E-2 Investor in US Business (นักลงทุนไทยในอเมริกา) Part II

E-2 Investor in US Business (Part II)

บทความคราวก่อน ได้กล่าวถึง ข้อดีของการลงทุนด้วยวีซ่าประเภทนี้มาแล้ว ทั้งการแนะนำให้จดทะเบียนรูปแบบของกิจการที่7439เหมาะสมกับรัฐ (State) ที่นักลงทุนไปจะไปลงทุน  เนื่องจากกฏหมายของแต่ละรัฐมีความยืดหยุ่นแตกต่างกันออกมา และมีหลายปัจจัยที่ควรนำมาประกอบกับการติดสินใจ  มีคำถามเพิ่มเติมเยอะพอสมควร คราวนี้จะพยายามให้ครอบคลุม แต่เนื่องจาก วีซ่า ประเภทนี้ข้อมูลเยอะมาก  พยายามสรุปสั้น ๆ กระทัดรัดค่ะ

คุณสมบัติของ E-2 Investor Visa
  • นักลงทุน เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลต่างประเทศ ที่มีอนุสัญญา ระหว่างประเทศ อเมริกา ประเทศไทยรวมอยู่ด้วยค่ะ ส่วนใหญ่ประเทศในเอเชีย มีคุณสมบัติทำวีซ่าประเภทนี้ได้ รวมถึง ใต้หวัน เกาลี  อาจจะมีมากกว่านี้คะ ต้องดูเป็นประเทศไป  ยุโรปก็เยอะด้วยคะ
  • ต้องเป็นพลเมืองของประเทศนั้น ๆ เช่น เราคนไทย มาลงทุน หรือ บริษัทที่จดทะเบียนที่ประเทศไทย
  • กรณีบริษัทไทยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ คนไทยต้องมีหุ้นมากกว่า ครึ่งค่ะ ถึงได้สิทธิ์ขอวีซ่าประเภทนี้
  • นักลงทุนต้องเข้ามาประเทศอเมริกา เพื่อบริหารกิจการค่ะ
  • กรณีเราจะนำ Chef พ่อครัว หรือแม่ครัว บุคคลเหล่านั้นต้องเป็นคนสัญชาติเดียวกับ นักลงทุนคะ เช่น เราคนไทย นำ พ่อครัวแม่ครัวคนไทยมาได้เท่านั้น

*ภรรยา หรือ สามี ของ นักลงทุน และ พ่อครัว หรือ แม่ครัว สามารถ ขอวีซ่าทำงานได้แบบถูกกฏหมาย และสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่เดียวกับนักลงทุน  ส่วนลูก ๆ ไม่อนุญาตให้ขอวีซ่าทำงานค่ะ (เนื่องจากทาง USCIS ไม่ได้ระบุให้ขอได้ จึงคิดว่าขอไม่ได้ค่ะ)

เงินลงทุน Funding

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินลงทุนมีปลีกย่อยเยอะพอสมควร USCIS ระบุไว้บางอย่างชัดเจน บางอย่างไม่ชัด เจน แหวนแสดงความเห็นตามประสบการณ์ในฐานะ นักบัญชีค่ะ

