I want to apply for US E 2 Investor Visa, what should I do?

ต้องการขอวีซ่ามาลงทุนในอเมริกาประเภท E2 Treaty Investor ทำอย่างไร

 

**ก่อนจะอ่าน เตือนนิดหนึ่งนะคะ  ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ เขียนเล่าตามประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษานักลงทุน  คุณจะได้ไม่เสียเวลา และกระทบกระเทือนจิตใจ**

 

ขอตอบคำถามจากกลุ่มต่าง  ๆ  ไม่ว่าจะถามเองให้เพื่อน ให้ ญาติ ๆ ให้พี่น้อง ให้เจ้านาย ให้ ผู้มีอุปการะคุณ หรือถามให้ตัวเอง เนื่องจาก ข้อมูลทาง เวบไซด์ ไม่ว่าจากทาง สถานทูตอเมริกาในประเทศไทย หรือ จาก เวบไซด์ของ USCIS เอง ก็อ่านแปลความแตกต่างกันออกไป  แถม ถ้าคุณไปอ่านคุณสมบัติ จากประเทศต่าง ๆ คุณอาจจะงงเพิ่มไปอีก  แถม ไปฟังมาจากนักลงทุนที่เคยมา หลาย ๆ ปี หรือปีล่าสุด ก็คงงกันไปอีก  เพราะ แต่ละเคส แต่ละสถานการณ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน 

 

ตัวอย่างเช่น สมัยก่อน ๆ การขอวีซ่าลงทุนมาอาจจะง่ายกว่า ไม่เข้มงวดมากนัก ปีหลัง ๆ อาจจะเข้มงวดมากขึ้น แต่ถามว่าหลักเกณฑ์เดียวกันหรือไม่ น่าจะหลักเกณฑ์เดียวกันค่ะ แต่การพิจารณา ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ.

 

ที่สำคัญ การขอวีซ่าลงทุนประเภทต่าง ๆ ไม่มีการรับประกันว่าจะทำได้หมด  ถ้ามีคงจะเก่งมากเลย หรือคนรับทำงานแล้วการันตีว่าจะผ่าน.  ส่วนตัวไม่แนะนำ กลุ่มที่การันตีเลยค่ะ  คนทำเรื่อง ไม่ว่าจะทนาย หรือ ที่ปรึกษาทั่วไป เขาจะไม่การันตีค่ะ  คงจะไม่มีใครทำเคสผ่านร้อยเปอรเซ็นแน่นอน ถ้ามีแจ้งด้วยค่ะ เพราะเราก็ไม่รู้จักและสอบถามกันทุกคน.  น้ำเยอะแระ มาเข้าเนื้อก่อนดีกว่า

 

1.) Source of Funding ที่มาของเงิน

 

นี่คือความเห็นส่วนตัวนะคะ อาจจะไม่เหมือนคนอื่น หรือ ทนายคนอื่นๆ ที่ทำเรื่องการขอวีซ่าลงทุน.  ที่มาของเงินสำคัญมากที่สุดค่ะ  เพราะ อ่านจากเวบไซด์ทั้งเกือบทุกแหล่ง ระบุว่า เงินต้องมาแบบถูกกฏหมายและพิสูจน์ได้  ตีความว่า เงินปล่อยกู้ ที่ไม่ได้ทำสัญญาทำเป็นธุรกิจ ไม่ได้  เงินขายหวยใต้ดินไม่ได้  เว้นแต่ขายหวยตามกฏหมาย เงินผ่านแบงค์ ยื่นภาษี  เงินเล่นแชร์ อันนี้ยิ่งไม่น่าได้ เพราะ ไม่มีหลักฐานอะไร นอกจากข้อความผ่านเฟคบุค หรือในกลุ่ม แถมเงินเหล่านี้มาจากเงินสดเสียส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้ผ่านการเสียภาษี ไม่ได้เหมานะคะ บางคน ทำงานเก็บเงิน เดือนส่งแชร์ก็เยอะ  ถ้าคุณจะเอาเงินแชร์มาใช้ แล้วระบุว่าเก็บออม คุณต้องทำเสตทเม้นแบบดี ๆ เลยค่ะ แล้วเงินโอนแชร์ ต้องผ่านแบงค์คุณที่มาจากการทำงาน จากการทำธุรกิจนะคะ ระบุว่าเป็น Saving.

