Employee Rights สิทธิของลูกจ้างโดยทั่ว ๆ ไป จาก กฏหมายแรงงาน สากล National Labor Relation Board.

ข้อ ที่ทุกคนควรจะทราบคือ กฏหมายแรงงานแต่ละรัฐจะแตกต่างกันออกไป กฏหมายที่กล่าวถึงจะเป็นกฏหมายสากลที่ครอบคลุมและครุ้มครองทั่วทุกรัฐ ถ้าแต่ละรัฐมีกฏหมายที่ขัดแข้งกฏหมายสากล จะถือเป็นโมฆะ  กฏหมายของเสตท ต้องไม่ขัดแข้ง ถ้าขัดแย้ง ต้องใช้กฏหมายรัฐบาลกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว แต่ละหน่วยงาน จะต้องปฏิบัติตามกฏหมายของรัฐนั้น ๆ ..ควรจะศึกษาเพิ่มเติมว่าคุณอยู่ในรัฐไหน และดูรายละเอียดจากรัฐนั้น ๆๆ  ส่วนใหญ่ กฏหมายในอเมริกา จะเป็น employment at will หมายถึง นายจ้าง หรือ ลูกจ้าง สามารถ เลิกจ้าง หรือ เลิกทำงานได้เมื่อเราต้องการ…ระเบียบที่ต้องแจ้งล่วงหน้า กรณีลูกจ้างลาออก ถือเป็นธรรมเนียมที่ควรปฏิบัติ แต่กฏหมายไม่ได้บังคับ และไม่ได้ขัดต่อกฏหมาย ถ้า บริษัทที่เราทำงาน จะบังคับให้เราต้องแจ้งล่วงหน้า..

Union Activity เข้าร่วมยูนี่ยน

จัดตั้งกลุ่ม ยูเนี่ยน, เข้าร่วม ยูเนี่ยน, ไม่ต้องการเข้าร่วมยูเนี่ยน และให้สิทธิ์ ยูเนี่ยน ในการเจรจาต่อรองกิจกรรมต่าง ๆ ได้

กิจกรรมนอก ยูเนี่ยน (กรณี ลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าร่วม ยูเนี่ยน)

–           ลูกจ้าง ที่ไม่ได้เข้าร่วมยูเนี่ยน ก็ได้รับการครุ้มครอง เช่นเดียวกับ ยูเนี่ยน สามารถรวมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อเจรจาต่อรอง หรือ ร้องเรียนต่อ National Labor Relation Board และ นายจ้าง

ตัวอย่างที่ลูกจ้าง สามารถร่วมกันเพื่อร้องเรียน

  • ให้พิจาณาเรื่องการขึ้นค่าแรง หรือต่อรอง
  • สามารถพูดถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานเช่น ความปลอดภัย ของพนักงาน อื่น ๆ
  • สามารถเป็นตัวแทน ลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อ ชี้แจง ขอให้ปรับปรุงแก้ไข สภาพแวดล้อมของการทำงานต่าง ๆ ต่อนายจ้าง
  • กิจกรรมที่ลูกจ้างสามารถ กระทำได้ (เพิ่มเติม) http://www.nlrb.gov/rights-we-protect/protected-concerted-activity

ลูกจ้างเอกชนส่วนใหญ่จะได้รับการครุ้มครองตามกฏหมายแรงงานสากล ยกเว้น

–           ลูกจ้างหน่วยงาน รัฐบาล กลาง รัฐบาลท้องถิ่น

–           ลูกจ้างเกี่ยวกับเกษตรกรรม

–           ลูกจ้างในครัวเรือน เช่น พี่เลี้ยง

–           ลูกจ้างที่มีพ่อแม่ หรือ คู่สมรสเป็นนายจ้าง

–           คนทำงานอิสระ

–           หัวหน้างานที่เคยถุก หน่วยงานแรงงานสากล แบนมาก่อน

–           ลูกจ้าง การรถไฟ และ ลูกจ้าง สายการบินต่าง ๆ

–           ลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานจากหน่วยงานที่ไมได้รับการครุ้มครองโดย กรมการแรงงานสากล

–           ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.nlrb.gov/rights-we-protect/jurisdictional-standards

ที่มา http://www.nlrb.gov/rights-we-protect/employee-rights

เรียบเรียงโดย  Waen Roll, CPA , April 29, 2015