Who is eligible for Social Security Benefit in the US

ใครบ้างมีคุณสมบัติในการขอรับสวัสดิการจากกองทุนประกันสังคมของอเมริกา

 

มีการสอบถามกันมาอย่างต่อเนื่องเรื่องคุณสมบัติการการขอที่จะขอรับเงินสวัสดิการจากสำนักงานประกันสังคม Social Security Benefit ของอเมริกา.  ถ้าเทียบเป็นเงินไทยก็เยอะนะคะ. คนเกษียณจากอเมริกา ถึงได้ย้ายไปเกษียณที่ไทย เพราะพออยู่ได้แบบสบายเลยคะ. คนทำงานเงินเดือนสูง ๆ ได้รับมากถึง $2,153 – $3,538. นี่คือจากผู้ที่เริ่มรับเมื่ออายุ 62-67 อ้างจากตารางที่สำนักงานประกันสังคมปี 2016.  คลิกไปที่ลิงค์คะ https://www.ssa.gov/oact/cola/examplemax.html  ที่ยกตัวอย่างคือคนทีทำงานครบ 35 ปี จ่ายประกันสังคมเข้าทุกปี.

ส่วนกลุ่มที่ทำงาน อย่างน้อย 10 ปี และมีครบ 40 credits ($1,200 = 1 credit) ในหนึ่งปีคุณสามารถเก็บได้สูงสุดถึง 4 credits ($1,200 x 4 = $4,800). คนรายได้ต่ำ ถ้าทำงานนำส่งประกันสังคม ก็มีสิทธิ์ขอรับได้คะ.  แม้ว่าเงินจะน้อยนิด แต่ข้อดีคือคุณได้ Medicare หรือประกันสุขภาพที่รัฐบาลจ่ายให้คนแก่คะ (กรณียังรักที่จะอยู่อเมริกายามแก่ จะได้ใช้สิทธิ์นี้).

มาดูกันว่าใครบ้างที่มีสิทธิ์จะได้รับผลประโยชน์นะคะ.

 

1.) Working for US Employers, ทำงานให้กับนายจ้างอเมริกัน

 

1.1) ซิติเซ่น หรือ ผู้ที่ถือกรีนการ์ด ที่รับค่าแรงเงินเดือนและถูกหัก เงินประกันสังคมไว้โดยนายจ้าง และนายจ้างจ่ายสมทบ.

1.2) ต่างชาติทำงานให้กับนายจ้างอเมริกา มีใบอนุญาตทำงานถูกต้อง ค่าแรงหรือเงินเดือนที่ได้รับมีการหัก เงินประกันสังคมและนำส่งโดยนายจ้าง.

2.) Self-employed individual ผู้รับจ้างอิสระทั่วไป

 

2.1) ผู้รับจ้างงานอิสระที่ได้รับแบบสรุปรายได้จากนายจ้าง 1099 . กลุ่มเนื่องเนื่องจากเป็นผู้รับจ้างอิสระ ผู้ว่าจ้างจะไม่หัก เงินประกันสังคมและนำส่ง. ผู้รับเงินอิสระมีหน้าที่สรุปยอดกำไรสุทธิจากการจ้างงาน และนำส่งพร้อมกับการยื่นแบบเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ Form 1040 , schedule C. เงินที่จ่ายคือ ส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง ที่ 15% from Net Income

2.2) ผู้ที่รับจ้างอิสระ แบบไม่ได้รับเอกสารใด ๆ เช่น ทำมาค้าขายออนไลน์ รับเงินสด ต่างๆ กลุ่มนี้คล้าย ๆ กับ คนที่ได้รับแบบ 1099 แต่….IRS ไม่มีข้อมูลของกลุ่มนี้คะ. นำส่ง. ผู้รับเงินอิสระมีหน้าที่สรุปยอดกำไรสุทธิจากการจ้างงาน และนำส่งพร้อมกับการยื่นแบบเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ Form 1040 , schedule C. เงินที่จ่ายคือ ส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง ที่ 15% from Net Income

2.3) ผู้รับจ้างอิสระที่ ไม่มีใบ (อยู่เกิน)

กลุ่มนี้รับเงินสดคะ การยื่นแบบจะเหมือนกับการรับจ้างอิสระทุกประการเพียงแค่ไม่มี เลขประจำตัวประกันสังคมหรือ SSN บางคนเคยอาศัยอยู่อเมริกามานานอาจจะมีเลข SSN ซึ่งก็ใช้ตัวนี้ในการยื่นภาษี.  ยื่นแบบเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ Form 1040 , schedule C. เงินที่จ่ายคือ ส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง ที่ 15% from Net Income

 

3.) Non-working spouse ภรรยาหรือสามีของคนทำงานให้กับนายจ้างอเมริกัน

 

3.1) ถ้าสามีทำงาน ครบ 40 credits และอย่างน้อย 10 years คู่สมรสที่ไม่ได้ทำงานสามารถขอรับผลประโยชน์ได้เมื่ออายุถึงเกณฑ์ คือ 62 สำหรับกรณีที่สามียังไม่เสียชีวิต. สามารถรับได้ 50% ของสามี.

3.2) กรณีสามีหรือภรรยาเสียชีวิต(คนที่ทำงานเสียชีวิต) ถ้าภรรยาหรือสามีไม่แต่งงานใหม่ก่อนอายุ 60 years สามารถขอรับเงินในฐานะ หม้าย หรือ surviving spouse ได้. และจะได้รับเสมือนหนึ่งว่า ผู้เสียชีวิตรับเอง (เต็มที่). รับได้ระหว่างอายุ 60-67 years.

