To obtain Thai Citizenship for a half Thai-American Baby

การขอใบเกิดลูกครึ่ง (ไทย-อเมริกัน) หรือเด็กที่เกิดต่างประเทศ และ นำลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ส่วนใหญ่บรรดา แม่ ลูกครึ่งทั้งหลาย อาจจะทราบขั้นตอนเหล่านี้ดี โดยเฉพาะ คุณแม่ที่มีลูกมากกว่า 1 คน กรณีลืมก็กลับมาอ่านได้นะค่ะ อันนี้สำหรับคุณแม่มือใหม่ หรือ คุณแม่ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับธุรกรรมทางกฏหมายแบบนี้

โดยทั่ว ๆ ไป เด็กที่คลอดในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางโรงพยาบาลจะมีการสอบถามถึงประวัติพ่อแม่ เพื่อส่งประวัติไปยังเสตทและก็มีการออกเอกสารใบเกิด (Birth Certificate) ให้แก่คุณแม่ทั้งหลาย พร้อม ขอเลขประจำตัวประกันสังคม (SSN) ให้กับ เบบี้

สำหรับเลขประจำตัวประกันสังคม จะส่งตามมาให้ที่บ้าน อย่างเร็ว 2 อาทิตย์ อย่างช้า ก็ เกือบ 2 เดือน

การขอใบเกิด

ส่วนใบเกิด เราสามารถขอฉบับจริง Duplicate ได้หลาย ๆ ใบ กับทางเสตท ทุกเสตทจะมีบริการออนไลน์ค่ะ ใช้ search “Birth Certificate” จะปิ๊งเข้ามาเลย แล้วเราก็ค่อย ๆทำตามขั้นตอน  ถ้าภาษาไม่ดี ควรจะให้สามีฝรั่ง ช่วยนะค่ะ ไม่งั้นก็ให้คนที่รู้ภาษาช่วยไว้  ควรจะขอไว้อย่างน้อย 2 ฉบับนะค่ะ เผื่อมีการสูญหายจะได้ไม่ต้องขอใหม่อีก

การขอรับรองจาก Secretary of State

หลังจากได้ใบเกิดฉบับจริง เราสามารถใช้ต้นฉบับไปรับรองที่ Secretary of State ขั้นตอนนี้เรียกว่า Authentication ค่ะ เหมือนกับการรับรองว่า ใบเกิดนี้ฉบับจริงออกโดยรัฐที่เราอยู่   ปล. สำหรับเบบี้ที่เกิดในรัฐแคลิเฟอเนีย ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้ค่ะ ทางสถานกงศุลไทยที่ แอลเอ ได้ มีหนังสือแจ้งไว้มานานแล้ว (สบายไปเลยสำหรับ แม่ ๆ ทั้งหลาย)

http://www.nass.org (เลือก Resources > Business Services > Apostilles / Authentications > เลือกมลรัฐที่ออกเอกสารท้องถิ่น) ข้อมูลที่กงศุลแอลเอ ได้เขียนไว้ค่ะ

หลังจากได้ใบเกิดฉบับจริง พร้อม Authentication certificate จากเสตทแล้ว ให้ดาวโหลดแบบฟอร์ม คำร้องที่สถานกงศุลได้ในเว็บไซด์ค่ะ ถ้ากรณีที่เราตั้งชื่อลูกไทยแตกต่างจากชื่อภาษาอังกฤษ เราต้องกรอกหนังสือเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเด็กคนนี้คือคนเดียวกัน (ลูกแหวนเองค่ะ ทั้งสองคน ชื่อคนละฝั่งกันเลย ฮ่า ฮ่า) เอกสารฉบับจริงของแม่ เช่นบัตรประชาชน พาสปอร์ตจริงของพ่อ พร้อมคำร้อง ส่งไปพร้อมกันนะค่ะ (กรณีต้องการทำทางไปรษณีย์) อย่าลืม ใส่ซองพร้อมเสตม เพื่อใช้สำหรับส่งเอกสารกลับคืนมาให้เราด้วยค่ะ   เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ต้องดาวโหลด มีไว้ที่เว็บของกลศุลนะค่ะ ตามลิงค์ “นิติกรณ์และงานทะเบียนราษฎร์”

 

 การนำลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

หลังจากได้ใบเกิดฉบับจริง (ฉบับภาษาไทย) จากทางกงศุลแล้ว งานนี้เราก็ ดำเนินการขั้นต่อไปค่ะ คือ การนำชื่อลูก ๆ เข้าทะเบียนบ้านที่เขตที่เราอยู่ หรือ ที่เขตที่เรามีเจ้าบ้านได้อนุญาติให้เราเข้าอยู่ได้

เอกสารที่ต้องใช้คือ ใบเกิดภาษาไทยฉบับจริง  ทะเบียนบ้านที่เราต้องการนำชื่อลูกเข้า บัตรประชาชนของแม่ และของพ่อ (พาสปอร์ต) มีรูปถ่าย 6 รูป 1.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้วใช้ได้ค่ะ)  ถ้ากรณี เบบี้มีหนังสือเดินทาง ของไทย ให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงแนบไปด้วยค่ะ ทาง เขตจะมีคำร้องให้กรอก และจะใช้เวลา 5 วันทำการกว่าจะเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้มารับเอกสารคืน

กรณีที่เราไม่สามารถไปทำการเองได้  ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ โดยทางกงศุลได้รับรอง ว่าเพื่อ มอบอำนาจให้ทำการ นำชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้าน  หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน สามารถดาวโหลด ได้ที่ลิงค์ กรมการกงศุลได้ค่ะ ตามนี้  “การรับรองลายมือชื่อในเอกสารไทย (หนังสือมอบอำนาจ)” ปล. ทำหนังสือมอบอำนาจมีค่าธรรมเนียม $15 เหรียญนะค่ะ อย่าลืม ส่งทางไปรษณีย์ได้ค่ะ หรือไม่ถ้ามีกงศุลสัญจรมาก็มีบริการด้วยค่ะ

*ควรสอบถามกับสำนักงานเขต หรือ อำเภอที่เราอยู่อาศัยก่อนด้วยนะค่ะว่า จะนำลูกครึ่งเข้าทะเบียนบ้านไทย นี่ ใช้หนังสือมอบอำนาจกระทำการแทนได้ไม๊ เพื่อความขลังค่ะ ที่กรุงเทพส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาค่ะ โดยเฉพาะที่เขตประเวศ

*สำหรับเบบี้ ทางกงศุลอนุโลม ให้ขอพาสปอร์ตไทยเล่มแรกโดยที่ไม่ต้องนำชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านนะค่ะ แต่สำหรับการต่อเล่มที่ สอง(2) ทางกงศุลไม่อนุญาติค่ะ ฉะนั้น คุณแม่ ๆ ทั้งหลาย อย่าลืมข้อกำหนดนี้นะค่ะ

ทำไมเราอยากให้ลูกมีสัญชาติไทย

เพราะว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การเป็นบุคคล สองสัญชาติมีข้อดีมากกว่าข้อเสียค่ะ  ถ้าเขาโตขึ้น เขาไม่อยากถือสัญชาติไทยก็ให้เขาตัดสินใจเอง แต่กรณีที่เราไม่ได้ทำเรื่องให้ลูก ๆ แล้วเขาอยากได้สัญชาติไทย ภายหลังมันจะยุ่งยากค่ะ แต่ก็ยังคงทำได้ตราบใดที่ไมมีกฏหมายห้ามไว้   อยากให้ลูก ๆ ตระหนักว่าเขาคือคนไทยคนหนึ่งค่ะ เพราะสีผิว หน้าตา เขาก็ไม่เหมือน คนเอเชีย หรือ ฝรั่ง 100%    เขารู้ว่าเขาแตกต่างค่ะ  อีกอย่างไม่อยากมีปัญหากับ ทาง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด้วย  เพราะตั้งแต่เบบี้เกิด ก็เดินทางเข้าประเทศไทยด้วย พาสปอร์ตไทยตลอดเวลา ฉะนั้น จะคงจะรักษาความสม่ำเสมอ นี้ไว้ เพราะ ถ้า พี่ ตม. เอาเรื่องเราก็โต้เถียงยาก เนื่องจากลูกครึ่ง ทางรัฐบาลไทย สามารถสั่งยกเลิกสัญชาติได้ ไม่เหมือนเรา ๆ ที่มีพ่อแม่ไทย ซึ่งไม่มีใครสามารถ ถอดถอนสัญชาติเราได้ เว้นแต่เรายกเลิกเอง

 

จากมุมหนึ่งของแม่ลูกครึ่ง ที่มีความรักและปรารถนาดีต่อลูก ๆๆ

 

ที่มา สถานกงศุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส