Taxpayers should know and understand their correct filing status

ผู้เสียภาษีควรรู้สถานะการยื่นแบบภาษีที่ถูกต้อง

สวัสดีวันศุกร์ค่ะท่านผู้อ่านที่สนใจด้านภาษีอากรของอเมริกา.  อาทิตย์นี้มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายให้เราตื่นเต้นแบบหลาหลาย. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พวกเราก็ต้องทำมาหากินเลี้งปากท้องและครอบครัวกันต่อไปค่ะ.  วันนี้จะมาคุยกันเรื่องสถานะทางภาษีอากรสำหรับผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ใช่ธุรกิจซึ่งตั้งยืนแบบตามฟอร์มที่ก่อตั้งไว้กับรัฐนั้นๆ ).

เก็บข้อมูลประกาศของกรมสรรพากรอเมริกาไว้สำหรับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกและถนัดภาษาอังกฤษมากกวาภาษาไทยค่ะ หรือคนที่สนใจศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ. ผู้เขียนแปลตามความเข้าใจและให้เห็นภาพกว้างตามวิชาชีพของการเป็นนักภาษีอากรค่ะ.

Taxpayers need to know their correct filing status and be familiar with each option.

กรมสรรพากรอเมริกาใช้คำว่าจำเป็นเลยนะคะว่า ผู้เสียภาษีต้องรุ้สถานะการยื่นแบบที่ถูกต้องค่ะ.

Generally, the taxpayer’s filing status depends on whether they are single or married on Dec. 31 and that determines their status for the whole year. However, more than one filing status may apply in certain situations. If this is the case, taxpayers can usually choose the filing status that allows them to pay the least amount of tax. โดยทั่วไปสถานะการยื่นแบบภาษีนั้นขึ้นอยู่กับ สถานะของคุณเอง โสด สมรส ในปีภาษีคือวันที่ 31 ธันวาคมในปีนั้น. คือถ้าแต่งงานวันที่ 31 ธันวาคมก็ถือว่าแต่งงานทั้งปีค่ะ. แต่บางกรณี ในหนึ่งคนก็สามารถเลือกที่จะยื่นแบตามสถานะใด สถานะหนึ่งก็ได้ค่ะ. มาดุกันค่ะว่าแต่ละสถานะมีอะไรบ้าง.

 

When preparing and filing a tax return, the filing status affects: เมื่อมีการยืนแบบภาษีอากร สถานะภาพปัจจุบันมีผลต่อการยื่นแบบภาษีอากรตามนี้ค่ะ.

If the taxpayer is required to file a federal tax return ต้องรู้ตัวละคะว่ามีหน้าที่ต้องยื่นแบบไม๊  ตัวอย่างคือมีรายได้ มีหน้าที่ยื่นแบบ แล้วมีรายได้จากสวัสดิการทหารละ ต้องไม๊ รายได้จากสวัสดิการสำนักงานประกันสังคมละต้องไม๊ รายได้ต่ำมากละต้องยื่นไม๊  สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนต้องนำมาพิจการณาค่ะ.

If they should file a return in order to receive a refund  บางกรณีทำงานเงินเดือน มีหักภาษีไว้ อาจจะไม่ต้องยื่นแบบก็ได้ แต่อาจจะเสียผลประโยชน์ที่จะได้เงินภาษีคืนจากภาษีที่ถูกหักไว้. ตัวอย่างนะคะ มีลุกค้าโสด แล้วแต่งงานกับคนไทย ยื่นโสดมาตลอด ภาษีได้คืนนิดหนึ่ง  ต่อมาภรรยาทราบเรืองว่ายื่นแบบสมรสได้ ภรรยาขอเลขประจำตัวผุ้เสียภาษี ยื่นแบบสมรส กลายเป็นว่าเงินที่ถูกหักภาษีไว้ ได้คืนเกือบหมดเลยค่ะ. หรือคนที่รายได้ต่ำ อาจจะแค่ สี่พันต่อไป ไม่ยื่นแบบเพราะต่ำกว่า $12,000 standard deduction ยื่นไปก็ไม่มีภาษี แต่หารู้ไม่ ถ้ายืนได้เงินคืนกลับมาเพราะรัฐจ่าย earned income tax credit for lower income earner.

