Why you should (NOT) Invest with business partners?

ทำไมคุณถึงควรลงทุน และ ไม่ลงทุนร่วมกับบุคคลอื่นๆ

 

ณ ปัจจุบัน แนวคิดของการร่วมทุนเป็นที่นิยมกันมากค่ะ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่มาจากไทย ที่ไม่เคยทำธุรกิจที่นี่ ไม่มีเครดิต ไม่มี Social Security Number (SSN). ที่สำคัญการมาลงทุนของนักลงทุนครั้งแรก จะช่วยได้มากถ้ามีพี่เลี้ยง หรือคนคอยแนะนำทางธุรกิจ. การมีผู้ร่วมทุนมีทั้งข้อดีและข้อเสียหลายอย่างค่ะ พูดตามประสบการณ์ที่ได้ยินได้ฟัง ได้คุยกับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการร่วมทุน และล้มเหลวจากการ่วมทุนที่เกือบหมดตัว หรือได้บทเรียนราคาตั้งแต่ $70,000 – $300,000 เลยทีเดียวนะคะ. ถ้าคนร่ำรวยเงินแค่นี้คงไม่อะไรมากมาย ถ้าเป็นคนชนชั้นกลางในอเมริกาอย่างดิฉันเองก็คงจะเจ็บแสบพอสมควร. แต่ถ้าในทางกลับกันประสบความสำเร็จได้กำไรกลับมาเท่านี้ก็ถือว่าคุ้มมากกับการลงทุนและมีผู้ร่วมทุนนะคะ.

 

เคยเขียนเรื่อง Business partners เมื่อสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากตอนนั้นมีสองสามกรณี ที่ล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง และที่ประสบความสำเร็จกันมากมาย. มาอีกแล้วค่ะ จริงๆ เรื่องแบบนี้ก็มีมาเรื่อยๆค่ะ ถึงต้องเตือนกันบ่อยมากขึ้น.  เงินทองนั้นไม่ใช่จะหามาได้ง่าย ๆ ที่จะมาลงทุนร่วมกันกับหุ้นส่วน ซึ่ง รวมทุน พี่กับน้อง พ่อแม่ลูกเขย ลูกสาว เพื่อนและเพื่อน กับคนรู้จักทั่วไปที่คบหากันมานาน มีทุกแบบและทุกกรณีค่ะสำหรับการลงทุนร่วมกัน.

 

ไม่ได้เน้นเฉพาะนักลงทุนที่มาด้วยวีซ่าลงทุนประเภทต่าง ๆ ที่ร่วมทุนกันเองจากไทย หรือร่วมทุนกับคนที่นี่ที่มีใบเขียวหรือเป็นพลเมืองของอเมริกาค่ะ.  แต่น่าจะมีปัญหาหรือแง่คิดคล้าย ๆ กัน ไม่ว่าจะร่วมทุนกับกลุ่มไหนก็ตาม.  ขอเล่าประสบการณ์ที่ฟังมาและเห็น พร้อมทั้งคำแนะนำดังนี้ค่ะ.

 

Business contracts/agreements สัญญาระหว่างหุ้นส่วน

 

สัญญาระหว่างหุ้นส่วน ควรจะให้ทนายหรือบุคคลที่สามที่มีความรู้ด้านกฏหมายช่วงทำขึ้นมานะคะ.  ถ้าหุ้นส่วนเป็นคนไทยที่มาลงทุน กับหุ้นส่วนอีกคนเป็นชาติอเมริกัน เขาไม่พูดภาษาไทย คนไทยไม่พูดภาษาอังกฤษนั้น. ต้องมีการแปลเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันด้วยดีนะคะ.

