E2 101, Part I

E2 Investor, Can I receive salary from my business that I invest?

ฉันรับค่าตอบแทนเงินเดือนจากธุรกิจที่ฉันลงทุนได้ไม๊


การรับค่าจ้างในแต่ละกิจการสามารถทำได้หลาย  ๆ กรณี เช่น รับค่าชั่วโมง  รับคอมมิชั่น รับค่าบ้าน รับค่าอาหาร รับค่าสารพัดค่า ที่กฏหมายภาษีอากร ระบุว่าเป็น wages.

มีคำถามต่อมาว่า Does it depend on what type of business is formed? มันขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจที่จัดตั้งด้วยหรือเปล่า?

Yes, it is. ใช่คะ มันก็มีส่วนด้วย ว่าจัดสร้างรูปแบบธุรกิจแบบไหน.

แต่ละรัฐจะให้จัดตั้งธุรกิจหลายรูปแบบ  ที่นิยมคือ Limited Liability Company (LLC)

การรับค่าจ้าง ที่ได้ทำงาน เรียกว่า “Guaranteed payment” เซ็นเชคไปเต็ม ๆ จ่ายให้ตัวเองไม่ต้องหัก ภาษีใด ๆ ก็เอามารวมคำนวณภาษี ณ สิ้นปีเอง

หรือ report as wages รับแบบค่าแรงค่ะ เข้าระบบไปเลย มีการนำส่งค่าแรง หักภาษีค่าจ้างไว้ปกติ สิ้นปี ก็นำมาคำนวณภาษีปกติ แต่คุณไม่ได้รับเต็มไง เพราะถูกหัก ภาษีไว้

เอ๊ะ  แล้ว สองแบบนี้แบบไหนถูกต้องหว่า  เขาก็ทำกันทั้งสองแบบแหละคุณ  เอาที่สบายใจ แบบไหน คุณก็ต้องเอาไปคำนวณภาษีปกติอยู่แล้ว

เนื่องจากมีลูกค้า ที่ทำทั้งสองแบบ แบบเงินเดือนแบบการันตีค่าจ้าง  ถามว่านี่ก็หลายปีนะคะ ไม่เห็นมีคำเตือนว่าให้เลิกทำ แบบรับค่าจ้างก็ดีออก ทาง กรมสรรพากรอเมริกาได้ภาษีไปก่อน  แบบแรก ก็ไม่ได้รับเงินแต่ก็ต้องจ่ายสิ้นปีอยู่ดี

ถ้าจัดตังแบบ Corporation

แบบนี้ รับ guaranteed payment ไม่ได้นะคะ  ต้องแบบ reported wages เท่านั้น เพราะ ถ้าคุณจ่ายเงินออกไปให้ตัวเอง จะตีความว่า เจ้าของถอนเงินไปใช้ หรือ ถอนทุนออกมา หรือ ถ้าตีว่าจ่ายปันผล ก็เสียภาษีอีกแบบ.  เอ๊ะ ธุรกิจเพิ่งเปิด กำไรแทบไม่มี จะไป ถอนทำไรค่ะ ก็ลงทำเป็นเงินเดือนไป   แต่ดูด้วยนะคะ กิจการไม่มีกำไรเลย แต่เงินเดือนถอนตลอด ถ้าไม่อยากมีปัญหา ก็ต้องเพิ่มทุนเข้ามา หรือ ทำรายได้เพิ่มละคะ.   แต่ แต่ แต่ ถ้ารับเงินเดือน แต่รายได้พอจ่ายค่าจ้าง ตัวเองและลูกน้อง ไม่มีใครว่าหรอกค่ะ ก็เรามีรายได้ มีรายงานรายได้ แม้ว่ากำไรจะน้อยก็เถอะ

Small Corporation (S-Corp)  แบบนี้ เลือกรูปหลังจากตั้ง LLC or Corp

แบบนี้รับเงินเดือนคะ เพราะ the Internal Revenue Services (IRS) สั่งเลย ถ้ายูจดทะเบียนแบบนี้ ต้องรับเงินเดือนตามราคาตลาดนะ ไม่รับไม่ได้ถ้ามีกำไร.  ถ้าขาดทุน ไม่ต้องรับก็ได้ค่ะ ไม่มีใครว่า  ขาดทุนจะรับเงินเดือนทำไมค่ะ ก็เว้นแต่มีรายได้พอให้รับเงินเดือน หรือเพิ่มทุนนะคะ.  ถ้าเป็นนักลงงทุน ควรจะมีเงินสำรอง นอกจากที่มาซื้อกิจการด้วยค่ะ ไม่งั้นแย่เลย ถอนเงินร้านติดลบ อ้ายหยา ต่อวีซ่ายังไงกันเนี่ย  ถามเราตอบให้ไม่ถุกเหมือนกันค่ะ เพราะ ลูกค้านักลงทุนในเครือจะไม่เป็นแบบนี้ค่ะ  เราจะให้เขารักษาระดับทุนให้เท่ากับการเริ่มต้นเหมือนที่ได้วีซ่ามาลงทุนเลยคะ ต้องเท่าเดิม หรือมากกว่า เว้นแต่ สองปีแรกขาดทุน ผลขาดทุนจะลดทุน มันก็เป็นเรื่องปกติ ไมใช่ถอนทุน  ถ้างั้นก็ต้องอธิบายไปทำไมทุนมันหลดหย่าช่วงยื่นต่อวีซ่านะคะ

