Which business structures provide best tax saving for start up in USA?

 

โครงสร้างบริษัทรูปแบบไหนดีที่สุดสำหรับธุรกิจใหม่ให้ประหยัดภาษีอากรในอเมริกา

 

________________________________________________________

โครงสร้างแบบไหนในรูปแบบกิจการ บริษัท ที่จะทำให้คุณเสียภาษีน้อยที่สุด ประหยัดภาษีมากที่สุดแบบถูกต้องตามหลักกฏหมายภาษีอากรที่สหรัฐอเมริกานั้น มีหลายปัจจัยมากค่ะ ส่วนตัวไม่สามารถที่จะระบุเจาะจงให้ได้ว่า รูปแบบ Limited Liability Company (LLC), Corporation (C-Corp)., Sole Proprietorship, and or Partnerships อันไหนดีกว่ากัน.  หลายคนบอกว่า Small Corporation (S-Corp) สิ ดีที่สุด  แต่ลืมนึกไปว่ารูปแบบนี้มีข้อจำกัด เรื่องจำนวนผู้ถือหุ้นที่ห้ามมากว่า 100 คน และ คนไม่มีกรีนการ์ด หรือ อเมริกันไม่ได้สิทธิ  แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่นคนมาทำธุรกิจนาน ๆ มากกว่าสอง ปี ซึ่งในทางภาษีอากร ก็สามารถยื่นภาษีแบบ S-Corp ได้.

 

ไม่อธิบายลึก ๆ ถึงการคำนวณภาษีนะคะ เพราะ ตัวผู้เขียนเอง ก็ไม่ได้มานั่งใช้เครื่องคิดเลข ทำตามรางอะไรคะ  ใช้ โปรแกรมในการยื่นหรือกรอกภาษีอากรให้ลูกค้า  แต่มีความรู้พอเพียงที่จะตรวจสอบได้ ว่าอะไรผิดปกติหรือไม่นะคะ.  ซอฟแวร์ก็คนธรรมดาอย่างเรานี่แหละคะ เขียนขึ้นมา มันก็มีจุดบกพร่องได้  ทาง กรมสรรพากร ที่อเมริกายังห้ามใช้ว่า เวลาทำไรผิดเป็นความผิดของโปรแกรม  ผู้เสียภาษีรับไปเต็ม ๆ ค่ะ.

 

Factors to consider for choosing business structures ปัจจัยหลักๆ ในการเลือกโครงสร้าง รูปแบบการจดทะเบียนกิจการ

 

How many owners/shareholders? มีคนร่วมหุ้นกี่คน มีเจ้าของกี่คน

 

ทำไมเราต้องพิจารณาจุดนี้  เพราะว่า จะมีผลในการแบ่งกำไรขาดทุนของกิจการ  ยกตัวอย่างเช่น  กิจการมีกำไรสุทธิที่ ปีละ $100,000 ถ้าเจ้าของคนเดียว ก็รับกำไรไปเต็ม ๆ ที่ แสนเหรียญ  ถ้าไปจดทะเบียนแบบ LLC or S Corp รายได้ที่ แสนเหรียญ ฐานภาษีจะเสียที่ 12% – 32% เป็นขั้นบันได ภาษีก็จะสูงหน่อย.  แล้วถ้ามีหุ้นสองคนละ แบ่งกำไรสุทธิคนละ ห้าหมื่นเหรียญ โสดหมด ภาษีเขาจะ อยู่ที่ 12% – 24% มันก็ลดลงมา  ถ้าแต่งงานมีลูกก็ลดกันลงไปอีกตามอัตราภาษี.  ถ้าออกมาในลักษณะนี้ S Corp ใช่ว่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด  อาจจะเป็น Corporation (C-Corp) ภาษีที่ 21% ตัวเดียวเลย  ภาษีก็เสียในตัวบริษัท  ถ้าเจ้าของอยากได้ก็รับเงินเดือน ออกมาเช่น สามหมื่นเหรียญ ฐานภาษีคนโสด ก็ไม่เกิน 22% กำไรกิจการก็ลดลงจาก แสนเหรียญ เหลือ ที่ เจ็ดหมื่นเหรียญ $70,000 (Profit $100,000 – Salary $30,000).

 

ก่อนหน้านี้ ถ้ากำไรปีละไม่เกิน $75,000/year การเลือกแบบ คอรป ก็ยังดีกว่า เอสคอรป ค่ะ นี่คือความเห็นส่วนตัวจริง ๆ  คือเราคิดว่ามันจบในตัวกิจการเลย  ไม่ต้องมาพร่ำเพรื่อในส่วนของบุคคล เจ้าของอยากได้เงินก็รับ W2 ไปตามความเหมาะสม ไม่มีใครมาบังคับว่าต้องรับตามราคาตลาดเหมือน เอสคอรป ที่มีกฏหยุมหยิม.

