Minimize your taxes after retirement

จ่ายภาษีให้น้อยที่สุดหลังเกษียณจากการทำงาน

 

หลายคนคงจะสงสัยและมองหาคำตอบ รวมถึงการวางแผนการใช้ชีวิตหลังจากที่เกษียณจากการทำงาน อันนี้รวมถึง คนที่อยากเกษียณแบบรวดเร็ว เกษียณแบบ ตามอายุราชการ หรือเกษียณ ตามสามีหรือ ภรรยานะคะ.

 

ส่วนใหญ่หลังจากเราเกษียณ เราไม่ได้ทำงานประจำ หรือเป็นเจ้าของกิจการ เรามีรายได้ที่จำกัด ที่ต้องวางแผนในการถอนเงิน หรือ บางคน ก็รับเงินประจำจากเพนชั่น Pension สวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคม Social Security Benefit เงินจากรีไทมเม้นที่เราเก็บออมเอง จากการทำงาน พวก 401(k), IRA(s).

 

 

Planning before retirement

สิ่งที่ควรคำนึง หรือการวางแผนเมื่อเราเกษียณมีดังนี้คะ

 

  • Spending less การวางแผนลดการจับจ่ายใช้สอย

จำเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าเราเกษียณแล้วรายได้จาก เพนชั่น ประกันสังคม น้อยกว่าเงินเดือนประจำที่เรามี ไสตล์การใช้ชิวิตควรจะมีการปรีบเปลี่ยน เว้นแต่ว่าเราหางานเสริมเล็ก ๆ น้อย ๆๆ  . ถ้าสามีเกษียณแต่ภรรยาอายุยังน้อย สามารถทำงานได้ และทำงานนอกบ้าน อาจจะไม่ค่อยอยู่ในข่ายค่ะ สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ เว้นแต่ว่า ภรรยาสาว ๆ ไม่ทำงาน.

 

  • Mortgage payment ก่อนเกษียณ ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรมีหนี้สินพวกค่าผ่อนบ้าน ใด ๆ ทั้งนั้น.

 

เท่าที่เรารู้และทราบกันว่า ค่าผ่อนบ้าน ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ประจำเดือนของเรา. โอ้ งั้นคนที่เช่าบ้านอยู่ไมมีบ้านทำไง  ก็ต้องวางแผนให้หนักเลยคะ ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน ที่ค่าเช่าถูกสุด หรือย้ายกลับบ้านที่ไทย ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า กรณีมีบ้านอยู่แล้ว. คนที่อยู่อเมริกามานาน พอย้ายกลับไทย ก็ไม่ชิน อยู่ไม่ได้ ต้องย้ายกับอเมริกาอีก.

คนเกษียณบางกลุ่ม ย้ายไปรัฐหรือเมืองที่ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ขายบ้านหลังใหญ่มีเงินสด ไปซื้อ คอนโด เล็ก ๆ อยู่แบบไม่มีหนี้สินก็เยอะคะ.

 

  • Social Security Benefit รายได้จากสำนักงานประกันสังคม

 

โดยทั่วไปรายได้จากสำนักงานประกันสังคมจะไม่มีภาษีใด ๆ ถ้าเราไม่มีรายได้อย่างอื่นมาเกี่ยวข้อง. ตัวอย่างเช่น สามีภรรยา ถ้ารับเงินรายได้ ที่ $32,000 ต่อปี จะไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ถ้า มีรายได้พวก เพนชั่น หรือ รีไทม์เม้นอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้รายได้รวมสูงขึ้น เป็นผลให้รายได้จากประกันสังคม ต้องเสียภาษี บางส่วน (แต่ไม่ทั้งหมดคะ สูงสุดที่ 80% of total social security benefit).   ดังนั้น ที่เราเห็น ๆ กัน คือ คนชรา จะทำงานกันน้อยมาก เว้นแต่ว่า มีภาระ เช่นค่าผ่อนบ้าน ค่า เช่าบ้าน.

 

 ถ้าสามีภรรยารับเงินประกันสังคมที่ ปีละ $40,000 เดือนละ $3,000 กว่า ๆ เหรียญ ไม่มีค่าผ่อนบ้าน มีแต่ค่ากิน เที่ยวนี่ก็พอใช้นะคะ และมีรายได้ตัวอื่น ๆ มาช่วย ที่ไม่ต้องทำงานอีก.

