Child Tax Credit and Earned Income Tax Credit (ETIC)

Child Tax Credit and Earned Income Tax Credit (ETIC)

เครดิตที่ได้รับจากลูกๆด้านภาษีอากร

 

เนื่องจากช่วงนี้กระแสการเมืองร้อนแบบแรงมากๆๆ ขอกลบข่าวนิดหนึ่ง เผื่อหลาย ๆ ท่านจะได้ ทำใจให้สบายก่อนการเลือกตั้ง นะคะ.  เรามาว่าด้วยเครดิตภาษีสำหรับกลุ่มพ่อแม่ ทั้งที่ยังแต่งงาน แยกกันอยู่ พ่อหม้ายแม่หม้าย กลุ่มที่มีบุตรบุญธรรม. ประเด็นหลักคือ “ผลประโยชน์ด้านภาษีของคนมีบุตร”.

Child Tax Credit หลาย ๆ ท่านอาจจะทราบดีว่าเราสามารถเคลมภาษีได้ปีละ $1,000 ต่อคนต่อบุตdsc00970ร สำหรับบุตรที่อายุไม่เกิน 17 ปี. สำหรับครอบครัวที่รายได้ไม่เกินปีละ $110,000 (คนที่แต่งงานยื่นภาษีร่วมกัน) สำหรับบุคคลทั่วไปก็ อยู่ที่ $75,000 ต่อปี(กรณีโสดแต่มีบุตรนะคะ พ่อหม้ายแม่หม้ายรวมในนี้นะคะ). สรุปคือกลุ่มรายได้ระดับกลาง ๆ จะได้สิทธิ์นี้ค่ะ. อ่านข้อมูลเพิ่มเติมตามลิงค์ได้ค่ะ Child Tax Credit. รัฐบาลไม่ระบุจำนวนลูก ๆๆ ด้วยนะคะเนี่ย แค่ระบุว่ารายได้ไม่เกินเท่านี้ถึงได้. หมายเหตุ: เครดิตประเภทนี้ใช้หักกับภาษีที่ต้องชำระนะคะ. ถ้าคุณรายได้ต่ำแล้วไม่มีภาษีทีต้องชำระคุณก็อดนะคะ เว้นแต่ว่าเสียภาษีไว้เยอะ ใช้เครดิตตัวนี้หักออกได้ค่ะ.

อีกประเด็นหนึ่งคือ Earned Income Tax Credit (ETIC). กลุ่มนี้ได้ยากมากเว้นแต่รายได้จะต่ำกว่า $54,000 ต่อปีโดยประมาณ (นี่สำหรับคนมีลูก 3 คนนะคะ) ถ้ามีคนเดียวรายได้ต้องต่ำกว่านี้ถึงใช้สิทธิ์ได้นะคะ. เครดิตภาษีตัวนี้รับเป็นเงินได้คะ ทางรัฐบาลช่วยเน้นสำหรับคนรายได้ต่ำ. หลาย ๆ กลุ่มอาจจะพยายามทุกวิธีทางเพื่อที่จะทำให้รายได้ต่ำกว่านี้เพื่อที่จะได้รับเงินภาษีจากรัฐบาล (ส่วนตัวเห็นมาเยอะมากๆๆ ที่สำคัญกลุ่มนี้ทำงานได้มากกว่าเกณฑ์นะคะ).

เครดิตภาษีจาก ETIC ได้ตามนี้เลยค่ะ IRS link 2016 ETIC. ครอบครัวจะได้รับสูงสุดอยู่ที่ $6,269 เลยนะคะสำหรับผู้ทีมีลูกมากกว่า 3 คนและรายได้ไม่เกิน $53,500 (ถึงว่าคนมีลูกเยอะ). แต่ถ้าเรามีลูกมากกว่า 3 คนแล้วรายได้ปีหนึ่ง ห้ามื่นหน่อย ๆ นี่ไม่น่าจะพอรับประทานนะคะ ถ้าแบบทำงานจริง ๆ จัง ๆ ยื่นแสดงรายได้ถูกต้อง. เงินภาษีคืนตัวนี้ช่วยครอบครัวคนกลุ่มนี้ได้มากนะคะ. หมายเหตุ: คนแต่งงานกันแยกยื่นไม่ได้สิทธิ์นะคะ และภาษีประเภทนี้ได้เงินคืนคะ ไม่เหมือนกับ child tax credit.