S-Corp ยังเป็นหนทางแห่งการประหยัดภาษีนะคะ  แม้ว่า C-Corp จะโปรโมชั่นเรื่องภาษีที่ 21%  แต่ถ้าคุณเป็นคนที่นี่ มีกรีนการ์ด คุณยังได้สิทธิใช้ประโยชน์เต็มที่ แต่คุณต้องจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองตามราคาตลาดที่เหมาะสมนะคะ.

 

ส่วนนักลงทุน ถ้าอยู่อเมริกาได้ สองปีแล้วก็มีโอกาสเลือกเสียภาษีแบบ S-Corp ได้นะคะ แต่จะประหยัดมากกว่า Corp หรือไม่ต้องดูผลกำไรค่ะ ถ้ากำไรมากกว่า แสน S-Corp อาจจะเสียภาษีมากกว่า Corp นะคะ กรณีโสด  ถ้าแต่งงานมีบุตร ห้าคน อาจจะประหยัดกว่า หรือเสียเท่ากับ Corp ที่ 21 เปอรเซ็น  อย่าลืมนะคะถ้าคุณมีการจ่ายประกันสุขภาพ คุณต้องเสนอให้กับทุกคนนะคะ  S-Corp จะยุ่งยากหน่อยในการยื่นแบบ ทางบริษัทต้องรายาน ทางเจ้าของต้องรายงาน ถ้าเป็น Corp รายงานที่ตัวกิจการก็สบายๆ แล้วค่ะ ไม่เพิ่มงานให้กับคนทำภาษีมาก อาจจะได้ส่วนลดนิดหน่อย หรือไม่เพิ่มราคาค่าบริการ.

 

Will you have foreigner to invest with Citizen or Green card? มีต่างชาติเข้ามร่วมลงทุนด้วยหรือไม่

 

ข้อพิจารณาจุดที่ถ้าว่ามีต่างชาติร่วมด้วยครึ่งหนึ่ง ปัจจุบันมีกันเยอะมาก โดยเฉพาะกลุ่มวีซ่าลงทุนที่มาถือหุ้นกับญาติ ๆ ครึ่งหนึ่ง ญาติที่เคยยื่นภาษีแบบ Small Corporation (S-Corp) จะถูกยกเลิกอัตโนมัติ  กลายเป็นรูปแบบเดิมที่เคยมีมาก่อน เช่น ถ้าจดทะเบียนแบบ LLC ก็จะไปยื่นแบบฟอร์ม 1065 Partnership Tax Return Not Form 1120S anymore. ถ้ากลุ่มที่จดแบบ Corporation แล้วเลือกยืนแบบ S-Corp ก็ต้องกลับไปใช้ฟอร์ม 1120 Not Form 1120S anymore.  คือนักบัญชีคนทำภาษีอากรจะทราบค่ะ

 

ถ้ามีต่างชาติมาร่วมทุนไม่ว่าจะแบบใดก็ตามเราจะไม่แนนำให้ยื่นแบบ 1065 เราจะแนะนำให้ยื่นแบบ คอรปดีกว่าค่ะ ณ ปัจจุบัน ภาษีที่แค่ 21% และไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่าย Self employment taxes 15% from net Profit จะทำให้ประหยัดไปอีก  แม้ว่า 1065 Partnership ไม่เสียภาษีในรูปกิจการแต่เจ้าของต้องเอาผลกำไรขาดทุนสุทธิไปยื่นแบบเอง  ขาดทุนก็รอดค่ะ  แต่กำไร ก็จะมี Self employment taxes  ถ้าทำขาดทุนตลอดแบบตั้งใจ ระวัง นักลงทุน ต่อวีซ่าไม่ได้นะคะ พึงระวังด้วยประการ ล ฉะนี้ เจอมาแล้วค่ะ.

 

Foreign person owns 100% in the business? มีต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดเพรียว ๆ เลยเปล่า

 

ถ้าต่างชาติมาลงทุนในกิจการ 100% เช่น กลุ่มวีซ่านักลงทุน สองปีแรก แนะนำให้ยื่นภาษีแบบ Corporation ค่ะ จะดีกว่ามาก อย่างที่บอกไปข้างต้น ภาษีที่แค่ 21% อัตราเดียว  อยากได้เงินใช้ ให้รับเงินเดือนค่ะ รับเท่าไรก็ได้ เอาให้พอค่าเช่าบ้าน นะคะ อย่าต่ำมาก รับมากเราก็ไปลดกำไรบริษัทค่ะ  เพราะเงินเดือนจ่ายให้เจ้าของ ถือเป็น salary ค่ะ หักค่าใช้จ่ายได้ตามระเบียบและถูกกฏหมายค่ะ.

