Home Office Deduction

**ใช้บ้านทำเป็นออฟฟิต Home Office**33-jpg

ไม่ว่าจะทำกิจการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ แบบจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบ บริษัทต่าง ๆ หรือไม่ได้จดทะเบียนใด ๆ แต่รับงานนอกแบบ sole proprietorship  หรือทำงานประจำบริษัท  เราต่างใช้พื้นที่บ้าน หรือ อพาร์ทเม้นที่เราพักอาศัย เพื่อ เชคอีเมลล์ หรือ ทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ กิจการหรืองานที่เราทำอยู่ ณ ปัจจุบัน.

The Internal Revenue Services (IRS) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนกรณีที่เราต้องการใช้ออฟฟิตที่เราทำงานหักเป็นค่าใช้จ่ายจากรายได้ที่เราได้รับ อ่านคำแนะนำข้อกฏหมายตามลิงค์คะ IRS Tax Tip 2015-42, March 19, 2015. แหวนขอสรุปคร่าว ตามที่ตัวเองเข้าใจนะคะ นักบัญชีท่านอื่น อาจจะตีความแตกต่างกันออกใบแต่เนื้อหาสาระที่สำคัญจะคล้ายกันคะ.

ออฟฟิตที่เราใช้ทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านที่เราซื้อแล้วผ่อนนะคะ บ้านเช่า หรือ อพาร์ทเม้น ที่เราเช่า สามารถใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้หลักเกณฑ์เดียวกันตามนี้คะ.

1.) หลักเกณฑ์แรก ที่ระบุไว้คือ Regular and Exclusive Use มีประเด็นหลัก ๆ ที่เราต้องพิจารณาคือ เราใช้บ้านเป็นออฟฟิตที่เรานั่งทำงานทุกวัน  เราจดทะเบียนบริษัท หรือทะเบียนการค้า โดยใช้ที่อยู่ของบ้าน, ลูกค้ามาพบเราที่บ้านหรือเราใช้สถานที่นี่ติดต่อกับลูกค้า , หรือ โครงสร้างของออฟฟิตเราแยกตัวออกมาจากบ้าน เช่น สถานที่จอดรถ ดัดแปลงเป็นออฟฟิต หรือ มีตัวออฟฟิตแยกออกมาจากตัวบ้าน.

ข้อสังเกตุคือ ทาง IRS ใช้คำว่า “OR” ถ้าเราผ่านจุดใด จุด หนึ่งที่แหวนกล่าวไว้ข้างต้น เราถือว่าเป็นออฟฟิตสำนักงานได้คะ แต่จำเป็นต้องมีครบ ทุกข้อ.

2.) หลักการหักค่าใช้จ่ายแบบ Simplified options ระบบนี้คือระบบเหมาคะ ทาง the IRS ให้แค่ $5 ต่อ square feet เท่านั้น สูงสุดได้ที่ 300 square feet เท่านั้น คือ ปีละไม่เกิน $1,500. ถึงแม้วิธีนี้จะมีข้อจำกัดให้ได้ไม่เยอะต่อปี แต่จะเป็นผลดีมากสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน เพราะจะไม่กระทบต่อการคิดค่าเสื่อมราคา. ตัวอย่างเช่น เรามีบ้าน ราคา $200,000 แต่เราใช้พื้นที่ บ้าน 1 of 4 for office, เมื่อมีการขายเราต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคาตัวบ้านทั้งหมด หาร 4 และ 1 of 4 นั้น เราต้องบวกกลับเป็นกำไร เราขายบ้าน $300,000 cost of purchase $200,000, profit of $100,000 ปกติกำไรตัวนี้ถ้าเป็นบ้านที่อยู่อาศัย ได้รับยกเว้นถึง $250,000 ต่อปี แต่เนื่องจากคุณใช้บ้านเป็นออฟฟิตแล้วใน อัตรา 1 of 4 ฉะนั้น กำไร จากการขายบ้านได้รับยกเว้นแค่ $75,000 ($100,000-$25,000 (ค่าเสื่อม))  ยุ่งยากด้วยคะในการคำนวณ.

ปัจจุบันแหวนก็ใช้บ้านเป็นออฟฟิตของบริษัทส่วนตัวคะ และใช้ระบบนี้ในการคำนวณ ค่าใช้จ่าย ได้น้อยต่อปี แต่ไม่ต้องปวดหัวในอนาคตคะ. กฏนี้เพิ่งมีมาใช้เป็นกฏมายเมื่อปี 2014 เองคะ.

3.) วิธีหักค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนของบ้านจริง Regular Method วิธีนี้มีมานานสมัยพระเจ้าหาวคะ และกฏหมายก็แก้มาเรื่อย ๆ แรก ๆ จะ เขี้ยว มากๆๆ พอมีการฟ้องร้องถึงศาลสูงสุดทาง the IRS ก็แก้กฏหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีมากขึ้น. วิธีนี้ดีมากสำหรับผู้ทีเช่าบ้านคะ เพราะการเช่าบ้านเราไม่ต้องมากังวลถึงการคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อมีการขาย ค่าน้ำค่าไฟ ค่าตกแต่ง ทุกอย่างที่เกี่ยวกับออฟฟิต หารเป็นอัตราส่วนออกมาคะ เช่น บ้านเช่า มีพื้นที่ 2,400 square feet, use for the office of 1,000 square feet, เราก็หาอัตราส่วนจากค่าเช่า สมมติค่าเช่าอยู่ที่ $2,400 ต่อเดือน ค่าเช่าที่เราหักได้ก็ $1,000 ต่อเดือน ตามอัตราส่วนของพื้นที่คะ ค่าสารธารณูปโภคอื่น ๆ ก็หารออกมาตามอัตราส่วนคะ.

