Tax Planning for E2 Treaty Investors in USA

การวางแผนภาษีสำหรับนักลงทุนถือวีซ่า E2 เพื่อลงทุนในธุรกิจที่อเมริกา

สวัสดีคะทุกท่านที่อ่าน (อาจจะไม่ใช่นักลงทุน) แต่คุณสามารถเอาไปบอกญาติพี่น้องที่จะมาลงทุนในอเมริกา ลงทุนในอเมริกามาหลายปีแล้ว หรือกลุ่มที่อยากมีผู้ร่วมทุนจากไทยนะคะ คุณจะได้ดูดีไงค่ะ ให้คำแนะนำแก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ  แม้ว่าไม่ใช่ญาติกันไรกันก็เถอะ เห็นใครไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็คอย ๆ เตือน ๆ เขาหน่อย หรือแนะนำให้หาข้อมูลนะคะ.

อยากเขียนหัวข้อนี้ขึ้นมาเพราะฐานลูกค้ามากกว่าครึ่งของเราเองมีวีซ่าลงทุน ไม่ว่าจะถือหุ้นเอง 100 เปอรเซ็น แบบว่าแน่มากมั่นใจมาก หรือมาหุ้นกับญาติกับเพื่อน กับคนรู้จัก กับคนที่หวังดีหลาย ๆคน.  เราคิดบวกกันไว้ก่อนนะคะ ว่าการลงทุนของคุณ ๆ จะราบรื่น ยิ่งช่วงปีแรก ยังตื่นเต้นกับการลงทุน มีความสุขสุดๆ  ทำทุกอย่างไม่เคยบ่น ภาษีก็ไม่เสีย  ก็ใครจะไปเสียกันปีแรกละคะ ไม่ว่าจะจดทะเบียนธุรกิจแบบไหน ๆ ก็ตาม ปีแรก ๆ มันก็ขาดทุนกันหมดละคะ ลงทุนกันไปเยอะ ยิ่งกฏหมายอเมริกา นี่ให้ตัดค่าใช้จ่ายเต็ม ๆ เลยปีแรก.  พอมาปี 2-10 เริ่มมีปัญหาละ เริ่มโวยวาย กระวี๊ดกระว๊าดกันระนาว ตกใจกับภาษีที่ต้องเสียมีตั้งแต่ $10000-$200000 หมื่นเหรียญถึงสองแสนเหรียญนะคะ. บางร้านใหญ่ ยอดขายทะลุเป้า ภาษีขนาดนี้กันเลยคะเจ้าของ. มาเข้าเรื่องกันดีกว่าคะ คุณนักลงทุนควรรู้อะไรบ้าง แบบคร่าวๆ ลึก ๆ ต้องปรึกษานักบัญชีคุณค่ะ ไม่ได้กั๊กไรค่ะ ข้อมูลเยอะมาก เราจะให้ความรู้ในภาพกว้างเท่านั้น.

What form of your business ธุรกิจของคุณจดทะเบียนรูปแบบไหนบ้างค่ะ

ธุรกิจที่อเมริกามีหลายรูปแบบค่ะ ที่นิยมกันมากไม่ว่าจะคนท้องถิ่นหรือนักลงทุนคือ1.)  Limited Liability Company (LLC) and 2.) Corporation (C-Corp). ทำกันมากคะพักนี้  น้อยมากที่จะลงทุนแบบเจ้าของคนเดียว  แต่คุณรู้ไม๊ค่ะ  มีค่ะ ไม่ได้จดทะเบียนอะไรเลย ทำแบบเจ้าของคนเดียว กำไรสุทธิจากกิจการก็จัดไปคะเสียภาษีกันไป แถม ถ้ามีการฟ้องร้องก็มาถึงตัวคุณแบบเร็วมากเหมือนจรวดเลย.  การทำธุรกิจในรูปแบบ บริษัทไม่วาจะ LLC or C-Corp ช่วยชะลอภัยให้มาถึงตัวช้า ไม่ได้ชลอได้หมดค่ะ  เพราะเท่าที่ทราบถ้าบริษัทค้างภาษี ผู้ถือหุ้นนี้แหละคะรับผิดชอบกันเต็ม ๆ หลาย ๆ เสตทจัดมาแล้วค่ะ เช่น นิวยอรค ฟอริด้า แคลิฟอเนีย วอชิงตันรัฐเหล่านี้ไม่ปล่อยเจ้าของนะคะ.