สถานะการยื่นภาษี Qualifying Children Claimed ลูกที่มีคุณสมบัติเคลมได้ตามกฏหมาย
ไม่มีลูกเลย ลูก 1 คน ลูก 2 คน ลูกมากกว่า 3 คน
โสด, หัวหน้าครอบครัว หรือหม้าย $14,880 $39,296 $44,648 $47,955
แต่งงาน ยื่นภาษีร่วมกัน $20,430 $44,846 $50,198 $53,50

 

มาเข้าประเด็นดีกว่าคะ ว่าจู่ ๆ ทำไมพูดถึง เครดิตภาษี สองประเภทนี้. เนื่องจากในกลุ่มสมาชิกกฏหมายและภาษีสอบถามกันมาเยอะมากเรื่องนี้ และ ระยะหวังการหย่า และการแยกกันอยู่ มีประเด็นเรื่องบุตรเข้ามาสอดแทรก.

♥ก่อนเข้าเรื่องขอให้เครดิตพี่ CPA ระดับอวุโสที่พี่ท่านได้กรุณาส่งข้อมูลมาให้อีกต่อหนึ่งค่ะ มีลิงค์ต้นฉบับบทความที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษให้อ่านนะคะ สำหรับคนที่ภาษาดีอยู่แล้วเข้าไปอ่านได้เลย สำนักพิมพ์นี้หลัก ๆ คือทำมาหารับประทานด้านให้ข้อมูลบัญชีภาษีอากรนะคะ มีชื่อเสียงทั่วโลก และไม่มโน (ไม่ใช่หน่วยงานของ Democrat or Republicans)♫♫.   อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ตามลิงค์ค่ะ Individual Entitled to Dependency Exemption….

 

IRS did not allow Head of Household for separated couple?

แยกกันอยู่ The IRS ไม่อนุญาตให้ผู้เสียภาษียื่นแบบ หัวหน้าครอบครัว?

มีกรณีพิพากษ์ด้านภาษีที่ไปถึงศาลภาษี และมีการต่อสู้กันทางกฏหมายของกรณี ที่ผู้เสียภาษีได้แยกกันอยู่กับคู่สมรส ซึ่งอยู่ในกระบวนการหย่าตามกฏหมาย.  ผู้เสียภาษีได้ยื่นภาษีแบบ Heal of Household หรือหัวหน้าครอบครัว และได้เคลมเครดิตภาษีทั้ง Child Tax Credit & Earned Income Tax Credit และคาดว่ารายได้ของผู้เสียภาษีรายได้ต่ำกว่า $47,955 ต่อปี ถ้ามีลูกมากกว่า 3 คน กรณีนี้มีลูก 5 คนค่ะ.

ทาง the IRS ไม่ยอมค่ะไม่ให้ภาษีคืนแก่ผู้เสียภาษี และให้เหตุผลว่า ผู้เสียภาษีไม่ได้สิทธิ์ดูแลลูก ๆๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถเคลมลูก ๆ ได้ เพราะมีคำสั่งศาลในปีเดียวกันว่าผู้เสียภาษีได้สิทธิตามกฏหมายในการเคลมบุตร. แต่ผู้เสียภาษีแย้งว่าภายในปี ผู้เสียภาษีและอดีตภรรยาได้อาศัยอยู่รวมกันและได้ดูแลลูกๆๆ ตามเกณฑ์คือมากกว่า 6 เดือน การหย่าเกิดขึ้นภายในปีแต่ก็เกิดขึ้นปลายปี.

สรุปคือ ผู้เสียภาษีถึงแม้จะหย่าภายใน ปี ก็ยังมิสิทธิ์เคลมลูก ๆ ทั้ง Child Tax Credit and Earned Income Tax Credit. ได้ตามกฏหมายภาษีอากร .  ที่พลาดคือผู้เสียภาษี ยื่นภาษีแบบ Head of Household ซึ่งทำไม่ได้เพราะผู้เสียภาษีมีสถานะแต่งงาน (ตีความ)มากกว่า 6 เดือนในปีภาษี ซึ่งสอดคล้องกับการที่จะเคลมเครดิตภาษีของลูก ๆ ได้.