 

 

1.1 Secured Loan เงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน   อันนี้คือได้ค่ะ  ทำไมต้องระบุว่า มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ถ้าคนทำเคสวีซ่าลงทุนบ่อย ๆ ทางเจ้าหน้าที่จะระบุระเบียบชัดเจนว่า เงินต้องมีค้ำ ประกัน  เช่น เอาที่บ้าน ไปจำนอง เอาธุรกิจค้ำ วงเงินกู้ที่มีอยู่ในธุรกิจ

เงินกู้ที่ไมมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้มาลอย ๆ ยังไม่เคยทำให้เคสแบบนี้และไม่ทำให้ค่ะ เพราะอธิบายไม่ถูก  ใครอยากลองก็จัดไปค่ะ ทราบแต่ว่า การทำธุรกรรมต้องผ่านกรมที่ดินค่ะ 

 

1.2 Gift from family ของขวัญจากครอบครัว

แบบนี้ได้ค่ะ ทำกันทั่วไป พ่อแม่ให้เงินมาลงทุน แล้วพ่อแม่มีกิจการ ทำงานรับราชการ กู้มาให้ลูกลงทุน ขายที่ ขายบ้านให้ลูก เอาที่เข้าแบงคให้ลูกเพื่อมาลงทุน

 

1.3 Saving or selling assets เงินจากากรออม หรือเงินจากการขายทรัพย์สิน

เงินตัวนีคือเงินออมจากการทำงานค่ะ มีเงินเดินบัญชีตลอด  หรือเงินจากการขายหุ้น ขายบ้าน ขายที่ดิน สารพัดการขาย ที่มีหลักฐานการขายค่ะ

 

1.4 โอนเงินเข้ามาอเมริกา  Incoming Fund from Sources of Fund

ในการลงทุนครั้งแรก  ควรจะมีเงินเข้ามาอเมริกาส่วนใหญ่ค่ะ เป็นเงินลงทุนใหม่นะคะ ไม่ใช่เงินจากคนที่นี่ แม้ว่าอเมริกาจะไม่ได้ห้าม ตัวเองก็ยังไม่เคยทำเคสจากที่นี่แล้วผ่านค่ะ  ถ้าอยากจะให้ผ่านแน่นอน เงินใหม่ต้องเข้ามาค่ะ

 

หลังจากนั้นจะซื้ออีกร้าน ก็ใช้เงินที่นี่ได้ค่ะ คุณมีกำไรจากร้านหรือกิจการแรก ใช้เงินต่อเงิน ขยายกิจการไปค่ะ  ยิ่งโอนเข้ามาอีกก็ยิ่งดีคะ สร้างงานในอเมริกา รัฐบาลชอบค่ะ.

 

2.) Business in USA ธุรกิจในอเมริกา

 

ทำไมธุรกิจอเมริกาก็สำคัญ มากมายเลยค่ะ เขาจะดูว่าธุรกิจมีตัวตนหรือไม่ มี ทะเบียนการค้า มีการนำส่งภาษีมีเวบไซด์ มีการรีวิวจากลูกค้า

2.1) ธุรกิจที่ไปซื้อต่อ  

            กรณีนี่จะทำเอกสารง่ายมากค่ะ ถ้ากิจการมีการเสียภาษี ประจำปี มีการจ้างพนักงาน มีการยื่นภาษีขาย ทำรายการผ่านแบงค์ไม่ใช่เงินสด (ระวังอย่าไปซื้อกิจการเงินสดค่ะ) 

กิจการมีงบกำไรขาดทุนงบดุลให้เราดู งบขาดทุนก็ไม่มีใครเขาว่าคะ ตราบใดที่มีการยื่นแบบ แล้วเราซื้อมีใครงการจะปรบปรุงให้มีกำไรเกิดขึ้น (ตามแผนธุรกิจ)

ลายเซ่นต่างๆ ก็ขอเขาดูค่ะ เพราะต้องใช้หมด

 

2.2) ธุรกิจที่สร้างใหม่

 