3.3) กรณีหย่าร้าง ถ้าเคยแต่งงานมานานกว่า 10 years ก่อนที่จะหย่าสิ้นสุดตามกฏหมาย และ ไม่ได้แต่งงานใหม่ ก็มีสิทธิ์ขอรับเงินนั้นได้ 50% ของอดีตสามี (เงินนี้ไม่เกี่ยวกับเงินส่วนที่ภรรยาคนปัจจุบันได้รับ คำนวณแยกกัน).

 

4.) Child or Independent of working individual บุตรของคนทำงานให้นายจ้างอเมริกัน

 

4.1) Child under 18 years old บุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถขอรับเงินได้ กรณีพ่อเสียชีวิต (พ่อทำงานจ่ายเงินเข้ากองทุน). รับได้เท่ากับแม่. กรณีมีบุตรหลายคน ทั้งคอรบครัวสามารถรับได้ไม่เกิน $3,584/family จากสถิติของปี 2016

https://www.ssa.gov/policy/docs/ssb/v75n3/v75n3p1.html

4.2 กรณีพ่อเกษียณรับเงินประกันสังคม ลูก ๆ ก็สามารถขอรับเงินผลประโยชน์นั้นได้ เช่นเดียวกับข้อ 4.1)  ส่วนแม่ก็สามารถรับเงินนั้นได้เช่นกันในฐานะ Guardian ผู้ดูแลบุตร

4.3 กรณีพ่อแม่หย่ากันและพ่อเกษียณ  ลูก ๆ ก็สามารถรับเงินผลประโยชน์ได้ โดยไม่คำนวณรวมกับ ภรรยาใหม่ของพ่อและครอบครัวใหม่. เท่าที่ทราบ ถึงแม้แม่จะแต่งงานใหม่ ก็ไม่กระทบ. แต่แม่เมื่ออายุถึงเกณฑ์ ไม่สามารถรับเงินในฐานะหย่าร้างได้เพราะกฏห้ามแต่งงานก่อน 60 ปี.

 

5.) Receiving outside the US. ขอรับเงินนอกประเทศอเมริกา

 

5.1) ทำเรื่องขอรับเงินจาก สำนักงานประกันในอเมริกาก่อนย้ายไปต่างประเทศ สามารถนำเงินเข้าบัญชีได้ และต้องมีการกรอกเอกสารเพื่อยืนยันว่ายังมีชีวิต.

5.2)  ทำเรื่องขอรับเงินได้ที่สถานทูตอเมริกาประจำประเทศนั้น ๆ ถ้าเรากลับไปอยู่ไทย เราสามารถขอรับเงินได้จากสถานทูต และนำเงินเข้าธนาคารที่ไทยได้ ปัจจุบันที่ทราบคือ ธนาคารกรุงเทพ.

5.3 รับเงินของผู้ทำงานเอง ไม่ว่าสถานะใด ๆ กรีนการ์ด ซิติเซ่น หรือ ไม่มีกรีนการ์ด ก็สามารถขอรับเงินได้ที่สถานทูตอเมริกา ถ้าเคยทำงานและมีเครดิตครบ 40 credits.

5.4 ภรรยาหรือสามีของผู้ทำงานที่ขอรับในฐานะ non-working spouse สามารถรับได้ครึ่งหนึ่งของสามีหรือภรรยา. ถ้าเป็นอเมริกันจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องการอาศัยอยู่ต่างประเทศ. สำหรับผู้ที่ถือกรีนการ์ด สามารถขอรับเงินได้สูงสุดแค่ 6 months. ยกเว้นคือภรรยาของทหารที่เสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่สามารถขอรับเงินได้ แม้ว่าจะไม่เคยมาอาศัยที่อเมริกา หรือเคยมีกรีนการ์ด.

5.5) บุตรที่เกิดจากอเมริกัน ทั้งที่เกิดในต่างประเทศ สามารถขอรับผลประโยชน์ได้ ยกเว้น บุตรที่อุปถัมภ์นอกประเทศไม่เคยเข้ามาอเมริกาเลย ไมมี เลขประจำตัวประกันสังคม.  เช่น อเมริกัน แต่งงานกับภรรยาชาวไทย มีลูกติดมาด้วย หนึ่งคน อเมริกา อุปถัมภ์ บุตรนั้นตามกฏหมายไทย. บุตรนั้นไม่สามารถขอรับผลประโยชน์นอกประเทศได้. บุตรนั้นต้องย้ายมาอเมริกาเพื่ออยู่อาศัยและขอเลขประจำตัวประกันสังคม.

5.6) ภรรยาที่แต่งงานกับอเมริกัน นอกประเทศอเมริกา ไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ได้ เพราะไม่มีเลขประจำตัวประกันสังคมและไม่เคยอยู่อาศัยในอเมริกา. ถ้าอยากได้สิทธิ์ต้องย้ายมาอเมริกาและอยู่อาศัยอเมริกามากกว่า ห้าปี พร้อมทั้งสอบซิติเซ่นกรณีต้องการย้ายกลับประเทศไทยและรับผลประโยชน์แบบไม่มีปัญหา.

 

♥ทุกคนที่ทำงานและนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมมากกว่า 10 years + 40 credits ได้สิทธิ์นี้ แม้ว่าจะไม่ถือกรีนการ์ด♥

♥ตอนนี้กฏหมายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เท่าที่ทราบทาง รัฐบาลปัจจุบันต้องการ privatize social security โดยให้เอกชนบริหาร แต่ไม่รู้ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนมากน้อยเพียงไร ถ้ามีความคืบหน้าเปลี่ยนแปลงจะมาเล่าสู่กันฟังคะ♥

 

 

เรียบเรียงโดย    แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ที่มา,              https://ssabest.benefits.gov/

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 (2017)