 

  • Long term capital gains พวกนี้คือจะอยู่ในหมวด เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น

 

ทำไง เราจะได้ในจุดนี้  เราก็มีการซื้อหุ้นไว้นานมากกว่า หนึ่ง (1) ปีไงคะ. พอขายขึ้นมีกำไร ภาษ๊จะอยู่ที่ไม่เกิน 15 – 20% ชิว ๆ เลยคะ ไม่ได้เยอะแยะไรมากมาย แค่แบ่งรัฐบาลนิดหน่อย.

 

รายได้สองสามีภรรยารวมกัน ณ กฎหมายปัจจุบันไม่เกินปีละ $400,000 (ตัวเลขคร่าวๆ) เสียภาษีกำไรจากการขายหุ้นแค่ 15% เองคะ บริหารให้อยู่ในจุดนี้ จ่ายภาษีให้น้อยที่สุด.

ยุให้คนซื้อหุ้นอีกละ เรา แต่มันดีจริง ๆ คะ เป็นการออมที่ดี ภาษีก็น้อยด้วย.

 

  • Roth IRA, and Roth 401(k) รีไทมเม้นหลังหักภาษี

 

สำหรับคนที่ไม่ค่อยเข้าใจระหว่าง Roth Vs Traditional แบบแรก คือเราฝากเงินเข้ารีไทม์เม้นหลังหักภาษี แบบหลัง คือ ฝากเข้ารีไทม์เม้นก่อนภาษี.

 

ถ้าเราฝากเงินหลังหัก ภาษีไว้แล้ว เช่น เดือนละ $1,000 เมื่อตอนอายุ 30 พอเราอายุ 59.5 เราถอนเงินมาใช้ แล้วเงินนั้นงอกเงยมาที่ $2,000 เราไม่ต้องเสียภาษีเงินต้นคือ $1,000 เสียภาษีแค่ $1,000 ของเงินที่เพิ่มมา  **Roth 401(k)  จะเป็นหลักษณะนี้ และถ้าฐานภาษีเราอยู่ที่ต่ำกว่า 15% ก็ได้รับยกเว้น capital gain taxes เหมือนกัน Roth IRA**
ให้เรามาดูว่า เมื่อเราเกษียณเราจะรายได้เยอะมะ  ถ้าเยอะ ให้เลือกใช้วิธีนี้คะ เราจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนเงินต้น

 

Roth IRA กฏพิเศษ ถอนอย่างไร ไม่ให้มีภาษี ซึ่ง ต้องทำตามเงื่อนไข

 

การถอนเงิน Roth IRA มีสองประเภทใหญ่ ๆ § 1.408A-6 Distributions.. คือ

1.) ถอนแบบทั่วไป regular contributions เงินต้นไม่เสียแต่งอกเงยอาจจะเสีย หรือไม่เสีย

 

ถอนก่อน 5 ปี คือฝากไว้ไม่ถึง ห้าปีแล้วถอน

ถอนก่อนอายุ 59 ½  ต้องเสียค่าปรับเพิ่มด้วย 10%

ใช้ กองทุนซื้อหุ้น แล้วขายออกมา จะมีภาษีของ capital gain 15-20% ขึ้นอยู่กับฐานรายได้ กรณีหุ้นมีกำไร * ถ้าไม่อยากเสียภาษีคือ ต้องถือไว้ แล้วถอนหลังอายุ 59 ½

ถอนเงินต้นจะไม่มีภาษีเพราะได้เสียไว้เรียบร้อย แม้ว่าจะฝากไว้ไม่ครบ 5 ปีก็ตาม ถ้ามีกำไรจากการลงทุน ถึงจะเสียภาษี ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา.

2.) ถอนแบบที่มีคุณสมบติได้รับยกเว้นภาษี qualified contributions ทั้งเงินต้นและเงินที่งอกเงย

ถอนเงินหลังจากที่ ฝากไว้มากกว่า ห้า(5) ปี.