            นี่จะยุ่งยากมาขึ้น จะใช้เวลานานกว่า เพราะ ต้องมีเอกสาร พวกทะเบียนการค้าและใบอนุญาตต่าง ๆ มากมาย กว่าจะขอได้ก็เป็นเดือน ถ้าเป็นร้านอาหาร กว่าจะผ่านการตรวจจาก กระทรวง อนามัยหรือ Health Department ก็ท้าทายพอสมควร  ทะเบียนการขายเหล้าไมจำเป็นค่ะ เข้ามาค่อยขอก็ได้  จำเป็นมากคือ กิจการมีทะเบียนต่าง ๆ ให้เปิดได้ตามกฏหมาย

มีการเก็บเอกสาร พวก ใบเสร็จการต่อเติมตกต่างร้านไว้ ทุกอย่างเลยค่ะ ที่เราจับจ่ายใช้สอยเพื่อให้มาซึ่งการได้ร้าน

ส่วนตัวไม่แนะนำให้ทำร้านใหม่ถ้าไม่มี ญาติ หรือเพื่อนฝูง ช่วยประสานงานดำเนินการ เพราะ มันยุ่งยากมากค่ะ ต้องเดินเรื่องเอง ไม่ใช่แค่ยกหูโทรศัพท์ก็ทำได้  ยกหูโทรศัพท์ได้ค่ะ ถ้ามีเงินจ่ายเยอะแล้วไว้ใจบุคคลคนนั้นนะคะ. 

ถ้าอยากทำร้านเองใหม่ ให้เข้ามาก่อนค่ะ ซื้อร้านเก่าทำต่อเอาให้ได้ประสบการณ์ เรียนรู้ มี เครดิต ของตัวเอง จะซื้อ อีก 10 ร้าน ใครก็ไม่ว่าค่ะ เอาที่เราสบายใจ แต่เตือนด้วยความหวังดี เพราะเห็นคนหมดหลาย ๆ แสนมาแล้วค่ะ.

 

2.3) ไปหุ้นกับคนที่อเมริกา

 

มีทั้งข้อดีและข้อเสียค่ะ  เนื่องจากเราเป็นคนคิดบวกขอบอกข้อดีก่อน  ถ้าเรามีญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูง ที่สนิทไว้ใจได้  ส่วนใหญ่ที่เจอ คือ พ่อแม่ช่วยลูก พี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่นะคะ  เพื่อนรัก ช่วยเพื่อนรักก็เยอะ

 

แบบนี้ถ้าธุรกิจมีอยู่แล้ว เรามาแค่สวมชื่อในหุ้น อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง คือ 50 เปอรเซ็น เราก็สามารถทำเรื่องได้เร็วค่ะ ตราบใดที่มาของเงินสดใส.

ไม่ต้องจดทะเบียนบริษัทใหม่ ไม่ต้องกลัวหนี้เดิม เพราะเจ้าของเดิม อยู่เพื่อช่วยใช้หนี้ แต่ควรจะตกลงกันให้ชัดเจน  การทำร่วมทุนกันมากกว่าสองคน ควรให้ทนายเป็นคนกลางทำเรื่องให้ค่ะ หลีกเลี่ยงการทำกันเอง เวลาฟ้องร้อง เรื่องจะได้เร็วค่ะ.

 

ข้อเสียที่รวมกับคนที่อเมริกา  คือ มีเห็นค่ะ ที่พี่น้องทะเลาะกันเละเทะ เพราะไม่ไว้ใจกัน เพื่อนฝูงเลิกคบกัน  หลัก ๆ คือเรื่องเงินคะ จะโปร่งใส หรือไม่ ก็ทะเลาะกันคะ  บางคนไม่ทำงาน รับเงินส่วนแบ่งเท่ากัน คนทำงานลืม รับเงินเดือน หรือไม่ได้รับเพราะไม่ได้ตกลงกัน.   กรณีแบบหุ้นส่วนทำงานกับไม่ทำงาน  คนทำงานรับเงินเดือนตามอัตราตลาดค่ะ คนไม่ทำงานรับแค่ส่วนแบ่งผลกำไรเท่ากันค่ะ อย่าเอาเปรียบกันค่ะ เพราะจะอยุ่ได้ไม่นาน ถ้าทำงานทั้งคู่ ก็รับทั้งคู่  ถ้าไม่มีเงินจ่ายก็ทำบันทึกไว้ค่ะ มีเงินมีกำไร ค่อยจ่ายเงินเดือนกันย้อนหลังกันไปค่ะ

 