โอยฉันไม่มีความรู้อะไรเลย ฉันแค่ทำอาหารเองเป็น จบบริหารมา หรือไม่ได้จบอะไรมาแต่มาลงทุน เพราะมีเงินมีฝือมือและเชื่อใจนักบัญชี่อเมริกา  หารู้ไม่ นักบัญชี หรือทนายความก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง.  ยิ่งไปเจอนักบัญชีคนเอเชียด้วยกัน ไม่ใช่คนบ้านไทยเรา หรือฝรั่ง พูดกันภาษาอังกฤษ คุยกัน  จะถามอะไรเขาก็ถามไม่เป็น เพราะไม่รู้ว่าจะถามยังไง ก็มันไม่รู้เนาะ ไม่ได้ว่ากันนะคะ.  ที่อยากให้รู้รูปแบบธุรกิจเพราะมันเกี่ยวกับภาษีที่ต้องเสียคะ

  1. LLC นิยมชมชอบ  รุปแบบนี้บริษัทไม่เสียภาษีคะ จะผ่านยังเจ้าของเลย บริษัทยื่นแบบ ฟอร์ม 1065 partnership ต่อมาเจ้าของก็เอา Schedule K1 เรียกว่า “เควัน” นะมารวมคำนวณภาษีของตัวเองในแบบ 1040 แบบนี้นะคะ เป็นจุดสนใจส่วนรวมของคุณไม่ว่าจะมีลูก กี่คน มีบ้านกี่หลัง มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มีบ้านให้เช่า คนหนึ่งทำปีละครั้งนะคะ.  ถ้าจดแบบ LLC แล้วไม่ได้เลือกเสียภาษีแบบ Small Corporation (S-Corp) กำไรสุทธินี่คุณต้องจ่าย self employment taxes 15.3% นะคะ ส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง คนละครึ่ง พูดง่ายๆ คือ social security and medicare นะคะ แต่อีกครึ่งหนึ่งคุณเอามาหักออกได้จากการเสียภาษี สุทธิคุณต้องจ่ายที่ 7.65% ไอ้ตัวนี้ละคะ ที่ทำให้นักลงทุนต้องบาดเจ็บ ไม่ล้มตายคะ แต่มีหนี้ต้องผ่อน คนที่นี่ก็เถอะ ถ้าไม่รู้ก็เจอกันไปตรึม ๆ นึกเอากำไร แสนเหรียญ นอกจากจะเอาไปรวมคำนวณภาษีแล้ว ยังเสียภาษี เพิ่มอีก 7650 เหรียญ เยอะนะคะคุณ แล้วไอ้ที่บอกกำไร แสนเหรียญนี่ไม่รู้จริงเท่าไร จ่ายเงินสดปาไปห้าหมื่นแล้ว แถมต้องมารับภาระภาษีจุดนี้อีก เจ็บกันระนาดเลยงานนี้.
  2. Corporation ตามกฏหมายใหม่ทีลดอัตรภาษีมาที่ 21% อัตราเดียว บริษัทกลางถึงใหญ่นิยมกันมากเลยคะ  ขนาดลุกค้าเรามีขนาดเล็ก ยังใช้กันเลย เพราะอะไร  เพราะเสียภาษีในตัวกิจการคะ ไม่ผ่านมายังเจ้าของ กำไร แสนเสียไปเลย 21000 จบกัน เจ้าของก็อยากได้เงิน รับเงินเดือนกันไปคะ  รับเงินเดือนปีละ 50000 ตัดกำไรกิจการไปอีก จาก แสนก็เหลือ ครึ่ง ก็ให้กิจการเสียภาษีไปที่ 10500 เหรียญจบค่ะ.  เจ้าของรับเงินเดือน 50000 ต่อปี ลูกสองเมียหนึ่ง ภาษีแทบจะไม่เสียกันเลยค้าคุณ  ดูอัตรากันให้ดี ๆ คู่สมรสได้รับลดหย่อนที่ 24500 แล้วปี 2019 เสียภาษีก็นิด ๆ หน่อย ๆไม่กี่พันค่ะ.  อยากรู้ตัวเลขจริงกับไปถามบัญชีส่วนตัวได้เลยคะ.  อ้อถ้าคุณอยากเสียภาษีแบบ S-Corp ก็ทำได้เช่นกันคะ โดยการกรอกฟอร์มไปที่กรมสรรพากรอเมริกา ฟอร์ม 2553 นะคะ. ถ้านักบัญชีไม่รู้ ก็เลิกจ้างคะหาคนใหม่นะคะ เพราะคนอ่าน ฟอรัมเรารู้เกือบหมดละคะ.
  3. Sole proprietorship เจ้าของคนเดียว  ถ้าทำอยู่ ไปจดทะเบียนเสียนะคะ เพราะ ตัวนี้จะเหมือนกับ LLC แค่คุณไม่ยื่นแบบกิจการไม่มี เควัน แต่มี Schedule C ธุรกิจรวมาในแบบ ฟอร์ม 1040 ภาษีบุคคลนะคะ.  ภาษีจะหนักค่ะ และ Liability หรือความรับผิดชอบด้านความเสี่ยงจะสูงในการทำธุรกิจนะคะ.

