Job no. 5-6 in America งานทีห้าและที่หก ในอเมริกา

 

วันนี้จะมาเล่าถึงงานปัจจุบัน ที่อเมริกา (งานที่ห้า และ หก). ก่อนหน้านี้(ลืมกลับไปอ่านเล่าไรไปบ้างสำหรับ

 

งานที่ห้า ในฐานะนักวิเคราะห์ของธุรกิจ Business Analyst

 

งานที่ หก Production Finance Manger /Supply Chain Finance

 

เดี๋ยวหาลิงค์มาแปะ สำหรับคนที่อยากอ่านที่เคยเขียนไว้.

http://wp.me/P6quJq-1k   ประสบการณ์งานที่ สี่

 

หลายคนจะทราบว่าเราทำงานประจำอยู่แล้วมีกิจการเล็ก ๆ รับทำบัญชีและภาษีอากรทั่วอเมริกาและทั่วโลก ส่วนใหญ่ถ้าอยู่ประเทศอื่นนอกจากอเมริกาหรือไทย ก็เป็นกลุ่มอเมริกันที่มีเมียไทยประมาณนั้นนะคะ.

 

เราได้งานนี้เพราะเราทำงานอยู่กับอีกกลุ่มหนึ่งในบริษัทเดียวกันค่ะ เราเป็นนักวิเคราะห์ออกแบบรายงานต่าง ๆ ให้กับกลุ่มฝ่ายขายของกิจการ ทำงานร่วมกับ VP Sales., VP Marketing., หลัก ๆ นะคะ ต่อมาบอสเปลี่ยน เป็น บิชชี่มาก เลยไม่ชอบค่ะ (ไม่ดีค่ะอย่าทำตาม ไม่ชอบก็เปลี่ยน) น่าจะทนสักให้ได้ สองปีก่อน. เราเป็นคนชอบเรียนรู้ไรใหม่ ๆ ค่ะ อยากมีทักษะใหม่ ๆ เลยมองหาโอกาสภายในองค์กรตลอดเวลา.

 

ต่อมาได้คุยกับ ผู้บริหารทางการเงินสูงสุดของกิจการ ฮีสัมภาษณ์นะคะ แต่ไม่ใช่บอสตอนได้งานครั้งแรก เลยกลายเป็นคนรู้จักกัน  ที่สำคัญฮีเคยช่วยเคสที่เราล่า บริษัท ดอลล์ที่บางกลุ่มหลอกคนไปทำงานนะคะ.  พอได้คุยกัน เลยบอกอยากมาทำฝ่ายผลิตขององค์กร  ฮีเลย จ้างเลย ไม่บอกไผด้วย  บอสประจำก็ไม่รู้เรื่อง ย้ายมาแบบอุบอิบ  ไม่ได้เส้นใหญ่ค่ะ right time, right moment. ตอนนี้ไม่ค่อยได้คุยกับบอสใหญ่สุดค่ะ เพราะยุ่งและ เกิดอาการไม่ชอบเยอะเหมือนเดิม อิอิ.

 

เราได้มาทำงานฝ่ายผลิตของโรงงานผลิตน้ำอัดลมค่ะ เป็นผู้ช่วยของ คอนโทรลเลอร์แรก ๆ นะคะ  แต่มาองค์กรเปลี่ยนอีกแระ  ตั้งชื่อใหม่เป็น Supply Chain Finance กลุ่มพวกผลิตน้ำอัดลมจะรู้จักโครงสร้างนี้ดีมาก  อ้าวบอสที่ทำอยู่ถูกปลดอีก เพื่อนร่วมงานอีกคนที่อวุโสกว่าดันได้ขึ้นมาแทน  เราสนับสนุนชีเต็มที่ค่ะ ชี อายุเยอะแระ ทำงานขยันมาก รับผิดชอบสูง   เราทำไม่ได้อย่างนั้นค่ะ ต้องทำงานเสาร์อาทิตย์ ไม่ไหว เพราะมีลูกเล็ก ๆ มีผัวที่เป็นเหมือน บิ๊ก เบบี้อยู่.

 

จริง  ๆเราก็ยังไม่มีคุณสมบัติที่จะไปถึงจุดนั้นด้วยค่ะ ไม่อยาก ทะเยอทะยานไรมากมาย แค่นี้ก็พอแระ  ยังไม่รู้อะไรมากมายเลยจะขึ้นไปบริหารได้ไง  เสือสิงกระทิงแรดก็มหาศาล  ใครทำได้จัดไปค่ะ เราไม่ไหว รอให้คล่องกว่านี้ก่อน  แต่คงไม่ได้คาดหวังจะไปในจุดนั้นค่ะ  บอกว่าไม่พร้อมและไม่ต้องการแบกรับภาระความรับผิดชอบ  ถ้าจะทำ ไปทำที่อื่นโดยใช้ประสบการณ์จากที่นี่ดีกว่าค่ะ.