ที่สำคัญกรณีนี้คือถึงแม้จะยื่นภาษีไปแบบ Head of Household หรือหัวหน้าครอบครัว ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะผู้เสียภาษีภาษีเข้าใจว่า แยกกันอยู่และดูแลลูกๆๆ ก็ควรจะยื่นแบบนี้ (แหวนก็คิดแบบนี้เหมือนกัน) แต่เหตุผลที่ศาลภาษีไม่ให้จ่ายค่าปรับคือ “ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อแม่” คือผู้เสียภาษีไม่ใช่ฝรั่งเกิดที่นี่ประมาณนั้น. หลัก ๆ คือผู้เสียภาษีคงจะได้ไปใช้บริการภาษีจากผู้ที่มีลายเซ่นทำภาษีอย่างถูกต้องเช่น HR Block, Enrolled agent, or CPA คาดว่าเป็นงั้นเพราะเจ้าตัวคงทำภาษีเองไม่เป็นแน่นอน.  เราในฐานะนักบัญชีถ้าแยกกันอยู่แบบนี้ก็เคลม Head of Household เช่นกัน (แต่ต้องแยกกันอยู่มากกว่า 6 เดือน).

 

เราจะรู้ได้อย่างไรเราสามารถยื่นแบบ หัวหน้าครอบครัว หรือ Head of Household?

คนที่จะยื่นแบบหัวหน้าครอบครัวได้คือ คุณไม่แต่งงานในปีนั้น ๆ (สถานะโสด). พิจารณาจาก

(1) พิจารณาจากสถานะสภาพสมรสตามกฏหมาย Marital Status (ปล. คนที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฏหมายแต่อาศัยอยู่ในเมือง Community Property State เช่น California ถือว่าแต่งงานนะคะ). จะถือว่าไม่แต่งงาน Considered Unmarried พิจารณาจากคุณแยกกันอยู่มากกว่า 6 เดือน อยู่ในขั้นตอนการหย่าตามกฏหมาย หรือ ไม่มีความเป็นสามีภรรยากันแล้วแต่ยังไม่ได้ฟ้องหย่า (IRS ไม่ได้ระบุว่าต้องแยกกันอยู่ตามกฏหมาย ถูกทอดทิ้งก็อยู่ในเกณฑ์แยกกันอยู่ได้) คุณก็ถือว่าโสดตามกฏหมายภาษีและใช้สิทธิ์ตัวนี้ได้ค่ะ..

(2) คุณดูแลค่าใช้จ่ายของบ้านที่อยู่อาศัยและครอบครัวมากกว่าครึ่ง.

(3) มีคนอาศัยอยู่บ้านกับคุณ เช่น พ่อแม่ (ไม่จำเป็นต้องอยู่กับคุณ แต่คุณดูแลส่งเสีย), หรือลูก ๆ พี่น้อง กลุ่มนี้ต้องอยู่บ้านเดียวกัน. แฟน ลูกของแฟนที่ไม่ได้แต่งงานก็อยู่ในข่ายที่ค่ะ รวมไปด้วย. โดยทั่วไปใครที่อยู่กับคุณมากกว่า ครึ่งปีก็ใช้ได้คะ ถ้าเขาไม่ยื่นภาษี ไม่มีคนเคลมเขา.

*ข้อที่ควรทราบและควรปฏิบัติ*

♣ กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่และอยู่ในขั้นตอนการหย่าตามกฏหมาย ทั้งคู่ควรตกลงกันว่าจะให้ใครเคลมลูก ๆ โดยเฉพาะที่การแยกกันอยู่เกิดขึ้นหลังจาก 6 เดือนแรกของปี. อ้างอิงถึงการที่จะเคลมบุตรทั้ง Child tax credit & ETIC คือต้องดูแลบุตรมากกว่า 6 เดือน. และควรยื่นแบบ Married Filing Jointly เพื่อที่จะได้ ETIC

♣ ถ้าเกิดมีการแยกกันอยู่เนิ่น ๆ คือตั้งแต่ ต้นปี หรือมากกว่า 6 เดือน กรณีนี้ควรใช้ยื่นแบบ Head of Household เพราะฝ่ายที่ดูแลลูก ๆๆ มากกว่า 6 เดือนจะได้สิทธิในการเคลมลูกด้านภาษีอากร. ควรจะมีคำสั่งศาลว่าแยกกันอยู่ตามกฏหมายด้วยนะคะจะได้ไม่พลาด.