ในฐานะนายจ้างเจ้าของกิจการคุณต้องรู้อะไรบ้าง what you need to know as an employer/business owner in USA?

มาอยู่อเมริกามาเป็นบอสละคะงานนี้ ถ้าใครเคยเป็นบอสมาก่อนก็สบายไป อ้าวแล้วคนครัวมาก่อนละยุ่งเลยงานนี้  ภาษาก็ไม่ได้อีก  ต้องถามคนรอบข้าง เข้าสังคมกลุ่มธุรกิจด้วยกัน หาความรู้ใส่ตัว กลุ่ม ออนไลน์ เฟคบุค สารพัดมีหมดค่ะ.

  1. State tax filling การยื่นภาษีต่างๆ ในรัฐที่คุณอยู่
  1. Sales taxes ภาษีขายที่เรียกเก็บจากกิจกิจการเช่นขายอาหาร
    1. Payroll taxes ภาษีจากการจ่ายค่าแรง มีหน้าที่นำส่ง
    1. Business tax filling ทุกปีต้องมีการยื่นแบบของกิจการที่คุณเปิดอยู่ไม่ว่าจะรูปแบบใด ๆ นะคะ. บางรัฐอาจจะไม่ต้องยื่น เช่น วอชิงตัน เนวาด้า ส่วนใหญ่รัฐอื่นๆ ต้องยื่นแบบหมดค่ะ
  • Federal tax filling มีภาษีอะไรบ้างที่ต้องยื่นให้รัฐบาลกลาง  บางรัฐไม่มีภาษีธุรกิจ แต่ก็ต้องยื่นให้กับรัฐบาลกลาง IRS คือที่รู้กันนะคะ.
  • ภาษีธุรกิจ ฟอร์ม 1065 หรือ 1120 หรือ 1120S สำหรับกิจการ เอสคอรป
  • ภาษีค่าจ้าง ฟอร์ม 941 รายไตรมาส รายปี 940
  • รายงานค่าจ้างประจำปีจ่ายให้พนักงาน ฟอร์ม W2, W3
  • รายงานจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับเหมา 1099Mis
  • Employment law ว่าด้วยการจ้างงานระเบียบต่าง   นี่จำเป็นและสำคัญมาก บางรัฐเข้มงวด ทำไรต้องมีสัญญาหมด หาทนายนะคะ ทนายในรัฐที่คุณลงทุนเลยคะ สัญญาเหล่านี้ต้องทนายด้านแรงงานจัดการให้ค่ะ. เอาให้แน่นอน ยอมจ่ายเงินไปคะ จะได้พร้อม. นายจ้างก็อ่านไปรู้ว่าต้องทำไรบ้าง ค่าแรงขั้นต่ำเท่าไรจ่ายกันเท่าไร  ทิปละ เยอะนะ อย่าไปเอาของลูกจ้างละ ระวังถูกฟ้อง  เขาไม่ให้นายจ้างเขาเอาไว้ให้ลูกจ้างนะคะ.  เลือกดูว่ารัฐที่คุณอยู่มันเป็นมายังไง เข้าไปถามในกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มร้านอาหารนะคะ กูรูจะเยอะพอสมควร บางที่ทนายมาตอบให้เองก็มีถ้าเขาว่างนะคะ. 
  • ผลการดำเนินงาน งบกำไรขาดทุนงบดุล สรุปรายงานต่าง financial performance of your business คือว่าคุณนะเป็นเจ้าของกิจการไม่วาจะเล็กใหญ่ ก็ต้องรู้ด้วยว่ามีผลกำไร ขาดทุนยังไงรึ ขาดทุนจริงรึ กำไรจริงรึ มันเกิดจากไร ก็การทำบัญชี การจัดเก็บเอกสารต่างๆ นะคะ.  อย่าสัพ ๆ ว่าใครทำก็ได้ เอาเอกสารกอง ๆ ยกไปให้เขา โดยไม่รู้ว่าเป็อะไร พอจะใช้ขึ้นมาวิ่งหากัน เพราะไม่ได้เก็บต้นฉบับไว้ เวลาจะเอาเอกสารอะไรให้ใครก็เฉพาะสำเนานะคะ  หรือก็แสกนส่งอีเลล์ไปคะ  ทุกค่ายมี แสกนเน้อ แอพลิเคชั้น ถ้าทำไม่เป็นให้เด็ก  ๆสอน (พูดถึงรุ่นไม่ไฮเทคนะคะ ไม่ได้ดูถูกไร เห็นมาเยอะมากแล้ว) . การรู้ผลการดำเนินงานกิจการ ต่อมาอยากจะทำใบเขียวพนักงานในกิจการซึ่งต้องมีกำไร การขอพนักงานที่ถือวีซ่าประเภทเดียวกัน การต่อวีซ่าพนักงาน ผลการดำนเนิงานมีส่วนนะคะคุณ ๆ ใช่ ๆว่าร้านกิจการมีผลขาดทุน แล้วจะเอาใครมาทำงานได้.
  • ที่ปรึกษาที่มีความรู้ เช่น ทนาย นักบัญชี Professional consultants มีใครบ้างพอมีเรื่องคุณจะพึ่งเขาได้ หรือช่วยชี้แนะ  หลาย ๆ คนคาดว่าก็นักบัญชีสิ อาจจะใช่คะ แต่ไม่ทั้งหมดค่ะ เพราะขอบเขตการทำงานแต่ละสาขาวิชาชีพไม่เหมือนกันค่ะ   นี่พูดถึงกลุ่มมีลายเซ่นในการทำงานประเภทต่างๆ นะคะ.  อย่างนักบัญชี ก็มีลายเซ่นแตกต่างกันออกไป บางคนมี enrolled agent ซึ่งทำภาษีให้ได้พร้อมทั้งบัญชี หรือ CPA แบบผุ้เขียนนี่คะ ต้องเรียนจบด้านบัญชีมาต้องสอบเป็นผู้สอบ วิเคราะห์งบการเงินต่างๆ  ทั้งภาษีอากร ซึ่งมันจะลึกกว่าคนที่ไม่มีลายเซ่น  แต่ใช่วาคนมีลายเซ่นจะรู้เหมือนกันหมด ก็ไม่ใช่ค่ะ บางอย่างเราไม่ถนัดเราก็ไม่ทำเช่นกัน  ทนายก็เช่นกันคะ แต่ละทนายก็มีขอบเขตเขา ทนายบางกลุ่มถนัด อสังหาริมทรัพย์ ทรัส อิมมิเกรชั่น ครอบครัวหย่าร้าง ฟ้องร้อง ลิขสิทธิ์ อุบัติเหตุ มีทนายด้านภาษีโดยตรงก็มีคะ กลุ่มนี้ก็ยอดเยี่ยมละคะ ยิ่งคนจบบัญชีไปเป็นทนาย ยอดมากเช่นอาจารย์เราที่เรียนที่นี่คะ มีสองลายเซ่นเลย ทึ่งมาก เก่งมาก และคุณธรรมสูงส่งทำให้เราต้องพยายามรักษามาตราฐานและทำตามท่านค่ะ.  

