US Employee Compensation

ค่าตอบแทนในการทำงานที่สหรัฐอเมริกา

 

เนื่องจากมีผู้รู้และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการทำงานและจ้างงานในอเมริกา โดยกลุ่มคนไทย ประมาณว่า การรับเงินสดนั้น ไม่มีภาษีใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นช่องทางให้กับคนที่อยู่นอกอเมริกา อยากแสดงหาโอกาสที่ดีกว่า มาทำงานเก็บเงินและกลับบ้านเรา รักรออยู่.  หารู้ไม่ว่า คนที่อยู่อเมริกามานาน เป็นเจ้าของกิจการ ที่บอกว่า รู้ดีนั้น ไม่ได้รู้แบบที่กฏหมายว่าด้วย “รายได้” ที่ได้เขียนไว้เลย. อยากจะอธิบายหลักการให้ทราบ คร่าว ๆ โดยไม่กล่าวถึงเนื้อหาภาษีต่าง ๆ แบบละเอียด.

โดยทั่วไป การรายงานค่าจ้าง จะรวมถึงทุกอย่างที่เราได้รับจากการทำงาน เช่น ค่าแรง เงินเดือน ค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม ค่าทิป และอีกมากมายถือว่าเป็นรายได้ของพนักงานคะ. บางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องมาเสียภาษี เช่น ค่าประกันสุขภาพ เพราะตามกฏหมายภาษีอากร ไม่ถือว่าเป็น Wages และไม่ต้องมาคำนวนภาษีใด ๆ แต่ต้องแสดงในแบบ รายงานค่าจ้างประจำปีหรือ ที่เรา ๆ รู้กันคือ W2

  • Miscellaneous Compensation ค่าเช่าบ้าน ที่นายจ้างออกให้ ถือเป็นรายได้ด้วยนะคะ จะได้รับยกเว้นก็ต่อเมื่อ คุณเป็นกลุ่มผู้เผยแพร่ศาสนา กฏเขียนไว้ละเอียดมาก.
  • Fringe Benefits  กลุ่มนี้เยอะมาก ส่วนใหญ่เสียภาษี ค่าเทอมจ่ายได้สูงสุด $5,250 เป็นค่าใช้จ่ายกิจการ โดยที่พนักงานไม่ต้องมารวมคำนวณ ในการเสียภาษี .
  • Retirement Plan Contributions  กลุ่มนี้ก็พวก 401(k), 403 (สำหรับคนทำงานรัฐบาล) และมีอีกหลายตัว คือเสียภาษีเมือเราถอนออกมาคะ ถ้ายังไม่ถอนก็ไม่มีภาษีใดๆ .  เงินตัวนี้คือส่วนที่นายจ้างสมทบให้กับพนักงาน ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในปีที่ สมทบ ส่วนฝั่งพนักงานถือเป็นรายได้ปีที่ถอน ไม่สอดคล้องกัน แต่นี่คือหลักการโดยทั่วไปคะ.
  • Stock Options  กลุ่มนี้มีกฏหมายภาษีหลายตัวที่มาเกี่ยวข้อง คร่าว ๆ ที่รู้คือ ถ้าหุ้นที่ได้รับ นั้นยังไม่ได้ขายออก ก็จะไม่มีการเสียภาษีใด ๆ และถือว่ายังไม่ใช่รายได้ของพนักงานที่ได้รับ. เช่น บริษัท มหาชน ให้ สิทธิแก่พนักงานซื้อหุ้นกิจการในราคา $20/share หุ้นท้องตลาดอยู่ที่ $100 ถ้าพนักงานใช้สิทธิในวันนั้น พนักงานก็จะมีรายได้ที่ $20 ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิ ก็ถือว่ายังไม่มีรายได้

 

Cash wages ค่าจ้างเงินสด

 

ค่าจ้างที่รับเงินสด หรือใต้โต๊ะ ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ ก็ถือเป็นค่าจ้างคะ. นายจ้างสามารถรายงานได้ไม๊** รายงานได้คะ ถ้า ผู้รับมี Social Security Number (SSN) or Individual Taxpayer Identification Number (ITIN).

ถ้าเจ้าของกิจการจ้างคนไม่มีสถานะใด ๆ และไม่มีเอกสาร ทั้งสองประเภท ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็มิสามารถทำอะไรได้เลยคะ เว้นแต่ว่า ผู้ซึ่งไม่มีใบ ทำเรื่องจ่ายภาษี ยื่นแบบภาษีเงินได้ Form 1040 แนบไปพร้อมกับฟอร์มขอเลข W-7 ถึงจะได้นะคะ. บางคน กรอกฟอร์ม ส่งต้นฉบับพาสปอร์ตไป ณ ปัจจุบัน IRS ไม่ออกให้คะ บางคนอาจจะโชคดีได้เลขมาแต่ส่วนใหญ่ไมได้เลยคะ.

หลักฐานอะไรทีจะระบุว่านายจ้างจ่ายเงินสดให้พนักงาน เพื่อแสดงในกิจการเป็นค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง มีได้เช่นการจดบันทึกใน บัญชีรับจ่าย การให้พนักงานเซ็นรับเงิน แล้วก็รายงานค่าแรงเงินสดนั้นให้ คนทำค่าแรง เพื่อยื่นภาษีคะ  ปกติ แล้วต้องรายงาน ยอดที่จะต้องจ่ายแล้วคำนวณภาษีออกมา ก็จะรู้ว่ายอดจ่ายสุทธิเท่าไร.