**คนจะฟ้องกัน ทะเลาะกัน ให้ทนายเก่ง ๆ ทำสัญญาให้ก็ฟ้องกันค่ะ ไม่ได้การันตีใด ๆ ว่าจะไม่มีการฟ้องค่ะ  การฟ้องร้อง ทำให้ทั้งคู่เสียหายค่ะ ถ้าเป็นไปได้ และเป็นหนทางที่ฉลาดที่สุดคือการเจรจาไกล่เกลี่ยค่ะ**

 

3.) อาคารที่เราจะใช้ดำเนินธุรกิจ Business Premise

 

 

เราควรทราบนะคะ ส่วนใหญ่กิจการต่าง ๆ จะเช่าที่จากฝ่ายอาคาร หรือเจ้าของอาคารค่ะ ในอเมริกานะคะ ส่วนใหญ่ใครจะเช่าอาคารได้ต้องมีเครดิตค่ะ เครดิตก็ คือ คนที่ไม่เบี้ยวทางการเงิน มีประวัติดี ๆ เรือง หนี้ ๆ เหมือนกับบ้านเราเมืองไทยที่สวยงามและอบอุ่นค่ะ.

 

อ้าวไม่มีเครดิตทำไงหว่า    ต้องเจรจากับเจ้าของอาคารค่ะ เป็นไปได้คือการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าเยอะ ๆ การให้คนที่อเมริกา ค้ำประกัน ทำได้เฉพาะคนมีเครดิตสกอร์ที่ดีนะคะ.  หรือ ที่นิยมคือ เจ้าของร้านเดิมช่วยค่ำประกันให้ เพราะส่วนใหญ่สัญญาเช่าเดิมจะเหลืออยู่ 3-5 ปี เขาจะช่วยเซ็น sublease หรือเช่าช่วงให้เราได้ค่ะ.  คนเขาอยากขายเขาจะช่วยเต็มที่ค่ะ  คุณก็ช่วยเขาโดยการจ่ายค่าเช่าตรงเวลา สักปี แล้วเปลี่ยนสัญญาเช่ามาเป็นของคุณเองได้ค่ะ ไม่เคยเห็นมีปัญหาเลยทำกันเยอะแยะมากมาย.

 

ถ้าเจ้าของกิจการเป็นเจ้าของตึก  ยิ่งคุยด้วยง่ายค่ะ  เขาจะไม่ดูเครดิตสกอร์เรา เขาอาจจะเก็บค่าเช่าสูงหน่อยค่ะ เพราะเขาต้องแบกรับภาระ ต่าง ๆ และขายกิจการให้คุณ  เรื่องการจ่ายค่าเช่ามากน้อยนั้น มีหลายปัจจัยด้วยค่ะ  บางที่เรียกเก็บค่าส่วนกลาง สารพัด หรือค่าภาษี  ถ้าเราจ่ายเองเช่นภาษี ค่าเช่าจะถูกลงค่ะ  ส่วนใหญ่ ตึกที่มีหลายๆ ผู้เช่าเขาจะ แฟร์ (อันนี้มองในแง่บวก)  สัญญาจะเป็นมมาตราฐาน ในฐานะที่เราเป็นผู้เช่า เราต้องอ่านให้ดี ๆค่ะ ทุอย่างแก้ไขได้หมดค่ะ.

 

4.) คุณสมบัติของนักลงทุน Qualification

 

 

ตามระเบียบที่อ่านมานะคะ  จะไม่ได้ระบุ อายุ เพศ การศึกษาไว้สำหรับนักลงทุนค่ะ.  จำเป็นไม๊ที่นักลงทุนต้องจบปริญญาตรี อย่างต่ำ  ความเห็นส่วนตัวคือไม่จำเป็นค่ะ มีลูกค้า เรียนจบ ป.4 ค่ะ แต่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจส่วนตัว ร่ำรวยกว่าคนจบปริญญาตรีก็มีค่ะ   ทุกอย่างว่ากันไปตามประวัติการทำงาน  มีน้อง ๆ จบ ป.ตรี ประสบการณ์การทำงานที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจที่จะมาลงทุน ระบุ หัวข้อบรรยายคุณสมบัติให้ดี ๆ ให้เจ้าหน้าที่ดูว่าเราสามารถบริหารกิจการได้ ก็มีความเป็นไปได้  ถ้ามีการไปเรียนเสริมก็ยิ่งดีค่ะ.

