Buy or Lease Car for Business?

ซื้อรถ หรือ เช่ารถ อย่างไหนดีกว่า Buy or Lease11463

การซื้อรถ และ เช่ารถ เพื่อใช้งานส่วนตัวในชีวิตประจำวัน หรือใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป

ในการพิจารณาว่าจะซื้อหรือจะเช่า เราควรแยกการพิจารณาออกไปสองกรณี คือใช้งานเอง หรือเพื่อธุรกิจซึ่งเกณฑ์การพิจารณาอาจจะคล้ายกันทั้งซื้อใช้ส่วนตัวและใช้ในทางธุรกิจ แต่ข้อดีข้อเสียจะไม่เหมือนกัน

ซื้อรถหรือเช่าเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ [Business’s purpose]

จากประสบการณ์การทำงานกับธุรกิจทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในอเมริกา พบว่า เจ้าของกิจการพิจาณาประเด็นหลักในการตัดสินใจคือ

ค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ
1.) ซื้อ [Purchase]

การคิดค่าเสื่อมราคา ทาง the IRS ให้สิทธิพิเศษ สำหรับการหักค่าเสื่อมราคา รถบรรทุก และรถโดยสารที่มีที่นั่ง รถแวน ในsection 179  ได้มากสำหรับปีแรก ๆ ซึ่งโดยทั่วไปรถยนต์ คิดค่าเสื่อมราคาตามปกติที่ 5-7 ปี ตามอายุการใช้งาน

บริษัทที่ทำงานปัจจุบัน เลือก ซื้อ electric plug in car เพราะได้ภาษีคืนเยอะมาก (อย่าไปพูดถึงเขาใหญ่ สามารถซื้อตรงได้จากโรงงาน)  เรากิจการเล็ก ๆ ก็ซื้อ รถ electric car ได้คะ เลือกแบบที่ได้ภาษีคืน คุ้มดี แต่ดูด้วยนะคะ ว่าสะดวกในการหาที่เติมแกสสะดวกเปล่า

ข้อเสียเปรียบ
  • ถ้าเราซื้อรถแบบผ่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะระยาว 5-7 ปี และค่าผ่อนรถ จะมากกว่า ค่าเช่าซื้อแน่นอน
  • กรณีมีการลักขโมย หรือ อุบัติเหตุ ไม่สามารถใช้รถต่อได้ ก็ต้องจ่ายค่าผ่อนต่อ
  • รถเก่า ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษามากกว่า รถใหม่
ข้อดีของการซื้อรถ
  • เป็นทรัพย์สินของกิจการ
  • คือเมื่อรถไม่มีภาระหนี้สิน หัก ค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว รถยังสามารถใช้งานได้ต่อ ทำให้กิจการไม่มีค่าใช้จ่ายประจำ แต่ในทางกลับกัน อาจจะมีค่าซ่อมแซมเพิ่มเติม แต่อาจจะไม่เท่ากับค่าผ่อนรถใหม่ หรือเช่ารถแน่นอน
2.) เช่าซื้อ Leasing

เช่าซื้อในทางกฎหมายภาษีอากรและทางมาตรฐานการบัญชีสหรัฐอเมริกา มีเกณฑ์การพิจาณาที่แน่นอน ซึ่งบริษัทที่ขายรถส่วนใหญ่จะเตรียมพร้อม และทำสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน เช่น มูลค่าการเช่ารถต้องไม่มากกว่าอายุการใช้งานของรถ รายละเอียดเยอะมากคะ อ่านเองละกัน ตาม ลิงค์นะคะ Accounting for lease

ข้อดี
  • การเช่ารถในการทำธุรกิจ สามารถ หัก ค่าใช้จ่ายค่าเช่า ต่อเดือนได้ทั้งก้อน แบบไม่มีข้อจำกัด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันภัย รถยนต์ ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหรือ อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์สามารถหักได้ทั้งจำนวน เช่นเดียวกับการซื้อรถปกติทั่วไป
  • การเช่ารถทำให้กิจการมีค่าใช้จ่ายที่สามารถ ประมาณการได้ ช่วยในการวางเรื่องกระแส เงินสด ภายในกิจการ แต่ ค่าเช่ารถจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่สารถตัดออกได้ ตราบใดที่กิจการยังคงใช้รถ ซึ่งแตกต่างจากกันซื้อรถเพราะถ้าผ่อนหมด กิจการได้เป็นเจ้าของรถ และไม่มีค่าใช้จ่ายประจำอีกต่อไป.
  • สัญญาเช่าส่วนใหญ่จะไม่เกิน 3 ปี ซึ่ง ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องค่าซ่อมแซม รถใหม่ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องค่าซ่อมบำรุงรักษา
ข้อเสียเปรียบ
  • ข้อจำกัดของการเช่ารถคือ ทาง บริษัทขายรถ จะจำกัดระยะทาง (ไมลล์) รถที่สามารถขับได้ต่อปี เช่นปีละ ไม่เกิน 10,000 mileages. สามารถต่อรองที่จะเพิ่มระยะทางได้ แต่จะมีค่าเช่ารถเพิ่มเติม
  • ไม่ใช่รถของกิจการ
  • ข้อเสียของการเช่ารถคือ เมื่อเราได้มีการเซ็นสัญญาเช่า เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ถ้ารถถูก ขโมย หรือรถมีอุบัติเหตุ ที่เราไม่สามารถใช้รถต่อได้ แต่เรายังต้องจ่ายชำระค่าเช่ารายเดือน
**การทำประกันรถ**

