E-2 Investor in US Business (นักลงทุนไทยในอเมริกา) part I

E-2 Investor in US Business (นักลงทุนไทยในอเมริกา) Part Icropped-P10103663.jpg

โดยทั่วไปประเทศอเมริกาเปิดกว้างมากสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ (ไม่ใช่เฉพาะที่ประเทศไทย) มีวีซ่าลงทุนหลายประเภท ที่ต่างชาติสามารถขอได้ บางวีซ่า ที่มีเงินลงทุนสูงๆ ถึง $1 Millions สามารถขอกรีนการ์ดได้เลยเช่น วีซ่า EB2.

บทความจะกล่าวถึง E-2 Investor Visa หลัก ๆ นะคะ เพราะ กลุ่มชนชั้นกลางในประเทศไทยของเรานิยมมาลงทุนกันเยอะมาก โดยเฉพาะกิจการร้านอาหาร ที่ขอวีซ่าลงทุนได้ง่าย และสามารถทำเรื่องขอจ้าง chef หรือพ่อครัวแม่ครัวโดยตรงจากเมืองไทย มาได้ทั้งครอบครัว ค่าธรรมเนียมที่ทาง USCIS เรียกเก็บก็ไม่ได้แพงมาก ที่แพง คือค่าดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ จากที่พบมา ค่าบริการ ในการดำเนินการประมาณ $5,000 – $10,000 โดยประมาณ พร้อมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ .

ทำไม E-2 Investor Visa ช่างเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง

ถึงแม้ว่า วีซ่าประเภทนี้ไม่สามารถ เปลี่ยนเป็น กรีนการ์ด ได้ในอนาคต แต่ไม่มีข้อจำกัด ในการต่ออายุ ต่อได้เรื่อยๆ คราวละ 2 ปี ตราบใดที่กิจการมีการยื่นภาษีตามกฏหมายและการรายงานค่าแรง ไปยัง the IRS.

นักลงทุน และ พ่อครัว หรือ แม่ครัว สามารถ ทำวีซ่าติดตามให้กับครอบครัว รวมถึงลูก ๆ ที่อายุไม่เกิน 21 ปี ลูก ๆ มีสิทธิ์เข้าโรงเรียนของรัฐบาล ได้เหมือนคนอเมริกัน ทั่วไป ตามที่กฏหมายได้ระบุไว้

รูปแบบของกิจการที่นักลงทุนควรพิจารณา LLC or Corporation?

ตามกฏหมายภาษีอาการ ต่างชาติ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) สามารถ ทำธุรกรรมทางการเงินได้หลายแบบ ทั้งแบบ Limited Liability Company (LLC) และ หรือ Corporation (C-Corp). ข้อที่ควรทราบคือ Small Corporation (S-Corp) ไม่อนุญาตให้ต่างชาติ ทำได้คะ กฏหมายเขียนไว้อย่างชัดเจนมาก ถ้าปัจจุบันกิจการอยู่ในรูป S-Corp แล้ว ทันทีที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะเป็นโมฆะ กลายเป็น Corporation (C-Corp) ทันทีคะ อ้างอิงที่เว็บไซด์ the IRS คลิกที่ลิงค์ S Corporations Requirement.  ไม่พูดถึงประเภทธุรกิจแบบอื่น ๆ เช่น ทรัส นะคะ เพราะ ต้องอ้างกฏหมายภาษีต่างกันคะ.

ข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนบริษัท ทั้ง 2 ประเภท (LLC & C-Corporation).