  • เงินลงทุนนั้น ต้องเพียงพอที่จะลงทุน และเพียงพอต่อการบริการกิจการอย่างต่อเนื่อง คือถ้าลงทุนไปแล้ว ถ้ามีผลขาดทุน เราก็ทำอะไรไม่ได้มาก เช่น เราลงทุนในการสร้างโรงงานเพื่อผลิต สินค้าส่งออก เราทำแผนการตลาดผิดพลาด เราขาดทุน ยับเยิน เงินนั้นก็สูญ USCIS ใช้คำว่า “funds have to be “irrevocably” . (ไม่ใช่กรณี เราซื้อหุ้น แล้วไม่พอใจในหุ้น เราเปลี่ยนไปซื้อหุ้นตัวใหม่ หรือขายหุ้นออกมา)
  • ต่อเนื่องจากที่กล่าวมา เงินลงทุนประเภท ตราสารหุ้น การเก็งกำไร (Speculate) ไม่ได้เลย เช่น ลงทุน พวก อสังหาริมทรัพย์ บ้านเช่า ซื้อขายหุ้น ซื้อที่ดินเปล่า เพื่อเก็งกำไร แต่ถ้าซื้อที่ดินมาเพื่อสร้างตึก สร้างบ้านนี่ได้นะค่ะ ไม่ใช่ซื้อที่ดินทิ้งไว้ สรุปคือ ต้องลงทุนใน Active investment NOT Passive Investment.
  • ต้องทำแผนธุรกิจที่ระบุว่ากิจการจะมีผลกำไรในอนาคต ไม่ใช่แค่พอดูแลครอบครัวหรือแค่จ่ายเงินเดือนให้พนักงานเพียงพอ Financial ratio ต้องทำไว้ในแผนธุรกิจ return on investment ต้องเหมาะสม กรณีลูกค้าแหวนจะดูถึงความเป็นไปได้ ถ้าเป็นการซื้อกิจการที่มีอยู่แล้ว เช่นร้านอาหารเดิม จะใช้ยอดขายเดิม และก็วางแผนว่าจะเพิ่มยอดขายขึ้นเพื่อกิจการจะได้มีกำไรในอนาคต. โดนทั่วไป ทุกกิจการที่ลงทุนใน ช่วง 1-3 ปีแรก จะไม่มีผลกำไรมากมายเพราะลงทุนสูง บางกิจการมีกำไรตั้งแต่ปีแรก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องมาพิจารณา. การเขียนแผนธุรกิจ Business plan ต้องมีการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง คู่แข่ง SWOT analysis ขึ้นอยู่กับกิจการ ที่จะลงทุน. กิจการประเภทนำเข้าส่งออกจะแตกต่างกับร้านอาหารพอสมควร และการวิเคราะห์จากยากกว่า (ตามประสบการณ์ที่เห็นมา)
  • นักลงทุนต้องมีอำนาจในการควบคุมเงินลงทุนของกิจการ ตัวอย่างเช่นเงินที่นำมาลงทุน ต้องไม่ใช่เงินกู้ทั้งหมด ถ้าใช้กิจการเพื่อค้ำประกันในวงเงินกู้ จะไม่มีคุณสมบัติในการขอวีซ่าประเภทนี้ ฉะนั้นแหล่งที่มาของเงินต้องเป็นเงินของนักลงทุนเอง หรือเงินที่ได้มาจาก ครอบครัว และไม่มีภาระในการจ่ายคืน กรณีกู้ยืมกันเองภายในครอบครัว ไม่ควรจะแสดงว่ายืมในทางเอกสาร ถ้าจะคืนเงินให้ครอบครัว ให้ใช้วิธีการให้แบบเสน่หา ซึ่งให้ได้ไม่เกินปีละ $14,000/year (ชี้โพรงให้กระรอกนิดหน่อย อิอิ). ทางรัฐบาลไม่ได้กำหนดถึงการห้ามการกู้เงิน การกู้ต้องอยู่ในอัตรส่วนที่เหมาะสม ทุกธุรกิจมีการกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่ไม่ควรเกิน 40% of total funding เช่น ลงทุน $100,000 กู้ได้ไม่เกิน $40,000.
เมื่อวีซ่าการลงทุนสิ้นสุด E2 Termination

นักลงทุนต้องออกจากประเทศ เช่น รัฐบาลจะให้นักลงทุนขออนุญาต อยู่ต่อทุก ๆ 2 ปี กรณี ที่รัฐบาลไม่อนุมัติให้ต่อวีซ่า นักลงทุนต้องออกจากประเทศทันที

ถ้าพนักงานระดับบริหารเช่น chef หรือพ่อครัวแม่ครัว หนีวีซ่าละควรทำอย่างไร

กรณีแบบนี้ นายจ้างต้องแจ้งยกเลิกไปทาง รัฐบาล และพนักงานต้องออกจากประเทศตามที่ตกลงไว้ เว้นแต่ว่า พนักงาน ได้งานใหม่และทำงานให้นักลงทุน และนักลงทุน สปอนเซ้อวีซ่าให้ถูกต้อง พนักงานถึงมีสิทธิ ทำงานและอยู่ในประเทศแบบถูกกฏหมายได้.

ธุรกิจอะไรบ้างที่ทางประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ลงทุนได้

มีธุรกิจหลายประเภท ที่อนุญาต ให้ลงทุน อาจจะเกือบทุกประเภท เช่น ร้านอาหาร ร้านนวด ขายของ นำเข้า ส่ง ออก ผลิต สารพัด   ทางรัฐบาลไม่ได้ตั้งข้อกำหนดถึงประเภทกิจการที่จะลงทุน

ธุรกิจที่ไม่สามารถขอวีซ่านักลงทุนได้

รัฐบาลได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าธุรกิจประเภทเก็งกำไร (Speculation) ไม่อยู่ในคุณสมบัต เช่น การซื้อขายหุ้น การซื้อบ้านที่ดิน เพื่อเก็งกำไร การซื้อขายที่ดิน ที่ไม่ได้หวังจะปรับปรุง ก่อสร้าง Passive investment จะไม่อยู่ในข่าย.

