Last minute tax planning for business

Last minute tax planning for business

อีกสองเดือนครึ่งก็จะสิ้นปีแล้ว ทำไงดีจะได้ประหยัดภาษี (แบบถูกกฏหมาย). เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไม่ได้คำนึงถึงรูปแบบการจดทะเบียนนะคะ กิจการเจ้าของคนเดียวก็ใช้ประโยชน์ได้ค่ะ.  อยากจะทราบว่าทำยังไงดีถึงจ่ายภาษี ต้นปีหน้าให้น้อยที่สุด. หลาย ๆ ท่าน อาจจะทราบบ้างว่าธุรกิจของตัวเองมีกำไรแน่นอนปีหนี้ เตรียมตัวจ่ายภาษีกันอย่าง(ไม่)เต็มใจแน่นอน. ปล.ลูกค้าแหวนส่วนใหญ่จะทราบคะ เพราะรายงานผลกำไรขาดทุน(ทางภาษีอากร) ให้ทราบเป็นระยะ.

ได้รับบทความฉบับนี้ก่อนการเลือกตั้งแต่พี่ CPA อวุโส ที่ท่านส่งมาให้แหวนอีกต่อหนึ่งค่ะ บทความติดลิขสิทธิ์ไม่สามารถบอกแหล่งได้ แต่แหวนจะอ้างแหล่งตัวบทกฏหมายภาษีอากรให้คะ.

สิ่งที่เราควรทราบคือเป็นเรื่องปกติคะ ที่เจ้าของกิจการมากระตือรือต้นที่จะวางแผนการประหยัดภาษีในไตรามาสสุดท้ายของปี ฉะนั้นมิต้องกังวลว่าจะสะดุดตาเจ้าหน้าที่จากทาง IRS.

รายการทางธุรกิจที่ทำให้กิจการประหยัดภาษีระยะเวลาสั้น ๆ

1.) เลี่ยงการจ่ายค่าปรับโดยการนำส่งภาษีล่วงหน้าค่ะ. สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ ถ้าคุณจ่ายภาษีต่ำกว่า 90% of Previous year tax liabilities คุณมีค่าปรับค่ะ. เช่น ปีที่แล้วกิจการคุณมีภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น $10,000 แล้วปีนี้คุณคาดว่าคุณจะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นโดยประมาณ $12,000. จัดการนำส่ง Estimate taxes ไปเลยคะ อย่างต่ำ $9,000. จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องค่าปรับที่ 10% .  สำหรับท่าน ๆ ที่มีหลายกิจการและรวยมากๆๆ อาจจะไม่ค่อยใส่ใจจุดนี้. แต่กลุ่มที่ต้องการประหยัดเงินทุกเหรียญควรใส่ใจคะ.  ส่วนใหญ่นักบัญชีที่ดูแลกิจการคุณ จะทำควณการประมาณการภาษีของคุณให้แล้ว โดยใช้ภาษีปีที่ผ่านมาเป็นหลัก. ถ้ามีกรณีแบบนี้ก็เรียบร้อยไปคะ.  ปล. ตอนนี้ยังส่งทันนะคะ ภาษีล่วงหน้า ยังไม่สายเกินแก้คะ.

2.) เลื่อนการรับรู้รายได้ออกไปคะ.  ทำได้ไง?  เราสามารถทำได้โดยการเลื่อนการวางบิลเรียกเก็บเงินช้าไปคะ เช่น คุณให้เครดิตลูกค้า 15 วัน หรือไม่ได้ให้เครดิตเลย คุณยังไม่ต้องวางบิลคะ เงินยังไม่รับ เรายังไม่ต้องถือเป็นรายได้ทางภาษีอากร. กิจการร้านอาหารคงยากคะ เพราะขายก็รับเงินจากเครดิตการ์ดทันที. วิธีนี้เหมาะกับกิจการซื้อมาขายไป หรืองานบริการที่ต้องมีการวางบิลเรียกเก็บเงินค่ะ.

3.) ซื้อทรัพย์สินเข้ากิจการ เพราะจะได้หักค่าใช้จ่ายเยอะ ๆ. มากกว่าครึ่งของเจ้าของกิจการอาจจะทราบถึงกฏระเบียบนี้ คือ ราคาทรัพย์สินที่เราซื้อในปีนั้น สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้มากกว่า 50%.  เรียกว่า Bonus depreciation. ตัวอย่างเช่น เจ้าของกิจการร้านอาหารลงทุนซื้อโต๊ะ เก้า อี้ อุปกรณ์ครัวใหม่ ๆ มูลค่า 20,000 กิจการสามารถใช้มูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อเป็นค่าใช้จ่ายทันทีได้ถึง $10,000.  เห็นเปล่าคะ ทำให้ร้านอาหารดูดีมีสง่า โละของเก่าทิ้ง เอามาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เกือบหมด แถมเพิ่มมูลค่าให้กิจการด้วยคะ. กรณีที่กิจการอยากจะขายออกไป ถ้าร้านดูดี ก็ขายง่ายนะคะ อันนี้เรื่องจริงเลย. สำหรับกิจการขนาดใหญ่เงินหนา ต้องการซื้อทรัพย์สินมูลค่ามากกว่านี้ก็ทำได้ค่ะ หักค่าเสื่อมราคาได้ถึง $500,000 ต่อปีคะ กรณีมูลค่าทรัพย์สิน ราคา $1,000,000.  พวกต่อเติมอาคาร หรือเรียกว่า leasehold improvement ก็อยู่ในข่ายนะคะ รวมหมดคะไม่มีข้อยกเว้น. แต่ถ้าซื้อตึกทั้งตึก ไม่ได้นะคะ เพราะกฏนี้ใช้กับ ทรัพย์สินที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 20 ปีเท่านั้นคะ.

