How the IRS define “Individual Gross Income”?

The IRS มีเกณฑ์การพิจารณาว่าอะไรบ้างคือรายได้ของบุคคลธรรมดา?

 

แบบว่ามีคำถามมากันบ่อยมาก ว่าอะไรที่ทางราชการอเมริกาถือว่าเป็นรายได้และต้องรายงานในการยื่นแบบแสดงรายได้ในทางภาษีอากร. กฏหมายภาษีอากร แม้ว่าจะไม่เหมือนกับหลักการบัญชีของอเมริกา แต่ก็คล้ายคลึงกัน ฉะนั้น ใครรู้มาตราฐานการบัญชี (จากไทย รวมด้วย) และที่อเมริกาจะเข้าใจแบบแจ่งแจ้ง ในระดับหนึ่ง. ถ้าเราไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ด้านบัญชีทั่วไป รู้แค่หลักการคร่าว ๆ ก็พอคะ อย่าไปเจาะรายละเอียดลึกลง เพราะคุณจะงงและเสียเวลาในการทำมาหารับประทาน (โดยเฉพาะเจ้าของกิจการ). คือมีประสบการณ์ ที่พยายามจะอธิบายให้เจ้าของกิจการบางรายทราบ แต่ประสบความสำเร็จไม่มาก จนต้องชี้แจงว่า ถ้าอยากรู้เหมือนนักบัญชีให้ไปเรียนคะ และไม่ต้องมาจ้างนักบัญชีนะคะ (คนจบบัญชีมาบางคน ยังไม่รู้เรื่องไรเลยก็มี)

**รายได้ตามหลักเกณฑ์กฎหมายภาษีอากร จะมีรายการหลัก ๆ ดังต่อไปนี้คะ**

 

