Questionable Employment Tax Practices

กรมสรรพากรเพ่งเล็งภาษีเกี่ยวกับการจ้างงาน

 

บทความนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับการจ่ายเงินสดให้พนักงานที่ทำงานโดยตรง แต่ทาง IRS ได้มีหนังสือเตือนออกมาหลายปีก่อน หนังสือฉบับนี้ออก ปี 2003 นานแสนนาน แต่ก็ยังสามารถนำมาเตือนสติใคร ๆ หลายคนได้อยู่นะคะ. มันมีหลายกรณีมากเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้พนักงานว่าทำไมสำคัญ.

 

การหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากพนักงาน แล้วไม่นำส่ง ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทาง รัฐที่เราทำธุรกรรมอยู่และ ทางกฏหมายถือว่าเป็นการ “ขโมย” เงินจากลูกจ้างและรัฐบาล.  ไม่ได้พูดเองนะคะ เอามาจาก อดีตผู้บริหารสูงสุดจาก IRS เลยค่ะ . “Failure to pay employment taxes is stealing from the employees of the business,” said IRS Commissioner Mark W. Everson. “The IRS pursues business owners who don’t follow the law, and those who embrace these schemes face civil or criminal sanctions.” คุกล้วน ๆ เลยนะคะ รวมค่าปรับด้วย.

 

คราวก่อนเคยเขียนบทความไปว่า ทาง เจ้าหน้าที่สอบสวน ของ กรมสรรพากร รู้ได้ไงว่าคนไหนโกง .  เขามีวิธีการของเขาละคะ. งานนี้เรามาดูกันว่า เจ้าหน้าที่มองจุดไหน ที่บ่งชี้ว่านายจ้างโกง.

 

1.Pyramiding   แบบนืคือ หัก ภาษีจากพนักงานไว้แล้วไม่นำส่งคะ. อาจจะเงินไม่พอ หรือกระแสเงินสดหมุนไม่ทันเลยยังไม่จ่าย. ต่อมาบางกรณีก็ยื่น Bankruptcy ขอโทษนะคะ หนี้ IRS ไม่สามารถลบได้กรณียื่นเป็น บริษัทล้มละลาย (นายจ้างคงลืมจุดนี้ไป หรือไม่ทนายที่ทำเรื่องให้ลืมตระหนัก).

 

2. Unreliable Third Party Payers. ให้บริษัทรับทำค่าแรงงานเฉพาะจัดการให้ บังเอิญ บริษัทนั้นไม่ได้มาตราฐาน  พวกทำค่าแรงให้ มีหน้าที่นำส่งแทนนายจ้างดันไม่ส่ง มีเรื่องถึงศาล  มีตัวอย่างคะ ช่วงทำงานกับบริษัทแรก ลูกค้าของลูกค้าต้องจ่ายภาษีให้ IRS เยอะมากเกือบปิดบริษัท เพราะถึงแม้ว่าจะให้ คนอื่นทำให้นายจ้างก็ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ดี  นี่คือที่มาของ Electronic Federal Tax Payment System (EFTPS). ใครเป็นเจ้าของกิจการจะทราบดีคะ ว่า IRS จะส่ง EFTPS มาให้ทุกรายไป. ปัจจุบันเราก็ใช้ 3rd Party Payroll Software ค่ะ แต่เขา SAS Certified  และ เราก็ Certified ด้วย เราก็มีหน้าที่ตรวจสอบเขาด้วยเช่นกัน.

 

3. Frivolous Arguments  ครั้งแรกที่ได้ยินคำนี้เช่นกันค่ะ  กลุ่มนี้โกงโดยการยื่นแก้แบบ 941c เข้าไป แก้ แบบ 941, สามารถมาก ทำไปได้ไง  เล่นกับใครไม่เล่น แต่มีคนทำนะคะ IRS ถึงเพ่งเล็งจุดนี้ . ฉะนั้น ใครไม่แน่จริงอย่ายื่นแก้แบบค่าแรงพนักงานเข้าไปนะคะ  IRS สงสัยหมด.  ส่วนตัวแล้ว ถ้าพลาดจะไม่แก้คะ จะเอาไปหัก กลบกับไตรมาสต่อไป บังเอิญ กิจการเล็ก ๆ เจ้าของกิจการคุยกับพนักงานได้.