 

ทักษะที่เรามีมากกว่าคนอื่นคือ การสร้าง Financial models ต่าง  ๆ ค่ะ ทำต้นทุน ทำ การตรวจสอบจุดต่าง ๆ excel สำคัญอย่างมากเลยค่ะที่จะทำจุดนี้ได้  เราต้องเรียนเพิ่มค่ะ อยากเรียน VBA ให้คล่อง แต่ยังไม่มีเวลาเลย เพราะ เลิกงานประจำ ก็มานั่งทำภาษี ทำบัญชีให้ลูกค้าที่รักและเคารพ ต่อไป .

 

คนอื่นในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันไป ในการวิเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับฐานโปรแกรมขนาดใหญ่ SAP ที่หลาย ๆคนอยากศึกษาดู  เชื่อเถอะค่ะ หลักการของแต่ละโปรแกรมใหญ่เล็กจะคล้ายกันมาก ถ้าเราเป็นคนขี้สงสัย เราทำได้หมดค่ะ ลองเล่น ผิด ๆ ถูก จัดไปค่ะ.  อย่ากลัวการทำผิดค่ะ เราสามารถเทสรายการได้ดูว่ามันเป็นไง แล้วก็ลบออกได้หมดค่ะ อันนี้เป็นเคล็ดลับสำหรับคนอยากเรียนรู้โปรแกรมใหม่ ๆ แต่กลัวแบบเปิดเผย.

 

ไม่ได้มีไรตื่นเต้นมากมายค่ะ เพราะเป็นงานในบริษัทเดิม แค่เปลี่ยนแผนกเท่านั้นเอง ที่เราทำอยู่เพื่อต้องการพิสูจน์ค่ะ ว่าคนไทย ทำได้ ไม่แพ้คนอื่น ภาษาอังกฤษสำเนียงไทยนี่แหละค่ะ สู้ฝ่าฟัน บวกความมั่นใจเต็มร้อย แบบไม่เหยียบเท้าใคร อยู่ของเราไปเรื่อยๆ เพื่อเก็บประสบการณ์นะคะ.  มันดูดีเราได้ทำงานกับกิจการใหญ่ ๆ แบบนี้ และระบบบัญชีการเงินต้นทุน มันก็ระดับสากล ไม่ใช่ ตาสีตาสาทำกันเองอยากทำไรก็ทำ.  (เหมือนกับบางกลุ่มที่ทำกันอยู่). 

 

งานเราก็มาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้แบบสบายค่ะ เราทำอะไรมีระบบ เราก็อยากให้ลุกค้าของเรามีระบบ จะใหญ่จะเล็ก ระบบสำคัญที่สุดเลยค่ะ มีไรเราก็ตรวจสอบได้ แม้ว่าจะมั่วก็มั่วแบบมีหลักการใช่ปะคะ.

 

ก่อนจะมาในจุดนี้ได้ช่วงงานแรก ๆ ก็ร่อนไปสมัครนับไม่ถ้วนค่ะ  คิดบวกไว้ก่อน งานไร ทำหมด ขอให้มีประสบการณ์เอาไว้ติด เรซูเม่ เพื่อเราจะได้ใช้เป็นขั้นบันไดในการหางานต่อไป ช่วงแรก ๆ ยังไม่ได้รับจ๊อบทำบัญชี หรือภาษีให้ใครค่ะ มุ่งมั่นกับงานอย่างเดียว  พอเราได้รับทำงานของตัวเองด้วย ทำงานประจำด้วย เราต้องแบ่งเวลา และวางแผนว่าเราจะหาทางออกเช่นไร ในอนาคต.  ตอนนี้รู้ตัวแล้วค่ะ ว่าจะไม่ไต่ต้าวขั้นบันใดเป็นผู้บริหารสูงสุด้านการเงินของบริษัท  ปวดหัวแก่เร็ว รับผิดชอบเยอะ และมีโอกาสตกจากที่สูงแบบเจ็บปวด.  หลายคนอาจจะคิดไม่เหมือนเรา ก็จง climb the ladder ต่อไปไปค่ะ เอาที่สบายใจ.  

 

Recommendation for new comers: แนะนำสำหรับมือใหม่

 

ไม่มีใครเริ่มจาก 2 แล้วไป 10 ทุกคนต้องมีจุดเริ่มต้นจาก 0 ด้วยกันหมด ไม่ว่าจะเคยทำงานที่ไหนมาก็ตาม แม้กระทั่งการเรียน.  จะเก่งฉลาดแค่ไหน ก็ต้องมาเรียนรู้งาน  แต่คนทีเคยทำงาน จะสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนไม่เคยทำงาน เพราะอาจจะเคยเจอสถานการณ์คล้าย ๆ กัน หรือ แบบเดียวกันเลย   ที่สำคัญ คนทีเคยทำงาน จะมีความอดทน และยอมรับ คนที่แตกต่างจากเรามากกว่า.