  • Compensation for services, including fees, commissions, and fringe benefits ค่าตอบแทนที่เราได้รับจากการจ้างงาน รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับเนื่องจากการทำงานนั้น เช่น รับค่าแรง มีสวัสดิการพวก ลาป่วย พักร้อน ค่าคอมมิชชั่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ยกเว้นค่าประกันสุขภาพที่กิจการออกให้ (แบบประกันหมู่) ซึ่งจะแสดงในแบบสรุปรายได้ W2 ถ้าเราทำงาน จะไม่นำมาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีคะ ในทางภาษีอากร ค่าประกันสุขภาพ ไม่ใช่รายได้นะคะ.
  • Gross income derived from business กลุ่มนี้คือมีธุรกิจไม่ว่าจะจดทะเบียนรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น LLC, S-Corp, Schedule C (ไม่ได้จดทะเบียนบริษัท) รายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายนำมาคำนวณเป็นรายได้ของบุคคลนั้นๆ คะ. กรณี LLC or S-Corp แม้ว่าจะไม่ได้แบ่งผลกำไร ยังไงก็ต้องเอาผลกำไรมาคำนวณภาษีนะคะ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับ Schedule K-1 นะคะ.
  • Gains derived from dealings in property กลุ่มนี้ เกี่ยวกับบ้านตัวเองแล้วขายคะ ยอดกำไรที่มากกว่า 250000 ต่อคนต่อ ทุก 2 ปีนะคะ มีหน้าที่คำนวณภาษีคะ. ไม่คำนวณรวมก็ระวังด้วยนะคะ เพราะการซื้อขายบ้านที่อเมริกา ไม่แบงค์ก็ เอเจ้น โปรคเก้อ มีหน้าที่รายงาน ไปยัง กรมสรรพากรคะ.
  • Interest ดอกเบี้ยรับประเภทต่างๆ นะคะ
  • Rents พวกกลุ่มมีบ้านให้เช่านะคะ กลุ่มนี้กฎเกณฑ์เยอะนะคะ มีการคิดค่าเสื่อมราคาสารพัด ไม่แน่จริงอย่าทำภาษีเองคะ โดยเฉพาะถ้ามีการขายบ้านให้เช่านี่ยิ่งซับซ้อนเข้าไปอีก.
  • Royalties มีนะคะ คนที่มีความสามารถ ขายความรู้ จดทำเป็นลิขสิทธิ์ ส่งทอดมายังลูกเมียถ้ามีการเสียชีวิต
  • Dividends เงินปันผลคะ อาจจะการลงทุนในบริษัท หรือจากการมีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คะ
  • Alimony and separate maintenance payments นี่เกี่ยวกับการหย่าร้างโดยเฉพาะนะคะ ไม่เกี่ยวกับ ค่าเลี้ยงดูบุตรนะคะ เพราะได้รับยกเว้น เป็นคนที่อีกฝ่ายจ่ายให้อีกฝ่ายเนื่องจากการแต่งงานมานาน ศาลมีคำสั่ง หรือตกลงกันได้ก่อนการหย่านะคะ ฝ่ายที่รับมีหน้าที่รายงาน. การคำนวณค่อนข้างซับซ้อนควรจะให้นักภาษีมืออาชีพช่วยนะคะ. ตัวเองยังต้องเปิดตำรามาทำกันเลยคะ.
  • Annuities ตัวอย่างนะคะ เรามีเงินรีไทม์เม้น เป็นก้อน แล้วเราเลือกที่จะรับเป็นเงินที่แน่นอนทุกเดือนทุกปี จนกว่าเราจะม้วยมรณา หลักการคำนวณยุ่งยากนะคะ ต้องเปิดตำรา แต่กิจการที่จ่าย เงินประเภทนี้จะออกเอกสารมาให้แบบชัดเจนแจ่มแจ้งว่าตัวไหนเสียภาษี ตัวไหนไม่เสีย.
  • Income from life insurance and endowment contracts ปกติเงินประกันชีวิตที่ได้รับจากอีกฝ่ายเสียชีวิตได้รับยกเว้นนะคะ และทางบริษัทประกันจะไม่ออกเอกสารไรให้เลย.
    • แต่มีประกันชีวิตหลายประเภทที่ต้องเสียภาษีคะ เช่น น้องงดงาม จ่ายประกันชีวิตให้คุณพ่อสุดหล่อ เพื่อว่าพอคุณพ่อ ท่านสิ้นน้องงดงามจะได้รับเงินผลประโยชน์นั้น.ต่อพ่อเสียน้องงดงามเลือกที่จะรับผลประโยชน์ 5 ปี เท่าๆ กัน เงินที่งอกเงยมากกว่า เงินที่จะได้รับเป็นก้อนเสียภาษีคะ (เสียจากส่วนที่งอกเงยจากผลประโยชน์ถ้าน้องงดงามจะได้รับก้อนเดียว เช่นถ้าเงินก้อนได้ 20000 เลือกรับ 5 ปีละ 4500 ประมาณนั้นนะคะ.
    • อีกกรณีคือบริษัทมีประกันชีวิตให้กับพนักงาน ต่อมาพนักงานเสีย และถูกหักเบี้ยไปที่ 5000 เงินได้รับจากการเสียชีวิต 10000 เงินที่ทายาทจะต้องคำนวณภาษีคือส่วนต่าง 5000 คะ.
  • Pensions นี่ก็ขึ้นอยู่กับ ว่าเงินนั้น นำเข้าก่อนหัก ภาษีหรือหลังหักภาษีนะคะ ถ้าก่อนหัก ก็เต็ม ๆ คะ ถอนมาเท่าไรนำไปคำนวณเสียภาษีหมดคะ. ถ้าเงินนั้นนำเข้าเพนชันหลังหักภาษี เราเสียเฉพาะส่วนที่งอกเงยคะ เช่น นำเงินเข้าเพนชั่นที่ 10000 หลังหักภาษี เราถอนมา 15000 เราเสียภาษีเฉพาะ 5000 เฉพาะผลประโยชน์ที่เพิ่มมานะคะ.
  • Income from discharge of indebtedness ช่วงเศรษฐกิจแย่ๆ คนได้รับยกหนี้เยอะมั๊กๆๆๆ หนี้บางตัวไม่เสียภาษีเลยคะ เช่น พวก foreclose home ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีคะ หนี้บัตรเครดิตบางค่าย บางตัวก็ได้รับยกเว้น สังเกตุได้จากเอกสารที่ทางบริษัทบัตรเครดิตส่งมาให้เรานะคะ. ทุกกรณีของการยกหนี้ให้ บริษัทที่ยกหนี้ให้จะออกเอกสารให้หมดคะ ไม่ได้ให้ทวงนะคะ กันไว้ก่อน เดี๋ยวกรมสรรพากรถามหาคะ ไม่เกิน ปีครึ่งคะรับประกันเพราะเจอมาแล้ว.
  • Distributive share of partnership gross income คล้าย ๆ กับ รับschedule K-1 คะ กรณีนี้คือมีหุ้นมากกว่า 2 คน แต่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปกิจการคะ. ถ้าคนเดียวรับ Schedule C ใช่ปะคะ ถ้ามากกว่าสองคนรับอีกคนละแบบคะ.
  • Income in respect of a decedent (income earned but not received before death) อันนี้ก็กลุ่มที่มีสมบัติจาก บรรพาบุรุษในรูปแบบทรัสนะคะ ถ้าทรัสจ่ายเงิน หรือผลประโยชน์ก็นำมาคำนวณภาษี ตามระเบียบคะ
  • Income from an interest in an estate or trust คล้ายกันกับหัวข้อด้านบนนะคะ

 

**เงินรีเบทไม่ถือว่าเป็นรายได้นะคะ เขานำไปลดราคาที่เราซื้อคะ เคยมีคนถามมากันเยอะเหมือนกัน เช่น พวก ebate สารพัดนะคะ.

 

มีหลายคนถามมาว่า เรารับค่าบริการด้วยเชค แต่เรายังไม่ได้เข้าแบงค์ถือเป็นรายได้มะ. ตอบว่าเป็นรายได้คะ รับวันไหนถือว่าเป็นรายได้วันนั้นคะ อาจจะ ขึ้นเงินปี ถัดไปก็ได้คะ. ว่าตาม the IRS ตีความมานะคะ. ยกเว้นเงินที่ถือไว้ใน (e.g., escrow pending completion of a sale).

 

♥เรามาทำมาหารับประทานในอเมริกา ควรจะทราบกฎต่าง ๆ พวกนี้นะคะ ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกๆ คะ รู้พอเข้าใจหลักการและป้องกันตัวเองจากปัญหาด้านภาษีอากรจากทางกรมสรรพากรที่นี่นะคะ♥

 

เรียบเรียบโดย        แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (CPA)
ที่มาของข้อมูล Source: GLEIM professional continuing education (CPE), https://www.irs.gov/uac/definition-of-adjusted-gross-income, https://www.law.cornell.edu/uscode/text/26/61
วันจันทร์ที่   22 พฤษภาคม 2560, Monday, May 22nd  2017