2016 Tax Return Vs Healthcare Penalty

ค่าปรับกรณีไม่มีประกันสุขภาพในการยื่นภาษีประจำปี 2016

 

ณ ปัจจุบันกฏหมายเกี่ยวกับการยกเลิก หรือ เปลี่ยนแปลง Affordable Health Care Act หรือ ที่เรารู้ ๆกันว่า Obama care นั้นยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นในรูปของกฏหมายนะคะ.  ข่าวล่าสุดที่เคยแจ้งไปก่อนหน้านี้คือ ทาง ประธานนาธิบดี ดอนัลล์ ทรัมพ์ ได้ออก executive order ให้อำนาจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับ “ยกเลิก, ลด หรือผ่อนผันค่าปรับ” สำหรับคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ มาแล้วนะคะ.  ยังรอหนังสือจากหน่วยงานต่าง ๆ มาคะ แต่ก็ยังไม่มีอะไร.

มีข่าวสารความคืบหน้าจากลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากร ส่งต่อมาผ่านมายัง พี่ CPA อวุโส ที่ท่านไม่ประสงค์จะออกนามเพราะ ข่าวสารเผยแพร่เฉพาะกลุ่มวิชาชีพนี้ เปิดเผยแหล่งไม่ได้คะ ติดลิขสิทธิ์.

เรามาดูกันนะคะว่า คำชี้แนะในกลุ่มวิชาชีพด้านภาษีอากรแนะนำว่าทำอย่างไรในการยื่นแบบภาษีของปี 2016 เพื่อที่จะเลี่ยงค่าปรับตามช่องกฏหมายที่มีไว้นะคะ.  สำหรับท่านที่ยื่นภาษีไปเรียบร้อยแล้วพร้อมกับจ่ายค่าปรับ ก็ขออภัยนะคะ แต่น่าจะแก้แบบได้คะ.

1.) IRS ได้แก้ไขระบบการตอบรับการยื่นภาษี ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าใครไม่กรอกแบบประกันสุขภาพในแบบ ระบบจะไม่รับการยื่นออนไลน์  ดังนั้น ทาง IRS ได้แก้ไขให้รับแบบทุกคนถึงแม้ว่า จะไม่ได้กรอกข้อมูล ว่ามีประกันสุขภาพ. ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะบอกว่าฉันมีประกันสุขภาพ จากที่ทำงาน แต่ไม่ได้กรอกข้อมูลเข้าไป.

ยกเว้นนะคะ  กลุ่มที่ซื้อประกันผ่าน Marketplace ยังคงต้องกรอกค่ะ ถ้าไม่กรอก ระบบจะเรียกหานะคะ.

2.) ในการกรอกแบบนั้น ผู้เสียภาษีควร ควรจะดูความเหมาะสมว่าตัวเองอยุ่ในกลุ่มไหน ซึ่งมี สาม (3) กลุ่มดังนี้คะ

2.1) กลุ่มที่ มีประกันทั้งปี อันนี้แค่ระบุว่าเรามีประกันทั้งปี

2.2) กลุ่มที่รายได้ต่ำ กลุ่มนี้ระบบ จะไม่คำนวณค่าปรับคะ เช่น ผัวเมียรายได้ $20,700 จะไม่มีค่าปรับใด ๆ ค่ะ คือไม่ต้องทำอะไร แม้ว่าจะระบุว่าเราไม่มีประกันเราก็ไม่มีค่าปรับ แต่ก็ต้องระบุนะคะว่าเราไม่มี (ห้ามงง).

2.3) กลุ่มที่มีประกัน ต่ำกว่า 3 เดือน ให้เลือกช่องที่เรามีประกันและไม่มีนะคะ ต่อมาเราค่อยกรอกขอยกเว้นนะคะ.

2.4) กลุ่มที่ไม่มีประกันเลย  ให้ขอยกเว้นคะ ตามความเหมาะสม มีให้เลือกคะ  “hardship.” คือตกงานเจ็บป่วย พวกนี้ต้องกรอกฟอร์มตามไปนะคะว่าเราขอยกเว้น.  ส่วนอีกกลุ่มที่รายได้ต่ำ เช่น ค่าประกันสุขภาพต่อปีมากกว่า 8.13% of total household ให้ระบุไปว่าจ่ายไม่ได้ “Unaffordable” เข้าไปนะคะ.  ง่าย ๆ นะคะ ครอบครัว ลูก สองคน รายได้ ปีละ $50,000 ถ้าประกันสุขภาพมากกว่า $4,065 ($50,000 x 8.13%).

2.5) การขอยกเว้นค่าเบี้ยปรับ มีหลากหลายช่องให้เลือก เลือกเอาที่เหมาะกับเราที่สุด และคาดว่ารัฐบาลจะอนุมัตินะคะ ห้ามซี้ซั่ว เช่น คนโสด รายได้ $80,000 ระบุว่าจ่ายไม่ไหว คงจะไม่มีใครเชื่อนะคะ.

3.) ให้ระบุว่าต้องการยกเว้นเข้าไปคะ แล้วก็ดูว่ามีเอกสารให้เราส่งอะไรเพิ่มหรือเปล่า เพราะยังไงเราต้องทำตามกฏหมาย เนื่องจากกฏหมายฉบับนี้ยังไม่ได้ยกเลิกคะ.  ส่วนตัวมีลูกค้า บุคคลหลายรายที่กรอกแบบว่า ขอยกเว้น เพราะ ค่าเบี้ยสูงมากกว่า 8.13% ของรายได้ งานนี้เราก็มาดูนะคะว่า ผลจะออกมายังไง.   ประธานนาธิบดีให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการยกเว้น ลดหย่อนค่าปรับนะคะ เรานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์.  คาดว่าทางรัฐบาลคงจะไม่มาตามปัดกวาดกลุ่มคนที่ขอยกเว้นเพราะจ่ายไม่ไหวนะคะ หวังว่าอย่างนั้น.

 

♥ขอบคุณพี่ CPA อวุโส ที่ส่งข้อมูล และเคล็ดลับ จากนักวิชาการด้านภาษีอากร ที่ถูกต้องและไม่ผิดกฏหมายคะ.♥

 

 

เรียบเรียงโดย    :           แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ที่มา              :           ข่าวสารด้านภาษีอากร จาก พี่ CPA อวุโสที่ไม่ประสงค์ออกนามคะ

วันที่             :         วันอังคารที่  ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ February 28th 2017