 

Their standard deduction amount ค่าใช้จ่ายมาตราฐานว่าตามสถานะ  For single taxpayers and married individuals filing separately, the standard deduction rises to $12,400 in for 2020, up $200, and for heads of households, the standard deduction will be $18,650 for tax year 2020, up $300

 

If they can claim certain credits นี่ก็คือเครดิตที่พูดไปค่ะ เครดิตแบบรัฐบาลให้คนรายได้ต่ำ ตัวอย่างนะคะ ผู้เสียภาษี ครอบครัวทหาร มีรายได้จากสวัสดิการทหาร  โดยทั่วไปรายได้พวกนี้ไม่มีภาษีค่ะ ก็ไม่ยื่นแบบกัน แต่ภรรยาไปทำงานมีรายได้ ภรรยาแยกยื่นแบบไม่เอาสามามีรวมในแบบ ภรรยาก็ได้ภาษีคืนน้อยค่ะ.  ผู้เขียนแก้ภาษีให้เป็นแบบสมรส คุณเอ๊ย ทั้ง earned income credit, ทั้งภาษีที่นายจ้างหักไว้ได้คืนหมดค่ะ รวม ๆ แล้วได้คืนเกือบสองเท่ากับภาษีที่ภรรยายื่นเองแบบไม่รวมสามีค่ะ.  ทุกอย่างถูกต้องตามกฏหมายค่ะ จะยืนแบบไหนไม่มีใครว่า แต่คุณเสียเปรียบอย่างมากค่ะ เงินเกือบหมื่นเหรียญ เอาไว้ลงทุนออมดีกว่าค่ะ อย่าปล่อยไว้กับรัฐเลย มันสิทธิของเรา.  อันนี้คือแค่ตัวอย่างค่ะ ไม่เหมือนกันทุกคส บางเคส ได้คืนบ้าง บางเคสเสียภาษีน้อยลงแทนที่จะเสียเยอะ  รายได้ครอบครัวมีส่วนในการพิจารณาเครดิตค่ะ.  The maximum amount of credit for Tax Year 2020 is: $6,660 with three or more qualifying children. $5,920 with two qualifying children. … $538 with no qualifying children.

 

The amount of tax they should pay ภาษีที่ต้องเสีย

Here are the five filing statuses: สถานะของการยื่นแบบของบุคคลธรรมดา

Single. Normally this status is for taxpayers who are unmarried, divorced or legally separated under a divorce or separate maintenance decree governed by state law. สถานะโสด คือโสดตามกฏหมาย หย่า หม้าย แยกกันอยู่มากกว่า หกเดือนในหนึ่งปี อยุในขั้นตอนการหย่าร้าง.
 

Married filing jointly. If a taxpayer is married, they can file a joint tax return with their spouse. When a spouse passes away, the widowed spouse can usually file a joint return for that year. สมรสยื่นร่วม ก็สมรสตามกฏหมายภายในวันที่ 31 ธันวาคม คะ.
 

Married filing separately. Married couples can choose to file separate tax returns. When doing so it may result in less tax owed than filing a joint tax return. สถานะสมรสแยกยื่น  สมรสตามกฏหมายค่ะ แต่เลือกที่จะแยกยื่นแบบ. กรณีนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีรายได้สูงค่ะ กลุ่มที่อีกฝ่ายมีหนี้ ไออาเอส  เสตทเยอะ กลุ่มเจ้าของกิจการ กลุ่มกระเป๋าใครกระเป๋ามัน
 

Head of household. Unmarried taxpayers may be able to file using this status, but special rules apply. For example, the taxpayer must have paid more than half the cost of keeping up a home for themselves and a qualifying person living in the home for half the year. สถานะหัวหน้าครอบครัว  กลุ่มนี้คือมีคนอาศัยอยุ่ด้วยค่ะ หนึ่งคน หรือดูแลพ่อแม่ (พ่อแมไม่ต้องอยู่ด้วยก็ได้ค่ะ)  ถ้าคนอื่นอยู่ด้วย คุณต้องเลี้ยงดุเขาค่ะ เช่น พี่น้อง ลูกๆ แต่ก็มีข้อแม้ว่าเขาต้องไม่ยื่นแบบนะจ๊ะ.  ห้ามเลยสำหรับคนสมรส แล้วเลือกใช้การยื่นแบบนี้ ผิดกฏหมายค่ะ ไม่ใช่มีลุกสองคนแบ่งกันคนละคนแล้วยื่นแบบนี้ แถมบ้านเลขที่เดียวกันอีก ระวังด้วยนะคะ.
 