 

เนื่องหาสาระในสัญญานั้นจะคลอบคลุมตามมาตราฐานทั่วไปคะ หน้าที่ในการบริหาร ใครเซ็นเชค ใครจ้างงาน แบ่งกำไรกันทเท่าไรอย่างไร. และที่สำคัญมาก ๆ คือ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ทำตามสัญญาก็มีสิทธิที่จะกระเด็นออกไปได้แบบมีเงื่อนไข เช่น ซื้อหุ้นอีกฝ่าย หรือขายหุ้นออก เลิกกกิจการ  ก็อยู่ที่ว่าเลือกอย่างไรนะคะ. ให้ทนายความด้านธุรกิจช่วยตัดสินใจ .  การหาข้อมูลเบื้องต้นสามารถค้นหาได้ทางออนไลน์ทั่วไปค่ะ แต่การทำไม่ควรทำกันเองค่ะ.  ขนาดใช้ทนายก็ยังทำเลาะกันเลย แต่ไม่มากเท่ากับ ที่ไม่ใช้บุคคลที่สาม.

 

Duties and responsibilities หน้าที่ความรับผิดชอบ

 

คนส่วนใหญ่ที่ต้องการหุ้นส่วนคือ ต้องการคนมาช่วยงาน ต้องการคนมีทักษะที่แตกต่างหรือเหมือนกัน เช่น คนเดิม พูดเก่ง การตลาดเก่ง บริหารเก่ง แต่เข้าครัวไม่เป็น (กรณีร้านอาหาร) ก็จะหาคนที่มีประสบการณ์มาร่วมทุนช่วยกัน.  หรือคนที่ทำอาหารฝรั่งเก่ง แต่ทำอาหารไทยไม่เป็นก็จะหาคนทำอาหารไทย.  หรือ คนที่มาโดนานแระ แต่มีเงิน ก็จะหาคนที่มีใบเขียวหรืออเมริกันร่วมทุน. อุ๊ยสงสัย โดดก็เป็นเจ้าของกิจการได้รึ  ได้สิคะ  คนไทยที่อยู่ไทยยังเป็นเจ้าของกิจการที่อเมริกาเกือบทุกประเภทแล้วค่ะ  ถือหุ้น ร้อยเปอรเซ็น ครึ่งหนึ่ง หรือ สิบเปอรเซ็นก็มี  มีทุกแบบค่ะ.  เพราะแต่ละรัฐในอเมริกาไม่ได้ห้ามให้ต่างชาติลงทุนค่ะ  บางรัฐถ้าคนไทยลงทุนร้อยเปอรเซ็นก็จะต้องมี เอเจ้น หรือตัวแทนในการช่วยจัดตั้ง หรือหุ้นส่วน เพราะ การขอลายเซ่นต่างๆ  ต้องใช้คนที่มีเลข Social security number (SSN). ยังไง คนถือใบเขียวหรืออเมริกันก็ยังมีความสำคัญอยู่ค่ะ.  บางคน มีเงินจ้างทนายเป็นเอเจ้นให้จัดการให้หมดก็มีค่ะ มีรับทำทั่วไป ออนไลน์ก็มีค่ะเยอะแยะมากมาย. นอกเรื่องมากไปละ.

 

ที่พูดถึงการแบ่งความรับผิดชอบคือ  ปัญหาเรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างกับคนที่ทำงานค่ะ  เช่น เจ้าของอีกคน ทำในครัวทำอาหาร เจ้าของอีกคนทำเสริฟ  ส่วนใหญ่แล้วการจ่ายค่าจ้างให้เจ้าของจะว่ากันตามเนื้องงานค่ะ  เชฟทำอาหารเงินเดือนจะเยอะหน่อย เสริฟก็จะน้อยหน่อย  มีแบบกรณี เชฟ ทำอาหารเงินเดือนเยอะมาก  เสริฟน้อยมาก เพราะอยู่หน้าร้าน แต่ตีความแค่เสริฟไม่ได้ค่ะ เพราะเจ้าของอีกคนต้องทำเอกสาร ต้องดูและประสานงานต่าง ๆ ถ้าแบบนี้ต้องจ่ายจำแหน่งเงินในฐานะผู้จัดการร้านค่ะถึงจะยุติธรรม และก็ดูอัตราส่วนค่าจ้างด้วยค่ะ ถ้าเชฟมากกว่า เป็นสองเท่ากับผู้จัดการร้านนี่คือไม่ใช่แล้วค่ะ  เชฟไม่น่าเกิน 50 เปอรเซ็นของผู้จัดการร้าน  ยิ่งผู้จัดการร้านภาษาดี ๆ เงินเดือนก็ไม่ได้ต่ำกว่าเชฟคนทำอาหารนะคะ.