 

ถ้าเราไม่เริ่มวันนี้ เราจะไม่มีก้าวต่อไป.  อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าเรา เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง เขาล้มเหลวมากี่ครั้ง คุณอาจจะไม่รู้ในจุดนั้น  ตัวอย่างตัวเอง เคยตกงาน เคยสมัครงานเป็น ร้อยที่  แต่สิ่งที่มีอยู่ตอนตกงาน ตอนทำงานคือ เป็นคน คิดเสมอว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่าเก่า.   ตอนเรามาอเมริกาครั้งแรก เรายินดี ทำงานให้ใครก็ได้ฟรี ๆ เพื่อที่จะชิน กับการทำงาน การฝึกงาน  เพราะการทำงานที่อเมริกา เน้นมากกับคนมีประสบการณ์การทำงาน  คนที่เรียนจบมา ไม่เคยทำงาน ก็ต้องวิ่งหา ต้องมีการฝึกงานเสนอคนอื่น

 

ระบบการศึกษาที่อเมริกา ส่วนใหญ่ จะดูที่ว่า คุณจบการศึกษาอะไรมา  มีบ้าง ที่บางคนจบจากมหาวิทาลัยชื่อดัง ได้รับพิจารณาก่อน  แต่ส่วนใหญ่แล้ว จบออนไลน์ จบมหาวิทยาลัย ดัง ๆ ของรัฐหรือเอกชน  เงินเดือนเท่ากัน ขึ้นอยู่กับการต่อรองมากกว่า  บางคน จบจากที่ดังแต่ได้เงินเดือนไม่เท่ากับคนจบจากออนไลน์ เพราะ ประสบการณ์ และการต่อรอง อยู่ที่ทักษะของแต่ละคน

 

ถ้าเรามีความรู้สึกว่า เรากำลังจะตกงาน ให้รีบหางานใหม่ได้ทันที อย่าเฉย เว้นแต่ว่าเราอยากพักผ่อนระยะยาว  สำคัญมาก กับคนที่มีครอบครัว ทีต้องการประกันสุขภาพ อย่าให้ขาดช่วงค่ะ ให้นึกถึง ครอบครัวเราด้วย.

 

สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะทำงานที่เดียวกัน หรือ นอกสถานที่ ทำงานที่เดียวกันวันหนึ่ง เขาออกจากที่ทำงานไป อาจจะมีตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ที่สามารถช่วยเรา แนะนำงานเราได้  เพราะคนเหล่านี้ถ้าเราเคยช่วยเหลือเขาไว้เขาจะไม่ลืมเรา

 

ทุกอย่างต้องมีการลงทุน ไม่ลงเงินก็ลงแรงค่ะ  ลงเงิน คือ กลับไปเรียน เสียค่าเทอม รับรองว่าคุ้มค่ะ ลงเรียนคือการหาที่ฝึกงาน การของานเขาทำ ไม่จำเป็นต้องมีรายได้ค่ะ คนดี ๆ เขาจะให้เงินเราค่ะ เขาจะไม่ใช้เราฟรี ๆ เว้นแต่ องค์กรการกุศล ซึ่งเราทำไปเราก็ได้บุญด้วยนะคะ

 

พึง รำลึกเสมอว่า ไม่มีอะไรแน่นอน งานทุกที่เขาสามารถเลิกจ้างเราได้ตลอดเวลา  และ เราก็สามารถหางานใหม่ได้ตลอดเวลา  เป็นเรื่องปกติที่อเมริกา  เงินเดือนสูงไม่ใช่แค่ทางเลือก ให้มองว่าเรามีสวัสดิการอะไรบ้าง เช่น ประกันสุขภาพ  ส่วนใหญ่กิจการจะออกให้พนักงานอยุ่ที่ $15,000-$25,000  ต่อ, retirement เช่น 401(k)., นายจ้าง จ่ายสมทบจากเงินเดือนเราที่ 4-10 เปอรเซ็นเลยค่ะ , พักร้อน ลาป่วย สารพัด  สวัสดิการต่างๆ พวกนี้ อยู่ที่ 25%-40% ของเงินเดือนเราแล้วค่ะ.

 

Conclusion:  ผลสรุป  คือ เอาที่เราทำแล้วสบายใจค่ะ  ถ้าเรารวยแระ พอเพียง พอใจกับ สิ่งที่ตนมี ชรามีเงินพอใช้ หรือช่างมัน ชรามีรัฐช่วยจ่าย ก็ เอาที่สบายใจค่ะ  ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะมาก ไม่ใช่เรื่องเล่าคือ เรื่องจริง จากคนจริง ตัวจริง ชีวิตจริง SSN จริงเลยค่ะ.

         

ที่มา                                         : ประสบการณ์ทำงานส่วนตัวล้วน ๆ มิได้แอบแฝง

เรียบเรียงโดย                         : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย ขอย้ำ)

วันที่                              : วันอังคาร ที่ 27 เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ , Tuesday, April 27th 2017

 

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรเท่านั้น.**