ต้องการมาลงทุนที่อเมริกา ด้วยวีซ่า ประเภทนี้ควรเตรียมตัวอย่างไร

เนื่องจากทาง รัฐบาลอเมริกา ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนทุกประเด็น แม้กระทั่งเงินทุนขั้นต่ำที่นักลงทุนต้องนำมาลงทุน แต่รัฐบาลได้พูดถึงกิจการขนาดเล็ก ที่จัดอยู่ในวีซ่าประเภทนี้ (ตามที่ศึกษาโดยทั่วไป กิจการที่เรียกว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก คือมีเงินลงทุนต่ำกว่า $100,000)

กิจการขนาดใหญ่เช่นวีซ่า EB5, EB2 ที่มีเงินลงทุนขั้นต่ำที่ $1 Millions หรือ ลงทุน $500,000 สำหรับกิจการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (ซื้อกิจการต่อหรือร่วมทุนกับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว) .

  1. เลือกประเภทกิจการที่จะลงทุน เช่น ต้องการซื้อร้านอาหาร ควรจะเลือกทำเล ราคาที่ขายเหมาะสมหรือไม่ ปัจจัยการเลือกซื้อร้านต้องดูทำเล ดูกลุ่มลูกค้า ดูรายได้ของกลุ่มลูกค้าในทำเลนั้น ทำเลสวย ราคาแพง ทำเลปาน ราคาอาจจะถูกลง
  2. การทำ due diligence หรือการตรวจสอบธุรกิจก่อนการซื้อ ตรวจสอบภาษีที่ค้าง การวิเคราะห์งบการเงินเพราะต้องใช้มาทำแผนธุรกิจ
  3. การทำสัญญาซื้อขาย ให้รัดกุมและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ทำสัญญาซื้อขาย กรณีที่มีการซื้อกิจการ 100% อย่างน้ำคือ 50% มีกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขาย เจ้าของร้านเดิม ขายร้านแล้วมาเปิดแข่งกับกิจการปัจจุบันซึ่งอยู่ในทำเลเดียวกัน ต้องป้องกันจุดนี้ด้วยค่ะ
  4. ถ้ากิจการจดทะเบียนรูปแบบ Corporation มีการทำการออกหุ้นเพิ่ม หรือการโอนหุ้นระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุน (วิธีนี้เหมาะสม สำหรับกิจการที่มีพี่น้องร่วมทุน) ถ้ากิจการเดิม จดทะเบียนรูปแบบอื่น ๆ ให้ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อซื้อกิจการ  แนะนำให้ตั้งบริษัทใหม่ทุก ๆ กรณี เพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี หรือหนี้ค้างต่าง ๆ
  5. การตรวจสอบ ลายเซ่นการกอบธุรกิจต่าง ๆ ก่อนซื้อ เช่น ลายเซ่นการขาย แอลกอฮอลล์
  1. การวางแผนเกี่ยวกับการชี้แจงแหล่งที่มาของเงิน อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เงินทุนต้องไม่ใช่มาจากการกู้ยืมทั้งก้อน กู้ได้แต่ห้ามเกิน อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 40% มีการแสดงรายละเอียดการนำเงินเข้ามาลงทุน ที่มาที่ไปของเงิน
  2. ที่เห็นกันคือ พี่ให้น้อง น้องให้พี่ แม่ให้ลูก หรือเรียกว่าของขวัญ ให้ระวังกรณีที่พี่ให้น้อง แล้วพี่เป็นเจ้าของกิจการที่อเมริกา และต้องการให้น้องมาลงทุน ของขวัญจากพ่อแม่ให้ลูก ๆ เพื่อใช้ในการลงทุน ถือว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่มีปัญหาในการอนุมัติวีซ่าจากกงศุลที่ประเทศไทย หรือจาก เจ้าหน้าที่ที่อเมริกา.
  3. การเตรียมตัวเรื่องเอกสารต่าง ๆ เช่น การแปลเอกสาร ทะเบียนราษฎ์ การแปล หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย การแปลแบบแสดงรายการภาษี หรือ เงินกู้ต่าง ๆๆ
ทำเอกสารขอวีซ่านักลงทุนเอง หรือ ใช้ทนายดี