 

อ้าวแล้วอีกฝ่ายมาลงแต่เงินไม่ทำงานละ  ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเดือนไงค่ะ แต่ถ้ายังทำเอกสาร ประสานงานหน่วยงานต่างๆ  นี่ควรจะมีเงินเดือนด้วยค่ะ เพราะไม่ใช่ว่าไม่ทำอะไรเลย จ่ายบ้างแต่ไม่ได้มากมายเหมือนคนทำงานอยู่ในร้าน.

 

Profit & Loss การแบ่งผลกำไรและขาดทุน

 

การแบ่งผลกำไรขาดทุนเป็นไปได้หลายแบบค่ะ  แบบตามอัตราส่วนการลงุทน ซึ่งเป็นมาตราฐานทั่วไปที่ชาวบ้านนิยม. มีแบบที่ไม่ตามอัตราเงินลงทุนก็ทำได้ค่ะ  เช่น มีคนลงแรงแต่ไม่ลงเงิน จะได้แบ่งกำไร ยี่สิบเปอรเซ็นก็ทำได้ค่ะ ถ้าระบุไว้ในสัญญา การทำด้วยแรง คือมาบริหารกิจการ มาทำงานปกติค่ะ  หรือมาเป็นเชฟ  ไม่ใช่ว่าเป็นเชฟลงแรงได้ผลแบ่งกำไรแต่ไม่ได้ค่าแรงนี่ไม่ใช่นะคะ.  ต้องตีราคาค่าแรงให้ค่ะ ไม่งั้นร้านขาดทุน คนลงแรงไม่ได้รับประทานอะไรค่ะ  แต่ค่าจ้าง จะตามท้องตลาดหรือต่ำกว่านะคะ เพราะได้สวนแบ่งกำไรด้วย  ถ้าไม่ได้ส่วนแบ่งก็ตามตลาดหรือมากกว่าค่ะ.   มีนักลงทุนที่ไทยที่ไม่ได้มาบริหารแต่ให้คนที่นี่บริหารให้ และเบ่งกำไร ครึ่งหนึ่ง ก็มีค่ะ และกำหนดค่าจ้างไว้แบบที่พออยู่ได้ เพราะกิจการระยะแรก  ๆ แทบจะไม่มีผลกำไร เพราะใช้เงินสูง.  การบริหารงานจากหุ้นส่วนที่ไม่ได้มาทำหน้าที่ในกิจการเองจะลำบากค่ะ  ทุกอย่างต้องออนไลน์ ต้องเข้าระบบทุกอย่าง ถ้าทุกอย่างไม่เข้าระบบออนไลน์  ไม่ควรปล่อยค่ะ.  สังเกตุจากร้านใหญ่ๆ นะคะ เจ้าของไม่ได้มายุ่งเกี่ยวค่ะ จ้างผู้จัดการ มีทีมงานดูแลตลอด ทำทุกอย่างเข้าระบบหมด ไม่มีรับเงินสดบ้าง ไรบ้าง แบบนี้ไม่มีค่ะ  เขาก็ทำกันได้นะคะ ดูร้านฝรั่งไปเลยค่ะ. เปิดไม่รู้กี่สาขา เจ้าของแค่ขับรถ ไปเยี่ยมดูสถานการณ์ ดูผลการดำเนินงาน หาวิธีเพิ่มรายได้ โฆษณา ออกงาน ปรับปรุงเมนูใหม่ ๆ  (เราก็ย้ำแต่ร้านอาหรเนาะ เพราะคนไทยมาทำกันเยอะที่อเมริกา).

 

Managing income and expenses การบริหารรายได้และค่าใช้จ่าย

 

ข้อนี้เป็นจุดหลัก ๆ ที่หุ้นส่วนทะเลาะกันค่ะ  ไม่ว่าจะพี่กับน้องที่รักกันมากมาย เพื่อนรักกลายเป็นเพื่อนแค้น  พ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง  แต่ไม่ค่อยเห็นระหว่าง หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ญาต หรือคนสนิทคะ  จากที่สังเกตุ หุ้นส่วนทางธุรกิจ จะทำงานแบบเป็นระบบค่ะ .