 

อ้าวต่างชาติถือหุ้น ร้อยเปอรเซ็นได้รึ  เขาได้มาตั้งแต่ ปีไหน ๆ แล้วค่ะ ท่าน ไม่เหมือนที่ไทย ต่างชาติถือได้แค่ 49% นี่อเมริกาค่ะ เขาเปิดให้คนมาลงทุน กับเงินที่มีที่มาที่ไปนะคะ พึงทราบไว้.  ถ้าอยากจะรู้ว่ากฏหมายข้อไหน ให้ต่างชาติ ให้ถามอากู๋ได้เลยคะ “Can foreigner invest in the US business 100%” มาตรึมค่ะ แค่พิมพ์คำนี้ ต้องอ่านภาษาอังกฤษแบบตีความได้ดีนะคะ  คนไทยส่วนใหญ่จะอ่านได้คะ แค่ตีความเพี้ยนบ้างเท่านั้นเอง ตราบใด ที่สาระสำคัญเราตีความได้จัดไปค่ะ.

 

Experiences from providing taxes services for Thais in America ประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้จากการทำภาษีให้คนไทยที่อเมริกา

 

 

*คนไทย โดยเฉพาะนักลงทุนที่เพิ่งมาอเมริกา จะมีคำถามคล้าย ๆ กับที่ไทยมาก เราจะตอบว่า การทำบัญชี นั้นจะคล้าย ๆ กัน แต่การทำภาษีจะคนละขั้วโลก  และเราจะไม่แนนำให้ทำภาษีเองนะคะ.  เพราะตอนนี้ แม้กระทั่งธุรกิจของฝรั่งผิวขาวเอง  ก็ให้คนมืออาชีพทำนะคะ.  กรมสรรพากรที่อเมริกา มีระบบการตรวจสอบที่แยบยนมาก เนื่องจากบุคคลากรน้อย  ใครทำไร ไม่ตรง รู้หมด พอไม่ตรงก็ขอตรวจเอกสารคะ  พอขอตรวจงานก็เข้านะคะ ทำไรไม่ถูกเลย.  ให้ตัวเองคล่อง ๆรู้ทางหนีทีไล่ แล้วอยากจะประหยัดค่าทำภาษีของกิจการที่ปี ละ $1000-$5000 ก็ทำเองเลยนะคะ.

 

**การวางแผนภาษีต้องทำกันเรื่อยๆ มีอะไรต้องปรึกษากับคนทำบัญชีให้ตลอดค่ะ เขาจะได้แนะนำได้ถูกต้องตามกฏหมาย คนที่มีจรรยาบรรณ เขาจะไม่แนะนำคุณทำอะไรที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ค่ะ ย้ำว่าต้องใช้ช่องโหว่ของกฏหมายให้ถูก ไม่ใช่ ทำ ค่าใช้จ่ายปลอมค่ะ.

 

***ควรจะลงทุนนะคะ ส่วนมากแล้ว เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือกลาง จะไม่ค่อยใส่ใจเรื่องการบัญชีภาษีอากร จนกว่าจะมีจดหมายจากทาง กรมสรรพากรที่อเมริกานะคะ.  พอมีจดหมายมาค่าใช้จ่ายจะเริ่มสูงคะ เพราะการแก้ปัญหา ค่าชั่วโมงแพงค่ะ.  ตรงกันข้ามทำไรให้เรียบร้อยตรวจสอบได้หมดแต่แรก จดหมายจากกรมสรรพากร นะ ขนมาค่ะ ตอบได้หมด เรามีทุกอย่างหมด ใครจะแกล้งเรายังไงก็ไม่ต้องกังวล  (ล่าสุดเห็นกลั่นแกล้งกันเองเยอะมาก เรื่อง โน่น นี่นั่น รวมทั้งหาว่าทำภาษีผิด). 

 

****พยายามเข้าชมรม กลุ่มคนไทยทั่วไป จะได้เปิดหูเปิดตา ว่าเจ้าของธุรกิจอื่น ๆเขาทำไรกันบ้าง ที่ไหนอย่างไร มีทางหนีทีไล่กันอย่างไร ป้องกันตัวเองอย่างไร  ทำอย่างไร ให้ต่อวีซ่าลงทุนไม่มีปัญหา ทำอย่างไร ไม่มีปัญหากับลูกจ้างฟ้องร้อง  ทำอย่างไร เมื่อมีการตรวจสอบจาก กรมสรรพากร  มีกฏหมายอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง  ถ้าอยู่แต่ครัว ก็หาโอกาสพักค่ะ ทำแต่ครัว ระวัง มือไม้ แขนขา บวมค่ะ พักบ้าง อ่านเฟคบุคก็ บรรเทิงดีนะคะ**

 

 

*****ท้ายสุดขอให้ทุกท่าน เลือกโครงสร้างภาษีให้เหมาะสมกับตัวเองนะคะ จะได้ร่ำรวยและจ่ายภาษีกันให้น้อยที่สุด และป้องกันปัญหาต่างๆ ได้.

 

 

**อยากให้คนไทยรวย ๆ กันทั่วหน้า**

 

ที่มา                            :  ประสบการณ์การทำบัญชีและภาษีอากร

 

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                            :  วันพุธที่  ๘ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑,  

     Wednesday, August 8th, 2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**