 

4. Misclassifying worker status หัวข้อนี้ IRS เตือนนายจ้างมาตรงๆ นะคะ ระหว่าง รับงานอิสระ กับลูกจ้างประจำ การรับงานอิสระ คือเราไม่สามารถควบคุมดูแลเขาได้คะ เขาจัดหาอุปกรณ์เอง under Section 530 of the Revenue Act of 1978 หัวข้อนี้แหละ ค่ะที่ IRS มาเอาเรื่องกับกลุ่มนายจ้าง ที่ ออก 1099 Mis แทนที่จะออก W2 ให้พนักงาน เห็นกันเยอะนะคะ ร้านอาหาร (กรุณาระวังกันด้วยนะคะ) ยังไม่มีใครมาเล่าให้ฟัง ว่า ถูก IRS ตรวจสอบและปรับเพราะออก 1099 ให้กับลูกจ้างคะ เลยไม่มีไรจะแชร์.   คนที่ออก 1099 คือเลี่ยงภาษีส่วนของนายจ้าง 7.65% Social Security & Medicare ที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบคะ.

 

5. Paying Employees in Cash. IRS ระบุว่าการที่นายจ้าง จ่ายเงินสดให้พนักงานบางส่วนและจ่ายเชคให้พนักงานบางส่วนคือ ข้อบ่งชี้ว่า นายจ้างได้มีการเลี่ยงภาษีที่มีหน้าที่ต้องหักจากลูกจ้าง และนายจ้างต้องจ่ายสมทบ. หนังสือเวียนฉบับนั้นยังระบุว่า “จ่ายเงินสดก็ทำได้ตามกฏหมาย มันไม่ใช่สาระสำคัญ ตราบใดที่นายจ้างนำส่งภาษีที่ได้หักไว้จากลูกจ้าง ถ้านายจ้างไม่หักไว้ นายจ้างก็ยังมีหน้าที่จ่ายอยู่ดี” IRS ยังมีการบอกอีกว่า ถึงแม้ว่านายจ้างจะไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าจ่ายเงินสดให้พนักงาน แต่เขาก็มีความสามารถที่จะ Build the Case เข้าใจคือ เขามีวิธีที่จะจัดการกับนายจ้างแบบไร้กังวล และทำสำเร็จมาแล้วด้วย.. จริง ๆ แล้วการจ่ายเงินให้พนักงาน เชคบ้าง เงินสดบ้าง มันเป็นเรื่องปกตินะคะ IRS เขาบอกมาอย่างนั้นค่ะ บอกมาแล้ว ว่าทำได้ แต่เป็นจุดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างรุนแรงคะ ฉะนั้น จะจ่ายเชคก็เชคทั้งหมด จะจ่ายสดก็สดทั้งหมดคะ และก็ยื่นภาษีไปให้ถูกต้อง

 

6. Filing False Payroll Tax Returns or Failing to File Payroll Tax Returns.  ยื่นแบบไม่ถูกต้อง แบบตั้งใจคะ ยื่นต่ำไป แบบตั้งใจ หรือไม่ยื่นเลยคะ IRS มีข้อมูลของการจดทะเบียนกิจการจากรัฐที่เราอยู่อาศัยนะคะ ถ้าเราไม่เคยยื่นภาษีเลย ให้ระวังไว้เลยนะคะ ไม่นานไม่รอดแน่นอนค่ะ.  เช่นร้านอาหารนะคะ จ้างแต่คนไม่มีใบล้วน ๆ ไม่นำส่งค่าแรงเลย อันนี้น่ากลัวมากๆๆ ค่ะ ถ้าใครรู้ตัว ให้ทำให้ถูกต้องเสียนะคะ.