♣ ควรเก็บเอกสารหลักฐานที่ระบุว่าเราเป็นผู้ดูและลูกมากว่า 6 เดือน เช่น ลูก ๆ ไปเรียนในเขตที่ผู้เสียภาษีอยู่ มีการจ่ายค่าเทอมให้ลูก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กรณีนี้คือศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าใครได้สิทธิ์นะคะ.  ถ้าศาลตัดสินว่าอีกฝ่ายได้สิทธิ์ในการเคลมภาษีของลูก ถึงแม้เราจะดูแลลูก ๆๆ เราก็ทำอะไรไม่ได้ค่ะ ทุกอย่างว่าไปตามคำสั่งศาล. ถ้าฝ่ายใดได้สิทธิเลียงลูกสามรถยื่นภาษีแบบ Head of Household ได้เช่นกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ลูก ๆ อยู่ด้วยค่ะ.

♣ ควรระวังกรณีที่ สามีภรรยาไม่ได้หย่าไม่ได้แยกกันอยู่ตามกฏหมายแล้วแยกเคลมบุตรใช้การยื่นแบบ Head of Household นี่ผิดกฏหมายภาษีอย่างแรงนะคะ ระวังหน่อยท่าน ๆ ทั้งหลาย. กฏหมายภาษีระบุไว้ว่าถ้าสามีภรรยาไม่ได้อยู่ร่วมกันมากกว่า 6 เดือนสามารถยื่นภาษีแยกใช้สิทธิ์ Head of Household ได้ค่ะ. ส่วนใหญ่กรณีแบบนี้คือแยกกันอยู่ตามกฏหมายและอยู่ในขั้นตอนของการหย่าร้าง. สามีภรรยาแยกกันอยู่เพราะว่าต้องทำธุรกิจ เจ็บป่วยนี่ไม่ถือว่าแยกกันอยู่นะคะท่านๆ กฏหมายภาษีเขียนไว้ชัดเจนมากๆๆ.

♣ ควรใช้บริการด้านภาษีจากผู้มีอนุญาตทำภาษีตามที่ IRS ได้ระบุไว้ เพราะถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น คุณสามารถโต้แย้งได้พร้อมทั้งผู้ที่ทำภาษีให้คุณมีหน้าที่หาทางออกเพื่อช่วยแก้ข้อโต้แย้งต่าง ๆ อีกอย่างเป็นการป้องกันตัวคุณเองในอนาคต เช่นกรณีศึกษาที่กล่าวมา คือใช้บริการมืออาชีพ และสามารถอ้างอิงในศาลภาษีอากรได้.

♠พูดวกไปวนมาก็ยังมาวนเวียนเรื่องสิทธิด้านภาษีที่ทางรัฐให้กับคนมีรายได้น้อยอยู่อีกเช่นเคย  หลาย ๆ กลุ่มที่แหวนทราบก็ใช้สิทธินี้ตามกฏหมาย ถึงแม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้วไม่ได้สิทธิ์ก็ตาม.  คนที่เขามีรายได้ต่ำจริง ๆ นี่สมควรให้เขานะคะ เพราะเขาต้องทำมาหารับประทาน แถมลูกเยอะ ๆ อีก. พวกกลุ่มที่โกหกนี่ ใครรู้ควรแจ้ง IRS นะคะ.  แหวนและกลุ่มอื่น ๆ ที่มีวิชาชีพด้านนี้ไม่สามารถทำได้คะ ผิดจรรยาบรรณมากเรื่องความลับ. คุณ ๆ ทำได้คะถ้าทราบ แต่ต้องมีหลักฐานนะคะ ห้ามมโน. ทำหนังสือไปยัง IRS ได้เลยคะ กฏหมายจะได้ลงโทษกลุ่มนั้น ๆ ให้เป็นเยี่ยงอย่าง. เรื่องพวกนี้เราต้องช่วยกันคะ ปล่อยให้เป็นภาระของรัฐบาลอย่างเดียวไม่ได้ เขาไม่ได้มีทรัพยากรที่เพียงพอในการไปตามล่าผู้กระทำผิดด้านภาษีเลยคะ  ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วย กว่าจะตรวจสอบ ยันยอด กว่าจะออกเอกสารเรียกค่าปรับเงินเพิ่ม ก็อย่างต่ำ 1 ปีครึ่งแล้วคะ♠

 

แปลและเรียบเรียงขยายความเพิ่มเติม: แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา: จากพี่ CPA อวุโสที่ไม่ประสงค์ออกนามคะ ลิงค์ที่พี่ให้มาคะ ,

              Individual Entitled to Dependency Exemption….

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 (2016)