Reporting Tip Income – Restaurant Tax Tips
ภาษีและหน้าที่เกี่ยวข้องจาก รายรับจากทิปจากการขายอาหาร(ร้านอาหาร)
Tips ที่พนักงานรับจากลูกค้าโดยทั่วไปแล้ว ทางร้านอาหารมีหน้าที่รวมเป็นรายได้ในการคำนวณ ภาษี หัก ณ ที่จ่ายไว้สำหรับ non-tip wages เพื่อนำส่ง ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. ทิปที่พนักงานได้รับตามกฏหมายถือว่าเป็นรายได้. ทิปหมายถึงยอดที่ทางร้านเรียกเก็บจากทางลูกค้า ลูกค้าจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือ พนักงานได้รับเงินสดโดยตรงจากลูกค้า.
หน้าที่ของพนักงาน (พนักงานไม่ใช่เจ้าของร้าน)
พนักงานในร้านมีหน้าที่ต้องรายงานทิปที่ได้รับ ในแบบ Form 4070, Employee’s Report of Tips to Employer (PDF), หรือเอกสารตัวอื่นที่คล้าย ๆ กัน (ตีความว่ารวมในรายงานการรับเงินเดือนที่นายจ้างออกให้). แบบนี้ต้องยื่นภายในวันที่ 10th ของเดือนถัดไปจากวันที่ได้รับทิป. ต้องเซ็นแล้วนำส่งไปยัง The IRS:
ถ้าภายในเดือนนั้น รับทิปต่ำกว่า $20 ไม่ต้องรายงาน.
หน้าที่ของนายจ้าง (เจ้าของร้านอาหาร) กฏหมายล่าสุด Dec 31, 2015
Non-tip wages คือทิปหรือค่าบริการที่เรียกเก็บอัตโนมัติจากลูกค้า รวมในใบเสร็จ เช่นร้านอาหารขนาดใหญ่ ได้คำนวณทิปไว้เรียบร้อย. นายจ้างมีหน้าที่เรียกเก็บ ภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง social security tax and employee Medicare tax สำหรับทิปที่พนักงานได้รายงานไว้. เจ้าของร้านสามารถ รวมในรายงานค่าแรงเงินเดือน แล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ หรือ นำส่งแบบแยก กรณีที่ไม่ได้รวมในค่าแรง.
Tips โดยทั่วไป ที่ไม่เข้าข่ายที่รวมในบิลเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ นายจ้างไม่มีหน้าที่ หัก social security tax and employee Medicare tax แต่มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่าย Federal Income Tax and State Tax ตามปกติ.
ว่าด้วยการคำนวณทิป สำหรับพนักงาน Allocation of Tips
ตามกฏหมาย ในฐานะนายจ้าง มีหน้าที่ ตรวจสอบว่า ทิปที่ออกให้กับพนักงาน ต้องไม่ต่ำ กว่า 8% of your total receipts สำหรับปีภาษีนั้น (กฏนี้มีผลสำหรับร้านอาหารที่มีพนักงานมากกว่า 10 คน ซึ่งมีหน้าที่รายงานรายรับทิป)
- กฏเขียนไว้ว่า The IRS จะตั้งสมมุติฐานว่า กิจการร้านอาหรทั่วไป หรือธุรกิจคล้ายๆ กัน จะมี การทิปที่ 8 percent of sales เป็นอย่างต่ำ. ถ้าธุรกิจรายงานรายได้ทิปแค่ 6 percent of sales, the IRS สั่งเลยว่าต้องแบ่งทิปเพิ่มอีก 2 percent of sales ให้กับพนักงานทุก ๆ คนในร้าน ซึ่งหมายถึงว่าตัวนี้ พนักงานในร้านต้อง เสียภาษีเงินได้ตามปกติ.
- นายจ้างสามารถทำหนังสือถึง the IRS ว่าขอเรียกเก็บทิปแค่ 2% จากยอดขายได้ ในกรณีที่มีการแบ่งทิปให้กับพนักงานเท่าๆ กัน Instructions for Form 8027 (PDF) ใช้ทำเรื่องขอลดการคำนวณทิปขั้นต่ำ. (กลุ่มที่ต้องปฏิบัติตามกฏนี้คือ มีพนักงานในร้านมากกว่า 10 คนขึ้นไปเท่านั้น)
- ถ้าเราไม่ได้มีการแบ่งทิป จ่ายทิปตามจริง ไม่ต้องใช้ตัวนี้
- วิธีการคำนวณ ทิป มี 3 แบบ ดังนี้: 1.) Gross Receipt Method 2.) Hours Worked Method, 3.) Good Faith Agreement
Note: นายจ้างไม่มีหน้าที่หัก ภาษี Social Security taxes on the allocated tip income. เงินรายได้จากทิปจะรวมอยู่ใน box 8 of their Form W-2.