ถอนเงินหลังจากที่อายุมากกว่า 59 ½

ถ้าสามีเสีย และมีการโอน Roth IRA ให้ภรรยาและภรรยาสาว แม้ว่ายังไม่นำมาใช้ ก็จะไม่มีภาษีเช่นกัน ถ้าภรรยาสาวรอจนกระทั่งอายุ 59 ½

*ต้องขอบใจน้องอีกคนที่แย้งมาว่า ถึงต้องหาข้อมูลเพิ่ม ถึงเงื่อนไข ว่าได้รับยกเว้นรายได้ทั้งก้อนได้อย่างไร”  https://www.law.cornell.edu/cfr/text/26/1.408A-6, https://www.irs.gov/publications/p590b/ch02.html

 

  • Traditional IRA, and 401(k) รีไทม์เม้นก่อนหักภาษี

 

อธิบายแบบแรกให้ฟังแล้วว่าหลังหัก แบบนี้เรียกว่าฝากเงินก่อนหักภาษีคะ  เสมือนหนึ่งว่า เลื่อนการจ่ายภาษีออกไป ตัวอย่างเช่นนะ เราเงินเดือน 4000 ฝากเข้ารีไทม์เม้น 500 การคำนวณภาษีประจำปีเราคำนวณจาก 3500 (4000-500) เรียกว่า Deferred tax เลื่อนการจ่ายภาษีออกไปคะ.

 

เวลาเราเกษียณ เมื่อเรา อายุ 59.5 เราถอนเท่าไร เราก็มีหน้าที่ยื่นภาษีคะ  เหมือนเงินเดือนปกติ เพราะ กองทุนที่ดูแลจะออกเอกสารให้เราระบุว่าเราถอน เงินรีไทม์เม้นคะ  แล้วข้อมูลนี้ก็ส่งไปยัง the IRS ไม่รอดคะ ชัดเจนมาก.

 

สำหรับคนที่รู้ตัวว่าในอนาคต เมื่อเราเกษียณ รายได้จะไม่เยอะเท่าปัจจุบัน วิธีนี้เหมาะสมคะ (แหวนก็ใช้วิธีนี้ ณ ปัจจุบัน แต่อนาคตยังไม่รู้ อาจจะเปลี่ยนแผน ถ้ารวยกว่านี้หน่อย)

การประหยัดภาษีอีกวิธีคือ แม้ว่าเงินต้นที่เราลงทุนใน 401(k) & Traditional IRA จะต้องเสียภาษี แต่กำไรที่งอกเงย อาจจะไม่เสียภาษี ถ้าเราอยู่ในฐานภาษีที่ 15% กำไรตัวนี้ก็ได้รับยกเว้นเช่นกัน .

ตัวอย่างเช่น กับครับครัวที่รายได้ที่ $75,900 ซึ่ง อยู่ในกลุ่มที่เสียภาษีไม่เกิน 15% ถ้าเราถอน 401(k)  รวมกันแล้วไม่เกินนี้ มีเงินต้น 4000 ดอกเบี้ย หรือกไร 1000 กำไรยอดนี้ก็ได้รับยกเว้นภาษีด้วยนะคะ.

*อ่านบทความเยอะมาก แต่จะไม่ฟันธงกรณีที่ตัวเองไม่มั่นใจ ว่าตีความถูกหรือไม่คะ. บางบทความบอกว่า Traditional IRA ระบุว่าเงินงอกก็ไม่เสีย ซึ่งไม่เห็นด้วยคะ กฏหมายเขียนไว้ กรณีเราฐานภาษีอยู่ใน 15%”

 

  • Planning on drawing your retirement เรามาวางแผนว่าจะถอนเงินยังไง ลงทุนยังไงกันคะ

 

ให้ดูสถานะภาพของเรานะคะ เมื่อเราเกษียณ ยังแต่งงานอยู่เปล่า มีลูกเล็ก ๆ มะ เพราะส่วนนี้จะช่วยให้เราคำนวณฐานภาษีว่าอยู่ที่ ระดับไหน ซึ่งมีตั้งแต่ 10% – 33.5%  อนาคตอาจจะอยู่ที่ 37%

 

สมมุติครอบครัวหนึ่งนะคะ ป๋า อายุ 6.25 รับเงินประกันสังคม พร้อมกับ 401(k) จากการทำงาน มีลูก 2 คน เมีย สาว ไม่ทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงลูก. กรณีแบบนี้ ถ้าสามี รับเงินประกันสังคม พร้อมลูก เมียทังครอบครัวที่เดือนละ 4000 ปีหนึ่งก็ 48000 รายได้ก่อนหัก ค่าลดหย่อน สมรส 12.600 ค่าลดย่อนส่วนตัวคนละ 4,050 x 4 = 16,200 +12,600 = 28,200 เหลือรายได้ สุทธิที่ 19,800.