4.) ซื้อรถ SUV ภายในสิ้นปีนี้คะ. คุณสามารถหักค่าใช้จ่ายในปีนี้สูงถึง $25,000 ต่อคันนะคะ เยอะพอสมควร (สำหรับกลุ่มที่พึงพอใจการการซื้อมากกว่าเช่านะคะ). ต้องเป็นรถใหม่นะคะ รถเก่าไม่เข้าข่ายที่จะหักได้เยอะคะ รถต้องหนักถึง 6,000 pounds และต้องใช้ในธุรกิจอย่างเดียวคะ 100%. แต่ยังสามารถหักตามอัตราค่าเสื่อมราคารถยนต์ปกติคะ.

5.) ซื้อรถ pickup truck คนละประเภทกับข้อ 4 นะคะ. รถปิ๊คอัพที่มีน้ำหนักมากกว่า 6,000 pounds และมีคาร์โก้ที่ มีความยาวมากว่า 6 feet long. หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งก้อนนะคะ. ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นรถใหม่ด้วยคะ เช่นราคาปิ๊กอัพอยู่ที่ $20,000 เราหักได้ทั้งก้อนเลยคะ  สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหารที่สามารถหลีกเลี่ยงความเท่ได้ อยากแนะนำให้ซื้อไว้ขนผักคะ อิอิ. คอมเม้นนี้อาจจะให้กลุ่มชอบรถหรูเคืองนิดๆ ต้องขออภัยนะคะ.

 

ข้อควรระวังด้านภาษีอากรคือมีการซื้อทรียพ์สินในไตรามาสสุดท้าย (หลัง กันยายน) มากกว่า 40% ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อทั้งมี และกลุ่มกิจการที่ใช้การคิดค่าเสื่อเสื่อมระบบไตรมาส จะหักค่าเสื่อมได้แค่ 1 ½  (18 months) เดือนเท่านั้น. กฏนี้มีผลนิดหน่อยค่ะ ไม่ได้กระทบเยอะเพราะ 50% bonus depreciation ไม่ได้กระทบ ซื้อรถ SUV ก็ยังหักค่าใช้จ่ายได้ดีเช่นเดิม.

การซื้อหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

การซื้อ คือการซื้อด้วยเงินสด การซื้อด้วยเงินผ่อน การซื้อด้วยเงินสดบางส่วน และเงินผ่อน การได้มาโดยที่ไม่ได้จ่ายเงินสดหรือการกู้ยืมแบบได้มาฟรี ๆ แสดงว่า ไม่มีมูลค่าราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดค่ะ. ถ้าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินเนื่องจากการชำระหนี้ มูลค่าทรัพย์สินจะเท่ากับมูลค่าหนี้ที่ได้ยกเลิกให้ค่ะ.  ส่วนการได้มาซึ่งการแลกเปลี่ยนเช่นการบริการ ถือว่ามีมูลค่าทรัยพ์สินเท่ากับรายได้ค่าบริการค่ะ.

การวางแผนภาษีต้องทำแต่ต้นปีคะ จะได้มีเวลาแก้ไข  งบกำไรขาดทุนงบดุลควรจะ แสดงผลการดำเนินการอย่างน้อยทุกไตรมาส กิจการจะได้มีการวางแผนแต่เนิ่น ๆ ไม่ฉุกละหุก.  หลาย ๆ ท่าน ไม่ชอบการจ่ายภาษีเป็นก้อน ๆ เพราะถือว่าเงินได้หายไปจากกระเป๋า.  ค่อย ๆ ทยอยจ่าย นะคะ จะได้ไม่รู้สึก และเป็นผลดีต่อการบริหารกระแสเงินสดของกิจการนะคะ.

ตอนนี้รอกฏหมายของ ท่านประธานาธิบดีคนใหม่เรื่องให้กิจการ ทั้งหลาย เสียภาษีแค่ 15% อย่าลืมนะคะ มีผลต่อธุรกิจที่เสียภาษีในระบบกิจการเช่น Corporation เท่านั้น.  LLC and S-Corp ไม่ได้กระทบคะ เพราะ ไม่มีภาษีในรูปแบบบริษัทอยู่แล้ว เจ้าของกิจการได้รับแค่ Schedule K-1 สรุปผลรายได้กำไรขาดทุน แล้วนำไปจ่ายภาษีกันเอง.  ภาษีบุคคลธรรมดาตามนโยบายใหม่  ๆ ก็ลดลงค่ะกลับไปดูที่แหวนสรุปไว้ก่อนหน้านี้ได้คะ.

ขอให้ทุกท่านร่ำรวยกันทั่วหน้านะคะ

 

เรียบเรียงโดย   แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ที่มา                 สรุปข่าวสารด้านภาษีจาก พี่ CPA อวุโสที่ไม่ประสงค์ออกนาม และ

the section 179 deduction.

วันที่                16 พฤศจิกายน 2559 (2016)