E2 101 Part V – Investor vs US Income Tax returns

นักลงทุนและภาษีรายได้ในอเมริกา

สวัสดีคะท่านผู้อ่านที่เป็นแบบรักการอ่าน หรือมองหาความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรกรณีที่มาลงทุนในอเมริกา ทั้งส่งเงินมาลงทุน ไม่ได้ขอวีซ่าลงทุน  ส่งเงินมาลงทุนขอวีซ่าลงทุน  คนมีญาติเป็นนักลงทุน หรือคนมีเพื่อนฝูงที่เป็นนักลงทุน  ถ้าเขาเหล่านั้นไม่ได้เข้าชมรมออนไลน์ต่างๆ  หรือ social media เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆนั้นเป็นแต่ภาษาอังกฤษ หรือเป็นภาษาไทยแต่มีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลด้านการทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งวีซ่านักลงทุน หรือ กฏหมายที่เกียวข้อง.

มีนักลงทุนและญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงเข้าใจผิดกันมากมายเกี่ยวกับการลงทุน การยื่นภาษี จนเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนไม่สามารถต่อวีซ่าลงทุนได้  ขอวีซ่าลงทุนได้แต่ติดปัญหาต้องแก้ไขการยื่นแบบ  หรือลงทุนแต่ไม่เคยมีชื่อในแบบแสดงภาษีอากรที่อเมริกา (กรณีนี้คือพูดหลักกฏหมายภาษีอากร ไม่ใช่แบบใต้ดินนะคะ ใต้ดินคือตั้งใจแบบไม่ต้องการมีชื่อแต่อยากได้เงินนะ).

US Business structures โครงสร้างด้านภาษีอากรของนักลงทุน

  1. Sole proprietorship เจ้าของคนเดียว
    1. มีคนสงสัยแระ ทำได้รึ  ทำได้สิคะ ก็เอาเงินมาลงซื้อกิจการจ้างคนทำงาน จ้างทนาย จ้าง เอเจ้น จ้างพนักงาน มีชื่อกิจการ แต่อาจจะติดขัดตรงถ้าเป็ฯร้านอาหารจะขอลายเซ๋นต่าง ๆ พวก เหล้า ยาไม่ได้  ขายของชำจ้างคนงานนะได้ค่ะ จากประสบการณ์ยังไม่เห็นนักลงทุนไทยที่ไม่เคยมาอเมริกา ทำธุรกิจแบบนี้นะคะ. มีแต่คนที่นี่เขาทำกันเองแบบไม่ได้ต้องจดทะเบียนอะไร แค่ขอทะเบียนการค้าเท่านั้น.
  • Partnership  กรณีแบบนี้คือมีหุ้นสองคนขึ้นไป ไม่ได้จดทะเบียนนะคะ แต่ตามหลักของกรมสรรพากรอเมริกา หุ้นส่วนคนธรรมดาสองคนรวมกันทำกิจการถือเป็นหุ้นส่วนคะ  อยู่ไทยก็ทำได้ค่ะ. มีมาถาม ยื่นภาษีได้ไง  ก็หุ้นส่วนขอ ITIN ไงค่ะ ทำได้ปกตคะ. ทำยังไงก็ตามขั้นตอนนะคะ.
  • Limited Liability Company (LLC) แบบนี้ไปจดทะเบียนกับรัฐที่ทำธุรกิจค่ะ  หลายๆ รัฐ อนุญาตให้ต่างชาติมีหุ้นได้ปกติ  บางรัฐมีได้แค่ชื่อแต่เป็นกรรมการไม่ได้ค่ะเพราะต้องมี SSN or ITIN อยากมีก็ต้องขอค่ะ.  ส่วนใหญ่นักลงทุนชอบแบบนี้มากเพราะทำง่ายรวดเร็วสะดวก.
  • Small Corporation (S-Corp) นักลงทุนที่อยู่ไทยแค่ลงเงินไม่ได้ขอวีซ๋าลงทุนจะทำไม่ได้ค่ะ กรณีได้คือมาลงทุนในอเมริกาอยู่ในอเมริกา. กิจการเกือบทุกแบบสามารถเลือกการยื่นแบบนี้ได้ เช่น LLC, Corporation , Partnership file form 2553 to elect S Corp ได้ค่ะ. ถ้าได้รับอนุมัติทาง กรมสรรพากรอเมริกาจะมีหนังสือส่งตอบกลับมาคะ ถ้าไม่อนุมัติก็จะแจ้งว่าด้วยสาเหตุอะไรนะคะ.
  • Corporation (C-Corp) ล่าสุดแบบนี้นิยมมากค่ะ เพราะไม่ยุ่งกับเจ้าของเลย ทุกอย่างเสียในตัวบริษัท ถ้าศึกษาดี ๆ แบบนี้จะดีมาก ภาษี 21 เปอรเซ็นในรูปบริษัทงวดเดียวก็จบ. ไม่ต้องมารอ schedule K1 เพื่อทำภาษีของบุคคล  ต่างชาติมีหุ้นก็ให้ธุรกิจเสียไป ปันผลก็รับไปก็หัก ณ ที่จ่ายกันไปค่ะ.  ถ้าเป็นธุรกิจกำไรเยอะๆ  มันก็คุ้มค่ะ  ต่างชาติถูก หัก ณที่จ่ายไว้เยอะ ก็ขอ ITIN แล้วยื่นแบบก็มีโอกาสได้คืนบ้างนะคะ.  