Qualifying widow(er) with dependent child. This status may apply to a taxpayer if their spouse died during one of the previous two years and they have a dependent child. Other conditions also apply. สถานะหม้ายค่ะ และมีลูกด้วย.  หม้ายไม่มีลูกยื่นแบบนี้ไม่ได้ค่ะ  แต่คู่สมรสต้องเสียชีวิตไม่เกินสองปี  คือปีที่คุ่สมรสเสียยื่นแบบสมรสได้ อีกสองปีต่อมายื่นแบบ หม้ายได้ค่ะ.

 

More Information: สนใจสอบถามข้อมุลได้ที่กรมสรรพากรอเมริกาโดยตรงค่ะ

Subscribe to IRS Tax Tips

*

Comments from author:

*

ส่วนตัวทราบเรื่องการยื่นแบบที่ใช้สถานะผิดค่ะ แต่ไม่ได้พูดอะไรมาก เพราะไม่ใช่กลุ่มลูกค้า เห็นบอกนักภาษีทำให้มานานแล้ว ก็ได้แต่ฟัง  นักภาษีเป็นคน เอเชียเหมือนเรา แล้วคนรู้จักก็เอเชียเช่นเรา  ทำมานานแล้วไม่เคยมีปัญหา สมรสตามกฏหมาย แยกยื่นภาษีแบบ หัวหน้าครอบครัว.  เรื่องนี้ก็สอนให้รู้ว่า นักภาษีแต่ละคน คงหวังดีต่อลุกค้าจะได้เงินคืนเยอะ ๆ แต่ลืมคำนึงถึงหลักความถุกต้อง ทำงานมานานกว่ายี่สิบปี อายุเท่าๆ เรา ไม่น่าจะใช่ CPA เพราะถ้าคนมีอาชีพนี้ทำแบบนี้ น่าเป็นห่วงค่ะ.

สำหรับคนที่ยื่นแบบภาษีเองควรจะศึกษากฏหมายภาษีให้ดีค่ะ.

สำหรับคนที่จ้างนักภาษี ไม่ควรไปใช้บริการคนที่ถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ และควรจะถามหาลายเซ่นของนักภาษีเหล่านั้น. ปีที่ผ่านมามีหลายเคสมากที่ เงินภาษีคืนก็ไม่ได้ สำเนากแบบก็ไม่ได้ ยื่นแบบผิด ๆ หรือไม่รู้ว่ายื่นแบบให้ไม๊.  อย่าลืมนะคะ ก่อนจะยื่นแบบคุณต้องตรวจแบบด้วย และต้องเซ็น efile กรณียื่นแบบออนไลน์ กรณีคู่สมรส ทั้งคู่ต้องเซ็นแบบภาษีด้วยค่ะ. 

*

ที่มา                  :   IRS Tax Tip 2020-130, October 1, 2020

 

เรียบเรียงโดย        : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

วันที่                 :  วันศุกร์ที่ ๒ เดือนตุลคม พ.ศ. ๒๕๖๓,Friday, October 2nd, 2020

*

****apologize for any typo ขออภัยสำหรับการสะกดที่ไม่ถูกต้อง****

*

**** S Corp & LLC due date March 15th**** extended to September 15

*** Corporation due date April 15th *** extended to September 15

** Individual due date April 15th *** extended to September 15

** Payroll taxes *** extended to December 31 (for deposit)

*

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

*

*Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย*

*

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

*

***Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ***

*

(We provide accounting, and taxes related services. Investment consulting service in USA for Thai investors is also provided.

เรามีบริการด้านบัญชีและการภาษีอากร. พร้อมมีการให้บริการที่ปรึกษานักลงทุนไทยที่ต้องการลงทุนในอเมริกา. Please call (801-635-6926 or message us via facebook page. สนใจสอบถามบริการติดต่อได้ที่เบอร์โทร (801-635-6926 หรือส่งข้อความผ่านเฟคบุคเพจได้ค่ะ.