 

 

5.) ทำเรื่องการขอวีซ่าเองหรือว่าจ้างดี do it yourself or hire others

 

ไม่มีระเบียบบังคับว่าการขอวีซ่าลงทุนนั้นต้องผ่านทนายที่มีลายเซ่นใด ๆ เลยค่ะ. ส่วนตัวเคยอ่านระเบียบการขอวีซ่าลงทุนจากประเทศอื่น ๆ หรือจากที่ไทย หรือจากท่านอิมระบุไว้ก็ไม่ได้ระบุค่ะ.  การขอวีซ่าลงทุน ไม่ใช่การ ทำตัวเป็นนักกฏหมาย หรือ practice law ที่มีข้อห้ามให้ทนายทำได้เท่านั้นค่ะ.  คล้าย ๆ กับการขอวีซ่าท่องเที่ยวนะคะ เอเจ้นมีทุกจังหวัด ทุกมุมของประเทศเลยค่ะ ใครก็ทำได้ ภาษาดีมีความรู้. เราก็พูดจากประสบการณ์ค่ะ และรู้จักคนทำวีซ่าลงทุนกันเองหลายคนเหมือนกัน.

 

5.1) ทำเรื่องเอง Do it yourself

มีคนที่มีความรู้ภาษาอังกฤษใช้ได้ ทำเรื่องเองโดยไม่ผ่านใครๆๆ มาแล้วค่ะ ตัวอย่างน่าจะมีในกลุ่ม นักลงทุน ที่มานาน ทำกันเอง ต่อวีซ่ากันเองก็มีค่ะ.  ต้องอ่านเยอะ ๆ ศึกษาเยอะ ๆ ค่ะ อยากทำเอง คนอื่นทำได้ คุณก็ทำได้นะคะ.

**ข้อยกเว้นถ้าคุณเข้ามาแล้ว มีปัญหากับ ท่านอิม คุณต้องใช้ทนาย immigration lawyer/attorney เป็นตัวแทนเท่านั้นค่ะ**

 

5.2. การหาทนายที่ทำวีซ่าลงทุน ถามอากู๋ได้แบบนี้ค่ะ “Investor visa lawyer/attorney State” มาตรึมค่ะ  แต่ถามในกลุ่มวีซ่าลงทุนคะ มีทนายหลากหลายแนะนำ.  ในการใช้บริการทนาย ให้ดูว่าทนายช่วยทำไรบ้างค่ะ  ทนายก็มีขอบเขตและระเบียบในการทำงานแตกต่างกันออกไป บางคนคิดเป็นชั่วโมง  บางคนคิดเป็น เคส ๆ ไปค่ะ เอาที่เราสบายใจนะคะ.  (เราไม่รู้จักทนายด้านนี้เป็นการส่วนตัวค่ะ รุ้จักแต่ด้านอื่น สามารถแนะนำให้ได้ค่ะ)

 

5.3. การใช้บริการคนทำเรื่องวีซ่าลงทุนที่ไม่ใช่ทนาย เช่น ที่ปรึกษา หรือเอเจ้น  ก็มีการใช้บริการกันเยอะค่ะ มีคนรับทำเก่งๆ หลายคน ในหลายๆ รัฐ ให้ถาม ๆ กันค่ะ ส่วนใหญ่จะปากต่อปาก เราไม่รู้ว่าใครดีกว่าใครค่ะ แต่เรามองว่าถ้าใครมีประสบการณ์ เคยทำเคส มาน่าจะช่วยเราทำได้. 

 

**การทำเคสระหว่าง ที่ปรึกษากับทนาย เรื่องการส่งเอกสารจะคล้าย ๆ กันค่ะ เพราะ ใช้ฟอร์มเดียวกัน ใช้ข้อกำหนดเดียวกัน ทำตามหลักเกณฑ์ของสถานทูต หรือของอิมมิเกรชันในอเมริกา.  สิ่งทีแตกต่างอาจจะเป็นพวกความร้ทางธุรกิจ ความรู้ทางด้านการเงิน  ในการทำวีซ่าลงทุน มีหลายปัจจัยมาประกอบค่ะ เช่น การทำสัญญา (ซึ่งต้องใช้ทนาย) การทำแผนธุรกิจ ซึ่งต้องใช้คนมีความรู้ธุรกิจเขียนแผน  การประเมินราคากิจการ ซึ่งต้องใช้ความรู้ในด้านการเงินเช่นกัน  รวมทั้งการให้คำปรึกษาหลังจากได้รับอนุมัติวีซ่า**

 

** ไม่ว่าคุณจะใช้บริการจากทนาย จากที่ปรึกษา หรือทำวีซ่าลงทุนมาเอง  คุณควรจะทราบหลักการกว้าง ๆ ก่อนมาอเมริกา หลังจากมาอเมริกา ต้องทำอย่างไรบ้าง  . ทำไม ต้องทราบ.