 

ค่าใช้จ่าย จะ จ่ายผ่านบัญชีของกิจการ และใช้เฉพาะส่วนของกิจการเท่านั้น  จะไม่มีการใช้ค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาปะปน เพราะ หุ้นส่วนอีกฝ่ายก็มีความสามารถเข้าไปตรวจดูค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้หมดค่ะ. 

 

รายได้  รับทุกอย่างผ่านบัตรเครดิต  ถ้ามีการขายสุดก็เข้าระบบ ซึ่งสามารถตรวจสอบและมีรายงานหมดเลยค่ะ  ดึงข้อมูลออนไลน์ได้หมดเลย ทันสมัยมาก  (ค่ายไหน ทำไม่ได้ แบบออนไลน์อย่าไปใช้).

 

การมีหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ ถ้าเปิดเผยแต่เบื้องต้นเรื่องการใช้จ่าย จะไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ ถ้ามีการจ้างผู้จัดการที่เป็นคนภายนอกมาบริหาร ก็ควรจะตรวจสอบไปด้วยนะคะ ว่าเงินเข้าออกเป็นยังไง.

 

Comments from author:

 

จากประสบการณ์ที่ได้รับฟังได้เห็นเอกสารที่หุ้นส่วนขัดแย้งทะเลาะกัน ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ มีสาเหตุหลัก ๆ คือ ข้อตกลงระหว่างหุ้นส่วนไม่ชัดเจน หรือไม่มีเลยค่ะ เพราะว่าเป็นพี่น้องรักกัน เป็นเพื่อนรักกัน เป็นคนในครอบครัว จึงเชื่อใจและไม่มีการทำเอกสารขึ้นมาเพื่อชี้แจง ตั้งแต่เรื่องการทำงานในกิจการ การบริหาร การใช้จ่ายต่าง ๆ.

 

ความไม่ซื่อสัตย์และเห็นแก่ตัว  อันนี้สำคัญมากและก็เป็นสาเหตุหลัก ๆ เช่นกัน  ยกตัวอย่าง มีนักลงทุนในไทยที่ส่งเงินมาลงทุน ทางฝั่งอเมริกาก็ขอเงินมาลงทุนเรื่อยๆ  เพราะไม่พอ มีค่าใช้จ่ายเยอะ  แต่อีกฝ่ายขอดูเอกสารก็ไม่มีให้ดู จนสุดท้ายก็ต้องขายกิจการไป แต่คนที่รวยคือหุ้นส่วนที่อเมริกา.  ไม่ใช่แค่นั้นพี่น้องกัน เป็นพลเมืองที่นี่ พี่รักน้องมาก มีเงินเท่าไรลงทุนในร้าน แต่ไม่เคยเห็นผลกำไรก็มีค่ะ ไม่รู้เงินหายไปไหน ขอดูเอกสารก็ไม่มีอะไรเลย รู้ตัวอีกทีก็เงินหมด ผัวจะฟ้องหย่าเพราะน้องตัวเองนี่แหละค่ะ.

 

การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกันของการลงทุนในอเมริกาและการลงทุนในไทย  ตัวอย่างร้านอาหาร มีพนักงานที่ต้องการเงินสดครึ่ง ลงค่าจ้างครึ่ง เนื่องด้วยเหตุผลล้านประการ.  นักลงทุนจากไทยจะไม่เข้าใจอะไรมากมายว่า ทำไมต้องจ่ายเงินสดครึ่งหนึ่ง ทำไมไม่จ้างคนที่ลงบัญชีหมด  คนที่อเมริกาอธิบายไปว่าไม่มีคนทำงาน หาคนไม่ได้ ฝรั่งก็ทำอาหารไทยไมได้  พอมีการจ่ายเงินให้พนักงานเงินสด จะทำให้การจ่ายเงินออกไปไม่มีหลักฐานประกอบ นอกจากเชค หรือถอนเงินสด  ทำให้เงินนั้นหดหายจากบัญชีกิจการแบบไม่มีที่มา  และก็เกิดปัญหาทะเลาะกัน . ปัญหาเหล่านี้ควรจะมีการคุยตั้งแต่ต้น  มีร้านไทยที่ประสบความสำเร็จจ้างฝรั่งก็มีค่ะ เพราะมีสูตรทำไรเป็นระบบ และไม่มีปัญหาเรือ่งการจ้างงาน เพราะจ่ายค่าแรงและมีสวัสดิการที่ดีให้กับคนทำงานในกิจการ. 