 

ยอดเงิน 19,800 ปกติไม่มีภาษีอยู่แล้วคะ เพราะเป็นเงินจากสวัสดิการประกันสังคม . แต่อาจจะไม่พอรับประทาน เพราะลูก 2.  ดังนั้น ครอบครัวนี้จึงถอน เงินรีไทเม้นจากกองทุน 401(k) or IRA ได้ถึง $56,100 เพื่อมาใช้จ่าย และ ภาษีก็เสียไม่เกินที่ 15%  จากยอด 75,900 ซึ่งคำนวณได้จาก สมรสแต่งงานยื่นรวม.  พอรับประทานสบาย ๆ เลยคะ เงินได้ขนาดนี้ ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือเมียใช้ของแบรนดเนม .  ถ้าไม่พอ เมียอยากไปทำงาน ทำไปเลยคะ ทำได้เท่าไร ให้ฝากเข้า IRA ส่วนของเมียได้ถึง 5,500 (เมียสาวไม่ถึง 55 ปี).

 

เห็นปะคะ อยากประหยัดภาษีต้องมีการวางแผน.

 

ไม่ควรถอนเงิน รีไทเม้น ก้อนเดียวใหญ่ ๆ คะ เพราะเราเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ถอนเยอะฐานภาษีคุณก็สูง อาจจะเสียสูงสุดถึง 39% เสียดายเงินค่าภาษีคะ ถ้าไม่รีบอย่าถอนทีเดียวคะ. คุณสามารถเปิดบัญชี IRA บริหารเองได้ เล่นหุ้นเองได้ ทำทุกอย่างออนไลน์ได้คะ จากทั่วทุกมุมโลก สั่งขายหุ้น โอนเงินเข้าบัญชีที่อเมริกา เราก็เลือกธนาคารที่มีสาขาทั่วโลกหน่อยคะ จะได้ทำธุรกรรมทางการเงินสะดวก.

 

วิธีไหนเลี่ยงภาษีได้บ้าง (ไม่อยากหาคำภาษาอังกฤษมาใช้)

 

 

ช่างเป็นคำถามที่ตอบลำบากทางจิตใจมาก  เพราะ ไม่มีทางไหนเลี่ยงภาษีคะ มีแต่ประหยัดภาษีแบบมีการวางแผนให้ตามช่องของกฏหมาย. ไม่อยากเสียภาษีคือไม่ต้องทำงาน ไม่มีรีไทม์เม้น รับแต่เงินประกันสังคม หรือรับเพนชั่นของทหาร ซึ่งไม่มีภาษี ไม่รวมเป็นรายได้คะ (ถ้ายังไม่แต่งงานหาสามีทหารคะ แต่ระวังเรื่องการเจ็บป่วยนะคะ ทหารบางส่วนจะป่วยทางจิต ซึ่งเหมือนคนปกติทั่วไป).

 

ทุกย่างก้าวของชีวิตคือการวางแผนคะ นี่คือนิยามของตัวเอง  บางคนแทบไม่วางแผนอะไรเลย เพราะเงินเยอะแยะ ทำไรก็ได้ อันนั้นก็อีกประเด็น. แต่สำหรับคนทำงาน อย่างเรา ๆ ทั่วไป ที่ไม่รวยน้อย หรือรวยมาก  ควรจะวางแผนคะ เพราะภาษีคือค่าใช้จ่ายหลัก ๆ  ที่เราต้องจ่าย ประหยัดได้ ก็เอาเงินไปทำอย่างอื่น ไปเที่ยว ให้กำไรชีวิตดีกว่าคะ.

 

เรียบเรียงโดย      :           แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

ที่มา                  :        อ่านจากหลาย ๆ เวบไซด์ และประสบการณ์การวางแผนให้ลูกค้าด้านรีไทม์เม้น

วันที่                  :           วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560, Monday, August 7th 2017