ถ้าคุณภาษาอังกฤษคล่อง เขียนแบบภาษาราชการได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษดี มีพื้นฐานทางธุรกิจ คุณสามารถทำเรื่องเองได้ค่ะ ศึกษาขั้นตอนให้ละเอียด โดยตรงจากเวบไซด์ของ USCIS     หรือ จากทางเวบของสถานทูตอเมริกาได้ กรณีที่ขอวีซ่าจากเมืองไทย

ถ้าไม่มีคุณสมบัติข้างต้น ควรจะใช้บริการของทนาย หรือจากผู้ที่มีประสบการณ์  ก่อนจะใช้บริการจากทนาย หรือผู้มีประสบการณ์ควรศึกษาข้อมูล หรือประวัติของบุคคลเหล่านั้น

การเปรียบเทียบราคาค่าบริการ กับบริการที่จะได้รับควรมีการตรวจสอบด้วย

เช่น ทนายคิดค่าบริการขั้นต่ำที่ $5,000 ในการยื่นเอกสาร  เราต้องทำแผนธุรกิจ Business plan ทำสัญญาซื้อขาย Buy Sell agreement  จดทะเบียนบริษัท Forming business , และ ทำ due diligence ด้วยตัวเราเอง และที่สำคัญเราต้องหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อเซ็นรับรองสินทรัพย์ของกิจการที่ซื้อเองด้วยนั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่คุ้มค่ะ ถ้าคุณสามารถทำทุกอย่างเองได้ขนาดนี้ให้ทำเองดีกว่าค่ะ ประหยัดเงิน

สำหรับการใช้บริการของกลุ่มที่ไม่ใช่ทนายความเช่นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เราก็ควรจะตรวจสอบคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือด้วยค่ะ เพราะ ถึงแม้ว่ากฏหมายด้านจรรยาบรรณฉบับเดียวกันทั่วประเทศ  คนนำไปประยุกต์ใช้และตีความยังแตกต่างกันออกไป

ถ้าอยากใช้บริการกับเราด้วยควรจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ

ข้อเสีย คุณควรทราบว่า ทีมงานแหวนไม่ได้ใช้ทนายความในการช่วยในการดำเนินการขอวีซ่านักลงทุน รวมถึงการทำ การจตรวจสอบธุรกิจ และไม่ได้จบการศึกษา ด้านกฏหมายมาด้วย ทุกอย่างที่รู้คือจากการหาข้อมูลทาง USCIS website โดยตรง และจากประสบการณ์ที่มีลูกค้ามาลงทุนด้วยวีซ่า ประเภทนี้

ข้อดี มีประสบการณ์ตรง และ ทำ due diligence ตรวจสอบงบการเงินให้ได้ เซ็นรับรอง ทรัพย์สินของกิจการที่จะซื้อในฐานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของสหรัฐอเมริกา วางระบบบัญชี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจมาหลายปี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจอื่น ๆ ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร

ค่าบริการอาจจะไม่ต่ำกว่าทนาย เนื่องจากทางทีมงานช่วยเหลือลูกค้า เต็มกำลัง และความสามารถที่มี ที่สำคัญ จะขอดูเอกสารก่อนว่า มีความเป็นไปได้ที่จะผ่านหรือเปล่า ถ้าเอกสารไม่พร้อมจะไม่รับทำให้จนกว่าจะพร้อม ลูกค้า แต่ละรายใช้เวลาในการทำเอกสาร จนกระทั่งได้วีซ่าประมาณ 3-6 เดือน

ไม่รับประกันว่าจะผ่านทุกรณี เพราะ เราไม่ใช่ผู้มีอำนาจในการอนุมัติวีซ่า เจ้าหน้าที่ของทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา คือ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละคนอีกด้วยค่ะ

 

ควรตรวจสอบกับทนายความหลาย ๆ แหล่งค่ะ เพื่อเปรียบเทียบราคาและบริการที่จะได้รับ (เตือนแล้วนะค่ะ ไม่ใช่ว่าจะไม่เตือน)

 

เรียบเรียงโดย แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)   วันที่ 12 สิงหาคม 2559 (2016)

ที่มา  USCIS – Understanding E-2 Requirements