What happen when you do not file US Income Tax return?  อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณไม่ยืนแบบรายได้ของกิจการ

  1. You may (not) be able to extend your investor visa อาจจะต่อวีซ่าธุรกิจไม่ได้. หรือได้แต่ต้องเข้าไปแก้แบบภาษีอากรให้ถูกต้อง.

ล่าสุดมี สองสามรายค่ะ ขอต่อวีซ่าไม่ได้ หรือเปลี่ยนวีซ่าที่นี่แล้วไปขอวีซ่ากลับมาจากไทยไม่ได้ เพราะไม่มีการยื่นภาษีอากรของกิจการที่นักลงทุนได้ลงทุน.  หรือยื่นไปค่ะ แต่อัตราส่วนต่ำกว่า ครึ่งหนึ่ง  อันนี้คืออธิบายว่าถ้าเป็นการลงทุนระหว่างปี อาจจะไม่ถึง แต่ต้องให้ CPA write a letter to explain your situation ต้องมีหนังสือชี้แจงค่ะว่าลงทุนระหว่างปี.  

2.) Your State does not show you owns business in US. บางรัฐไม่มีชื่อในการทำธุรกิจ  มีหลาย ๆ รัฐนะคะ ที่ไม่เปิดเผยชื่อเจ้าของธุรกิจ เช่น รัฐจอเจีย รัฐ เดลลแวร์ รัฐ ไวโอมิ่ง น่าจะมีรัฐอื่นด้วยแต่ไม่ทราบ ที่รุ้สามรัฐนี้เพราะมีกลุ่มลูกค้าในกลุ่มนี้ค่ะ. เวลาค้นหาข้อมูลในเสตทจะไม่มีชื่อเจ้าของเลย มีแต่คนก่อตั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของนะคะ ทนาย หรือ เอเจ้น ทำให้เยอะแยะคะ. 

ปัญญาคือ เมื่อรัฐไม่มีชื่อ เจ้าของที่นี่ก็เข้าใจว่าฉันไม่ต้องยื่นแบบ  อาจจะใช่นะคะ แต่ไม่ทั้งหมด  เพราะ การยื่นแบบของกิจการนั้นหลักคือมาจากทางกรมสรรพากรอเมริกา แล้วส่งต่อมายังรัฐที่อคุณอยู่  ถ้ารัฐไม่มีภาษีกิจการ ก็ไม่ต้องยื่นแบบค่ะ.

ทางอิม ไม่ว่าจะจากที่สถานทูตที่ไหน ๆ ของโลก ก็ขอดูค่ะ การยื่นแบบภาษี หาไปคะ สามปี ถ้าเปิดปีแรก อาจจะแค่ปีเดียว แต่การต่อวีซ่าแสดงว่าเปิดมาได้ปีกว่า หรือ สองปีใช่ปะคะ คุณต้องมีแบบค่ะ แม้ว่าจะมีปีแรกก็ตาม ที่อเมริกา เปิดสามเดือนก่อนสิ้นปีก็ต้องยื่นแบบภาษีละคะทุกท่าน

3.) ทางอิมอาจจะมองว่าคุณโกหก (ไม่อยากใช้ภาษาอังกฤษค่ะ มันน่ากลัว)

แบบนี้แย่นะคะ ถ้าถูกมองแบบนี้ แบนตลอดชีวิตเลยว่างั้น หรือให้เหตุผลว่าไม่รุ้เรื่อง อันนี้คงฟังยากนะ แล้วแต่เจ้าหน้าที่ด้วย เขาก็ไม่ได้ฉลาดน้อยกันนะ.  ทำธุรกิจ ไม่ยื่นแบบไม่เสียภาษีใครจะอยากให้มาทำมาหากินบ้านเขาละคะ ยิ่งตอนนี้รัฐบาลยิ่งหาทุกวิธีทางที่ป้องกันไม่ให้คนมาเอาเปรียบด้านต่างๆ รวมถึงภาษีอากร (ไม่ขอพูดด้านอื่น ๆ ค่ะ).

4.) Business tax preparer does not understand tax complication when having foreign business partners

อันนี้คือเรื่องจริงไม่ได้อิงนิยายเลยค่ะ. ขอออกตัวว่าไม่ได้เก่งกว่าใคร ๆ นะคะ .  ก่อนหน้านี้เมื่อ สิบปีก่อน ก็ไม่รู้เรื่องค่ะ รู้จากการไปเรียนมาและจากการทำงานกับคนไทยที่มาลงทุนนะคะ.  คนทำภาษีของธุรกิจบางคนไม่ได้เรียนมาด้านนี้ค่ะ ไปเรียนการทำภาษีบุคคลทั่วไป หรือเรียนการกรอกฟอร์ม  หรือเรียนมาแต่ไม่เคยทำงานด้านร่วมทุน ก็จะไม่ทราบค่ะ (ไม่มีใครรู้ทุกเรื่องนะคะ).  ส่วนใหญ่ที่เจอคือมีทุกรูปแบบทั้ง มีลายเซ่น ต่างๆ ก็ทำไปไม่ถูกเหมือนกัน  มีนักลงทุน แต่ดันยื่นแบบคนเดียว เพราะมองว่านักลงทุนไม่มี SSN และไม่รู้ว่านักลงทุนขอ ITIN ได้ (คาดว่าคงไม่ได้ไปอบรมกับ IRS แหงๆ เลย ถ้าไปคงรู้จุดนี้).

Comments from author:

ทางเราที่ทราบจุดนี้เพราะเห็นปัญหาจากกลุ่มลูกค้าที่ก่อนจะมาร่วมงานกับเรา หรือ เคยมาสอบถามกันนะคะ.  และเราก็มีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำกลุ่มนักลงทุนที่ยื่นขอวีซ่ากันเอง หรือต่อวีซ่ากันเอง  กลุ่มนี้เขาฉลาดค่ะ เขาทำกันเองได้หมด.  แต่มีบางจุดธุรกิจที่ไม่เข้าใจถึงมาสอบถามเราเรื่องภาษีอากร เราก็ช่วยดูเป็นราย ๆ ไปค่ะ.

หลาย ๆ คนที่ใช้คนทำภาษีที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องนักลงทุน ก็มีการยื่นแบบภาษีผิดพลาด ต้องแก้แบบภาษีอากร วุ่นวายกันไปหมดค่ะ  เพราะการแก้แบบกิจการ กลุ่ม LLC S Corp Partnership จะกระทบบุคคลธรรมดาค่ะ สองต่อนะคะ  ทำถูกแต่แรกประหยัดค่าใช้จ่ายมากกกว่าการแก้ไข  การแก้ไขคือการทำใหม่ให้ถูกต้องแล้ว แย้งกลับไปว่าจุดไหนผิดค่ะ ต้องทำงานสองต่อค่ะ.

ควรจะลงทุนนะคะ ถ้าคุณเป็นนักลงทุนมาจากไทย ควรใช้บริการมืออาชีพ ที่ไหนก็ได้ค่ะ มีทุกรัฐ มีทุกมุมที่สามารถทำภาษีธุรกิจให้ต่างชาติและมีความเข้าใจที่ดี  เราเคยเจอฝรั่งดีมากค่ะ รับงานต่อมา ยอดเยี่ยมมาก ราคาอาจจะแพงนิดหนึ่ง แต่ดีมากค่ะ.  อเมริกาทำบัญชีกันเล่มเดียวนะคะโดยทั่วไป คนทำภาษีที่นี่ส่วนใหญ่จะกลัวกันค่ะ. ศึกษาเยอะ ๆเรื่องการลงทุนและภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีคู่สมรสเป็นอเมริกัน ควรจะคุยกันให้เข้าใจถึงสิ่งที่ต้องทำถ้ามีนักลงทุนมาเกี่ยวข้อง.

 

ที่มา                            : ประสบการณ์ในการวางแผนภาษีอากรให้กับนักลงทุนไทยในอเมริกา

 

เรียบเรียงโดย          : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                    :  วันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคมพ.ศ. ๒๕๖๒, (ยังมีเวลายื่นภาษีออนไลน์ ถึง 15 ตุลาคม นะคะ สำหรับบุคคลธรรมดา)

Tuesday, October 10th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