Limited Liability Company (LLC) แบบแสดงภาษี Form 1065
  • ตามประสบการณ์ การจดทะเบียนง่ายกว่า ส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียมจะถูกกว่า แบบ คอรปอเรชั่น แต่ไม่ทุกรัฐนะคะ บางรัฐ เช่น New York แพงกว่าคะ ต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ ยุ่งยากกว่าด้วย และใช้เวลา มากมากว่า 30 วันถึงจะมีผลในทางกฏหมาย
  • ไม่ต้องมีใบหุ้นคะ การแบ่งผลกำไรขาดทุน ตกลงกันได้ใน Operating agreement
  • กำไรและขาดทุน ผ่านตรงมายัง สมาชิก (member) ตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ใน Operating agreement
  • ไม่มีภาษีในตัวบริษัท
  • มี self-employment tax at 15% (7.65% employer + 7.65% employee) จากกำไรสุทธิที่แบ่งให้กับสมาชิกในบริษัท เช่น มีสมาชิก 2 คน แบ่งกำไรคนละ $15,000 เสียภาษี self-employment taxes ที่ $2,295 แต่ ครึ่งหนึ่งของภาษีเอามาหักออกจาก ภาษีเงินได้ที่ต้องเสียทั้งหมดได้ที่ $1,147.50 สรุปคือมีภาษีที่ $1,147.50.
  • ไม่สามารถเลือกที่จะยื่นภาษีแบบ S-Corporation ได้ เพราะ มีคนต่างชาติถือหุ้น ถ้าธุรกิจมีกรีนการ์ด หรือ อเมริกัน ร่วมทุนด้วยจะทำให้ ฝ่ายนี้เสียเปรียบเพราะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น.
  • ถ้ามีผู้ถือหุ้นที่อยู่ต่างประเทศ (อยู่อเมริกาต่ำกว่า 183 วัน) เมื่อกิจการมีกำไรต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% ของกำไรสุทธิ ตัวอย่างเช่น กิจการ มีบริษัทต่างชาติ หรือ คนไทยที่อยู่นอกอเมริกา ถือหุ้นด้วย ถึงแม้จะไม่มีการจ่ายเงินผลกำไรออกไป บริษัทมีหน้าที่หัก ภาษี ณที่จ่ายไว้และนำส่งไปยัง the IRS. (ยุ่งยากมากขึ้นเลย ลูกค้าเราไม่จด LLC คะ จดอีกแบบให้).
Corporation (C-Corp) แบบแสดงภาษี Form 1120
  • ตามประสบการณ์ การจดทะเบียนมีขั้นตอนมากกว่า จดแบบ LLC และค่าธรรมเนียมจะมากกว่า เช่น ที่ แคลิเฟอเนีย รัฐอื่นๆ เช่น อริโซน่า ไม่แตกต่างกันเลย ส่วน ยูท่าร์ ไม่แตกต่างกันมาก เช่นกัน บางรัฐต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ และใช้เวลา มากมากว่า 30 วันถึงจะมีผลในทางกฏหมาย
  • ต้องมีใบหุ้นคะ การแบ่งผลกำไรขาดทุน ตามหุ้นที่ถือ การจ่ายผลกำไรออกไปเรียกว่าการจ่ายเงินปันผล
  • กำไรสุทธิ จากการกิจการต้องเสียภาษีที่ อัตรา 30% – 34%
  • เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น ถือเป็นรายได้เงินปันผลของผู้ถือหุ้น และต้องนำไปรวมในการคำนวณภาษี รวมกับรายได้ประเภทอื่น ๆ เงินปันผล ถ้าถือหุ้นมากกว่ากว่า 1 ปี เรียกว่า long term capital gain อัตราภาษีจะอยู่ที่ 15% – 20% ถ้าไม่มีการจ่ายเงินปันผลจะไม่มีภาระภาษีในจุดนี้คะ
  • ไม่มี self-employment tax at 15% เหมือนกับ LLC ดังนั้น ผู้ถือหุ้นที่มีกรีนการ์ด และอเมริกัน ไม่เสียเปรียบในเประเด็นนี้.
  • ไม่สามารถเลือกที่จะยื่นภาษีแบบ S-Corporation ได้ เพราะ มีคนต่างชาติถือหุ้น ถ้าธุรกิจมีกรีนการ์ด หรือ อเมริกัน.
  • ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% ของกำไรสุทธิกรณีมีผู้ถือหุ้นต่างชาติเหมือนกับ LLC

 

จดทะเบียนบริษัทแบบไหนดี (ความเห็นส่วนตัว)

