & Investing การออมและการลงทุน
ใครก็ได้ที่มีโอกาสทำงานหรืออาศัยในอเมริกา สามารถลงทุนตามกองทุน หุ้นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เงินมีที่มีที่ไป สะดวกต่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ . จากที่ศึกษามาตอนแรกแทบไม่เชื่อว่า อเมริกัน มากกว่าครึ่ง ไม่มีเงินออม เงินลงทุน รีไทม์เม้นเลย ที่อยู่ได้คือเงินจากสวัสดิการ social security benefit เท่านั้น อยู่อย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ เพราะมีเท่านี้. หลายคนอาจจะมีความสุขในสิ่งที่พึง มีแต่อีกหลายคนก็ลำบาก เพราะ เงินได้รับจากสวัสดิการนั้นน้อยมาก.
ทำไม๊ ทำไม เงินนั้นจึงสำคัญมากมาย เงินช่วยอำนวนความสะดวกนะคะ เงินเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยน อาหาร เสื้อ ผ้า ค่ารถ ค่าเดินทางคะ ปราศจากจุดนี้ เราก็ลำบากนะคะ จะไปขอแต่สวัสดิการรัฐ รัฐก็ไม่ได้ให้ทุกคนนะคะ รัฐก็มีงบประมาณจำกัด ถ้ามีแต่คนขอสวัสดิการรัฐ แล้วไม่ทำงานทำการ กัน รัฐจะเอาเงินที่ไหน มาจ่ายสวัสดิการใช่ปะคะ. บางรัฐล้มละลายก็มีเยอะนะค้า ต้องตัดงบประมาณสารพัด เดี๋ยวนี้ดีขึ้นแล้วคะ เพราะเศรษฐกิจดีขึ้น คนทำงาน ใช้จ่าย เก็บออมมากขึ้น.
เรามีโอกาส มาอยู่แล้ว ค่าเงินก็สูงค่าที่ไทยมาก ค่าใช้จ่าย พวก อาหารการกินนั้น ไม่แตกต่างจากบ้านเราเลย แต่พวก ค่าบ้าน ค่าเช่าอาจจะแพงกว่า. ถ้ามีโอกาสก็เก็บออมคะ ลงทุน ซื้อหุ้น นิด ๆ หน่อย ก็งดงามละคะ ไม่มีการสายสำหรับการลงทุน และเก็บออม นะคะ.
มาเข้าเรื่องเกี่ยวกับหลักการออมคร่าว ๆ กันนะคะ
1. Keep a long-term view ให้มองการไกลในการออมและการลงทุน
ช่วงเศรษฐกิจแย่ๆ หลายคนคงจำได้ว่า หุ้นตกมาก เงินกองทุน รีไทม์เม้นต่าง ๆ ตกต่ำแบบสุด ๆ หลาย ๆ คนรีบขายเอาเงินสดมาเก็บไว้ ตัวอย่างคือ พ่อของแฟนที่เสียชีวิตไปแล้ว (ถ้าฮีไม่ขาย ป่านนี้หุ้นคงกลับมามากกว่าเดิม)
วิกฤติทางการเงินเริ่มต้นปลายปี 2007 จนถึงปี 2009 (จริง ๆ แล้วยาวมาจนถึง2013 โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ) หุ้นตกระเนระนาด แบบจนหลายคนคาดว่า ชาติไหน มันจะฟื้นนะเนี่ย ช่วงนั้น เราก็คิดคล้าย ๆ นะ แต่ไม่ค่อยตระหนก เพราะมีรีไทม์เม้นนิดเดียวจากที่ทำงานแรก ในอเมริกา. ที่ไหนได้ สิบปีต่อมา หุ้นพุ่งกระฉูด มากกว่าที่เคยฉุดก่อนตกช่วงปี 2007 (อ้างอิงจากสถิติของ S&P หาอ่านเอง อิอิ).
ตัวอย่างที่อ่านจาก Fidelity เมื่อปี 2007, กลุ่มคนที่ไม่ขายหุ้นและถือไว้จนปี 2017ก่อนหุ้นจะตก มูลค่าหุ้นอยู่ที่ $115,000 ในเดือนมิถุนายนปี 2007 หุ้นตกมาที่ $85,000 ในปี 2009. รู้ปะคะ คนที่ถือหุ้นไว้ไม่ได้ขาย แบบ หวานเย็น ใจเย็น หุ้นฟื้นขึ้นมาที่ $315,000—ประมาณว่าขึ้น สามเท่าภายใน 10 ปี.