- เพิ่งได้ยินครั้งแรกนะค่ะ และอาจจะเพิ่งทำบัญชีให้ร้านอาหารไม่กี่ปีมานี่เอง และไม่เคยเห็น ลูกค้ามีหนังสือเรียกประเมินจาก the IRS เลย สักราย แต่ไม่ได้เป็นการรับประกันนะค่ะว่าจะไม่โดน ตัวเองคิดว่า ร้านอาจจะเล็ก ๆ มีพนักงานยื่นเงินเดือนถูกต้นไม่เกิน 3 ราย (นอกนั้น นักเรียนไม่ก็อยู่เกิน ตามที่เรารู้กันอยู่)
ความเห็นในฐานะ นักบัญชี
เนื่องจากมีกฏตัวนี้ ที่ทางเจ้าของร้านอาหารอาจจะไม่ทราบ หรือทราบดีจาก คนทำบัญชีของร้าน จึงเลี่ยงด้วยการจ่ายเงินสดให้กับพนักงานออกไป. เพราะ พนักงานในร้านไม่อยากรับเชค ที่ต้องไปขึ้นเงินกับธนาคาร ซึ่งมี 3 แบบ
- แบบแรก คือ คนที่ไม่มีสิทธิทำงานได้ตามกฏหมาย เช่นอยู่เกิน หรือ นักเรียน ถ้ารายงานไป งานก็เข้าเจ้าของร้านอีก เพราะ บุคคลเหล่านี้ไม่มีสิทธิ ทำงานได้ตามกฏหมาย
- อยู่แบบถูกกฏหมาย แต่ไม่อยากเสียภาษีให้ถูกต้อง เนื่องจากหลายๆ สาเหตุ สาเหตุหลัก ๆ คือไม่เห็นประโยชน์ของการจ่ายภาษี หรือถ้าจ่ายภาษีอาจจะไม่ได้รับสวัสดิการฟรี เช่น ประกันสุขภาพ ที่พัก อาหาร จากรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่น
- ขู่เจ้าของร้านว่า ถ้าต้องรายงานรับเงินแล้วต้องเสียภาษี จะไม่ทำงานกับร้านนี้ แล้วนายจ้างก็ยอม เพราะหาคนทำงานไม่ได้ ประมาณว่า คนไทยยังไงก็ไม่ขี้เกียจเท่าฝรั่ง
อยากทำให้ถูกต้องทำยังไงดี
(ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ นักบัญชีรายอื่นอาจจะไม่เห็นด้วย ซึ่งก็ไม่ได้ถือว่าผิด)
- เมื่อมีการจ่ายทิปออกไป ต้องรวมในรายได้ของพนักงาน หัก ภาษี เงินได้ให้ถูกต้อง และนำส่งต่อรัฐบาล หรือ
- เจ้าของกิจการต้องรับเงินเดือน และบวกค่าทิปต่าง ๆ ที่จ่ายออกไปให้เป็นรายได้ของตัวเอง และยื่นเงินเดือนให้ถูกต้อง ข้อเสียคือ เจ้าของร้านจะต้องเสียภาษีเยอะ แต่ทำให้ร้านลงบันทึกค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง หรือ
- เจ้าของกิจการไม่ต้องการรับเงินเดือน เพราะไม่อยากเสียภาษีเยอะ ให้ถอนเงินสด เขียนเชคจ่ายให้ตัวเอง ถือเป็นการถอนทุน เสมือนกับการจ่ายเงินปันผลให้กับตัวเอง ตัวนีไม่มีภาษีที่ต้องเสีย ถ้าจดทะเบียนแบบ LLC & S-Corp & Sole proprietorship หรือ
- ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยไปตามดวง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป ถ้าออกจาก เชค /แบงค์ ถ้าคนทำบัญชีเป็น ยังไง เจ้าของก็เข้าเนื้อเพราะต้องลงบันทึกบัญชีไปยัง ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของกิจการ. ปล. ไม่ทราบคนทำบัญชีมั่วเขาทำกันยังไง ต้องถามเจ้าของกิจการที่จ้างคนทำบัญชีมั่วดู ซึ่งปกติแล้วไม่มีใครยอมรับว่าตัวเองมั่ว
- ถ้ามีพนักงานในร้านต่ำกว่า 10 คน ทางร้านไม่มีหน้าที่ต้องหาอัตราส่วนแบ่งทิปที่ 8% จากยอดรายรับ. ดังนั้น อย่าขยายร้านให้ใหญ่ถ้าไม่อยากทำรายงานตัวนี้. ถ้ามีการซื้อร้านใหม่ ให้จดทะเบียนแยกกันเป็นคนละนิติบุคคลออกไป จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับการรายงาน. ถ้าอยากทำให้ถูกต้อง สบายใจ รายงานไปเลยค่ะ ร้าน มี 2 คนก็รายงาน
- ทำร้านอาหารหาคนที่ต้องการทำงานแบบถูกกฏหมาย หรือทำเฉพาะคนในครอบครัว ถ้าจดแบบ S-Corp, the IRS สั่งไว้เลยต้องจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของ. ซึ่งมีค่าเท่ากัน เพราะการจ่ายเงินเดือนออกไปทำให้กำไรสุทธิลดลง . การไม่จ่ายเงินเดือนก็ทำให้กำไรสุทธิมากขึ้น. จะวิธีไหน รายได้สุทธิก็ตกผ่านมายังเจ้าของอยู่ดีนั่นเอง.
การใช้ช่องโหว่ของกฏหมายภาษีในการเลี่ยงภาษี ไม่ถือว่าเป็นการโกง ภาษี. การโกงภาษี คือการเลี่ยงภาษีแบบไม่มีตัวบทกฏหมายรองรับ. ในฐานะเจ้าของกิจการ ควรจะทราบ และถ้าไม่เข้าใจควรสอบถามจากคนทีทำบัญชีภาษีให้ ถ้าเขาไม่ตอบ อย่าไปใช้บริการเขานะค่ะ. ถ้าข้อบทกฏหมายตัวใดไม่เคลียร์ สอบถาม กับ ซีพีเอ รายอื่น ๆ เพื่อเป็นการยืนยัน เหมือนกับเราหาหมอ เรายังหาหมอหลายๆ คนเพื่อความแน่ใจ (ในกรณีเรามีเงินเยอะ ๆๆ )
เรียบเรียงโดย: แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ)
ที่มา: Internal Revenue Services. และประสบการณ์จาการทำบัญชีภาษีให้ร้านอาหาร (และความเห็นส่วนตัว)
วันที่ : 6 เมษายน 2559 (2016)