Sole proprietorship แบบเจ้าของคนเดียว ไม่จดทะเบียนไรทั้งนั้นนะแหละ

แบบนี้จะรับไม่รับ ก็ไม่มีใครว่าคุณนะคะ แต่ให้ระวังตรงที่กิจการไม่มีกำไรแล้วถอนเงินออก ทุนคุณจะลด แล้วการรายงานทุนในการต่อวีซ่าลงทุน นะให้ดูดี ๆ ระวังมีปัญหาด้วยคะ  เดี๋ยวถูกมองว่าหลบเลี่ยงรายได้ มีแต่รายจ่ายยุ่งกันไปอีก กรมสรรพากรอเมริกา ฉลาดมาก ๆ มาก ถึงมากที่สุดเลย  เรานักบัญชีก็มองออก แล้วรัฐบาลนะเขาเก่งกว่าคุณเยอะแยะ นะคะ.  ที่นี่นะอเมริกา ไม่ใช่เมืองไทย มีบัญชี กัน สอง  สาม สี่เล่ม   เราทำบัญชีกันเล่มเดียวจริงๆ ค่ะ แค่ทำภาษี จะกรอกภาษีแบบ tax basic/cash basic เท่านั้นเอง พึงทราบด้วยนะคะ กลุ่มที่เพิ่งเข้ามานะคะ จะได้ทำมาหากินที่อเมริกาแบบปลอดภัยและไร้กังวล.

 

Comments from author:

ทางเราและทีมงาน ดูและด้านบัญชีให้กับนักลงทุนจากประเทศไทย มากกว่าครึ่งค่ะ กระจายหลายๆ รัฐ และนักลงทุนก็มีทั้ง ขอวีซ่าลงทุนมากันเอง ใช้ทนายค่ายดัง ค่ายดังกลาง ๆ แต่คุณภาพเริด ทนายโฆษณากระหึ่มก็ใช่กว่าจะดีกว่าทนายดังกลาง ๆ นะคะ เขาไม่ได้โฆษณาใช่ว่าเขาไม่ดี  คนก็ใช้เขาทั้งไทยและอเมริกา ทนายฝรั่งดี ๆ ก็มีค่ะ เยอะพอสมควร ดูการทำงานละเอียดและดีมาก  ส่วนใหญ่ลูกค้าใช้ทนายฝรั่ง ภาษาเขาจะดีกันอยู่ด้วยค่ะ.  อุ๊บเกือบลืมบอก เราไม่ใช่ทนายนะคะ กลุ่มที่อ้างไม่ใช่เราคะ  ทางเราเป็นที่ปรึกษานักลงทุนทีต้องการทำวีซ่าลงทุนด้วยตัวเองค่ะ เราช่วยเขาแต่การวางแผนจนยื่นวีซ่านะคะ (สนใจก็สอบถามกันมาได้) ที่สำคัญกลุ่มที่ให้เราเป็นที่ปรึกษา เขาก็ให้เราวางแผนเรื่องโครงสร้างภาษีอากรต่างๆ  ให้ ก็ดูแลกันและตันมาเรื่อยๆ ค่ะ เป็นเหมือนเพื่อน พี่น้อง กันไปนะคะ. 

เวลาไปอ่านข้อมูลจากกลุ่มต่างๆ ที่นักลงทุนด้วยกันไปแชร์ ประสบการณ์ของเขาคงจะไม่เหมือนคุณนะคะ ทั้งเรื่อง ภาษี เรื่อง บัญชี เรื่องประสบการณ์การได้มาซึ่งวีซ่า การทำธุรกิจรูปแบบก็ต่างกันด้วย ฉะนั้น ประสบการณ์เขาใช่ว่าจะเอามาใช้กับคุณได้หมดนะคะ.  แต่ฟังไว้ก็ดีค่ะ.  ยกตัวอย่างเคสของลุกค้าเรา ได้วีซ่ามาก็แตกต่างกันออกไป อุปสรรคก็แตกต่างกันออกไปค่ะ แต่ทุกคนก็ได้มาซึ่งวีซ่าลงทุน  คนไม่ได้ เราก็เสียใจนะคะ อยากให้มากันหมด แต่การพิจารณาอยู่กับสถานทูตนะคะ ไม่ใช่เราเองที่ตัดสินใจได้  บางครั้งเรื่องดวงก็มาเกี่ยวข้องค่ะ ขอไม่ได้รอบแรก รอบสองก็ขอมากันก็มีนะคะ อย่าท้อ ให้แก้ไปทีละจุดค่ะ.  หรือไปลงทุนที่ แคนนนาดากันก่อน ค่อยมาอเมริกาค่ะ.

ช่วงนี้ค่าเงินบาท “strong แข็งแรง” มากเป็นโอกาสของการนำเงินมาลงทุนที่อเมริกาเลยค่ะ  ถ้าเป็นไปได้มาดูธุรกิจก่อนนะคะ ก่อนตัดสินใจ ถ้ามาไม่ได้ ก็ต้องมีเอเจ้นที่น่าเชื่อถือดุให้ หรือญาติพี่น้องช่วยดูกิจการนะคะ.

*ขอให้ทุกท่าน โดยเฉพาะนักลงทุนทั้งหลาย ประสบความสำเร็จกันทั่วหน้า วางแผนภาษีดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งนะคะ*

 

ที่มา                           : Issue Number:    Tax Tip 2019-89

เรียบเรียงโดย                    : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                            :  วันอังคาร ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, (ยังมีเวลายื่นภาษีออนไลน์ ถึง 15 ตุลาคม นะคะ สำหรับบุคคลธรรมดา)

Tuesday, July 16th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ

***We provide accounting, taxes and investment services for individuals and business worldwide for US Tax payer*** เรามีให้บริการด้านบัญชี ภาษีและ การลงทุนสำหรับบุคคลธรรมดาและธุรกิจค่ะ(ทั่วโลกสำหรับผู้เสียภาษีของประเทศอเมริกา)