การมีมืออาชีพมาช่วยกิจการ จะทำให้คุณรุ้สึกสบายใจ แต่ค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงกว่าหรือมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีลายเซ่นต่าง ๆ ก็ภาษาอังกฤษที่วา You get what you pay for นี่ใช้ได้เลยคะ  จ่ายค่าบริการคนทำบัญชีถูก ไปคาดหวังเขาวางแผนภาษีให้ ก็หลับฝันหวาน ๆ ค่ะ เพราะ คุณจ่ายแค่นั้นคุณได้แค่นั้นคะ   มันก็มีข้อยกเว้นนะคะ มีแบบจ่ายบัญชีแพง ๆ ทนายแพง ๆ ห่วยแตกมากก็มี อันนี้เรื่องจริงไม่ได้อิงนิยายค่ะ.

Comments from author:

การวางแผนด้านการลงทุนโดยเฉพาะด้านภาษีอากรในอเมริกา ต้องทำแต่เริ่มกิจการนะคะ ไม่ใช่ทำตอนที่จะรู้ว่าต้องเสียภาษี ที่ครึ่งแสน ห้าหมื่นเหรียญ แสนเหรียญก็ว่ากันไปนะคะ ตามขนาดและผลกำไรของกิจการ. เก็บเงินตัวนี้ดาวน์บ้านได้เลยคะ.  แต่การวางแผนนั้นใช่ว่าคุณจะลดภาษีได้ทั้งก้อนไม่ใช่นะคะ อย่าเข้าใจผิด การวางแผนคือการทำให้ถูกต้อง จ่ายภาษีให้น้อยที่สุด ตามช่องกฏหมายที่เอื้ออำนวย  ถ้ามีการตรวจสอบจากรัฐบาลต่าง ๆ คุณสามารถชี้แจงได้ตลอดค่ะ. 