2. Don’t panic อย่าตื่นตระหนกตกใจ
ช่วงวิกฤติทางการเงิน หลาย ๆ คนหยุดเก็บเงินสำหรับ รีไททมเม้นท์ เพราะไม่กล้าลงทุน เพราะหุ้นตกมาก เก็บเงินสดไว้ดีกว่า หรือ หลายคนตกงาน แทนที่จะเก็บ ยังต้องดึงเงินรีไทม์เม้นออกมาใช้ เพราะไม่มีทางเลือก. บางกลุ่มที่โชคดีมีงานการทำมั่นคง แต่ใจเย็น ก็ฝากเงินต่อ ซึ่งกลุ่มนี้ได้เปรียบมาก. กลุ่มที่ไม่ได้ฝากเลย ทั้งที่มีเงิน กลายเป็นว่าขาดโอกาส “รวย” เพราะความกลัว ตลาดหุ้น ซึ่งไม่น่าออกความเห็น เพราะ เป็นคนคิดต่างจากเรา ตัวเองเป็นคนใจเย็นคะเรื่องการลงทุน เพราะ ลงทุน เฉพาะ ส่วนที่คาดว่าจะไม่ดึงเงินออกมาใช้ และจะเก็บไว้ระยะยาว แม้ว่าจะไม่มากมาย แต่ก็แอบมั่นคง แบบภาคภูมิใจ.
รู้ปะคะ จากสถิติ ของ Fidelity ระบุไว้ว่า หุ้นขึ้นถึง 157% สำหรับเดือนมิถุนายน 2017. ซึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีหุ้นตั้งแต่หุ้นตก นั้น ขึ้นมามากถึง 240% สำหรับคนที่เพิ่งซื้อหุ้น เมื่อสองสามปีที่ผ่านมาก็ขึ้นนะคะ อยู่ที่ 191%, เริดนะคะ แต่ยังสู้คนที่เก็บหุ้นไว้ หรือซื้อหุ้นช่วงตลาดหุ้นตกต่ำไม่ได้เลย.
3. Manage risk with a mix of investments พยายามลงทุนแบบหลากหลาย
การเลือกการลงทุน โดยการผสมหุ้น ที่หลากหลายจะช่วยให้เรากระจาย ความเสี่ยงได้อย่างดี.
จากสถิติ กลุ่มที่ กระจายความเสี่ยงต่อการลงทุน หลังจาก ช่วงเศรษฐกิจแย่ ๆ จะดีกว่ากลุ่มที่ลงทุน เฉพาะ หุ้น หรือ ตราสารหุ้น Bond อย่างใด อย่างหนึ่ง.
คนรุ่นใหม่จะเล่นหุ้น พวก target date funds ซึ่งน่าสนใจมาก ส่วนตัวเอง จะเล่นหุ้นพวก high risk high return, พวก เทคโนโลยี และก็หุ้นฝั่งเอเชีย ในพอร์ตที่มีให้เลือก. สรุปคือหุ้นขึ้นแบบสม่ำเสมอ และน่าภูมิใจ.
4. Save more เก็บออมให้มากที่สุด
การลงทุนระยะยาว อย่างเช่นกลุ่มที่ ไม่ถอนเงินลงทุน ยังถือไว้ในหุ้น ช่วง เศรษฐกิจแย่ แม้ว่าจะไม่ฝากเพิ่ม ทำได้ดีมาก เพราะ เงินลงทุนเพิ่มสูงขึ้น กว่าที่ผ่านมามากมาย. กลุ่มนี้จะเก็บออม ตลอด เล็ก น้อย ก็ตามสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว
5. Consider a partner ถ้าไม่รุ้จะเริ่มตรงไหน ปรึกษาผู้รู้
เท่าที่ทราบมีหลายคนมาก ที่ถามมา อยากให้สอนเรื่องการลงทุน ซึ่งก็บอกไป ว่าเป็นคแค่มือสมัครเล่น ไม่ใช่มืออาชีพ และเล่นหุ้นระยะยาว เท่านั้น. ถามได้ก็ตอบได้ทั่ว ไป เช่น เล่นหุ้นตัวไหนดี ณ เวลา ที่ถาม หุ้นตัวไหนดีที่สุด ถ้าไม่ได้ซื้อก็ไม่รู้คะ จะเชค จาก S&P , Nasdq, or Down jone industry.
หรือไม่ก็ลงทุนกับกองทุนขนาดใหญ่ ของบริษัทต่าง ๆที่มี พอร์ตให้เลือกนะคะ . แหวน ก็ใช้พวก Fidelity กองทุนใหญ่ ๆ อื่น ๆ ด้วยคะ.
การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณ เป็นสิ่งที่ดี คะ เราจะได้ไม่เร่งรีบเดือดร้อน ทำงานหนักตอนแก่ จะได้เที่ยว ทำงานเบา ๆ จริง ๆ แล้ว เราควรจะเริ่มเที่ยว เมื่อเรายังอายุไม่มากนะคะ มีตัวอย่างจากคนรุ่น ใหญ่ แนะนำมากว่า You need to enjoy your life whenever you can, when you are our ages, it is very hard to move เขาบอกมาประมาณนี้นะคะ.
ที่มา : Fidelity investment & ประสบการณ์ส่วนตัว
เรียบเรียงโดย : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์
วันที่ : วันเสาร์ 28 ตุลาคม 2560, Saturday, October 28th 2017