4.) ข้อจำกัดในการหักค่าใช้จ่าย คุณสามารถหักออฟฟิตเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน รายได้ทั้งปีคะ เช่น คนที่เช่าบ้าน ค่าออฟฟิตหารออกมาต่อปีอยู่ที่ $12,000 ถ้าเกิดว่ารายได้ปีแรกคุณมีแค่ $10,000 ก่อนหักค่าใช้จ่าย ดังนั้นคุณสามารถหักค่าเช่าบ้านเป็นค่าใช้จ่ายได้แค่ $10,000 คะ.

5.) สำหรับผู้ที่รับจ้างอิสระ หรือ self-employed individual  ถ้าคุณเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบ ปกติ ให้ใช้ฟอร์ม Form 8829, Expenses for Business Use of Your Home, ในการคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถหักได้. และคุณสามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ทั้งแบบ simplified option or regular method ได้คะ โดยใช้ แบบ Schedule C, Profit or Loss From Business. ซึ่งรวมอยู่ในแบบ 1040 ค่ะ.

6.) สำหรับคนที่ทำงานประจำกับบริษัท ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ แต่เอางานมาทำที่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน แบบว่าออฟฟิต อยู่คนละรัฐ จะสามารถหักออฟฟิตเป็นค่าใช้จ่ายได้ก็ต่อเมื่อผ่านกฏ ที่ทาง the IRS ได้ระบุไว้ใน on Schedule A, Itemized Deductions.  กฏนี้จะยุ่งยากในการคำนวณคะ เพราะ ต้องใช้ Net Income ไม่ใช่ Gross income เหมือนกับแบบ simplified option ที่หักได้ ไม่เกินปีละ $1,500 ต่อปี.

เนื่องจากาการใช้ออฟฟิตหักเป็นค่าใช้จ่ายจริงในฐานะพนักงานจะคำนวนรวมกับ itemized deduction ประเภทอื่น ๆ เช่น ค่ารถที่ใช้ในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ทางนายจ้างไม่จ่ายออกให้เราต้องควักประเป๋าเอง.

อ่านรายลเอียดเพิ่มเติมแบบละเอียดมากถึงมากที่สุดได้จาก ลิงค์คะ  see Publication 587, Business Use of Your Home.

**กรณีศึกษา case study ที่เกิดขึ้นจริง**

ปัญหาที่เกิดขึ้นมากคือการใช้บ้านที่เราอยู่อาศัยด้วยเป็นพื้นที่สำนักงานบางส่วน และไม่ได้ทำตามอัตราส่วนที่ใช้งานเป็นออฟฟิตแบบชัดเจน  the IRS ได้มีการสุ่มตรวจ และทราบว่าค่าใช้จ่ายไม่สอดคล้อง กับอัตราส่วนที่ใช้ ก็เกิดเรื่องขึ้นมา ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม และที่สำคัญ ถ้าใช้ออฟฟิตเป็นสถานที่ติดตั้งเครื่องออกกำลังกายด้วย ถือว่าโมฆะ ทันทีเลยคะ.

ถ้าเราทำอะไรตรงไปตรงมาตามกฏระเบียบ คุณป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการถูกประเมินเบี้ยปรับเงินเพิ่ม แต่คุณต้องระวัง และรอบคอบในการใช้พื้นที่ ไม่ต้องกลัวขนาดไม่กล้าหักค่าใช้จ่ายจริงนะคะ

กรณีของแหวนเอง คือ นั่งทำงานไปทั่วคะ ถึงแม้จะมีออฟฟิตเฉพาะ ลูก ๆ ก็ไปนั่งต่อ จิ๊กซอ ต่อ บอลค เกม ในออฟฟิตอีก  มิกล้าเสี่ยงเลยคะ. ได้ไม่คุ้มเสีย และปรัชญาการทำงานของแหวนเอง ถ้ากฏหมายตัวไหนที่อ่านแล้วไม่ชัดเจน ต้องตีความ แหวนจะไม่ใช้เลยคะ เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น.

อ้อ ระวังด้วยนะคะ ถึงแม้จะมีออฟฟิต แยกตัวออกจากบ้านแบบแน่นอน แล้วลูก ๆ ไปเล่นในสำนักงานก็ละคะ ถ้าเจอสุ่มตรวจนี่งานเข้าเช่นกัน.

 

เรียบเรียงโดย:  แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ)

ที่มา: Internal Revenue Services linked in this article.

และประสบการณ์จาการทำงานที่อเมริกามาเกือบ 10 ปี

วันที่ : 19 กันยายน 2559 (2016)