กิจการที่ทำกันแบบ อนุรักษ์ รักษา ขนบธรรมเนียมไทย (ดั้งเดิม) ก็ จ่ายไปเลยคะ ไม่มีการคำนวณอะไรทั้งนั้น ภาษีค่อยว่ากัน. รายงานบ้างไม่รายงานบ้าง พอ ส่งเอกสารให้คนทำบัญชีทำ ปรากฏว่า กำไรสูงผิดปกติ ซึ่งเงินไม่ค่อยมีในบัญชี  งานนี้ก็หาหักค่าใช้จ่ายกันให้วุ่นคะ  บางคนรายงานรายได้ย้อนหลัง (ถ้าทัน) ถ้าไม่ทันก็ออก เอกสาร แบบ 1099-Mis ให้ลูกจ้างไป ตกใจกันมโหฬาร ไม่ได้ตั้งตัวทำใจล่วงหน้า ว่าจะต้องยื่นภาษี เพราะรับเงินสดมาตลอด.

Employer – Cash wages ค่าจ้างเงินสดฝั่งนายจ้าง

 

นายจ้างควรจะป้องกันกิจการคุณเอง โดยการทำการตกลงให้กับพนักงานก่อนทำงานนะคะ. ลูกจ้างบอกต้องการรับเงินสด ได้คะไม่มีปัญหา แต่บอกว่า กิจการจะออกสลิบเงินเดือนให้ทุกเดือนนะจ้า ตอบกลับแบบสุภาพ รักษามารยาทด้วยนะคะ. ถ้าลูกจ้างบอกว่าไมได้นะ เพราะ รับสวัสดิการของรัฐอยู่ รายงานรายได้สูงไม่ได้. ถ้าคุณสงสารและเห็นใจ คุณ ยอมรับข้อตกลง  คุณก็ต้องทำใจไว้เลยนะคะ เงินสดที่จ่ายไปนั้น ถือว่า “Owner drawn” in LLC, S-Corp ให้ระวัง เพราะถ้าคุณถอนเงินโดยไม่รายงาน จะถูกมองจาก IRS กรณี คุณเป็นธุรกิจ Corporation ถอนเงินออกโดยไม่ระบุค่าใช้จ่ายมาลง ถือว่า Loan to shareholders คุณก็เป็นหนี้กิจการไปเลย. หรือไม่ เงินที่ถอน ต้องเอามาใส่เงินเดือนคุณคะ.

Employee- Cash wages ค่าจ้างเงินสดฝั่งลูกจ้าง

 

กรณีลูกจ้างที่มีใบทำงานถูกต้อง ถ้าท่านได้รับเงินสด แล้วท่านอยากเสียภาษีให้ถูกต้อง กรณี นายจ้างานไม่ต้องการรายงานเพราะต้องการประหยัด Social Security & Medicare taxes at 7.65% นั้นก็ถือว่าเป็นธุระของนายจ้างไปคะ คุณสามารถรายงานค่าจ้างเองได้ โดยที่ไม่ต้องระบุ ชื่อนายจ้างแบบ ผู้รับงานอิสระคะ  คุณเตรียมไว้เลยนะคะอย่างน้อย 15.2% (self-employment taxes) คุณรับผิดชอบเองคะ  เก็บสะสมเงิน social security ไว้รับประทานเมื่อคุณแก่เฒ่า เกิดคุณบาดเจ็บมาก็สามารถขอเงินจาก จุดนี้ได้ด้วยอีก.

ที่สำคัญมองหาทำงานกับกิจการที่ทำแบบถูกต้องนะคะ มีอยู่เยอะแยะคะ ไม่ใช่แค่กิจการคนไทย. ถ้าคุณกลัวเรื่องภาษา ไม่ต้องกลัวคะ ไม่ใช่ภาษาพ่อแม่เรา  ส่วนตัวแหวนเอง ภาษาก็ยังห่วยแตกอยู่คะ แต่ความมั่นใจเกิน 100%  มีความมั่นใจ ก็มีชัยไปเกินครึ่งคะ.  คุณควรทราบด้วยนะคะ ปัจจุบันมีนายจ้างคนไทย เยอะแยะ ที่อยากทำให้ถูกต้อง แต่หาคนทำงานไม่ได้คะ.

กรณี กลุ่มไม่มีใบแล้วอยากเข้าระบบ คือต้องยื่นภาษีเข้าไปคะ แล้วขอเลข Individual Taxpayer Identification Number (ITIN). นะคะ.  เคยเขียนไว้เยอะมากขอเลข ยังไง หาได้ตามกลุ่มคะ ข้อมูลฟรีไม่มีขายคะ (แต่มีรับทำ แบบราคาฝรั่ง).

 

♥กฎหมายภาษีอากร มีช่องโหว่เยอะแยะมากมายคะ ทำให้ถูกช่องทางที่มีกฎหมายรองรอบนะคะ จะได้ ทำมาหารับประทานที่ประเทศอเมริกา แบบสบายใจคะ.  ส่วนตัว จะไม่รับทำงานกิจการที่ไม่เข้าระบบเงินเดือนค่าจ้างคะ  คุยได้คะ ให้คำปรึกษาได้ ถ้าทำงานคือทำตามเอกสารและไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น.  ยินดีช่วยเหลือกิจการที่มีปัญหาแล้วต้องการทำให้ถูกต้องคะ ปรึกษาได้นะคะ ครั้งแรก ฟรี.  ♥

 

 

เรียบเรียงโดย    :           แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ที่มา              :           https://www.irs.gov/publications/p525/ar02.html

วันที่             :         วันอังคารที่  28 มีนาคม 2560 March 28th, 2017