 

นักลงทุนมาจากไทย มีค่านิยมที่ขนมาจากไทยคือ ทำอะไรได้หมด ไม่จ่ายภาษี ไม่รายงาน  อ้าวนักลงทุนเจ้าของกิจการที่นี่มีใบเขียวเป็นอเมริกัน ต้องทำไรให้ตรงถูกหมด  ทะเลาะกันอีกงานนี้ แม้ว่าจะญาติกันพี่น้องกันก็เถอะคะ พอมาเรื่องที่จะมีปัญหากับรัฐบาลแล้วไม่มีใครเขาเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้นะคะ.  มาลงทุนกที่อเมริกา ควรจะทำตามกฏหมายและข้อบังคับที่ทางรัฐบาลได้ระบุไว้ มีรายได้ก็ต้องรายงาน มีค่าใช้จ่ายก็จัดไปตามจริง ไม่ใช่จะส่งแต่ผลขาดทุน  และมีการบอกนักบัญชีว่าต้องการผลขาดทุนเท่านี้อีก  มีมาบอกเราหลายรายค่ะ  ผลที่สุดก็ทำงานร่วมกันไม่ได้ คนทำบัญชีก็ไม่ยุ่งค่ะเรื่องแบบนี้  ให้ไปหาคนอื่นทำให้หรือทำกันเองไปเลยค่ะ เอาแบบที่สบายใจกันไปเลย.  ถ้ายังไม่รู้สำหรับคนที่ชอบเลี่ยงภาษีแบบผิดกฏหมายเหล่านั้น ควรจะทราบนะคะ คดีอาญานะคะที่ฟอกเงิน โกงภาษีนะคะ  พึงทราบไว้เลย  คนทำกันเยอะแยะไม่เห็นเป็นไร มีค่ะ ทำได้ไม่เกิน สองสามปีต้องปิดกิจการเปิดใหม่ ไปเรื่อยๆ ค่ะ.  ถ้าขยันจะทำแบบนั้นก็ว่ากันไปเลยค่ะ.  สำหรับนักลงทุนที่ดี ต้องการมาสร้างเนื้อสร้างตัว ควรจะทำไรให้ถูกต้อง ใช้ช่องโหว่ให้หมด แล้วถ้ามีกำไรจริง ๆ ก็จ่ายๆ  ไปค่ะ ภาษี บำรุงบ้านเมือง.

 

มีคนเยอะแยะคะที่ประสบความสำเร็จในการร่วมทุน ไม่ใช่แต่จะโกงกันอย่างเดียว คนที่นี่ต้องการคนร่วมทุนในกิจการ เพราะต้องการคนมาช่วยงาน ยิ่งการขอวีซ่าลงทุนประเภท E2 Treaty Investor นั้นนิยมกันมาก มาลงทุนกับพี่น้อง พ่อแม่ ญาติต่างๆ ได้นำเชฟหรือคนทำอาหารมาทำงานได้ด้วย  ยอดขายก็พุ่งกระฉูด จากขาดทุนก็มีกำไร ตลอด ขยายไปหลายสาขาก็มีค่ะ  เขาทำงานกันแบบโปร่งใส พูดจากันแบบเปิดอกนะคะ ไม่ตุกติก แบบนี้ก็มีค่ะ.  ถ้าทำงานร่วมกันไม่ได้ ก็จากกันด้วยดีค่ะ ไปสร้างกิจการใหม่ ๆ กันเองแบบสบายใจ.

 

  • ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในธุรกิจทั้งทำเองและมีหุ้นส่วนนะคะ *

 

ที่มา                             :  ประสบการณ์จากกลุ่มลูกค้าและจากการรับฟังปัญหาต่าง ๆ

 

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

 

วันที่                       :  วันศุกร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑, Friday, November 2nd,  2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

 

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**