ตัวอย่างนะคะ  มีเจ้าของกิจการกลุ่มหนึ่งนะคะ คนที่นี่นะคะ ไปให้ใครไม่รู้ทำบัญชี อาจจะนักบัญชีทั่วไปที่ไม่ได้มีลายเซ่น ไม่กล้าเดา คาดว่าคงจบบัญชี แต่ไม่รู้จบจากมหาวิทยาลัยที่นี่ไม๊ ถ้าใช่ผลงานคงไม่ออกมาอย่างที่เห็น.  ปรากฏว่าทำบัญชีเสร็จส่งให้ฝรั่งทำภาษีให้ ฝรั่งเขาก็ไม่ดูไรให้เนาะ ส่งมายังไงก็ทำให้งั้น ไม่ได้แนะนำอะไร ว่านี่คุณนะ LLC นะ ภาษีตรึมเลย ยืนแบบ S Corp ไม๊ คุณมีใบเขียวมีสิทธิทำได้ (นักลงทุนก็ได้คะ คุณได้สิทธิคะ) จะได้ประหยัดภาษี ไม่ละคะ เขาจัดการตามนั้น ว่าเขาไม่ได้นะคะ เขาทำตามงบการเงินที่ส่งมา.  ต่อมาทำภาษีส่วนตัวตกใจ เสียภาษี เกือบ ห้าหมื่นค้า มาปรึกษา ถึงดูให้ ว่า เอ นี่เหมือนจะลงบัญชีไม่ครบ ขอดูการบันทึกรายการหน่อย ไม่มีให้คะ คือดำน้ำ ไง ไม่ได้ ลงบัญชีทุกตัว ไม่ทำตามระบบ รายการก็ไม่ครบ เราก็แนะนำ จะรื้อทำใหม่ไม๊  เพราะถ้าถูกตรวจเจอแน่ ถามไรก็ไม่มีหลักฐานรองรับ แบงค์ก็ไม่กระทบยอด ทำไรกันมาไม่รู้  เพราะรัฐที่คนนั้นอยู่มีการตรวจสอบเป็นอาจิน  ดิฉันก็เสนอไปคะ ว่าถ้ารื้อทำจะออกมายังไง อาจจะไม่ต้องเสียถึง ห้าหมื่น แต่เสียค่ะ แน่อน. ผลที่ออกมาทราบปะคะ ภาษีอยู่ที่ ไม่ถึง สามหมื่นคะ ประหยัดไปเกือบสองหมื่น กับการต้องแก้ไข  มันคุ้มกว่ากับการทำให้ถูกแต่ทีแรก การวางแผนแต่เริ่มแรก ทุกอย่างมีราคาหมดคะในอเมริกา ไม่มีฟรีแน่นอน ฉะนั้น You have to invest in your business ค่ะ.

นักบัญชีฝรั่งเก่งๆ ดี ๆ เยอะคะ ทำงานตามเนื้อผ้า รับผิดชอบ แต่ให้ไปทำความรู้จักก่อนนะคะ สำรวจสืบสวน ปกติ ที่แนะนำ คือควรรู้จักกับลูกค้าเขาค่ะ. คนไทยก็มีคะตามรัฐต่างๆ  ให้พูดคุยกันสนทนากัน  ทุกอย่างตามเนื้อผ้าและประสบการณ์ ไม่มีใครรู้ทุกเรื่องนะคะ ถ้าคนนั้นยินดีที่จะช่วยคุณแก้ปัญหาและหาข้อมูล คณควรมองหาคนเหล่านั้นค่ะ.

**หวังว่าการแผนกับประสบการณ์ที่แชร์ให้อ่านจะให้แง่คิดแก่นักลงทุนทั้งหลายนะคะ ว่าการวางแผนนั้นสำคัญไฉน** 

ที่มา                           : ประสบการจากการทำงานกับกลุ่มนักลงทุน

เรียบเรียงโดย          : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                            :  วันศุกร์ที่ 7 มิถุนยน พ.ศ. ๒๕๖๒, (ยังมีเวลายื่นภาษีออนไลน์ ถึง 15 ตุลาคม นะคะ สำหรับบุคคลธรรมดา)

Friday, June 7th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