 

7. S Corporation Officers Compensation Treated as Corporate Distributions เจ้าของกิจการ S Corporation ทั้งหลายต้องระวังนะคะ หนังสือฉบับนี้ออกมาเมือ 13 ปีที่แล้วคะ  ถอนเงินออกไปใช้ โดยไม่ลงในระบบค่าแรงเงินเดือนนี่ น่ากลัวนะคะ ถูกประเมินย้อนหลังแบบไม่รู้ตัวเลย  นี่คือที่มาของ IRS ที่ระบุว่า เจ้าของกิจการของ S-Corporation ต้องรับเงินเดือนคะท่าน.  แถมจะรับเงินเดือนต้องดูด้วยนะคะ ว่า ณ วัน เดือนปีนั้น เขาจ้างตำแหน่งนี้กันเท่าไรด้วย พึงระวัง.

 

8. Offshore Employee Leasing เป็นข้อมูลของปี 2013 นะคะ ที่ทาง IRS ได้ตรวจสอบว่ามีการโกงกันอย่างรุนแรงมหาศาล เล่าคร่าว ๆ นะคะ ประมาณว่า บริษัท อยากรวย ให้พนักงาน ปัจจุบันลาออกนะคะ แล้วให้พนักงานปัจจุบัน ไป สมัครงานกับ บริษัท ต่างประเทศ Offshore ต่อมาบริษัท อยากรวยก็จ่ายเงินให้กับ บริษัท Offshore ไม่ได้ให้พนักงานโดยตรงคะ แล้วบริษัท Offshore ก็จ่ายเงินคืนให้กับพนักงานแบบกู้ยืมค่ะ ฉลาดปะคะ. คดีนี้ คุก 70 months ก็ 6 ปีเลยคะ แล้วบริษัท อยากรวย นี่เจ้าของเป็น ด๊อกเตอร์เลยนะคะ คิดได้ไง นอกจากคุกแล้วยังห้ามทำมาหารับประทานอีก คือ คงจะหมายถึงหลังจากออกคุก  นี่ก็ผ่านมานมนานแล้ว ป่านนี้คุณด๊อกเตอร์ท่านนั้น ทำมาหารับประทานอะไรหว่า (แอบสงสัย) คือกรณีนี้ไม่อยาก จ่าย employment taxes 15.3% ทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างนะคะ (แอบลืมบอกประเด็น).

 

 Author’s comment ความเห็นจากผู้เรียบเรียง

 

1.) ประเด็นข้อกฏหมายต่าง ๆ ที่อ้างถึง 8 ข้อไม่ได้ระบุถึงการจ่ายเงินคนไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฏหมายเลยนะคะ ขนาดคนมีใบอนุญาตทำงานตามกฏหมายยังหาวิธีเลี่ยงภาษีให้มากที่สุด. เลี่ยงตามกฏหมายไม่มีใครว่าหรอกค่ะ ข้อ 1-7 ก็ตามกฏหมายนะคะ แต่เป็นที่จับจ้องเพ่งเล็งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองค่ะ.

2.) จากประสบการณ์ที่ตัวเองเคยศึกษากรณีการโกงภาษีต่าง ๆ ทั้งจากทางมหาวิทยาลัยที่เคยเรียน ทั้งจากการอบรมต่อวิชาชีพ จากเพื่อนฝูงที่ทำงานให้กับทางหน่วยงานราชการ. ถ้าเราทำผิด แล้วเราต้องการทำให้ถูกต้อง และก่อนที่จะถูกตรวจสอบ ทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะช่วยเหลือเราเต็มที่คะ มีทั้งไม่คิดค่าปรับ และอำนวยความสะดวกหลายๆ ด้านค่ะ.

3.) นายจ้างอยากทำให้ถูกต้องแต่ลูกจ้างไม่ยอม และนายจ้างต้องจำยอมเพราะไม่มีคนทำงาน. ตอนนี้คนก็ตกงานเยอะนะคะ ให้ค่าจ้างสูงหน่อย จะมีคนมาทำงานเปล่า. แต่ ปัญหาที่กลุ่มเราชาวไทยทราบกันคือ ร้านอาหารไทย ที่ต้องให้คนไทยทำงาน ทั้งคนครัว คน เสริฟอาหาร. ต้องหาทางออกค่ะ เช่นหาผู้ร่วมทุนจากไทย ที่ได้วีซ่านักลงทุนเพราะ สามารถนำลูกจ้าง ทั้งระดับผู้จัดการและ คนทำอาหารเข้ามาทำงานได้ แบบไม่มีโควต้า Quota เลยนะคะ ไม่เหมือนวีซ่าทำงานประเภทอื่น ๆ แค่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นกรีนการ์ดได้เท่านั้นเอง. การต่อวีซ่าก็ต่อได้ทุก สองปี แบบไม่มีข้อจำกัด (แต่นายจ้างต้องจ่ายภาษีให้ถูกต้องนะคะ ไม่งั้น ก็หมดอนาคตกันไปเลยคะ เพราะมีเคสต่อวีซ่านักลงทุนไม่ได้ ทั้งนักลงทุนเองและลูกจ้างค่ะ).