 

6.) ความรู้อื่น ๆ ที่นักลงทุนควรทราบ

 

6.1 วีซ่าลงทุนสำหรับคนไทย มีอายุแค่ หกเดือนค่ะ  แต่พอคุณเข้ามาแล้ว คุณอยู่ได้แค่ สองปี และต้องทำเรื่องต่อวีซ่า

 

6.2 ในการต่อวีซ่า ธุรกิจต้องมีการยื่นภาษี และมีการพัฒนาการดำเนินการ  มีการจ้างคนงานที่นี่ เพื่อสร้างงานในอเมริกา.

 

6.3 การหลีกเลี่ยงปัญหาด้านแรงงาน ปัญหาเรื่องภาษีอากรกับทางรัฐบาล  เพราะอาจจะเป็นผลให้คุณไม่สามารถต่อวีซ่าลงทุนได้ พอต่อวีซ่าลงทนไม่ได้  คุณก็ต้องขายร้านกลับประเทศไทย หรือถ้าอยูต่อ ก็เป็นคนนอกกฏหมายไปตามมารยาท.

 

6.4  ให้มาลงทุนแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง  มีการเสียภาษีอย่างไร มีการจ้างงานแบบไหน สารพัด ที่นักลงทุนควรจะทราบ และรู้ไว้ค่ะ.

 

 

ข้อคิดในฐานะที่เป็นที่ปรึกษานักลงทุนจากไทยและโฆษณาจากทีมงาน

 

**ทางเรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการยื่นเรื่องการขอวีซ่านักลงทุนประเภท E2 Treaty Investor and Employees ทั้งยื่นเรื่องจากอเมริกา และ เปลี่ยนสถานะที่นี่.  เรายินดีให้คำปรึกษาขั้นต้นฟรี แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ค่ะ.   เราเริ่มเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพราะมีลูกค้าร้านอาหาร กระจัดกระจายทั่วอเมริกาค่ะ แล้วมาให้ช่วยเรื่องเอกสาร เราแนะนำลูกค้าของเราให้ปรึกษาทนายก่อนค่ะ เพราะการทำงานไม่เหมือนกัน. 

 

**เรายังไม่เคยทำเคสถึง พันเคสค่ะ สามปีที่ผ่านมาทำเคส ไม่เกิน สามสิบเคสค่ะ มีทั้งผ่านและไม่ผ่าน ที่สำคัญคือเราเรียนรู้จากการทำงานแต่ละครั้ง ซึ่งแต่ละเคสจะแตกต่างกันออกไป**

 

**เราไม่การันตีหรือรับประกันการทำงานว่าต้องผ่านทุกเคสค่ะ  แต่เราจะทำให้ดีที่สุด ถ้าเราคิดว่าไม่ผ่าน ทางทีมงานจำไม่ทำเรื่องขอสัมภาษณ์หรือเตรียมเอกสารให้ค่ะ**

 

**ข้อมูลของลูกค้าทั้งผ่านและไม่ผ่าน ถือเป็นความลับและไม่มีการเปิดเผยใด ๆ จนกว่าเราจะได้รับอนุญาตจากลูกค้าเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาค่ะ**

 

***โฆษณา เลยต้องพูดจาไพเราะแบบมืออาชีพนิดหนึ่ง***

 

ข้อให้ทุกท่าน ร่ำรวยจากการลงทุนกันทั่วหน้าในอเมริกา

 

ที่มา                            : ประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษานักลงทุน (ที่แอบโด่งดัง)

                                    https://www.uscis.gov/working-united-states/temporary-workers/e-2-treaty-investors

 

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย ขอย้ำ แต่แอบดัง พอประมาณ)

วันที่                            :  วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑, Friday, June 1st 2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**