เพื่อป้องกัน ทั้งในกรณี เช่าซื้อ หรือ ซื้อผ่อน กรณีรถสูญหาย หรือ มีอุบัติเหตุที่ไม่คาดหวัง และไม่สามารถนำรถมาใช้งานต่อได้

ให้ซื้อประกันที่คลอบคลุมทั้งการลักขโมย และอุบัติเหตุต่าง ๆ เพื่อว่าประกันจะได้ครุ้มครองและจ่ายค่าเช่าส่วนที่เหลือ

 

ไม่ซื้อและไม่เช่าแต่ใช้รถของตัวเอง [Personal car used for Business]

มีหลาย ๆ กรณีที่กิจการขนาดเล็ก ที่เจ้าของกิจการใช้รถส่วนตัวในการประกอบธุรกิจ เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการเช่น กิจการยังไม่เติบโตเท่าที่ควร เจ้าของกิจการมีเครดิตไม่เพียงพอในการเช่าหรือซื้อ

กรณีใช้รถส่วนตัวในการประกอบกิจการ สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้ ในระดับบุคคล แต่ไม่ใช่ระดับกิจการ ตีความว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ ไม่สามารถหัก ในส่วนบริษัทได้ เช่น กิจการ รูปแบบ S-Corporation เจ้าของกิจการมีกำไรสุทธิจากการและได้รับ Schedule K-1 ในฐานะผู้เป็นเจ้าของ และนำผลกำไรนั้นมาคำนวนเพื่อแสดงภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี  รถของเจ้าของที่ใช้ในกิจการ สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ในแบบ Form 1040 ในส่วนของธุรกิจ

ข้อจำกัด คือ เจ้าของกิจการสามารถหักได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่นไปพบลูกค้า แต่ไม่สามารถหักได้ ในกรณีจากบ้านไปทำงาน หรือกลับจากที่ทำงาน ซึ่งเรียกว่า commute distance ข้อสำคัญทาง the IRS มีข้อวินิจฉัยมาแล้วว่า mileages ที่เกิดขึ้นไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทั้งก้อนได้ มีเพื่อน เมต (สอบผ่านข้อเขียน CPA Exams) เรียบร้อยแล้ว ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ การจดไมลล์รถไว้แล้วค่ะ ควรกลับไปอ่านดู

หลักเกณฑ์การหักค่าไมลล์รถดูได้จาก Standard Mileage Rate  ซึ่งปี 2016 อยู่ที่ $0.54 per mile.

คำแนะนำจากประสบการณ์

จากการทำงานที่ผ่านมา กิจการเล็ก ๆ ส่วนใหญ่เจ้าของใช้รถส่วนตัวเพื่อใข้ในการประกอบธุรกิจ และใช้ mileage หักเป็นค่าใช้จ่าย แต่หารู้ไม่ว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าประกัน รถ ค่าซ่อมแซมนั้น ไม่สามารถเอามาหักได้ เพราะทาง the IRS ให้ใช้ระบบ ไมลล์ ซึ่งเป็นระบบเหมาจ่ายแล้ว แต่มีข้อยกเว้น ว่า ค่าที่จดรถ ค่าภาษีรถยนต์ เอามาหักออกได้ ซึ่งจะมีไว้ในแบบ 1040 schedule C  ถ้าแหวนเป็นคนทำบัญชีให้กิจการ แหวนจะไม่ใช้ตัวนี้เลย เพราะไม่ชัดเจน แต่ก็เห็นนักบัญชีบางคนใช้นะคะ ก็ไม่เจอปัญหาอะไร

ข้อควรระวังในกรณี ใช้รถส่วนตัวในกิจการ ทาง the IRS มีข้อห้ามดังนี้คะ
  • ห้ามมีรถมากกว่า 5 คัน ในกิจการเดียวกัน
  • ห้ามคิดว่าเสื่อมราคารถ รูปแบบต่าง ๆ ยกเว้น straight line method คือคิดเท่า ๆ กันทุกปีได้
  • ห้ามใช้กฏ section 179 กลุ่มที่หักค่าเสื่อมเยอะ มากถึงมากที่สุดในปีแรก ๆๆ
  • ห้ามหักค่าใช้จ่ายจริงที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
  • และห้าม เบิกค่า ไมลล์ อีกพร้อม กรณีแบบนี้คือ หักค่าไมลล์จากกิจการ ในฐานะค่าใช้จ่าย แล้วมาเบิกค่าไมลล์จากบริษัทซึ่งเรียกว่าซ้ำซ้อน

ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เจ้าของกิจการเช่าคะ เพราะ สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งก้อนทัน ที และไม่ต้องกังวลเรื่องการซ่อมแซม เพราะเปลี่ยนรถทุก 3 ปี ที่สำคัญ การเช่ารถ เปรียบเทียบกับการซื้อรถ ภาษีขายของการซื้อรถ และผ่อนรถ จะสูงกว่า การเช่ารถแน่นอนคะ  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าซ่อม ค่าน้ำมัน ค่าภาษีรถยนต์ หักเป็นค่าใช้จ่าของกิจการได้เช่นกัน

ถ้าจะซื้อรถให้ซื้อ รถ บรรทุก หรือ รถตู้คะ เพราะหักค่าเสื่อมราคาได้มากในปีแรก ๆ ถ้ารถที่มีคุณภาพดี ถึงแม้จะผ่อนนาน แต่ถ้าได้ดอกเบี้ยต่ำ ก็คุ้มค่ะ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ และรสนิยมของเจ้าของกิจการ.

และก็แนะนำเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะซื้อรถ หรือ เช่ารถ ให้ทำประกัน ที่ครอบคลุม อุบัติเหตุ ลักขโมยต่าง ๆ ยังไงค่าประกันเราก็ต้องเสียอยู่แล้วคะ ถึงแม้จะซื้อรถของตัวเอง

ก่อนจะตัดสินใจเช่าหรือซื้อ

ให้ดูว่า ค่าผ่อนรถแต่ละเดือน มีดอกเบี้ยเท่าไร ภาษีเท่าไร และการเช่ารถนั้น ค่าผ่อนเท่าไร ระยะเวลาที่เราเช่าซื้อ กับระยะเวลาผ่อน บวกดอกเบี้ย คำนวณออกมารูปแบบไหนดีกว่ากันค่ะ ไม่ยากเลย ใช้การคำนวณคร่าวๆ ง่าย ๆ

จะซื้อ จะเช่า ทั้งกิจการ หรือ ส่วนบุคคล ถ้าไม่ได้ซื้อด้วยเงินสด ยังไงก็มีค่าผ่อน ที่เกิดขึ้นประจำ ที่สำคัญค่าผ่อนรถ จะมากกว่าเช่ารถแน่นอนคะ

ถ้าเป็นคนชอบรถหรู ราคาแพง และเปลียนรถบ่อย แนะนำให้เช่าดีกว่าคะ คุ้มกว่า ประหยัดกว่ามาก โดยเฉพาะรถพวก Benze, Volvo, Land Rover, etc., ถ้าเป็นพวกรถญี่ปุ่นนี่  ซื้อดีกว่าคะ อย่าเช่า ยังไงเขาก็ราคาไม่ตก

แต่จากการที่อ่านมาเยอะแยะ เช่าซื้อดีที่สุดค่ะ เพราะ รถรุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ คนที่มีอำนาจต่อรองได้คือ เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่ซื้อตรงจากโรงงานเลย แต่ส่วนใหญ่ ชนชั้นกลางเช่นเราไม่สามารถต่อรองได้หรอกคะ

 

รถที่ใช้งานปัจจุบันของเราเอง

ถ้าเป็นคนไม่ยึดติดว่ารถ ต้องหรู ต้องดี แค่ใช้งานได้ รถคือ พาหนะ (อันนี้คือความคิดส่วนตัวเลยคะ)  ซื้อดีกว่าค่ะ ซื้อรถที่ราคาไม่ตก ไม่อายุมากขึ้น ใช้ได้สัก 10-20 ปี มีค่าซ่อมแซมบ้าง หลังจากรถผ่อนหมด ยังไงก็ประหยัดกว่าเช่าซื้อค่ะ  อีกอย่างถ้าเราไม่มีรายได้ประจำ ตกงาน เราไม่ต้องกังวล (เลี่ยงไม่ได้กรณีต้องผ่อนรถ แล้วตกงาน อันนี้ถือว่า ซวยคะ อิอิ ใครมันจะซวยตลอดเนาะ)

ถ้ามีกิจการส่วนตัว เช่นร้านอาหาร ร้านนวด หรือกิจการรูปแบบอื่นที่ไม่ได้ทำงานประจำด้วย ก็จะซื้อ หรือ เช่าในนามกิจการแน่นอนคะ เพราะอยากใช้หัก เป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งก้อน ถ้ารถหมดสัญญาเช่า เราก็สามารถซื้อต่อได้ มาหักค่าเสื่อมราคาต่อ พอรถหักค่าเสื่อมหมด อยากได้รถใหม่ก็ซื้อใหม่ ส่วนรถเก่าก็ขายออกไป หรือ ให้เป็นโบนัสกับพนักงานที่ทำงานที่ดีไปเลยคะ

 

เขียนและเรียบเรียง จากประสบการณ์ตรง

 

แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ ของสหรัฐอเมริกา)

7 กันยายน 2559 (2016)

อ้างอิง  the IRS: Standard Mileage

Topic 510 – Business Use of Car