ลูกค้าส่วนใหญ่มีการจดทะเบียนทั้ง สองแบบคะ เพราะไม่ได้เป็นคนจดทะเบียนให้เขา ลูกค้าทำกันเอง มีกรณีที่ลูกค้ามาใช้บริการทำเอกสาร E-2 Investor Visa จะมีการคุยกันก่อนทั้งข้อดีและข้อเสีย ล่าสุดจดทะเบียนที่รัฐ Florida as Corporation (C-Corp) ให้ลูกค้าคะ เพราะมีผู้ถือหุ้นเป็นพลเมืองที่นี่ และง่ายในการออกใบหุ้น การจดแบบ LLC ที่รัฐเดียวกันก็ไม่ยุ่งยากอะไรคะ ที่เลือกจดแบบ C-Corp เพราะ รู้ว่ากิจการมีการจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของกิจการและมีการจ้าง chef พ่อครัวแม่ครัวมาจากเมืองไทย และพนักงานทุกคนในร้านพยายามยื่นภาษีให้ถูกต้อง และไม่คาดว่ากิจการจะมีผลกำไรมากหมาย ช่วง สามปีแรก ตามที่ได้ประมาณการไว้ ถึงแม้ว่ามีผลกำไร ก็คงยังจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล เพื่อหลีกเลี่ยง การเสียภาษีซ้ำซ้อน และทราบว่าในอนาคตทางลูกค้าจะมีการขยายกิจการ และมีการออกหุ้นเพิ่ม หรือ ขายกิจการปัจจุบันเพื่อซื้อกิจการแห่งใหม่.

การเลือกรูปแบบการจดทะเบียนบริษัท ควรมีการวางแผนคะ ว่า แนวทางของธุรกิจจะออกมาในรูปแบบไหน มีคนอเมริกัน หรือ กรีนการ์ดร่วมหุ้นด้วยหรือไม่ และการวางแผนระยะยาวจะทำอย่างไร

อเมริกัน (US Citizen) หรือ กรีนการ์ด (Green card holder) ต้องการลงทุนกับ E-2 Investor

ควรจะเลือกจดทะเบียนแบบ C-Corp คะ เพราะป้องกันการเสีย self-employment taxes เว้นแต่ว่าคุณลงทุนเอง กรณีนี้คุณสามารถเลือก S-Corp ได้ จะจดแบบ LLC or C-Corp แล้วเลือกยื่นภาษีแบบ S-Corp ได้ทั้งสองกรณีคะ มีค่าเท่ากัน และก็มีผลดีซะส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่รัฐไหนคะ ผลประโยชน์ในการจดทะเบียนแตกต่างกันออกไป

Visa ประเภทไหน ที่สามารถใช้สิทธิ์ยื่นภาษีแบบ เรสสิเด้นตามกฏหมายภาษีได้

ทุกวีซ่าเปลี่ยนเป็น E-2 Investor ได้หมดคะ ถ้าอยู่ที่นี่แล้วสามารถทำเรื่องเปลี่ยนสถานะได้ง่ายกว่าคะ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกเรียกตัวเพื่อเข้าสัมภาษณ์ แค่ขอเอกสารเพิ่มเติมก่อนที่จะอนุมัติให้วีซ่าได้ แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามอยู่เกิน สถานะวีซ่าต้องไม่ขาด Overstayed ไม่ได้เลยคะ

ไม่ต้องการเปลี่ยนวีซ่าเป็นนักลงทุนก็ได้คะ แต่ถ้ามาด้วยวีซ่า “F”, “J”, “M”, or “Q  กลุ่มนี้ยังไงก็ใช้สิทธิการเสียภาษีแบบ เรสสิเด้น (resident) ไม่ได้เลย กฏหมายตั้งข้อยกเว้นไว้ชัดเจน เช่นวีซ่านักเรียน F1 ไม่ต้องเสียประกันสังคม ถ้ามาทำงาน แต่ถ้าลงทุนในธุรกิจประเภท LLC เมื่อกิจการมีกำไรสุทธิ กิจการมีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% พร้อมนำส่งไปยัง the IRS คะ   กฏหมายอ้างอิงตามลิงค์ คะ Foreign Persons  เรสสิเด้นไม่ใช่แค่กรีนการ์ดนะคะ วีซ่าตัวอื่นๆ ก็ถือว่าเป็นเรสสิเด้น อยู่เกินก็เรสสิเด้นคะ ถ้าอยู่อเมริกามากกว่า 183 วัน ตามกฏ Present Test คะ อ่านเพิ่มเติมได้คะ ตามลิงค์ Publication 519, U.S. Tax Guide for Aliens.

 

เรียบเรียงโดย แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)   วันที่ 3 สิงหาคม 2559 (2016)

ที่มา  the IRS website ตามลิงค์ในบทความ

ปล. รู้สึกภูมิใจมาก ที่สะกด คำว่าอนุญาตถูกต้อง อิอิ  ขอบคุณพี่ฟ้าที่คอยเตือนคะ