4.) กฏหมายมีไว้ที่ทำตามและเป็นแนวทาง การนำกฏหมายมาประยุกต์ใช้.  ถ้าเราไม่แน่ใจกฏหมายฉบับไหน เราสามารถทำหนังสือหารือไปยัง IRS ได้กรณีที่เราไม่สามารถตีความได้  ปัจจุบันอากู๋ Google ตอบให้ได้ทุกคำถามและน่าเชื่อถือได้ด้วยคะ (ถ้าภาษาอังกฤษดี).

5.) คนที่ยืมเลข SSN คนอื่นมาใช้ ถ้าเป็นการเอามาแบบผู้นั้นไม่ได้รับรู้ก็ คุกนะคะ ระวังด้วย ส่วนคนให้ SSN คนอื่นมาใช้ก็ดูความเหมาะสมหน่อยคะ ภาระภาษีเราเพิ่มไม๊ ถ้าทั้งคู่ สบายใจ ก็เป็นเรื่องของทั้งคู่คะ คนให้ได้ผลประโยชน์จาก State Disability Insurance, Worker compensation, Social Security, and Medicare ไว้กินยามแก่ค่ะ.  ตามกฏหมายถือว่าผิดนะคะ ระวังด้วย จะเล่าให้ฟังก็ดูตาม้าตาเรือด้วยนะคะ คนรักคนชังเรามีทุกมุมเมือง. คนรักเราวันนี้ ใครจะไปรู้วันหน้า ตราบใดที่มนุษย์ยังรับประทานอาหาร มีความสุข เจ็บป่วย อิจฉา เครียด แค้น ไว้ใจใครไม่ได้นะคะ.  ปล. CPA ไม่เปิดเผยความลับลูกค้านะคะ EA, Lawyer พวกกลุ่มที่มีวิชาชีพต่าง ๆ ไม่พูดนะคะ พูดไม่ได้คะ เว้นแต่ศาลสั่งนะคะ (ควรจะทราบไว้).

6.) กลุ่มคนไม่มีสถานะทางกฏหมาย อยากทำงานให้ถูกต้องตามกฏหมายทำไม่ได้คะ ก็รู้ ๆ กันอยู่. แต่คุณประกอบอาชีพส่วนตัวได้นะคะ รับงานอิสระได้ค่ะ รับ 1099 Miscellaneous ได้นะคะ โปรดทราบไว้. เคยบอกก่อนหน้านี้แล้วนะคะ IRS, SSA, and USCIS คนละหน่วยงานกันคะ.

7.) ณ ปัจจุบัน IRS ไม่มีพนักงานมากมายที่จะไปตามถามไถ่เยี่ยมเยียนลูกค้า กิติมศักดิ์ต่าง ๆ  แต่รู้ไม๊ค่ะ นี่ปี 2017 แล้ว IRSได้พัฒนานะรบบ คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่นการสอบยันรายได้ การสอบยัน ค่าแรง สารพัดคะ ที่เราไม่รู้.  ฉะนัน ขอให้ทุกท่านแคล้วคลาดจาก เจลลี่ (Jail) นะคะ  ♥♥

 

เรียบเรียงโดย   แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ที่มา:     จากประสบการณ์การทำงานที่อเมริกาตั้งแต่ปี 2007 ถึงปัจจุบัน

หนังสือเวียนจาก the IRS เมื่อ 2003 หรือ 13 ปีที่แล้ว ซึ่งยังขลังอยู่  IR-2004-47, April 5, 2004

 

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2560 (2017)