Self-employed medical insurance

Self-employed medical insurance

ค่าประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มเจ้าของกิจการ

 

ว่าด้วยค่าประกันสุขาภาพ สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานบริษัท เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ๆ แล้วซื้อประกันเอง กลุ่มนี้ จะทำภาษีประจำปี ระบุว่ามีกิจการคะ โดยใช้แบบ Schedule C, C-EZ, or F; รวมถึงหุ้นส่วนทั่วไป  และกลุ่มเจ้าของกิจการ LLC Schedule K-1 of Form 1065;  รวมไปถึงเจ้าของกิจการ S-Corp ที่มีหุ้นมากกว่า 2% รวมถึงพนักงานที่รับ Form W-2, อาจจะหัก ได้ (พูดถึงไปอีกหัวข้อหนึ่งแล้วคะ)

 

กลุ่มที่พูดไว้ สามารถใช้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับประกันสุขภาพมาใช้ได้ในการทางภาษีอากรคะ.  สำหรับกลุ่มเจ้าของกิจการ เน้นนะคะ ว่าแผน เรื่องประกันสุขภาพนั้น ต้องเป็นนโยบายของกิจการคะ . กรณีเจ้าของ S Corp ที่ให้กิจการจ่ายค่าประกัน ก็ต้องเอามารวมเป็นรายได้ของเจ้าของด้วยคะ แล้วค่อยเอามาหักออกเมื่อมีการคำนวณภาษีเงินได้อีกที .

 

กรณีกลุ่มที่ไม่ใช่เจ้าของกิจการ แล้วมีประกันสุขภาพจากนายจ้าง แต่ไม่มี แบบ long-term care insurance เราสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายเองมาหักออกได้เช่นกันคะ คนละเกณฑ์ กับกลุ่มเจ้าของกิจการ. ตัวอย่างนะคะ เรากับครอบครัว มีประกันสุขภาพจากนายจ้าง ซึ่งไม่ได้เสนอ ให้มี โปรแกรม ประกันสุขภาพระยะยาว แล้วเราซื้อกันเองนะคะ เราก็เอามาหักได้ปกติ under Internal Revenue Code Section 401(c).
 

 

Schedule C แบบฟอร์มทางภาษีสำหรับคนมีกิจการ

 

 

ถ้าเราไม่ได้จดทะเบียนรูปแบบใด ๆ เลย เราจะใช้ฟอร์ม Schedule C (Form 1040), Profit or Loss from Business or Schedule C-EZ (Form 1040), Net Profit from Business, เพื่อที่จะรายงานรายได้ และ ค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ  ของธุรกิจเรา.  เราจะไม่นำค่าประกันสุขภาพ ที่จ่ายในนามธุรกิจมาหัก ในส่วนของกิจการนะคะ ขอย้ำ เว้นแต่เรามีพนักงาน แล้วจ่ายให้พนักงานคะ (แยกออกมาคนละประเด็น) .

 

 

ค่าประกันสุขภาพ เราจะมาหักที่ page 1 of the Form 1040, U.S. Individual Income Tax Return. และก็ห้ามหักเป็นค่าใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ของเราคะ  เช่น เรามีรายได้กำไรสุทธิจากธุรกิจที่ $10,000 เราหักค่าใช้จ่ายประกันสุขภาพได้ที่ $10,000 ค่ะ จ่ายมากกว่านีก็หักไมได้นะคะ. กรณีซื้อประกันผ่าน รัฐบาล คุณต้องรายงาน พรีเมี่ยมแยกนะคะ refer to Publication 974 to compute the SE Health Insurance Deduction amount.

 

An exception มีข้อยกเว้น เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ กรณี ที่ภรรยาเป็นพนักงานของกิจการด้วย  ค่าประกันถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการทั่วไป ถ้าทำหน้าที่ เหมือนพนักงานทั่วไป ไม่มีสิทธิพิเศษใด ๆ. 

 

ห้ามงงนะคะ  เพราะปกติค่าประกันสุขภาพ ของกิจการ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการค่ะ หัก ออกจากรายได้ และกำไรสุทธิ นำมาคำนวณภาษีตามปกติ

 

กรณี ที่เจ้าของกิจการ จ่ายค่าประกันของตัวเอง ในนามกิจการนั้น ไม่ได้รวมเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการคะ  แต่จะอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่ายส่วนตัว แยกออกมา เพื่อหักออกจากรายได้ทั้งหมด เช่น กิจการ เจ้าของคนเดียว  มีรายได้จากหลาย ๆ ธุรกิจ ก็นำมารวมคำนวณรายได้  ส่วนค่าประกันก็หักออกจากรายได้ ก่อนภาษีคะ

 

ถ้างง อีก ก็จ้างเขาทำ ก็จบ คะ . เอวัง ด้วยประการ ล ฉะนี้

 

(NOTE: Community property states  เช่น แคลิฟอเนีย เนวาด้า ฟอริด้า เท็กซัส วอชิงตัน และอีก หลายรัฐ แม้ว่าภรรยาไม่มีชื่อในธุรกิจ แต่ก็ถือว่าภรรยามีธุรกิจ ครึ่งหนึ่ง 50% owner แม้ว่า ทรัพย์สินจะแยกออกจากส่วนตัวกับกิจการ อย่างสิ้นเชิง ก็ยังถือว่า ประกันสุขภาพของภรรยา คือส่วนของสามี ดังนั้น ถ้าภรรยาทำงานในกิจการรับเงินเดือน เหมือนพนักงานทั่วไป ก็ยังไม่ได้สิทธิเหมือนพนักงานคนอื่น.)

 

เพิ่มเติม ด้วยความห่วงใย Additionally:

 

 

เจ้าของกิจการ ถ้าไม่แม่นเรื่อง การหักประกันสุขภาพ ควรใช้มืออาชีพ ที่มีลายเซ่นช่วยทำภาษีให้นะคะ เพราะเจอกรณี ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะตีความทางกฏหมายไม่ถูกต้อง  หรือบางกรณี เสียสิทธิทีจะได้ ต้องจ่ายภาษีมากกว่าทึ่ควรจะเป็น.

 

 

เรียบเรียงโดย        : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
ที่มา                       : Publication 541, Partnerships and Publication 535, Business Expenses,
วันที่                       : วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2560, Sunday, September 17th,  2017